พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3318/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาของผู้เสียหายและการไม่มีสิทธิฎีกาของพนักงานอัยการในคดีที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์
ผู้เสียหายฟ้องจำเลยในคดีความผิดต่อส่วนตัว ศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับจำเลยซึ่งจำเลยชำระค่าปรับแล้ว แต่จำเลยฎีการะหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ขอถอนฟ้องศาลฎีกาอนุญาตต่อมาจำเลยขอคืนค่าปรับ ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้คืนค่าปรับพนักงานอัยการซึ่งมิได้เป็นคู่ความไม่มีสิทธิฎีกา เนื่องจากกรณี ไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11 ที่จะให้พนักงานอัยการมีอำนาจหน้าที่ดำเนินคดีนี้ได้ ปัญหา ดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7093/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ชำระค่าขึ้นศาลทำให้ศาลไม่รับอุทธรณ์และไม่มีสิทธิฎีกา
โจทก์อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ชำระ ค่าขึ้นศาลให้ครบถ้วนภายใน 7 วัน แต่โจทก์ไม่ชำระ ศาลชั้นต้น จึงมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์เมื่อโจทก์ยื่นคำร้อง อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์ มีผลเป็นการไม่รับอุทธรณ์ยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่ง ศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 236 วรรคแรก โจทก์ไม่มีสิทธิฎีกา ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาโจทก์จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1889/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งระหว่างพิจารณาและการอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามศาลชั้นต้นโจทก์ไม่มีสิทธิฎีกา
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งว่าคดีโจทก์มีมูลให้ประทับฟ้องไว้พิจารณา หมายเรียกจำเลยมาศาลและให้การแก้คดี แต่จำเลยไม่มาตามนัดศาลชั้นต้นจึงออกหมายจับและให้จำหน่ายคดีชั่วคราว การที่โจทก์ยื่นคำร้องว่าหมายจับคลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริงเกี่ยวกับวันเริ่มต้นนับอายุความศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าอายุความจึงต้องเริ่มนับแต่วันที่ปฏิเสธการจ่ายหลังสุด ให้เพิกถอนหมายจับเดิมแล้วออกหมายจับจำเลยใหม่โจทก์อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คำสั่งศาลเรื่องการออกหมายจับเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาจึงไม่รับอุทธรณ์ โจทก์ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่า การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีไว้ชั่วคราว ไม่ใช่เป็นคำสั่งให้จำหน่ายคดีโดยเด็ดขาดเมื่อโจทก์อุทธรณ์คำสั่งใด ๆ ของศาลชั้นต้นในระหว่างนี้เป็นอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 196 มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นเช่นนี้ คำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 ทวิโจทก์จึงไม่มีสิทธิฎีกาได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9402/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกัน ไม่มีสิทธิฎีกา เนื่องจากศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะจำเลยที่ 1 และไม่มีผลกระทบต่อจำเลยที่ 3
คดี นี้ ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระเงิน จำนวน 18,327,369 บาท พร้อม ดอกเบี้ย แก่ โจทก์ และ ให้ จำเลย ที่ 3ผู้ค้ำประกัน ร่วม กับ จำเลยที่ 1 รับ ผิด ชำระเงิน จำนวน2,98,257.21 บาท พร้อม ดอกเบี้ย แก่ โจทก์ ปรากฏ ว่า เฉพาะ โจทก์ เท่านั้น ที่ อุทธรณ์ ขอให้ จำเลยที่ 1 รับผิด เพิ่มขึ้นจำเลยที่ 3 หา ได้ อุทธรณ์ ไม่ คดี สำหรับ จำเลย ที่ 3 จึง ถึงที่สุดตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น แม้ ศาลอุทธรณ์ จะ พิพากษา แก้ เป็น ว่าให้ จำเลย ที่ 1 ชำระเงิน 21,904,294.10 บาท พร้อม ดอกเบี้ยแก่ โจทก์ คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ดังกล่าว ก็ หา มี ผล ทำให้จำเลยที่ 3 ต้อง รับผิด เพิ่ม ขึ้น จาก คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ไม่จำเลยที่ 3 จึง ไม่ มี สิทธิ ฎีกา ว่า ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่าโจทก์ มี สิทธิ เรียก ดอกเบี้ย ทบต้น จาก จำเลยที่ 1 ได้ จนถึงวันที่ หัก ทอน บัญชี กัน ครั้งสุดท้าย คือ วันที่ 1 เมษายน 2534ไม่ ถูกต้อง เพราะ เป็น ข้อ ที่ มิได้ ยกขึ้น ว่า กัน มา แล้ว โดย ชอบใน ศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาถูกยกเลิกโดยศาลอุทธรณ์ ถือเป็นคำสั่งถึงที่สุด โจทก์ไม่มีสิทธิฎีกา
โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาต่อศาลชั้นต้นในกรณีฉุกเฉิน ศาลชั้นต้นไต่สวนและมีคำสั่งอนุญาต จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ยกเลิกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาดังกล่าวเป็นกรณีฉุกเฉินเช่นกัน ศาลชั้นต้นไต่สวนและมีคำสั่งให้ยกคำร้องของ จำเลย จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกเลิกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาของศาลชั้นต้นเสีย คำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวย่อมถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 267 วรรคสอง โจทก์ไม่มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงในคดีอาญาที่ศาลแขวงพิพากษา ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมิชอบ โจทก์ไม่มีสิทธิฎีกา
โจทก์ฟ้องจำเลยข้อหาโกงเจ้าหนี้ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 350 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า การโอนขายที่ดินยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำไปโดยทุจริตที่จะไม่ให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ พิพากษายกฟ้อง คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ มาตรา 22 ประกอบกับ พระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดพ.ศ.2520 มาตรา 3 โจทก์อุทธรณ์ว่า จากพยานหลักฐานโจทก์ข้อเท็จจริงรับฟังได้แล้วว่าจำเลยโอนขายที่ดินไปโดยเจตนาทุจริตเพื่อมิให้โจทก์ได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินดังกล่าว จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงให้ตามอุทธรณ์ของโจทก์ จึงเป็นการมิชอบต้องถือว่าข้อเท็จจริงเป็นอันยุติตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่าจำเลยมิได้กระทำผิดตามฟ้อง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในเหตุฉุกเฉิน: คำสั่งศาลชั้นต้น/อุทธรณ์เป็นที่สุด โจทก์ไม่มีสิทธิฎีกา
ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 267 เมื่อศาลมีคำสั่งให้ยกคำขอหรือยกเลิกคำสั่งคุ้มครองในเหตุฉุกเฉินแล้วไม่ว่าคำสั่งเช่นนี้จะเป็นคำสั่งของศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ก็ตาม คำสั่งเช่นนี้ให้เป็นที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6832/2553 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ถอนอุทธรณ์ทำให้เงินค่าธรรมเนียมที่วางศาลคืนสู่จำเลย เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิฎีกา
จำเลยยื่นอุทธรณ์และนำเงินค่าธรรมเนียมที่จะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนำมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวเป็นเพียงเงินที่วางไว้เพื่อเป็นประกันว่า หากในที่สุดศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ผู้อุทธรณ์ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมแทนคู่ความที่ชนะคดีแล้ว ผู้ชนะคดีจะมีสิทธิได้รับค่าธรรมเนียมที่ได้ออกใช้ก่อนจากเงินที่ผู้อุทธรณ์วางไว้ มิใช่เป็นการวางเพื่อชำระหนี้ให้แก่คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีในศาลชั้นต้น จึงต้องถือว่าเงินดังกล่าวยังเป็นของผู้อุทธรณ์
ป.วิ.พ. มิได้มีบทบัญญัติว่าด้วยการถอนอุทธรณ์ไว้โดยเฉพาะ แต่มาตรา 246 ของลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์บัญญัติให้นำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยการพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีในศาลชั้นต้นมาใช้บังคับแก่การพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นอุทธรณ์ได้โดยอนุโลม คำฟ้องอุทธรณ์เป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งตามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) จึงต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยการถอนคำฟ้องตามมาตรา 176 มาใช้บังคับกับการถอนคำฟ้องอุทธรณ์โดยอนุโลม
การถอนคำฟ้องในคดีแพ่งนี้ ป.วิ.พ. มาตรา 176 บัญญัติว่า "การทิ้งคำฟ้องหรือถอนคำฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้น รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆ อันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้อง และกระทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย..." เมื่อศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยถอนคำฟ้องอุทธรณ์แล้ว การถอนคำฟ้องอุทธรณ์ย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องอุทธรณ์รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆ อันมีต่อมาภายหลังยื่นคำฟ้องอุทธรณ์ และกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำฟ้องอุทธรณ์เลย ดังนี้เงินค่าธรรมเนียมใช้แทนโจทก์ที่จำเลยนำมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ซึ่งยังเป็นของจำเลอยู่ จึงตกกลับคืนสู่จำเลยผู้เป็นเจ้าของ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยมีสิทธิรับเงินดังกล่าวคืนจากศาล จึงเป็นเรื่องระหว่างศาลกับจำเลยและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยโดยเฉพาะ มิได้กระทบกระเทือนต่อสิทธิของโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ป.วิ.พ. มิได้มีบทบัญญัติว่าด้วยการถอนอุทธรณ์ไว้โดยเฉพาะ แต่มาตรา 246 ของลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์บัญญัติให้นำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยการพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีในศาลชั้นต้นมาใช้บังคับแก่การพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นอุทธรณ์ได้โดยอนุโลม คำฟ้องอุทธรณ์เป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งตามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) จึงต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยการถอนคำฟ้องตามมาตรา 176 มาใช้บังคับกับการถอนคำฟ้องอุทธรณ์โดยอนุโลม
