พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7831/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า ยาคน-สัตว์ ไม่ทำให้สับสน ศาลอนุญาตจดทะเบียนได้
โจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในสินค้าจำพวกที่ 5 เช่นเดียวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของบริษัท ค. แต่สินค้าของโจทก์เป็นคนละประเภทกับสินค้าของบริษัทดังกล่าว กล่าวคือ สินค้าของโจทก์เป็นยาและสารที่เตรียมขึ้นทางเภสัชกรรมไว้รักษาและป้องกันโรคผมร่วงหรือโรคหัวล้าน แต่สินค้าของบริษัท ค. เป็นยาทำลายหรือต่อต้านเชื้อแบคทีเรียสำหรับใช้ในการรักษาสัตว์ แม้จะเป็นยาเหมือนกันแต่ก็ใช้รักษาโรคในคนและสัตว์แตกต่างกันผู้ใช้จึงเป็นคนละกลุ่มกัน แม้เครื่องหมายการค้าทั้งสองจะคล้ายกันแต่ไม่ทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่ายาของโจทก์เป็นยาของบริษัท ค. หรือมีแหล่งกำเนิดจากบริษัทดังกล่าว เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงเป็นเครื่องหมายการค้าอันพึงรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา 6 และมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: สินค้าต่างประเภท แม้ชื่อคล้ายกัน ไม่ทำให้สับสน
กรมทรัพย์สินทางปัญญาจำเลยมีฐานะเป็นกรมในสังกัดกระทรวงพาณิชย์โดยผลของพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารบางส่วนของกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ.2535 พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ.2535 และ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 จำเลยจึงมีอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้า ซึ่งได้แก่การดำเนินการเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 และถึงแม้ว่านายทะเบียนเครื่องหมายการค้าจะเป็นเจ้าหน้าที่โดยตรงในการมีคำสั่งเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและมีคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเป็นผู้พิจารณาอุทธรณ์ แต่การดำเนินการของเจ้าหน้าที่และคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าดังกล่าวก็อยู่ในอำนาจหน้าที่และการควบคุมของจำเลยในฐานะที่เป็นกรมซึ่งรับผิดชอบปฏิบัติงานในเรื่องนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่จะเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 18 วรรคหนึ่งนั้น เป็นเพียงถึงที่สุดในทางฝ่ายบริหารเท่านั้นหาได้ตัดสิทธิโจทก์มิให้นำคดีมาฟ้องศาลไม่ ดังนั้น ถ้าโจทก์เห็นว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้
ยา Tequin ของโจทก์เป็นยาที่ใช้สำหรับรักษามนุษย์ซึ่งต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์และมีจำหน่ายในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลเท่านั้น ส่วนยา TRIQUIN ของจำเลยเป็นยาที่ใช้สำหรับสัตว์ซึ่งจำหน่ายในร้านขายยาแผนปัจจุบันสำหรับสัตว์ แม้โจทก์จะใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับสินค้าจำพวกที่ 5 เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้แล้ว แต่สินค้าของโจทก์เป็นผลิตภัณฑ์ยาสำหรับรักษามนุษย์ ส่วนสินค้าตามเครื่องหมายการค้าที่มีการจดทะเบียนแล้วเป็นยาสำหรับรักษาสัตว์ซึ่งมีสถานที่จำหน่ายยาแยกต่างหากจากกัน ลักษณะของตัวอักษรในเครื่องหมายการค้า เสียงเรียกขานและผลิตภัณฑ์สินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าไม่มีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่มีการจดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนเกิดการสับสนหรือหลงผิดในตัวสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า จึงมีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 6 และ มาตรา 13
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่จะเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 18 วรรคหนึ่งนั้น เป็นเพียงถึงที่สุดในทางฝ่ายบริหารเท่านั้นหาได้ตัดสิทธิโจทก์มิให้นำคดีมาฟ้องศาลไม่ ดังนั้น ถ้าโจทก์เห็นว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้
ยา Tequin ของโจทก์เป็นยาที่ใช้สำหรับรักษามนุษย์ซึ่งต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์และมีจำหน่ายในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลเท่านั้น ส่วนยา TRIQUIN ของจำเลยเป็นยาที่ใช้สำหรับสัตว์ซึ่งจำหน่ายในร้านขายยาแผนปัจจุบันสำหรับสัตว์ แม้โจทก์จะใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับสินค้าจำพวกที่ 5 เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้แล้ว แต่สินค้าของโจทก์เป็นผลิตภัณฑ์ยาสำหรับรักษามนุษย์ ส่วนสินค้าตามเครื่องหมายการค้าที่มีการจดทะเบียนแล้วเป็นยาสำหรับรักษาสัตว์ซึ่งมีสถานที่จำหน่ายยาแยกต่างหากจากกัน ลักษณะของตัวอักษรในเครื่องหมายการค้า เสียงเรียกขานและผลิตภัณฑ์สินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าไม่มีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่มีการจดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนเกิดการสับสนหรือหลงผิดในตัวสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า จึงมีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 6 และ มาตรา 13
