คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ไม่ยินยอม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7084-7106/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงเวลาจ่ายค่าจ้างโดยไม่ยินยอมลูกจ้างเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่ชอบธรรม และการสอบถามสิทธิเป็นสิทธิลูกจ้าง
จำเลยมิได้จัดทำข้อตกลงสภาพการจ้างเกี่ยวกับกำหนดเวลาจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเป็นหนังสือ แต่ในทางปฏิบัติ เมื่อถึงวันจ่ายค่าจ้างจำเลยจะจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลา 15 ถึง 17 นาฬิกา ตั้งแต่ปี 2533 ตลอดมาโดยลูกจ้างของจำเลยไม่เคยโต้แย้งคัดค้าน จึงถือได้ว่ากำหนดเวลาจ่ายค่าจ้างระหว่างเวลา 15 ถึง 17 นาฬิกา เป็นสภาพการจ้างที่มีผลผูกพันจำเลยกับลูกจ้างของจำเลยทั้งหมดการที่จำเลยเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาการจ่ายค่าจ้างมาเป็นระหว่างเวลา 12 ถึง 13 นาฬิกา ย่อมมีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างดังกล่าวและถือไม่ได้ว่าเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่าสภาพการจ้างเดิมจำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาจ่ายค่าจ้างโดยไม่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง การเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาการจ่ายค่าจ้างดังกล่าวไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 20
การที่โจทก์ทั้งยี่สิบสามเข้าไปในห้องทำงานของผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายธุรการของจำเลยเพื่อสอบถามถึงการเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาจ่ายค่าจ้างและขอใบอนุญาตผ่านออกจากอาคารที่โจทก์ทั้งยี่สิบสามทำงานไปเจรจากับฝ่ายการเงินที่อยู่ในอีกอาคารหนึ่งเพื่อให้จ่ายค่าจ้างในเวลาเดิมตามสภาพการจ้างที่ปฏิบัติกันมาย่อมเป็นสิทธิโดยชอบที่จะกระทำได้ มิใช่กรณีที่ลูกจ้างจะต้องร้องขอให้ศาลแรงงานพิจารณาวินิจฉัยตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 50 วรรคสอง แม้ขณะที่โจทก์ทั้งยี่สิบสามเข้าไปในห้องทำงานดังกล่าวจะเป็นเวลาการทำงาน ก็ยังถือไม่ได้ว่าการกระทำด้วยสาเหตุดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบคำสั่งของจำเลยในกรณีร้ายแรงหรือการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 218-220/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขโบนัสโดยไม่ยินยอมขัดต่อสภาพการจ้าง แม้เป็นการปฏิบัติตามนโยบายรัฐ
แม้จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจและโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจต้องตกอยู่ภายใต้บังคับมติของคณะรัฐมนตรีในการดำเนินการบริหารรัฐวิสาหกิจ แต่การที่จำเลยหักเงินโบนัส ของโจทก์สืบเนื่องมาจากจำเลยได้ปฏิบัติตามหนังสือของกระทรวงการคลังที่ขอความร่วมมือในการแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศโดย ให้จำเลยชักชวนพนักงานเสียสละปรับลดเงินโบนัสด้วยความสมัครใจ มิใช่เป็นมติของคณะรัฐมนตรีที่สั่งการให้ปรับลดเงินโบนัส การที่ จำเลยกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายเงินโบนัสและได้จ่ายเงินโบนัสตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การจ่ายเงินโบนัส ซึ่งไม่เป็นคุณแก่พนักงานของจำเลยโดยพนักงานไม่ยินยอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1982/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาหุ้นส่วนโดยไม่ยินยอมขัดต่อกฎหมาย และผลกระทบต่อการชำระบัญชีหุ้นส่วน
โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาเข้าร่วมทุนเป็นหุ้นส่วนกันในการตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญเพื่อดำเนินกิจการเปิด ร้านอาหารโดยมีวัตถุประสงค์หาผลกำไรแบ่งกัน ซึ่งในการร่วมทุนกันนั้นโจทก์เป็นผู้ลงหุ้นเป็นเงิน ส่วนจำเลยลงหุ้น เป็นแรงงาน เมื่อตามสัญญากำหนดให้โจทก์เป็นผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินของร้านอาหารเพียงผู้เดียวซึ่งถือได้ว่าเป็นสาระสำคัญในการตกลงเข้าหุ้นทำกิจการร่วมกันในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ลงทุนเป็นเงินทั้งหมด