พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2683/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เสียหายในการเข้าร่วมเป็นโจทก์หลังถอนฟ้องคดีเดิม ไม่ถือเป็นการสละสิทธิฟ้อง
ผู้เสียหายยื่นฟ้องจำเลยในความผิดฐานบุกรุกและกระทำอนาจารเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2522 และรุ่งขึ้นวันที่ 12 มกราคม 2522 และรุ่งขึ้นวันที่ 12 มกราคม 2522 พนักงานอัยการได้ฟ้องจำเลยในเรื่องเดียวกันนั้นเข้ามาใหม่ ต่อมาวันที่ 15 มกราคม 2522 ผู้เสียหายถอนฟ้องคดีที่ผู้เสียหายได้ฟ้องไว้ และในวันนั้นเองผู้เสียหายได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีที่พนักงานอัยการยื่นฟ้องจำเลยนั้น ดังนี้ เห็นได้ว่า การถอนฟ้องดังกล่าวก็เพื่อจะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีที่พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องจำเลยนั่นเอง มิใช่เป็นการถอนฟ้องเด็ดขาดตามความหมาย ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของผู้เสียหายจึงไม่ระงับไปดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) ผู้เสียหายจึงมีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้ โดยหาจำต้องกล่าวหรือมีข้อแม้ไว้ในคำร้องขอถอนฟ้องว่าถอนไปเพื่อขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ กับพนักงานอัยการด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1730/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำถนนคอนกรีตบนทางภารจำยอมไม่ถือเป็นการเพิ่มภารจำยอม หรือสละสิทธิ หากยังคงสภาพเดิม และภารจำยอมยังไม่สิ้นสุด
การทำถนนคอนกรีตบนทางภารจำยอมไม่เป็นการเพิ่มภารจำยอม (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 33/2503)
จดทะเบียนภารจำยอมว่าเป็นทางเดินของผู้ที่อยู่ในโฉนดซึ่งจำเลยเป็นเจ้าของ แต่แล้วใช้ทางนี้เป็นทางรถด้วยก็ดี หรือมีคนอื่นซึ่งอยู่ในที่ดินโฉนดของจำเลยได้ใช้เป็นทางเดินด้วยก็ดี ก็ยังไม่เป็นการเพิ่มภารจำยอม
เมื่อการจดทะเบียนภารจำยอมยังคงอยู่แม้ผู้ใช้ทางนั้นจะอ้างว่าเป็นทางสาธารณ ก็ไม่ถือว่าสละสิทธิภารจำยอม
จดทะเบียนภารจำยอมว่าเป็นทางเดินของผู้ที่อยู่ในโฉนดซึ่งจำเลยเป็นเจ้าของ แต่แล้วใช้ทางนี้เป็นทางรถด้วยก็ดี หรือมีคนอื่นซึ่งอยู่ในที่ดินโฉนดของจำเลยได้ใช้เป็นทางเดินด้วยก็ดี ก็ยังไม่เป็นการเพิ่มภารจำยอม
เมื่อการจดทะเบียนภารจำยอมยังคงอยู่แม้ผู้ใช้ทางนั้นจะอ้างว่าเป็นทางสาธารณ ก็ไม่ถือว่าสละสิทธิภารจำยอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 971/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดก: การครอบครองทรัพย์มรดกต่อเนื่องและการไม่สละสิทธิทำให้ฟ้องไม่ขาดอายุความ
โจทย์ฟ้องหลังจากเจ้ามรดกตายหลายปีแล้ว แต่โจทก์ครอบครองทรัพย์มรดกร่วมมากับจำเลย ไม่เคยสละสิทธิเลย ดังนี้ ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตาม ม. 1754.