พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5294/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนเด็กและอำนาจฟ้อง: การไม่ปฏิบัติตามมาตรา 133 ทวิ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความอาญา ไม่ทำให้การสอบสวนเป็นโมฆะ
บทบัญญัติใน ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่ง กำหนดให้การสอบสวนผู้เสียหายหรือพยานอายุไม่เกิน 18 ปี พนักงานสอบสวนจะต้องกระทำเป็นส่วนสัดในสถานที่เหมาะสมสำหรับเด็ก และให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอและพนักงานอัยการเข้าร่วมในการสอบสวนนั้นด้วย ซึ่งเป็นบทบังคับเด็ดขาดให้พนักงานสอบสวนต้องจัดทำ เว้นแต่ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่ง ซึ่งมีเหตุอันควรไม่อาจรอบุคคลดังกล่าวพร้อมกันได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ วรรคห้า คดีนี้ปรากฏว่าในชั้นสอบสวนพนักงานสอบสวนได้สอบปากคำ ว. ซึ่งมีอายุ 13 ปีเศษ ในฐานะพยาน โดยไม่จัดให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอและพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำแต่อย่างใด ทั้งไม่เข้าเหตุกรณีจำเป็นเร่งด่วน ดังนี้ คำให้การของ ว. ในชั้นสอบสวนซึ่งไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว คงมีผลเพียงทำให้คำให้การในชั้นสอบสวนของ ว. ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้เท่านั้น หาเป็นเหตุให้การสอบสวนเสียไปทั้งหมดไม่ และถือได้ว่าได้มีการสอบสวนความผิดในคดีนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
แม้การสอบสวน ว. ซึ่งมีอายุไม่เกิน 18 ปี จะไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่เมื่อในชั้นพิจารณาโจทก์อ้าง ว. เป็นพยานและ ว. ได้เบิกความต่อหน้าศาลโดยผ่านนักสังคมสงเคราะห์ซึ่งชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 172 ตรี แล้ว ศาลย่อมรับฟังคำเบิกความของ ว. ในชั้นศาลเป็นพยานได้
แม้การสอบสวน ว. ซึ่งมีอายุไม่เกิน 18 ปี จะไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่เมื่อในชั้นพิจารณาโจทก์อ้าง ว. เป็นพยานและ ว. ได้เบิกความต่อหน้าศาลโดยผ่านนักสังคมสงเคราะห์ซึ่งชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 172 ตรี แล้ว ศาลย่อมรับฟังคำเบิกความของ ว. ในชั้นศาลเป็นพยานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2533/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินชำระหนี้เช็ค ไม่ใช่หนี้กู้ยืมตามสัญญากู้ยืม ทำให้การโอนไม่เป็นโมฆะ
การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลว่า ศ. นำโฉนดที่ดินที่พิพาทไปมอบให้จำเลยเพื่อโอนชำระหนี้เงินยืม 1,500,000 บาท เป็นการนำสืบให้เห็นว่าจำเลยได้โฉนดที่ดินที่พิพาทมาอย่างไร โดยมิได้อ้างถึงหนังสือสัญญากู้เงินและมิได้เป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารหนังสือสัญญากู้เงินมาแสดง แม้จะมีข้อเท็จจริงแตกต่างไปจากข้อความในหนังสือสัญญากู้เงินที่ระบุว่ามอบโฉนดที่ดินพิพาทไว้เป็นประกันก็ไม่เป็นการสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความที่ห้ามมิให้ศาลรับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
จำเลยรับโอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของโจทก์เพื่อชำระหนี้ตามเช็คที่ ศ. ซึ่งเป็นบุตรโจทก์ค้างชำระอยู่ มิใช่หนี้ตามสัญญากู้ยืมที่มีการออกเช็คนั้นชำระหนี้ จึงไม่อาจนำ ป.พ.พ. มาตรา 656 มาปรับใช้ได้ ความตกลงในการโอนที่ดินพิพาทชำระหนี้ดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆะ
จำเลยรับโอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของโจทก์เพื่อชำระหนี้ตามเช็คที่ ศ. ซึ่งเป็นบุตรโจทก์ค้างชำระอยู่ มิใช่หนี้ตามสัญญากู้ยืมที่มีการออกเช็คนั้นชำระหนี้ จึงไม่อาจนำ ป.พ.พ. มาตรา 656 มาปรับใช้ได้ ความตกลงในการโอนที่ดินพิพาทชำระหนี้ดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5022/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อไม่เป็นโมฆะ แม้มีข้อกำหนดขัดประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย แต่การบอกเลิกสัญญาไม่ชอบ
ข้อกำหนดในการเลิกสัญญาเช่าซื้อและการกลับเข้าครอบครองทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสัญญาเช่าซื้อ แม้ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การให้เช่าซื้อสังหาริมทรัพย์บางประเภทของบริษัทเงินทุนจะกำหนดวิธีการเลิกสัญญาและการกลับเข้าครอบครองทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อไว้โดยเฉพาะเพื่อควบคุมธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์ไม่ให้เอาเปรียบลูกค้าในการเลิกสัญญาเช่าซื้อ หากผู้ให้เช่าซื้อฝ่าฝืน เมื่อผู้ให้เช่าซื้อชำระค่าปรับตามมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 แล้วผู้ให้เช่าซื้อก็ยังสามารถที่จะกลับมาปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อกำหนดได้ ดังนั้น แม้สัญญาเช่าซื้อจะระบุเงื่อนไขในการเลิกสัญญาแตกต่างไปจากประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าว ก็คงไม่มีผลใช้บังคับเฉพาะข้อกำหนดในการเลิกสัญญาเช่าซื้อเท่านั้น เพราะสามารถแยกส่วนที่สมบูรณ์ออกจากส่วนที่ไม่สมบูรณ์ได้หาทำให้สัญญาเช่าซื้อตกเป็นโมฆะทั้งฉบับแต่อย่างใดไม่ ส่วนค่าเสียหายที่สัญญาเช่าซื้อระบุว่า "เมื่อสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลงเพราะผู้เช่าซื้อผิดนัดนอกจากยอมให้ริบเงินที่ชำระไปแล้วยังต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระทั้งหมดด้วยนั้น" เป็นการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ และไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน สัญญาเช่าซื้อจึงไม่เป็นโมฆะ
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การให้เช่าซื้อสังหาริมทรัพย์บางประเภทของบริษัทเงินทุนออกตามความในมาตรา 31 แห่ง พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 ข้อ 3(7) ก. กำหนดวิธีการเลิกสัญญาว่าบริษัทเงินทุนจะเลิกสัญญาต่อเมื่อมีหนังสือบอกกล่าวผู้เช่าซื้อให้ใช้เงินรายงวดที่ค้างชำระนั้นภายในเวลาอย่างน้อยสามสิบวันและผู้เช่าซื้อละเลยเสียไม่ปฏิบัติตาม เพื่อเป็นการควบคุมธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์ไม่ให้เอาเปรียบลูกค้าในการเลิกสัญญาเช่าซื้อ และได้กำหนดโทษในการฝ่าฝืน การที่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ใช้เงินรายงวดที่ค้างชำระภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือและบอกเลิกสัญญา จึงไม่เป็นการบอกเลิกสัญญาโดยชอบและไม่มีผลทำให้สัญญาเช่าซื้อเลิกกันแต่อย่างใด เมื่อสัญญาเช่าซื้อยังไม่เลิกกันโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การให้เช่าซื้อสังหาริมทรัพย์บางประเภทของบริษัทเงินทุนออกตามความในมาตรา 31 แห่ง พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 ข้อ 3(7) ก. กำหนดวิธีการเลิกสัญญาว่าบริษัทเงินทุนจะเลิกสัญญาต่อเมื่อมีหนังสือบอกกล่าวผู้เช่าซื้อให้ใช้เงินรายงวดที่ค้างชำระนั้นภายในเวลาอย่างน้อยสามสิบวันและผู้เช่าซื้อละเลยเสียไม่ปฏิบัติตาม เพื่อเป็นการควบคุมธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์ไม่ให้เอาเปรียบลูกค้าในการเลิกสัญญาเช่าซื้อ และได้กำหนดโทษในการฝ่าฝืน การที่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ใช้เงินรายงวดที่ค้างชำระภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือและบอกเลิกสัญญา จึงไม่เป็นการบอกเลิกสัญญาโดยชอบและไม่มีผลทำให้สัญญาเช่าซื้อเลิกกันแต่อย่างใด เมื่อสัญญาเช่าซื้อยังไม่เลิกกันโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5607/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่ไม่เป็นโมฆะ และสิทธิในการฟ้องขอให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์
โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม2528 โดยมีการตกลงกันว่าจำเลยจะต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2529 จึงมิใช่การซื้อขายเสร็จเด็ดขาดแต่เป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขายไม่เป็นโมฆะ และโจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ตามข้อตกลงได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2518/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงทบดอกเบี้ยเข้าต้นเงิน: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าข้อตกลงก่อนดอกเบี้ยค้างชำระ 1 ปี ไม่เป็นโมฆะ
คู่สัญญากู้ยืมเงินตกลงกันเป็นหนังสือให้เอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระเป็นเวลาหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้ว ให้คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคแรก มิได้บังคับว่าต้องกระทำเมื่อดอกเบี้ยค้างชำระครบหนึ่งปีแล้วเท่านั้น ดังนั้น แม้จะตกลงกันไว้ตั้งแต่ขณะทำสัญญาข้อตกลงนี้ก็ไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2518/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงทบดอกเบี้ยเข้าต้นก่อนครบหนึ่งปี ไม่เป็นโมฆะ หากทำเป็นหนังสือ
คู่สัญญากู้ยืมเงินตกลงกันเป็นหนังสือให้เอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระเป็นเวลาหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้ว ให้คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคแรก มิได้บังคับว่าต้องกระทำเมื่อดอกเบี้ยค้างชำระครบหนึ่งปีแล้วเท่านั้น ดังนั้นแม้จะตกลงกันไว้ตั้งแต่ขณะทำสัญญาข้อตกลงนี้ก็ไม่เป็นโมฆะ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3463/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างทนายความเหมาจ่าย: สัญญาไม่เป็นโมฆะ ศาลกำหนดจ่ายตามส่วนงาน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อประมาณ พ.ศ.2515 ฉ. ตกลงว่าจ้างให้ ว. เป็นทนายความดำเนินการขับไล่ผู้เช่าให้ออกไปจาก ที่ดินของ ฉ. และ ว. ตกลงรับจ้างจัดการขับไล่ผู้เช่าทั้งหมด โดยตกลงเหมากันทำให้แล้วเสร็จในอัตราค่าจ้าง 1,000,000 บาท กำหนดชำระค่าจ้างกันเมื่อได้ขับไล่ผู้เช่าทั้งหมดออกไปแล้ว ดังนี้ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
ฉ. มีความประสงค์ที่จะขับไล่ผู้อยู่ในที่ดินให้ออกไปเพื่อใช้ที่ดินปลูกสร้างอาคารจึงได้ไปปรึกษากับว.และตกลงจ้างว. ที่ ว. รับออกค่าใช้จ่ายไปก่อนก็เพราะ ฉ. เป็นเพื่อนสนิทกับ ว. เป็นกรณีที่ ว.ออก ค่าใช้จ่ายทดรองไปก่อนโดยสุจริต. ถือไม่ได้ว่า ว. ยุยงส่งเสริมให้มีการ ฟ้องคดีกัน ทั้งค่าจ้างที่ ฉ.ตกลงให้ ว. ก็ไม่มากเกินสมควร. ส่วนที่ ฉ. จะให้ ค่าจ้างเป็นเงิน 1,000,000 บาท หรือถ้าไม่มีเงินให้ก็จะให้เป็น ตึกแถว 2 ห้องนั้นก็เป็นข้อเสนอและความประสงค์ของ ฉ. เอง ซึ่ง ฉ. จะให้เป็นเงินก็ได้ ทั้งตึกแถว 2 ห้องนั้นก็มิใช่เป็นทรัพย์ที่พิพาทกันในคดี จึงยังถือไม่ได้ว่าการกระทำของ ว. เป็นการแสวงหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกัน และคิดค่าจ้าง โดยแบ่งเอาจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาท ดังนี้สัญญาจ้างหาตกเป็นโมฆะไม่
ฉ. ตกลงจ้าง ว. ให้ดำเนินการขับไล่ผู้เช่าให้ออกไปจากที่ดินเป็นเงิน 1,000,000 บาท และ ว. ได้กระทำการ ตามที่ ฉ. ว่าจ้างไปบ้างแล้ว. ต่อมาทั้ง ฉ. และ ว.ถึงแก่ความตาย สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลง ฉ. จำต้องใช้สินจ้างตามส่วนของการงานที่ได้ทำไปแล้วอันเป็นประโยชน์ แก่ ฉ.ซึ่งศาลกำหนดให้เป็นเงิน 450,000 บาทนั้น เป็นจำนวนพอสมควรแล้ว
ฉ. มีความประสงค์ที่จะขับไล่ผู้อยู่ในที่ดินให้ออกไปเพื่อใช้ที่ดินปลูกสร้างอาคารจึงได้ไปปรึกษากับว.และตกลงจ้างว. ที่ ว. รับออกค่าใช้จ่ายไปก่อนก็เพราะ ฉ. เป็นเพื่อนสนิทกับ ว. เป็นกรณีที่ ว.ออก ค่าใช้จ่ายทดรองไปก่อนโดยสุจริต. ถือไม่ได้ว่า ว. ยุยงส่งเสริมให้มีการ ฟ้องคดีกัน ทั้งค่าจ้างที่ ฉ.ตกลงให้ ว. ก็ไม่มากเกินสมควร. ส่วนที่ ฉ. จะให้ ค่าจ้างเป็นเงิน 1,000,000 บาท หรือถ้าไม่มีเงินให้ก็จะให้เป็น ตึกแถว 2 ห้องนั้นก็เป็นข้อเสนอและความประสงค์ของ ฉ. เอง ซึ่ง ฉ. จะให้เป็นเงินก็ได้ ทั้งตึกแถว 2 ห้องนั้นก็มิใช่เป็นทรัพย์ที่พิพาทกันในคดี จึงยังถือไม่ได้ว่าการกระทำของ ว. เป็นการแสวงหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกัน และคิดค่าจ้าง โดยแบ่งเอาจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาท ดังนี้สัญญาจ้างหาตกเป็นโมฆะไม่
ฉ. ตกลงจ้าง ว. ให้ดำเนินการขับไล่ผู้เช่าให้ออกไปจากที่ดินเป็นเงิน 1,000,000 บาท และ ว. ได้กระทำการ ตามที่ ฉ. ว่าจ้างไปบ้างแล้ว. ต่อมาทั้ง ฉ. และ ว.ถึงแก่ความตาย สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลง ฉ. จำต้องใช้สินจ้างตามส่วนของการงานที่ได้ทำไปแล้วอันเป็นประโยชน์ แก่ ฉ.ซึ่งศาลกำหนดให้เป็นเงิน 450,000 บาทนั้น เป็นจำนวนพอสมควรแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3360/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับโอนอสังหาริมทรัพย์ชำระหนี้จำนองโดยธนาคารพาณิชย์ ไม่เป็นโมฆะ หากจำหน่ายภายในเก้าปี
การที่ผู้จำนองจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกพิพาทที่จำนองให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ผู้รับจำนองเป็นการชำระหนี้จำนอง เป็นกรณีที่อสังหาริมทรัพย์ตกเป็นของธนาคารพาณิชย์เนื่องจากการชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 12(5) วรรคสอง (เดิม) ซึ่งกฎหมายมุ่งหมายให้กระทำได้ เพียงแต่อยู่ภายในเงื่อนไขที่ว่าธนาคารพาณิชย์ซึ่งได้รับอสังหาริมทรัพย์มาในกรณีดังกล่าวจะต้องจำหน่ายภายในเก้าปีนับแต่วันที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตกเป็นของธนาคารพาณิชย์ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีเป็นอย่างอื่น ฉะนั้นการที่โจทก์รับโอนที่ดินและตึกพิพาทจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3120/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านตัวแทนที่ไม่เป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ สัญญาไม่เป็นโมฆะ
โจทก์ซื้อหลักทรัพย์ตามคำสั่งของจำเลยโดยบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งเป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นตัวแทนบริษัทโจทก์ซื้อให้ โจทก์มิได้จัดให้มีตลาดหรือสถานที่อันเป็นศูนย์กลางการซื้อหรือขายหลักทรัพย์รวมทั้งบริการที่เกี่ยวกับกิจการดังกล่าวตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 จึงไม่เป็นการต้องห้ามตามมาตรา 9 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกหนี้สินค่าซื้อหลักทรัพย์จากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1252/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมเงินที่ไม่ลงวันที่ ไม่เป็นโมฆะ หากมีหลักฐานชัดเจนการกู้ยืมและลายมือชื่อผู้กู้
แม้ในสัญญากู้ยืมเงินจะไม่ได้ลงวันที่ที่กู้ยืมไว้ แต่ก็มีข้อความชัดเจนว่าผู้กู้ได้กู้เงินไปและได้ลงลายมือชื่อผู้กู้เป็นสำคัญไว้แล้ว จึงเป็นหลักฐานการกู้ยืมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 ผู้ให้กู้ใช้ฟ้องร้องบังคับคดีได้ ไม่มีกฎหมายบังคับเรื่องแบบการทำสัญญากู้เงินไว้แต่อย่างใด สัญญากู้เงินนี้ไม่เป็นโมฆะ