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1501/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: สินค้าต่างจำพวก ไม่ทำให้สับสน, สิทธิใช้เครื่องหมายการค้าแม้ไม่ได้จดทะเบียน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของจำเลย ต่างใช้รูปหัวไก่เป็นส่วนสำคัญของเครื่องหมายการค้า ซึ่งมีส่วนคล้ายกันมาก แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเครื่องหมายการค้า ของโจทก์และจำเลยเป็นสินค้าที่มีลักษณะแตกต่างกันหรือต่างจำพวก สินค้ากันในรายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้และโจทก์กับจำเลยต่างใช้เครื่องหมายการค้าของตนสำหรับ สินค้าคนละประเภทกันดังกล่าวผลิตออกจำหน่ายแก่สาธารณชน โดยสุจริตมาเป็นเวลานานหลายสิบปี จนสาธารณชนทราบดีว่า สินค้าชนิดใดเป็นของโจทก์ ชนิดใดเป็นของจำเลย มิได้ทำให้ สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้า หรือแหล่งกำเนิดของสินค้าแต่อย่างใด เครื่องหมายการค้า ของโจทก์จึงไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียน ไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็น เจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้านั้น ไม่เข้าลักษณะ ต้องห้ามมิให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ของโจทก์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6(3) และ 13 วรรคหนึ่ง(2) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 เมื่อโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาโดยสุจริตการที่โจทก์มิได้ต่ออายุทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์และนายทะเบียนได้เพิกถอนการจดทะเบียนนั้น มีผลทำให้โจทก์ไม่อยู่ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วอันจะได้รับความคุ้มครองในฐานะดังกล่าวตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 เท่านั้น หาได้เป็นการตัดสิทธิโจทก์ไม่ให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นต่อไปไม่และโจทก์ย่อมมีสิทธิ ที่จะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ใหม่ได้ ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่เสียสิทธิในการใช้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์ จึงหาใช่ข้อวินิจฉัยที่ คลาดเคลื่อนต่อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1419/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าไม่เหมือนหรือคล้ายกัน สินค้าต่างประเภท ไม่ทำให้สับสน ไม่ละเมิด
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยเป็นภาพหัวสิงห์โตอยู่ในวงกลม แต่รูปวงกลมและส่วนประกอบอื่นๆผิดกันมากใช้กับสินค้าต่างจำพวกกัน ไม่เหมือนหรือคล้ายกับของโจทก์ไม่มีลักษณะทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1884/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าไม่คล้ายกัน ไม่ทำให้สับสน แม้มีรูปปลาเหมือนกัน ศาลยืนตามคำวินิจฉัยนายทะเบียน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์จำเลยต่างมีรูปปลาตัวหนึ่งอยู่ตรงกลางของโจทก์ส่วนกลางลำตัวปลาแนบอยู่บนรูปเพชรมีอักษรภาษาไทยว่า"ตราปลา-เพชร" อยู่ด้านล่าง ของจำเลยมีรูปคนผู้ชายยืนอยู่ภายในและบนเส้นรอบวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลางวงกลมยาวไปตามลำตัวปลา ด้านล่างมีอักษรโรมันอ่านว่า เซอร์เคิลแมนแบรนด์ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้นำมาจดทะเบียนไว้แล้วไม่ทำให้เกิดความสับสนหรือหลงผิดจนนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนจึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ให้ดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1606/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายบริการที่คล้ายคลึงกัน แต่ต่างประเภทสินค้า/บริการ และกลุ่มผู้บริโภค ไม่ทำให้สับสน
เครื่องหมายบริการที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนและเครื่องหมายการค้าที่ ว. ได้จดทะเบียนไว้แล้ว เป็นประเภทเครื่องหมายคำและเป็นคำอักษรโรมันคำว่า "EIKON" เหมือนกัน มีเสียงเรียกขานอย่างเดียวกันว่า "อิ-คอน" ถือได้ว่าคล้ายกันมาก แต่ถึงขนาดทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือบริการหรือไม่นั้น ย่อมต้องพิจารณาจากกลุ่มสาธารณชนผู้บริโภคหรือผู้รับบริการของโจทก์และผู้ใช้สินค้าของ ว. เป็นสำคัญ เมื่อโจทก์ยื่นขอจดทะเบียนเพื่อใช้กับบริการจำพวกที่ 42 ส่วนเครื่องหมายการค้าของ ว. ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ใช้กับสินค้าในจำพวกที่ 9 นับได้ว่าเป็นการจดทะเบียนกันคนละประเภทและต่างจำพวกกัน รายการบริการที่โจทก์ขอจดทะเบียน คือ บริการการใช้เช่าคอมพิวเตอร์ บริการการออกแบบคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์สำหรับบุคคลอื่น เป็นต้น ส่วนรายการสินค้าที่ ว. ได้จดทะเบียนไว้แล้วคือ เครื่องควบคุมกระแสไฟฟ้า ฟิวส์ เต้าเสียบ สวิตช์ เป็นต้น อันเป็นกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า ถือได้ว่า รายการบริการและรายการสินค้าสองกลุ่มนี้มีลักษณะแตกต่างกัน กลุ่มผู้ใช้สินค้าและบริการเป็นคนละกลุ่มกัน เนื่องจากรายการบริการของโจทก์เน้นเกี่ยวกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มผู้รับบริการของโจทก์จึงเป็นกลุ่มที่มีความรู้ความสนใจความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและอิเล็กทรอนิกส์ และต้องใช้วิจารณญาณในการเลือกผู้ให้บริการที่มีความน่าเชื่อถือและมีคุณภาพ ส่วนรายการสินค้าของ ว. เป็นกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการใช้สินค้า ชีวิต และทรัพย์สินของผู้บริโภคด้วย ผู้ซื้อสินค้าดังกล่าวย่อมต้องพินิจพิเคราะห์อย่างระมัดระวัง จึงมิใช่เรื่องที่สาธารณชนจะสับสนหลงผิดได้โดยง่าย ทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการแอบอิงหรือแสวงหาประโยชน์ในชื่อเสียงเกียรติคุณในเครื่องหมายการค้ากรณียังถือไม่ได้ว่าเครื่องหมายบริการที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนและเครื่องหมายการค้าที่ ว. ได้จดทะเบียนไว้แล้วคล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือบริการ