คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ไม่รับวินิจฉัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 356 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 715/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นฎีกา และยืนตามศาลล่างที่ไม่รอการลงโทษจำคุก
ในชั้นอุทธรณ์จำเลยยกข้อเท็จจริงทำนองว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดขึ้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 6 มิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัย จำเลยไม่ฎีกาโต้แย้งว่าการที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยนั้นไม่ชอบแต่อย่างใด จำเลยกลับยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นฎีกาซ้ำอีก จึงถือได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยเพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกา และถือไม่ได้ว่าฎีกาดังกล่าวเป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 ทั้งมิได้เป็นข้อความที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ตัดสินไว้ ไม่อาจใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวเป็นการมิชอบ
ตามรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติซึ่งจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านปรากฏว่า จำเลยเคยกระทำความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คมาก่อน ศาลฎีกาในคดีดังกล่าวพิพากษาให้ลงโทษจำคุก 4 เดือน เมื่อจำเลยในคดีก่อนและคดีนี้เป็นบุคคลคนเดียวกันย่อมถือว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน โดยไม่จำต้องพิจารณาว่าคดีก่อนและคดีนี้จำเลยได้รับโทษจำคุกในฐานะใด และเมื่อโทษจำคุกที่จำเลยได้รับในคดีก่อนมิใช่โทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ จึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่ศาลฎีกาจะพิพากษาให้รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้ตาม ป.อ. มาตรา 56

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5509/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัย หลังศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีคุมประพฤติ
ศาลชั้นต้นเห็นว่า จำเลยผิดเงื่อนไขคุมประพฤติ จึงลงโทษจำคุกตามโทษที่รอการลงโทษไว้ เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำสั่ง และศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแล้ว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ. วิธีดำเนินการคุมความประพฤติตาม ป.อ. ฯ มาตรา 17 วรรคสอง โจทก์จะฎีกาไม่ได้ ที่อัยการสูงสุดรับรองให้ฎีกาและศาลชั้นต้นรับฎีกาของโจทก์มานั้น เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 496/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากไม่วางเงินค่าธรรมเนียมพร้อมการอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะไม่รับวินิจฉัย
ป.วิ.พ. มาตรา 229 บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของผู้อุทธรณ์ต้องปฏิบัติ ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ เมื่อจำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การที่จำเลยฎีกาว่า ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยไว้แล้ว โจทก์มิได้ยกเรื่องการมิได้วางเงินค่าธรรมเนียมเป็นประเด็นในคำแก้อุทธรณ์ และโจทก์ไม่เสียเปรียบเพราะสามารถยึดที่ดินของจำเลยขายทอดตลาดชำระค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ได้อยู่แล้ว นั้น หาเป็นเหตุทำให้อุทธรณ์ของจำเลยกลับเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาไม่ และกรณีไม่นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ ก็มิใช่เรื่องของการมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลโดยถูกต้องครบถ้วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ซึ่งศาลจะต้องสั่งให้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบถ้วนเสียก่อนที่จะสั่งรับหรือไม่รับคำคู่ความ
จำเลยฎีกาโดยขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลย มิได้ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีหรือยกฟ้องโจทก์ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกา 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ. ตาราง 1 ข้อ 2 (ก) แต่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลในชั้นนี้มาอย่างคดีมีทุนทรัพย์จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในส่วนที่จำเลยเสียเกินมาแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริง เหตุทุนทรัพย์เกินและข้อพิพาทเป็นเรื่องสัญญาหมั้นสินสอด
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันหรือแทนกันคืนของหมั้นสร้อยคอทองคำหนัก 5 บาท ราคา 32,500 บาท ให้แก่โจทก์ทั้งสอง และให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันหรือแทนกันคืนเงินสินสอดจำนวน 130,000 บาท แก่โจทก์ทั้งสอง หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนแก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งสอง ดังนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงมีเพียง 32,500 บาท ไม่เกิน 50,000 บาท ทั้งมิใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว จำเลยที่ 1 จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
ปัญหาในชั้นอุทธรณ์ที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาหมั้น เนื่องจากจำเลยที่ 1 และโจทก์ที่ 1 ไม่มีเจตนาที่จะจดทะเบียนสมรสกันนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ในปัญหานี้ให้เป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 242 (1) และถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฎีกาในปัญหาดังกล่าว
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวรับฟังว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เป็นฝ่ายผิดสัญญา ต้องคืนของหมั้นและสินสอดแก่โจทก์รวมเป็นเงิน 162,500 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกิน 200,000 บาท ทั้งมิใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว คดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 และที่ 3 โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสอง เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2218/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาหลังมีคำพิพากษา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม ป.วิ.พ. ภาค 4 ลักษณะ 1 เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาคดีนี้แล้ว คดีนี้จึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8400/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากผู้เรียงฟ้องไม่ได้เป็นทนายความ ทำให้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การฝ่าฝืนข้อห้ามตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 33 มีโทษทางอาญาตามมาตรา 82 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ล. มิได้เป็นผู้ซึ่งได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความและไม่เป็นบุคคลซึ่งอยู่ในข้อยกเว้นตามมาตรา ๓๓ การที่ ล. เรียงหรือแต่งฟ้องฎีกาให้จำเลย จึงเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาซึ่งเกิดจากการกระทำอันไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5968/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โจทก์ไม่ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น ถือเป็นการยอมรับจำนวนค่าเสียหาย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งสองไม่เต็มตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ คงมีแต่จำเลยที่ 1 ที่อุทธรณ์ ส่วนโจทก์ทั้งสองเพียงแต่ยื่นคำแก้อุทธรณ์เท่านั้น แม้ในคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์จะกล่าวว่าโจทก์ไม่พอใจค่าเสียหายตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น เท่ากับโจทก์พอใจตามจำนวนค่าเสียหายที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังคงพิพากษายืน โจทก์จึงไม่มีสิทธินำปัญหาเรื่องเดียวกันนี้ขึ้นว่ากล่าวในคำฟ้องฎีกาเพื่อขอให้ศาลฎีกากำหนดค่าเสียหายที่จำเลยทั้งสองต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองให้สูงขึ้นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4903/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นฎีกาเกินกำหนดเวลา แม้ศาลชั้นต้นรับคำร้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2546 ครบกำหนดยื่นฎีกาวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2546 จำเลยยื่นคำร้องลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2546 ขอขยายเวลายื่นฎีกาอีก 30 วัน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันดังกล่าวว่า อนุญาตให้ถึงวันที่ 3 มีนาคม 2546 ซึ่งวันที่ 3 มีนาคม 2546 ไม่ใช่วันหยุดประจำสัปดาห์หรือวันหยุดราชการ จำเลยจึงต้องยื่นฎีกาไม่เกินวันที่ 3 มีนาคม 2546 จำเลยยื่นฎีกาวันที่ 4 มีนาคม 2546 ฎีกาของจำเลยจึงยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาตามที่ศาลชั้นต้นอนุญาตแล้ว แม้ว่าศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับฎีกา ฎีกาของจำเลยก็ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ศาลฎีกาจะรับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4903/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากยื่นฎีกาเกินกำหนด แม้ศาลชั้นต้นจะรับเรื่องไว้
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2546 ครบกำหนดยื่นฎีกาวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2546 จำเลยยื่นคำร้องลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2546 ขอขยายเวลายื่นฎีกาอีก 30 วัน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันดังกล่าวว่า อนุญาตให้ถึงวันที่ 3 มีนาคม 2546 ซึ่งวันที่ 3 มีนาคม 2546 ไม่ใช่วันหยุดประจำสัปดาห์หรือวันหยุดราชการ จำเลยจึงต้องยื่นฎีกาไม่เกินวันที่ 3 มีนาคม 2546 จำเลยยื่นฎีกาวันที่ 4 มีนาคม 2546 ฎีกาของจำเลยจึงยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาตามที่ศาลชั้นต้นอนุญาตแล้ว แม้ว่าศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับฎีกา ฎีกาของจำเลยก็ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4689/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นที่เคยตัดสินแล้วในศาลอุทธรณ์
ที่จำเลยฎีกาว่า สัญญาหมาย จ. 6 โจทก์เป็นผู้ร่างขึ้น จำเลยได้ทักท้วงสัญญาข้อที่ 8 ไว้ก่อนลงนามในสัญญาแล้ว แต่โจทก์ยังคงกำหนดข้อสัญญาข้อนี้ไว้เพื่อเอาเปรียบจำเลย สัญญาข้อนี้จึงเป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ขัดต่อ พ.ร.บ. ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 จึงตกเป็นโมฆะ นั้น ในปัญหาข้อนี้ เดิมเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ในครั้งแรกด้วยเหตุที่ว่า ข้อสัญญาข้อ 8 เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ศาลอุทธรณ์ได้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยวินิจฉัยว่าข้อสัญญาดังกล่าวไม่เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ในประเด็นอื่น ๆ ตามรูปคดี จำเลยไม่ได้ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ดังกล่าว ปัญหาดังกล่าวจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำเลยจะหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นฎีกาอีกไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
of 36