พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 495/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตให้ดำเนินคดีอนาถาและการขยายระยะเวลาวางค่าธรรมเนียมศาล คำสั่งต่อเนื่องจากคำสั่งถึงที่สุดแล้วไม่อาจฎีกาได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ จำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 อุทธรณ์อย่างคนอนาถา หากจำเลยที่ 1 ยังคงติดใจอุทธรณ์ ก็ให้จำเลยที่ 1 นำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย การที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ออกไปอีก แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง จำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งต่อมา และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นเพราะเห็นว่าไม่มีพฤติการณ์พิเศษหรือเหตุสุดวิสัยที่จะขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 1 ออกไปอีกนั้น เป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งต่อเนื่องจากคำสั่งที่ไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 อุทธรณ์อย่างคนอนาถาซึ่งถึงที่สุดแล้วจำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฎีกาโต้แย้งคำสั่งของศาลอุทธรณ์ต่อไปได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 184/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ในการควบคุมการบังคับคดีระหว่างอุทธรณ์: คำสั่งต่อเนื่องและไม่อาจฎีกา
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้ทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์โดยให้ศาลชั้นต้นตีราคาทรัพย์สินที่จำนอง ถ้าไม่พอชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนับจนถึงวันทราบคำสั่งและต่อไปอีก 1 ปี ก็ให้จำเลยหาประกันมาให้ครบถ้วนภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีในชั้นพิจารณาหลักประกัน โดยถือว่าจำเลยไม่ดำเนินการวางหลักประกันภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดนั้นเป็นคำสั่งที่ต่อเนื่องกับคำสั่งทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์ ซึ่งเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์โดยเฉพาะ จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำสั่งนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4796/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาในคดีเยาวชนที่ศาลชั้นต้นกำหนดวิธีการตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ มาตรา 121(2) ไม่อาจฎีกาได้
ศาลเยาวชนและครอบครัวซึ่งเป็นศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 1 ปี แต่ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปรับการฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน มีกำหนดขั้นต่ำ 1 ปี 6 เดือน ขั้นสูง 2 ปี นับแต่วันพิพากษาจำเลยอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษ ศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายืนจำเลยฎีกาขอให้เปลี่ยนโทษเป็นรอการลงโทษ เป็นการฎีกากรณีที่ศาลเยาวชนและครอบครัวซึ่งเป็นศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษากำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 121 (2) แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา 124แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว และกรณีนี้ไม่อาจมีการอนุญาตให้ฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 44/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ในการพิจารณาคำร้องขอทุเลาการบังคับระหว่างอุทธรณ์เป็นที่สุด ไม่อาจฎีกาได้
กรณีที่พิพาทกันในชั้นขอทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์ซึ่งจำเลยยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์นั้น อำนาจในการสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตเป็นอำนาจเฉพาะของศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้รวมตลอดถึงเรื่องการพิจารณาหลักประกันด้วย คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดคู่ความจะฎีกาโต้แย้งคำสั่งของศาลอุทธรณ์มิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1209/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาเล็กน้อยไม่อาจฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ แม้โจทก์อ้างเหตุต่างจากคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษฐานมีกันชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 76 จำคุกหนึ่งปีหกเดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นลงโทษฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามบทกฎหมายเดียวกัน ลงโทษจำคุกหนึ่งปี เป็นการแก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
ฎีกาในปัญหาว่าจำเลยมีกัญชาของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายหรือไม่เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ฎีกาในปัญหาว่าจำเลยมีกัญชาของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายหรือไม่เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษอาญาจากการให้การที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดี ถือเป็นการแก้ไขเล็กน้อยในดุลพินิจศาลอุทธรณ์ จึงไม่อาจฎีกาได้
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นว่า จำเลยได้กระทำผิดฐานลักทรัพย์สำเร็จแล้ว และใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกจำเลยมา 3 ปี ยังไม่มีเหตุที่ศาลอุทธรณ์จะพึงแก้ไขแต่เห็นว่าการที่จำเลยให้การว่า จำเลยเข้าไปจับรถคันของผู้เสียหายออก และภายหลังได้นำเอาไปจอดไว้ที่เดิมนั้นเป็นการให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา นับว่ามีเหตุบรรเทาโทษซึ่งจำเลยสมควรจะได้รับการลดโทษ จึงพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นว่าให้ลดโทษจำเลย 1 ใน 3 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกจำเลยไว้ 2 ปี นั้น เป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงตามศาลชั้นต้น แล้วแก้ไขเล็กน้อยในการใช้ดุลพินิจลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คดีจึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งศาลอุทธรณ์แก้ไขเล็กน้อยต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
ปัญหาว่าคำให้การของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาหรือไม่ ไม่ใช่ปัญหาข้อกฎหมาย
ปัญหาว่าคำให้การของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาหรือไม่ ไม่ใช่ปัญหาข้อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15873/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ไม่ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยความชอบธรรมของกฎหมาย เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่อาจฎีกาได้
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า การส่งคำโต้แย้งของคู่ความเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย คู่ความขอให้ส่งไปได้เฉพาะในประเด็นว่า บทบัญญัติหรือเนื้อความของกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ แต่ตามคำร้องของจำเลยเป็นการโต้แย้งกระบวนการตรากฎหมายว่าไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 154 ซึ่งมาตราดังกล่าวมิได้ให้สิทธิแก่จำเลยหยิบยกเป็นประเด็นโต้แย้งต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ ศาลอุทธรณ์ภาค 6 จึงไม่ต้องส่งคำโต้แย้งของจำเลยเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลยนั้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 6 ดังกล่าวเป็นคำสั่งก่อนที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 จะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดี แม้เป็นคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 211 ก็เป็นคำสั่งในขั้นตอนการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลยุติธรรม ต้องถือว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 6 จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาคำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196 ประกอบมาตรา 225