ข้อสัญญาดังกล่าวนี้จำเลยผู้เป็นหุ้นส่วนเพียงคนเดียวจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เว้นแต่โจทก์หุ้นส่วนอีกคนหนึ่งจะยินยอมด้วย การที่จำเลยปิด ร้านอาหารแล้วเปิดดำเนินกิจการใหม่ในวันรุ่งขึ้น โดยห้ามโจทก์เข้าเกี่ยวข้องในกิจการร้านอาหารนั้น ก็หมายความว่าจำเลยเป็นผู้เข้ารับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินในการจัดเก็บรายได้และรายจ่ายในการดำเนินกิจการของร้านอาหารทั้งหมดแทนโจทก์ อันเป็นหน้าที่ของโจทก์ตามสัญญา จึงถือได้ว่าจำเลยได้เปลี่ยนแปลงข้อสัญญาที่ทำกันไว้โดยที่โจทก์ไม่ได้ยินยอมด้วย เป็นการขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1032 การกระทำของจำเลยดังกล่าวย่อมเป็นการปฏิบัติผิดสัญญาเข้าหุ้นส่วนกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5521/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาปลอมและการพิสูจน์ข้อเท็จจริงการกู้ยืม หากจำนวนเงินในสัญญากู้ไม่ตรงกับจำนวนเงินที่กู้จริงและผู้กู้ไม่ยินยอม
จำเลยกู้ยืมเงินและรับเงินไปจากโจทก์โดยขณะกู้ยืมและขณะจำเลยลงลายมือชื่อหนังสือสัญญากู้เงินฉบับพิพาทยังไม่ได้กรอกข้อความใด ๆ ไว้เลยต่อมาโจทก์กรอกข้อความและจำนวนเงินกู้ขึ้นเองในภายหลังเป็นจำนวนเงินมากกว่าที่กู้จริงโดยจำเลยไม่รู้เห็นและยินยอม ดังนี้หนังสือสัญญากู้เงินจึงเป็นสัญญากู้ปลอม ถือได้ว่าโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานแห่งการกู้ยืมที่จะฟ้องบังคับจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5372/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่ผูกพันโจทก์ หากทำโดยทนายโดยโจทก์ไม่ยินยอม
เมื่อประเด็นแห่งคดีคงมีเฉพาะเกี่ยวกับหนี้จำนวนที่โจทก์ฟ้องมิได้รวมถึงหนี้รายอื่นที่จำเลยให้การถึง การที่ทนายโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยในหนี้รายอื่น โดยโจทก์มิได้ยินยอมด้วย จึงเป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความในหนี้ที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี ไม่มีผลผูกพันโจทก์ และศาลไม่อาจมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นให้ได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้ จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 138 โจทก์ย่อมอุทธรณ์ขอให้เพิกถอนเสียได้
โจทก์อุทธรณ์ขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2821/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายความประนีประนอมยอมความเกินอำนาจ โจทก์ไม่ยินยอม ไม่ถือเป็นฉ้อฉล
ในวันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์มาศาล แต่ทนายความของโจทก์ไล่โจทก์ออกนอกห้องพิจารณา แล้วทนายโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยโดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอม หากโจทก์อยู่ในห้องพิจารณาโจทก์จะไม่ยอมตกลงด้วยนั้น แม้เป็นความจริงก็เป็นเรื่องทนายความของโจทก์ซึ่งมีอำนาจประนีประนอมยอมความตามใบแต่งทนายความกระทำการฝ่าฝืนความประสงค์ของโจทก์ โจทก์จะเสียหายอย่างไรก็ต้องไปว่ากล่าวเป็นอีกเรื่องหนึ่งหาใช่เป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฉ้อฉลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 138 (1) ไม่
โจทก์ฎีกาว่าสัญญาประนีประนอมยอมความทำขึ้นโดยฉ้อฉลขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความ และให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาคดีใหม่ต่อไปตามรูปคดี โดยโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เป็นฝ่ายชนะคดี คำขอตามคำฟ้องอุทธรณ์และคำฟ้องฎีกาของโจทก์ จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ (2) (ก) ท้ายป.วิ.พ.เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8033/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเพิกถอนนิติกรรมโอนสินสมรสโดยไม่ยินยอม และผลเมื่อขาดอายุความ
การที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งทำนิติกรรมจำหน่ายจ่ายโอนสินสมรสโดยปราศจากความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งนั้นมีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้ภายในกำหนด 1 ปี นับแต่เวลาที่รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน หรือ10 ปี นับแต่ได้ทำนิติกรรมดังกล่าว เมื่อปรากฏว่าช่วงเวลานับแต่วันที่เจ้ามรดกซึ่งเป็นคู่สมรสฝ่ายหนึ่งโอนที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นสินสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับโจทก์ให้แก่ฝ่ายจำเลยจนถึงวันที่โจทก์ยื่นฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวล่วงพ้นกำหนด10 ปี นับแต่ได้ทำนิติกรรมนั้น คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
แม้ที่ดินพิพาทจะเป็นสินสมรสดังที่โจทก์กล่าวอ้างสภาพแห่งการเป็นสินสมรสของที่ดินพิพาทย่อมหมดสิ้นไปนับแต่เจ้ามรดกซึ่งเป็นคู่สมรสฝ่ายหนึ่งทำนิติกรรมโอนให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 แล้ว ตราบใดที่ศาลยังมิได้มีคำสั่งเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวที่ดินพิพาทไม่อาจกลับคืนสภาพมาเป็นสินสมรสอันเป็นทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมระหว่างโจทก์กับเจ้ามรดกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3457/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินมรดกโดยทายาทคนเดียว เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมคนอื่นไม่ยินยอม สัญญาไม่ผูกพัน และต้องคืนโฉนด
เมื่อ ส.ถึงแก่กรรมที่ดินของส. เป็นทรัพย์มรดกตกทอดแก่บุตรซึ่งเป็นทายาทของ ส.ทุกคนโจทก์กับร.กับทายาทคนอื่นรวม 7 คน จึงเป็นเจ้าของรวมในที่ดินทรัพย์มรดกเมื่อมรดกของ ส.ยังมิได้แบ่งปันระหว่างทายาทร.ทายาทคนหนึ่งจะนำที่ดินทรัพย์มรดกไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้จำเลยทั้งแปลง โดยทายาทคนอื่นซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมมิได้ยินยอมด้วยก็ถือว่าทำไปโดยไม่มีสิทธิคงผูกพันเฉพาะร.เท่านั้นแม้สัญญาจะซื้อจะขายจะมีผลผูกพันร.จำเลยก็มีสิทธิเพียงเรียกร้องบังคับเหนือ ร. ในฐานะคู่สัญญาได้เท่านั้น เมื่อโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมในการทำสัญญาจะซื้อจะขายหรือมอบโฉนดที่ดินให้จำเลยยึดถือไว้ขอให้จำเลยส่งโฉนดเพื่อที่โจทก์จะนำไปแบ่งแยกเป็นชื่อของโจทก์และทายาทคนอื่นในฐานะผู้มีสิทธิรับมรดกจึงเป็นสิทธิอันชอบของโจทก์ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินไว้ต้องคืนให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2918/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการแบ่งทรัพย์สินรวม: เจ้าของรวมมีสิทธิขอแบ่งได้ แม้จำเลยไม่ยินยอม
ปัญหาที่ว่าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลไม่ถูกต้องนั้นจำเลยที่1มิได้ยกขึ้นโต้แย้งในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เพิ่งยกขึ้นโต้แย้งในชั้นฎีกาจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกับจำเลยทั้งสองโจทก์ย่อมขอให้แบ่งทรัพย์สินนั้นได้โดยไม่จำต้องระบุว่าจะทำการแบ่งอย่างไรหรือตกลงกันไม่ได้จะทำอย่างไรเพราะหากแบ่งแยกไม่ได้ก็มีวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้จึงมิได้เป็นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลจะต้องกำหนดไว้ การเป็นเจ้าของรวมระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองมิได้มีหลักฐานหรือพฤติการณ์ว่าเป็นเจ้าของรวมกันอย่างถาวรหรือมีนิติกรรมขัดอยู่เมื่อโจทก์ขอให้แบ่งทรัพย์จำเลยทั้งสองต้องแบ่งให้โจทก์แม้จำเลยที่1ไม่ประสงค์ขอแบ่งและต้องการให้มีกรรมสิทธิ์รวมกันตลอดไปก็ไม่มีกฎหมายรับรองให้มีผลตามความประสงค์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2610/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ร่วมที่ดิน-ตึกแถวจากหุ้นส่วนไม่สมรส การโอน/ขายโดยไม่ยินยอมทำให้ผู้ซื้อไม่ได้รับกรรมสิทธิ์
ที่ดินและตึกแถวพิพาทจำเลยได้มาขณะจำเลยเป็นสามี ส.แม้จะมิได้จดทะเบียนสมรสกัน ที่ดินและตึกแถวพิพาทก็เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยและส. คนละครึ่งในฐานะเป็นหุ้นส่วนกัน เมื่อ ส.ถึงแก่ความตายที่ดินและตึกแถวพิพาทส่วนของ ส. จึงเป็นมรดกตกทอดแก่ ร. ซึ่งเป็นทายาท การที่ ร.จดทะเบียนโอนที่ดินและตึกแถวพิพาทเป็นของตนแต่ผู้เดียวจึงไม่ชอบและไม่มีอำนาจนำที่ดินและตึกแถวพิพาทส่วนของจำเลยไปขายให้แก่โจทก์โดยจำเลยไม่ยินยอม โจทก์ผู้ซื้อจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในส่วนของจำเลย
of 5