พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 813/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำให้การหลังขาดนัด และขอบขยายเวลา ศาลไม่ต้องสั่งไม่รับคำให้การ หากไม่ขยายเวลา
การขออนุญาตยื่นคำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 199 นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 197 วรรคแรกแล้ว จำเลยที่ 2 จึงขออนุญาตยื่นคำให้การก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การไม่ได้
คำร้องของจำเลยที่ 2 บรรยายไว้ชัดว่าจำเลยที่ 2 ได้รับหมายเรียก และสำเนาคำฟ้องเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2525 และพ้นกำหนดที่จำเลยที่ 2 จะต้องยื่นคำให้การแก้คดีแล้ว การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอยื่นคำให้การ จึงเท่ากับเป็นการขอให้ศาลมีคำสั่งขยายระยะเวลายื่นคำให้การให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งกรณีนี้เมื่อศาลสั่งอนุญาตแล้วจึงจะถึงขั้นพิจารณาเกี่ยวกับการสั่งรับหรือไม่รับคำให้การ หากศาลสั่งไม่อนุญาตก็ไม่ต้อง พิจารณาถึงการสั่งรับหรือไม่รับคำให้การต่อไป ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้น ไม่ขยายระยะเวลายื่นคำให้การให้แก่จำเลยที่ 2 จึงไม่จำต้องสั่งไม่รับคำให้การของจำเลยที่ 2 ด้วย
คำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การไม่ใช่คำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (5) เพราะไม่ได้ตั้งประเด็นระหว่างคู่ความฉะนั้นคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาจึงไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความและเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยที่ 2 จะอุทธรณ์ฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นในระหว่างพิจารณาไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226
คำร้องของจำเลยที่ 2 บรรยายไว้ชัดว่าจำเลยที่ 2 ได้รับหมายเรียก และสำเนาคำฟ้องเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2525 และพ้นกำหนดที่จำเลยที่ 2 จะต้องยื่นคำให้การแก้คดีแล้ว การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอยื่นคำให้การ จึงเท่ากับเป็นการขอให้ศาลมีคำสั่งขยายระยะเวลายื่นคำให้การให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งกรณีนี้เมื่อศาลสั่งอนุญาตแล้วจึงจะถึงขั้นพิจารณาเกี่ยวกับการสั่งรับหรือไม่รับคำให้การ หากศาลสั่งไม่อนุญาตก็ไม่ต้อง พิจารณาถึงการสั่งรับหรือไม่รับคำให้การต่อไป ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้น ไม่ขยายระยะเวลายื่นคำให้การให้แก่จำเลยที่ 2 จึงไม่จำต้องสั่งไม่รับคำให้การของจำเลยที่ 2 ด้วย
คำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การไม่ใช่คำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (5) เพราะไม่ได้ตั้งประเด็นระหว่างคู่ความฉะนั้นคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาจึงไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความและเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยที่ 2 จะอุทธรณ์ฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นในระหว่างพิจารณาไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2470/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไม่รับคำให้การตามมาตรา 199 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง: ห้ามอุทธรณ์ระหว่างพิจารณา
คำสั่งศาลชั้นต้นที่เมื่อไต่สวนแล้วเห็นว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การ จึงมีคำสั่งไม่รับคำให้การมิใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 แต่เป็นการสั่งตาม มาตรา199 เป็นคำสั่งโดยปกติในระหว่างการพิจารณาของศาลก่อนที่จะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีอันไม่เข้ากรณีที่ระบุเป็นข้อยกเว้นไว้ตาม มาตรา227,228 จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาศาลอุทธรณ์รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้พิจารณาแล้วพิพากษาคดีไปนั้นจึงไม่ชอบ และหามีผลแต่ประการใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1191/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลที่ถือว่าเป็นการไม่รับคำให้การ ทำให้จำเลยมีสิทธิฎีกาได้ แม้คำสั่งนั้นจะเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา
การที่ศาลชั้นต้นสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การเท่ากับสั่งไม่รับคำให้การจำเลยคดีจึงปรับเข้าอยู่ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 228(3) ประกอบด้วยมาตรา 18 วรรค 3 ซึ่งเป็นข้อยกเว้นให้จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3433/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีไม่มีข้อยุ่งยาก: การยื่นคำให้การเกินกำหนด ศาลชอบที่จะไม่รับคำให้การได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำฟ้องและออกหมายเรียกเป็นคดีไม่มีข้อยุ่งยากซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง ที่ใช้บังคับในขณะนั้น บัญญัติว่า "ถ้าศาลเห็นว่าคดีนั้นปรากฏในเบื้องต้นว่าเป็นคดีไม่มีข้อยุ่งยาก ไม่ว่าโจทก์จะได้ยื่นคำขอตามวรรคหนึ่งหรือไม่ ก็ให้ศาลมีคำสั่งให้นำบทบัญญัติในหมวดนี้ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่เว้นแต่มาตรา 190 จัตวา มาใช้บังคับแก่คดีเช่นว่านั้นได้ภายในบังคับต่อไปนี้ (1) ให้ศาลออกหมายเรียกไปยังจำเลยแสดงจำนวนเงินที่เรียกร้องและเหตุแห่งการเรียกร้องและให้จำเลยมาศาลและให้การในวันใดวันหนึ่งตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดโดยมิให้เป็นการเสียหายแก่การต่อสู้คดี" จากบทบัญญัติดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ในคดีไม่มีข้อยุ่งยาก กฎหมายกำหนดให้ศาลออกหมายเรียกให้จำเลยมาศาลและให้การในวันใดวันหนึ่งตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนด หมายเรียกคดีนี้กำหนดให้จำเลยทั้งสองมาศาลและให้การแก้ข้อหาแห่งคดีในวันที่ 5 กรกฎาคม 2549 เวลา 9 นาฬิกา ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าว แต่ก่อนถึงวันนัด 2 วัน จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2549 ขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การแก้ข้อหาแห่งคดีและนัดพิจารณาคดีออกไป 60 วัน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การภายในวันที่ 3 สิงหาคม 2549 ส่วนวันนัดพิจารณาคดีศาลชั้นต้นไม่ได้สั่งให้เลื่อน จึงถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้ใช้ดุลพินิจกำหนดระยะเวลาให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การใหม่ได้จนถึงวันที่ 3 สิงหาคม 2549 โดยมิให้เป็นการเสียหายแก่การต่อสู้คดีของจำเลยทั้งสองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง (1) แล้ว เมื่อถึงวันนัดคู่ความมาศาล ศาลชั้นต้นสอบถามคู่ความแล้วแถลงว่าประสงค์จะเจรจาตกลงกัน ขอให้นำคดีเข้าสู่ระบบไกล่เกลี่ย ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้นำคดีเข้าสู่ระบบการไกล่เกลี่ยของศาล โดยนัดไกล่เกลี่ยวันที่ 18 สิงหาคม 2549 จำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่ต้องยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กำหนด แม้คดีจะอยู่ในระหว่างการไกล่เกลี่ยก็ไม่ทำให้ระยะเวลาในการยื่นคำให้การต้องขยายออกไป นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาความในวรรคสอง (2) และ (3) แล้ว เจตนารมณ์ของกฎหมายมุ่งประสงค์ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาคดีไม่มีข้อยุ่งยากโดยเร็วเท่าที่พึงกระทำได้ โดยห้ามมิให้ศาลอนุญาตตามคำขอของจำเลยเพื่อเลื่อนเวลายื่นคำให้การหรือเพื่อเลื่อนคดี เว้นแต่จำเลยจะแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่า คำขอของตนมีเหตุผลดีและสันนิษฐานได้เบื้องต้นว่า จำเลยมีข้อต่อสู้คดีอันสมควร การที่จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การและฟ้องแย้งในวันที่ 11 สิงหาคม 2549 เป็นการยื่นคำให้การเกินกำหนด ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองชอบแล้วและโดยเหตุที่คดีไม่มีข้อยุ่งยากกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะนั้นมิได้กำหนดให้ศาลต้องสอบถามคำให้การของจำเลยเหมือนดั่งคดีมโนสาเร่ ทั้งจำเลยทั้งสองก็ขาดนัดยื่นคำให้การไปก่อนแล้ว ศาลชั้นต้นจึงไม่มีหน้าที่ต้องสอบถามคำให้การจำเลยทั้งสองในวันที่ 10 สิงหาคม 2550 ที่มีการสืบพยานโจทก์ การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15019/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลที่ไม่รับคำให้การและการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา การตีความประเภทของคำสั่งศาล
ระหว่างพิจารณาภายหลังศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งว่า จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การโดยอ้างว่าเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบพร้อมทั้งยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องและไม่รับคำให้การของจำเลยที่ 1 ดังนี้ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและคำสั่งยกคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) ส่วนคำสั่งไม่รับคำให้การของจำเลยที่ 1 เป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสาม ซึ่งทำให้คดีเสร็จไปเฉพาะแต่ประเด็นบางข้อ มิใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยที่ 1 มีสิทธิอุทธรณ์ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 228 (3)