การถอนคำฟ้องในคดีแพ่งนี้ ป.วิ.พ. มาตรา 176 บัญญัติว่า "การทิ้งคำฟ้องหรือถอนคำฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้น รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆ อันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้อง และกระทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย..." เมื่อศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยถอนคำฟ้องอุทธรณ์แล้ว การถอนคำฟ้องอุทธรณ์ย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องอุทธรณ์รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆ อันมีต่อมาภายหลังยื่นคำฟ้องอุทธรณ์ และกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำฟ้องอุทธรณ์เลย ดังนี้เงินค่าธรรมเนียมใช้แทนโจทก์ที่จำเลยนำมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ซึ่งยังเป็นของจำเลอยู่ จึงตกกลับคืนสู่จำเลยผู้เป็นเจ้าของ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยมีสิทธิรับเงินดังกล่าวคืนจากศาล จึงเป็นเรื่องระหว่างศาลกับจำเลยและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยโดยเฉพาะ มิได้กระทบกระเทือนต่อสิทธิของโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5487/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ชำระค่าธรรมเนียมศาลทำให้ศาลไม่รับคำร้องขัดทรัพย์ และไม่มีสิทธิฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์และยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ผู้ร้องอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 ถึงที่สุดแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลหลายครั้ง จนครั้งสุดท้ายศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีความเห็นว่าคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ผู้ร้องขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลออกไปอีกนั้นชอบแล้ว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ดังกล่าวเป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งต่อเนื่องจากคำสั่งไม่อนุญาตให้ผู้ร้องอุทธรณ์อย่างคนอนาถาซึ่งถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต่อไปอีก และเมื่อผู้ร้องไม่วางเงินค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบถ้วนภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด ศาลก็ชอบที่จะไม่รับคำร้องขัดทรัพย์ไว้พิจารณาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6484/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาดที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาต่ำกว่าเกณฑ์และลดราคาเริ่มต้น ย่อมไม่มีสิทธิฎีกาตามมาตรา 309 ทวิ
จำเลยที่ 1 อ้างว่าเหตุที่ทำให้ราคาที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินมีจำนวนต่ำเกินสมควรนั้น เกิดจากเจ้าพนักงานบังคับคดีกระทำประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยการกำหนดราคาประเมินทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาดต่ำกว่าราคาประเมินที่ดินของเจ้าพนักงานที่ดินและมาตรฐานราคาค่าก่อสร้างที่ทราบประเมินที่ดินของเจ้าพนักงานที่ดินแล้ว แต่ยังกำหนดราคาเริ่มต้นในการขายทอดตลาดครั้งที่ 2 และ 3 ลดลงจากจำนวนร้อยละ 80 ของราคาประเมินเป็นจำนวนร้อยละ 65 และ 50 ของราคาประเมินตามลำดับ ตามประกาศกรมบังคับคดีเรื่องนโยบายการขายทอดตลาดของกรมบังคับคดี ลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2546 ซึ่งเป็นประกาศฉบับใหม่ที่ประกาศใช้ขณะที่มีการขายทอดตลาดครั้งที่ 2 และ 3 อีกด้วย จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องเพื่อขอให้มีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์สินตามมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง แห่ง ป.วิ.พ. แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 21) ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2548 เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2551 ภายหลังจากบทบัญญัติ มาตรา 309 ทวิ มีผลใช้บังคับแล้ว คำร้องของจำเลยที่ 1 จึงตกอยู่ภายใต้บังคับของวรรคสี่แห่งบทบัญญัติมาตราดังกล่าวซึ่งบัญญัติให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลในกรณีนี้เป็นที่สุด ดังนั้นจำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฎีกาได้