คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ไม่ยื่นแบบ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3411/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลกรณีไม่ยื่นแบบและไม่ให้ข้อมูล เจ้าพนักงานประเมินประเมินจากรายรับได้ แต่หักค่าใช้จ่ายเหมาไม่ได้
จำเลยไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล และจำเลยได้รับหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามกฎหมายแล้ว แต่จำเลยมิได้มาให้ไต่สวนและไม่นำบัญชี เอกสารหรือพยานหลักฐานอื่นมาแสดงเพื่อตรวจสอบดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 23 จึงต้องตามบทบัญญัติมาตรา 71 (1) เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของรอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า และกรณีเช่นนี้ไม่อาจนำ พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502ซึ่งใช้บังคับสำหรับการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามาใช้บังคับโดยอนุโลมเพราะกฎหมายได้บัญญัติไว้แจ้งชัดโดยเฉพาะแล้ว
แม้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 71 วรรคสอง เจ้าพนักงานประเมินจะมีอำนาจเลือกประเมินภาษีตามมาตรา 24 จากฐานกำไรสุทธิแทนฐานรายรับก่อนหักรายจ่ายตามมาตรา 71 (1) ก็ตาม แต่เมื่อการคำนวณภาษีจากฐานกำไรสุทธิไม่อาจหักรายจ่ายเป็นการเหมาตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน(ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 ได้ การที่เจ้าพนักงานประเมินหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในการคำนวณกำไรสุทธิให้จำเลยจึงไม่ชอบ และมีผลทำให้กำไรสุทธิและภาษีที่คำนวณได้ไม่ชอบไปด้วย ดังนั้น การเลือกประเมินภาษีตามมาตรา 24 จากฐานกำไรสุทธิจึงไม่ชอบ
การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลเก็บจากกำไรสุทธิ ซึ่งคำนวณได้จากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่าตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรี แห่งป.รัษฎากร จึงเห็นได้ว่า หากสามารถพิสูจน์แสดงรายจ่ายตามที่กฎหมายกำหนดไว้ได้มากเท่าใด แล้วนำไปหักออกจากรายได้มากเพียงใด ก็จะเสียภาษีน้อยลงเท่านั้น หรือถ้ารายได้น้อยกว่ารายจ่ายถือว่าขาดทุน ก็ไม่ต้องเสียภาษี ดังนั้นกรณีภาษีเงินได้นิติบุคคลจึงอยู่ที่การพิสูจน์รายจ่ายตามกฎหมาย หาใช่การไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินทำให้เสียภาษีน้อยกว่าผู้ที่ปฏิบัติตามหมายเรียก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3411/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลกรณีไม่ยื่นแบบและไม่ให้ไต่สวน: ใช้อัตรา 5% ของรายรับก่อนหักรายจ่ายได้
จำเลยไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลและจำเลยได้รับหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามกฎหมาย แล้ว แต่จำเลยมิได้มาให้ไต่สวนและไม่นำบัญชี เอกสารหรือ พยานหลักฐานอื่นมาแสดงเพื่อตรวจสอบดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 23 จึงต้องตามบทบัญญัติมาตรา 71(1) เจ้าพนักงาน ประเมินมีอำนาจประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับ ก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของรอบ ระยะเวลาบัญชี แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า และกรณีเช่นนี้ ไม่อาจนำพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วย การกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน(ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 ซึ่งใช้บังคับสำหรับการคำนวณภาษี เงินได้บุคคลธรรมดามาใช้บังคับโดยอนุโลมเพราะกฎหมายได้ บัญญัติไว้แจ้งชัดโดยเฉพาะแล้ว แม้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71 วรรคสอง เจ้าพนักงาน ประเมินจะมีอำนาจเลือกประเมินภาษีตามมาตรา 24 จากฐานกำไร สุทธิแทนฐานรายรับก่อนหักรายจ่ายตามมาตรา 71(1) ก็ตาม แต่ เมื่อการคำนวณภาษีจากฐานกำไรสุทธิไม่อาจหักรายจ่ายเป็นการ เหมาตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน(ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 ได้ การที่เจ้าพนักงานประเมินหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในการคำนวณกำไรสุทธิให้จำเลย จึงไม่ชอบ และมีผลทำให้กำไรสุทธิและภาษีที่คำนวณได้ไม่ชอบ ไปด้วย ดังนั้น การเลือกประเมินภาษีตามมาตรา 24 จากฐาน กำไรสุทธิจึงไม่ชอบ การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลเก็บจากกำไรสุทธิ ซึ่งคำนวณได้จากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร จึงเห็นได้ว่าหากสามารถพิสูจน์แสดงรายจ่ายตามที่กฎหมายกำหนดไว้ได้มากเท่าใด แล้วนำไปหักออกจากรายได้มากเพียงใด ก็จะเสียภาษีน้อยลง เท่านั้น หรือถ้ารายได้น้อยกว่ารายจ่ายถือว่าขาดทุน ก็ไม่ต้องเสียภาษี ดังนั้นกรณีภาษีเงินได้นิติบุคคลจึง อยู่ที่การพิสูจน์รายจ่ายตามกฎหมาย หาใช่การไม่ปฏิบัติตาม หมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินทำให้เสียภาษีน้อยกว่าผู้ที่ ปฏิบัติตามหมายเรียกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4551/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจประเมินภาษีเมื่อไม่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ตามกำหนด แม้ยื่นภายหลังก็ไม่อาจลบล้างได้
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1) นั้น เมื่อโจทก์ไม่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2533 และปี 2534 ภายในกำหนดเวลาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 69เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินตามมาตรา 71(1) ทันที การที่ต่อมาเจ้าพนักงานประเมินจะมีหมายเรียกตรวจสอบภาษีมาถึงโจทก์ หรือโจทก์จะได้ยื่นแบบภ.ง.ด.50 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2533 และปี 2534 ต่อเจ้าพนักงานประเมินในภายหลัง ย่อมไม่อาจลบล้างอำนาจของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวแต่ประการใดถ้อยคำในกฎหมายหาได้บัญญัติหรืออาจแปลความว่า เมื่อปรากฏว่าผู้เสียภาษีอากรได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ก่อนที่เจ้าพนักงานประเมินจะทำการประเมินเสร็จสิ้น แม้จะเป็นการยื่นภายหลัง 150 วันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ตามมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากรก็ตาม เจ้าพนักงานประเมินจะต้องใช้อำนาจประเมินด้วยวิธีคำนวณกำไรสุทธิเท่านั้น จะใช้อำนาจประเมินตามมาตรา 71(1) ในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรือของยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ไม่ได้เจ้าพนักงานประเมินจะใช้อำนาจดังกล่าวได้ก็ต่อเมื่อผู้เสียภาษีไม่ได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 แก่เจ้าพนักงานประเมินเมื่อถูกเรียกตรวจสอบ หรือได้ยื่นภายหลังจากที่เจ้าพนักงานประเมินใช้อำนาจประเมินหรือทำการประเมินเสร็จสิ้นแล้วดังที่โจทก์กล่าวอ้างในอุทธรณ์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4551/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเมื่อไม่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ตามกำหนด เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีตามอัตราที่กฎหมายกำหนด
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1) นั้น เมื่อโจทก์ไม่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2533 และปี 2534 ภายในกำหนดเวลาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 69เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินตามมาตรา 71(1) ทันที การที่ต่อมาเจ้าพนักงานประเมินจะมีหมายเรียกตรวจสอบภาษีมาถึงโจทก์ หรือโจทก์จะได้ยื่นแบบภ.ง.ด.50 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2533 และปี 2534 ต่อเจ้าพนักงานประเมินในภายหลัง ย่อมไม่อาจลบล้างอำนาจของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวแต่ประการใดถ้อยคำในกฎหมายหาได้บัญญัติหรืออาจแปลความว่า เมื่อปรากฏว่าผู้เสียภาษีอากรได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ก่อนที่เจ้าพนักงานประเมินจะทำการประเมินเสร็จสิ้น แม้จะเป็นการยื่นภายหลัง 150 วันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ตามมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากรก็ตาม เจ้าพนักงานประเมินจะต้องใช้อำนาจประเมินด้วยวิธีคำนวณกำไรสุทธิเท่านั้น จะใช้อำนาจประเมินตามมาตรา 71(1) ในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรือของยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ไม่ได้เจ้าพนักงานประเมินจะใช้อำนาจดังกล่าวได้ก็ต่อเมื่อผู้เสียภาษีไม่ได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 แก่เจ้าพนักงานประเมินเมื่อถูกเรียกตรวจสอบ หรือได้ยื่นภายหลังจากที่เจ้าพนักงานประเมินใช้อำนาจประเมินหรือทำการประเมินเสร็จสิ้นแล้วดังที่โจทก์กล่าวอ้างในอุทธรณ์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5204/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจประเมินภาษีตามมาตรา 71(1) แห่งประมวลรัษฎากร: การไม่ยื่นแบบภ.ง.ด.50 ภายในกำหนด
เมื่อมีเหตุใดเหตุหนึ่งใน3เหตุตามข้อความที่บัญญัติไว้ในมาตรา71(1)แห่งประมวลรัษฎากรเจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจประเมินภาษีได้หาจำเป็นต้องมีเหตุครบทั้งสามประการไม่เมื่อโจทก์ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล(ภ.ง.ด.50)สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี2527และ2528ภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา68และมาตรา69แห่งประมวลรัษฎากรอันเป็นแบบการยื่นรายการซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจึงมีอำนาจประเมินได้ตามมาตรา71(1)การยื่นรายการของโจทก์ในภายหลังไม่อาจลบล้างอำนาจของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยได้ แม้เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจะได้เรียกให้จำเลยส่งเอกสารต่างๆไปเพื่อตรวจสอบแต่เมื่อได้ความแน่ชัดแล้วว่าโจทก์ไม่ได้ยื่นรายการที่จำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีอันเป็นเหตุหนึ่งที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจะใช้อำนาจประเมินภาษีตามมาตรา71(1)ได้แล้วก็หาจำเป็นที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจะต้องทำการตรวจสอบไต่สวนหาความจริงจากเอกสารที่โจทก์ส่งมอบการส่งมอบเอกสารของโจทก์ไม่ทำให้อำนาจการประเมินของเจ้าพนักงานดังกล่าวหมดสิ้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5204/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจประเมินภาษีตามมาตรา 71(1) ประมวลรัษฎากร: ไม่ยื่นแบบแสดงรายการเป็นเหตุเพียงพอ แม้มีการส่งเอกสารภายหลัง
เมื่อมีเหตุใดเหตุหนึ่งใน3เหตุตามประมวลรัษฎากรมาตรา71(1)เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจประเมินภาษีได้แล้วไม่จำเป็นต้องมีเหตุครบทั้ง3ประการ แม้เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจะได้เรียกให้จำเลยส่งเอกสารต่างๆไปเพื่อตรวจสอบแต่เมื่อได้ความแน่ชัดแจ้งว่าโจทก์ไม่ได้ยื่นรายการที่จำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีอันเป็นเหตุหนึ่งที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจะใช้อำนาจประเมินภาษีตามประมวลรัษฎากรมาตรา71(1)ได้แล้วก็หาจำเป็นที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจะต้องทำการตรวจสอบไต่สวนหาความจริงจากเอกสารที่โจทก์ส่งมอบการส่งมอบเอกสารของโจทก์ไม่ทำให้อำนาจการประเมินของเจ้าพนักงานดังกล่าวหมดสิ้นไป โจทก์มีหน้าที่ต้องยื่นรายการซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีภายในหนึ่งร้องห้าสิบวันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีหากไม่ยื่นภายในกำหนดเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา71(1)ทันทีโจทก์ยื่นรายการเกินกำหนดเวลาไปเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจึงมีอำนาจประเมินได้ตามมาตรา71(1)การยื่นรายการของโจทก์ในภายหลังไม่อาจลงล้างอำนาจของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยได้ ภ.ง.ด.50หรือแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา68และมาตรา69แห่งประมวลรัษฎากรก็คือแบบการยื่นรายการที่จำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีที่อธิบดีกำหนดขึ้นตามมาตรา68และ69ซึ่งเป็นแบบการยื่นรายการที่กล่าวไว้ในมาตรา71(1)นั้นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3309/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจประเมินภาษีการค้า เจ้าพนักงานประเมินมิอาจกำหนดรายรับขั้นต่ำล่วงหน้าตามมาตรา 87 ทวิ (7) แต่มีอำนาจภายหลังไม่ยื่นแบบ
มาตรา 83 ทวิ (7) แห่งประมวลรัษฎากรที่บัญญัติให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดรายรับขั้นต่ำของผู้ประกอบการค้าที่มิได้ยื่นแบบแสดงรายการค้าหรือยื่นไม่ถูกต้อง หรือไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกหรือตอบคำถามของเจ้าพนักงานประเมินนั้นเป็นการให้อำนาจประเมินภาษีที่ถึงกำหนดชำระแล้ว มิใช่ให้อำนาจประเมินภาษีกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้เป็นการล่วงหน้าเมื่อขณะเกิดเหตุคดีนี้พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 ซึ่งบัญญัติให้เพิ่มเติมมาตรา 86 เบญจที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินกำหนดรายรับขั้นต่ำของผู้ประกอบการค้าบางประเภทไว้เป็นการล่วงหน้าได้คราวละไม่เกิน 24 เดือน ยังไม่ใช้บังคับการที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีการค้าของโจทก์โดยกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้ล่วงหน้า จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้ล่วงหน้าจากเจ้าพนักงานประเมินแล้วไม่ได้โต้แย้งคัดค้าน ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ยอมรับการกำหนดรายรับขั้นต่ำนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 59/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานไม่ยื่นแบบรายการภาษีสรรพสามิตและไม่ชำระภาษี จำเลยยังคงครอบงำดูแลกิจการแม้เปลี่ยนตัวกรรมการ
ตาม พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ประกอบมาตรา 14 บัญญัติให้คดีความผิดทางอาญาตามกฎหมายที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายพระราชบัญญัติดังกล่าว และคดีที่กำหนดในกฎกระทรวงโดยการเสนอแนะของ กคพ. (คณะกรรมการคดีพิเศษ) เป็นคดีพิเศษที่จะต้องดำเนินการสืบสวนและสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนคดีพิเศษและเจ้าหน้าที่คดีพิเศษของกรมสอบสวนคดีพิเศษ และตามบัญชีท้ายประกาศ กคพ. ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2547) เรื่อง การกำหนดรายละเอียดของลักษณะของการกระทำความผิดตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) แห่ง พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษฯ ข้อ 3 กำหนดว่า คดีความผิดที่มีบทกำหนดโทษตามมาตรา 147 มาตรา 161 มาตรา 162 มาตรา 165 และมาตรา 167 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 ที่มีหรือมีมูลน่าเชื่อว่ามีมูลค่าหรือปริมาณของสินค้าหรือบริการที่คำนวณเป็นเงินตั้งแต่สิบล้านบาทขึ้นไป ให้จัดเป็นคดีพิเศษ เมื่อคดีนี้มีมูลความผิดตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิตฯ มาตรา 164 มาตรา 165 และมีมูลค่าของบริการคำนวณเป็นเงินเกินกว่าสิบล้านบาทจึงจัดเป็นคดีพิเศษอยู่ในอำนาจสอบสวนของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ และเจ้าหน้าที่คดีพิเศษของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ไม่จำต้องพิจารณาว่าจะต้องนำคดีนี้ไปขออนุมัติต่อ กคพ. ให้เป็นคดีพิเศษก่อนหรือไม่
โจทก์บรรยายฟ้องแยกการกระทำความผิดของจำเลยเป็นข้อ ๆ โดยบรรยายถึงการกระทำของจำเลยในแต่ละรอบปี และสรุปจำนวนเงินภาษีที่จำเลยกับพวกมิได้ชำระในแต่ละปี มิได้บรรยายถึงการกระทำของจำเลยในแต่ละเดือนว่ามีรายละเอียดเป็นอย่างไร จำนวนเงินภาษีที่มิได้ชำระในแต่ละเดือนเป็นเท่าไร ตามคำฟ้องโจทก์มิได้มีเจตนาให้ลงโทษจำเลยในความผิดแต่ละเดือน คงประสงค์ให้ลงโทษในความผิดแต่ละปีตามคำฟ้องแต่ละข้อ จำเลยคงมีความผิดตามคำฟ้องรวม 4 กรรม เท่านั้น