คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ไม่ให้ความร่วมมือ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5476/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายจำเลยไม่ให้ความร่วมมือในการกำหนดแนวทางพิจารณาคดี ทำให้ศาลสั่งงดสืบพยานจำเลยไม่ชอบ ศาลฎีกายกคำพิพากษา
การนัดพร้อมเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินคดีตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 27ข้อกำหนดดังกล่าวเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีพิเศษสำหรับคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศต้องใช้เป็นหลักในการพิจารณาคดี กรณีไม่อาจนำหลักเกณฑ์ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งใช้กับคดีแพ่งสามัญในส่วนที่ได้กำหนดไว้ในข้อกำหนดดังกล่าวแล้วมาใช้บังคับได้
วันที่ศาลกำหนดที่จะให้มีการกำหนดแนวทางการดำเนินคดีมีความสำคัญอย่างยิ่งที่คู่ความจะต้องให้ความร่วมมือกับศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศในการร่วมกันพิจารณากำหนดแนวทางในการดำเนินคดีเพื่อให้สามารถดำเนินกระบวนพิจารณาไปได้ด้วยความสะดวก รวดเร็ว และเที่ยงธรรม ทนายจำเลยซึ่งรับว่าความคดีการค้าระหว่างประเทศย่อมต้องทราบกฎหมายหรือข้อกำหนดดังกล่าวเป็นอย่างดีและมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายวิธีพิจารณาความสำหรับคดีชำนัญพิเศษนั้นเพื่อรักษาประโยชน์ของจำเลยซึ่งเป็นตัวความ
ทนายจำเลยไม่มาศาลในวันนัดพร้อมเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินคดีเป็นความผิดของทนายจำเลยเองที่ไม่ได้สนใจและเอาใจใส่ในการดำเนินคดีนี้ เมื่อเป็นความผิดของทนายจำเลยเองที่ไม่ให้ ความร่วมมือกับศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ในการกำหนดแนวทางในการดำเนินคดีและกำหนดวันสืบพยานโจทก์ ในวันที่ทนายจำเลยว่างทนายจำเลยจึงยกเอาเหตุที่ตนไม่อาจมาศาล ในวันนัดสืบพยานโจทก์ได้ โดยอ้างเหตุที่ตนติดว่าความที่ศาลอื่น ซึ่งได้นัดไว้ก่อนแล้วว่าเป็นเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้ตามมาตรา 27แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯมาเพื่อขอเลื่อนคดีไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5700/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องจำกัดเฉพาะประเด็นที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ การไม่ให้ความร่วมมือกับการตรวจสอบภาษีไม่มีเหตุผลลดเบี้ยปรับ
แม้กฎหมายจะมิได้กำหนดว่า ในการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะต้องชี้บ่งเป็นข้อความอย่างใดก็ตามแต่ก็จะต้องมีข้อความโต้แย้งคัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินว่า ประเมินภาษีไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องอย่างใด มีหลักฐานการชำระภาษีอย่างไร คำอุทธรณ์ของโจทก์ที่ยื่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีข้อความว่าโจทก์ได้ยื่นแบบชำระภาษีโดยตลอดและถูกต้องไม่เคยหลีกเลี่ยงแต่อย่างใด จึงไม่ทราบว่าเจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บภาษีการค้าจากโจทก์ในกรณีใดโจทก์เข้าใจว่าโจทก์ได้เสียภาษีไว้ถูกต้องแล้ว และเมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินเรียกเก็บภาษีจากโจทก์โจทก์ไม่มีโอกาสแสดงเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องโจทก์เสียเปรียบอย่างมาก โจทก์ยินยอมที่จะชำระภาษีตามการประเมินโดยไม่โต้แย้งเพียงแต่ขอให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชี้ขาดงดการเรียกเก็บเบี้ยปรับและเงินเพิ่มหรือหากไม่สามารถงดได้ก็ขอให้ลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มในอัตราสูงสุดด้วย อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวมิได้กล่าวอ้างว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ถูกต้องอย่างไรในประเด็นภาษีการค้าเดือนมีนาคมและเมษายน 2532 เพราะเหตุใด และโจทก์มีหลักฐานใดแสดงการเสียภาษีที่ถูกต้อง ที่โจทก์ อ้างว่าไม่มีโอกาสแสดงหลักฐานที่เกี่ยวข้องทำให้เสียเปรียบ อย่างมาก ก็ไม่มีข้อความใดบ่งชี้ให้เห็นหรือเข้าใจได้ว่า ข้อความดังกล่าวเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งการคำนวณหักค่าใช้จ่ายเหมาในอัตราร้อยละ 75 ของเงินได้พึงประเมินแต่เป็นอุทธรณ์ที่ขอให้คณะกรรมการพิจารณาชี้ขาดให้งดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มที่เรียกเก็บจากโจทก์เท่านั้นมิได้ขอให้ยกเลิกหรือเพิกถอนการประเมินภาษีการค้าและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เมื่อโจทก์ไม่ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในประเด็นการยื่นแบบภาษีการค้าเดือนมีนาคมและเมษายน 2532 และประเด็นการคำนวณหักค่าใช้จ่าย ในอัตราร้อยละ 75 ของเงินได้พึงประเมิน โจทก์จึงไม่มีอำนาจ ฟ้องในประเด็นดังกล่าว อุทธรณ์ของโจทก์เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวจึงไม่จำต้องวินิจฉัย ในการตรวจสอบภาษีโจทก์ เจ้าพนักงานผู้ตรวจสอบมีหมายเรียกให้โจทก์ไปพบและนำเอกสารหลักฐานการประกอบการลงบัญชีส่งมอบให้แก่เจ้าพนักงานโจทก์ขอผัดผ่อนแต่ไม่ไปพบจนถูกดำเนินคดีอาญาฐานไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกแสดงให้เห็นว่า โจทก์มิได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบของจำเลย เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยต้องใช้วิธีประเมินไปตามเอกสารเท่าที่ตรวจสอบขอคัดมาได้ กรณีจึงไม่มีเหตุอันควรผ่อนผันงดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4554/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสอบสวนคำร้องขอคืนทรัพย์ในคดีล้มละลาย เมื่อผู้ร้องไม่ให้ความร่วมมือและมีพยานหลักฐานชัดเจน
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วส่งสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและมีคำสั่งใหม่ ศาลชั้นต้นชอบที่จะวินิจฉัยและมีคำสั่งใหม่โดยอาศัยพยานหลักฐานในสำนวนที่ได้มีการไต่สวนไว้แล้วนั้นได้ โดยไม่จำต้องให้ผู้ร้องสืบพยานเพิ่มเติมใหม่อีก ในชั้นร้องขอให้ถอนการยึดทรัพย์ เมื่อเจ้าพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านเห็นว่าข้ออ้างในการขอเลื่อนการสอบสวนของผู้ร้องไม่มีเหตุผลสมควร โดยมีเจตนาประวิงคดีประกอบกับคดีมีพยานหลักฐานในเบื้องต้นปรากฏชัดว่าผู้ร้องได้ขายที่ดินที่ถูกยึดให้แก่ลูกหนี้แล้ว ผู้คัดค้านชอบที่จะงดสอบสวนเสียได้ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 158

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4953/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างไม่ต้องรับผิดชอบความเสียหายจากการยักยอกทรัพย์ของลูกจ้างอื่น แม้ไม่ให้ความร่วมมือ
นางสาว ร. ลูกจ้างคนหนึ่งของจำเลยยักยอกทรัพย์ของจำเลยไป แต่โจทก์ไม่มีหน้าที่ดูแลทรัพย์สินนั้น และความเสียหายที่เกิดแก่จำเลยก็เป็นการกระทำของนางสาว ร. โจทก์มิได้กระทำการใด ๆเป็นที่เสียหายแก่จำเลย แม้โจทก์ไม่ให้ความร่วมมือในการติดตามเอาทรัพย์ที่ นางสาว ร.ยักยอกไปและจับกุมนางสาวร. ได้ขณะอยู่กับโจทก์ก็ตาม ก็หาเป็นการจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(2) ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516-2517/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนผู้จัดการมรดกที่ขัดขวางการจัดการมรดกและไม่ให้ความร่วมมือ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1723 จะเห็นว่าไม่ได้ห้ามผู้จัดการมรดกตั้งตัวแทนเสียเลยทีเดียว หากเป็นการตั้งตัวแทนกระทำการเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกย่อมจักกระทำได้ ดังนี้ แม้ผู้จัดการมรดกทั้งสองได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ฉ. ซึ่งเป็นทนายความจัดการแทน. ฉ. ได้แต่เพียงมีหนังสือถึงทายาทให้ส่งทรัพย์มรดกเฉพาะผู้ร้องให้ส่งมอบโฉนดและให้แจ้งทรัพย์มรดกเท่านั้น ซึ่งก็ได้ทำไปเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกนอกนั้นผู้จัดการมรดกทั้งสองได้จัดการมรดกด้วยตนเอง จึงฟังไม่ได้ว่าผู้จัดการมรดกทั้งสองมิได้กระทำการตามหน้าที่
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้คัดค้านทั้งสองและจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกมาเป็นเวลานานหลายปี แต่บรรดาทายาทยังมิได้รับการแบ่งปันมรดกเลย เพราะจำเลยไม่ให้ความร่วมมือในการจัดการมรดกและคัดค้านตลอดมา หากจะให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกอีกต่อไป การจัดการมรดกย่อมจะล่าช้าและอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดกและทายาทได้ ตามพฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวมา กรณีมีเหตุสมควรที่จะถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10767/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตรวจสารพันธุกรรมเพื่อพิสูจน์ความเป็นบุตร และผลของการไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจ
การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาตามคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้ตรวจพิสูจน์หาสารประกอบทางพันธุกรรมแล้วเห็นว่า กรณีจำเป็นต้องใช้พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นสำคัญแห่งคดีว่า ผู้ร้องเป็นบุตรของ จ. หรือไม่ จึงได้มีคำสั่งให้ตรวจพิสูจน์บุคคลโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 160 แม้การตรวจพิสูจน์บุคคลตามที่ศาลมีคำสั่ง บุคคลที่ถูกศาลสั่งจะไม่ยินยอมหรือไม่ให้ความร่วมมือต่อการตรวจพิสูจน์ก็ได้ แต่ตามมาตรา 160 วรรคสาม บัญญัติให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าข้อเท็จจริงที่ต้องการให้ตรวจพิสูจน์เป็นผลร้ายแก่คู่ความฝ่ายนั้น ดังนั้น เมื่อผู้คัดค้านทั้งสี่ไม่ยินยอมและไม่ให้ความร่วมมือต่อการตรวจพิสูจน์มาโดยตลอด จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว ข้ออ้างตามทางไต่สวนของผู้คัดค้านทั้งสี่ที่กล่าวมาจึงไม่อาจรับฟังหักล้างข้อสันนิษฐานตามกฎหมายที่ผู้ร้องได้รับประโยชน์ได้ ข้อเท็จจริงจึงต้องรับฟังว่า ผู้ร้องเป็นบุตรของ จ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8469/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงื่อนไขการฟ้องคดีล้มละลายโดย บสท. ต้องเข้าหลักเกณฑ์หนี้สินตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย แม้ไม่ให้ความร่วมมือ
พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ฯ มิได้มีบทบัญญัติยกเว้นหลักเกณฑ์ของ พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 9 และมาตรา 10 ทั้ง พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ฯ มาตรา 58 วรรคสี่ ก็บัญญัติให้ศาลและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย กรณีจึงต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยเงื่อนไขในการฟ้องคดีล้มละลายมาใช้บังคับด้วย มาตรา 58 วรรคสี่ จึงเป็นบทบัญญัติในส่วนวิธีพิจารณาที่ใช้แทนการฟ้องคดีล้มละลายทั่วไปและเป็นบทบัญญัติที่ให้ดุลพินิจแก่ศาลที่จะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดเมื่อเข้าหลักเกณฑ์อันเป็นเงื่อนไขของการฟ้องคดีล้มละลายครบถ้วนแล้วเท่านั้น เมื่อตามคำร้องปรากฏว่าลูกหนี้เป็นหนี้ บสท. อันมีจำนวนไม่ถึง 1,000,000 บาท ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 9 (2) ผู้ร้องจึงไม่อาจยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 383/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตาม พ.ร.ก. บสท. ต้องเริ่มด้วยการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ การทวงหนี้อย่างเดียวไม่ถือว่าเป็นการไม่ให้ความร่วมมือ
พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 58 วรรคสี่ ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะเป็นพิเศษให้ บ.ส.ท.คือ ผู้ร้องมีสิทธิดำเนินกระบวนการพิจารณาแก่ลูกหนี้สินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินที่ผู้ร้องรับโอนมาโดยยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้สั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดได้นอกเหนือจากหลักเกณฑ์ทั่วไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 และศาลมีอำนาจที่จะสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดได้โดยไม่จำต้องดำเนินการไต่สวนก่อนหากได้ความแน่ชัดตามคำร้องและเอกสารท้ายคำร้องแล้วว่าลูกหนี้ดังกล่าวไม่ให้ความร่วมมือกับผู้ร้องในการปรับโครงสร้างหนี้ตามที่ผู้ร้องสั่งโดยที่ตนอยู่ในฐานะที่จะดำเนินการได้ หรือยักย้ายถ่ายเทหรือปิดบังซ่อนเร้นทรัพย์สินของตน
คดีนี้ก่อนยื่นคำร้องผู้ร้องเพียงมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้ลูกหนี้ทั้งสี่ชำระหนี้ มิใช่กำหนดนัดให้ลูกหนี้ทั้งสี่มาเจรจากับผู้ร้องเพื่อเสนอแนวทางปรับโครงสร้างหนี้ตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 57 วรรคสี่ (1) ถึง (5) กรณีจึงถือไม่ได้ว่าได้มีการเริ่มกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ระหว่างผู้ร้องกับลูกหนี้ทั้งสี่แล้ว ซึ่งหากลูกหนี้ทั้งสี่ไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในหนังสือบอกกล่าวทวงถามดังกล่าวก็เป็นเพียงได้ชื่อว่าผิดนัดเท่านั้น แต่จะถือไม่ได้ว่าลูกหนี้ทั้งสี่ไม่ให้ความร่วมมือกับผู้ร้องในการปรับโครงสร้างหนี้ โดยที่ตนอยู่ในฐานะที่จะดำเนินการได้ตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 58 วรรคสี่ ที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 ถึงที่ 3 เด็ดขาด และเนื่องจากคดีเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยหนี้ของลูกหนี้ทั้งสี่ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมในการปรับโครงสร้างหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาพิพากษาให้มีผลถึงลูกหนี้ที่ 4 ซึ่งมิได้อุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1), 247 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 28

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3370/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ให้ความร่วมมือในการปรับโครงสร้างหนี้ตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย และการขอพิทักษ์ทรัพย์
พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ฯ หมวด 4 การบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ส่วนที่ 1 ว่าด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ มาตรา 57 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติถึงวัตถุประสงค์ในการปรับโครงสร้างหนี้ไว้ว่า มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ โดยการแก้ไขปัญหาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว และเพื่อให้ลูกหนี้ที่สุจริตอยู่ในฐานะที่จะชำระหนี้ได้ภายในเวลาที่กำหนดและสามารถดำเนินกิจการเดิมหรือกิจการใหม่ได้ต่อไป และคำว่า "สินทรัพย์ด้อยคุณภาพ" ตามบทนิยามมาตรา 3 หมายถึง "สินทรัพย์ที่มีลักษณะเป็นสินทรัพย์ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ หรือเป็นสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้..."
การที่ลูกหนี้ทั้งสี่เพิกเฉยไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่ผู้ร้องซึ่งได้รับโอนสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ค้างชำระที่ลูกหนี้ทั้งสี่มีต่อเจ้าหนี้เดิม โดยมียอดหนี้ค้างชำระถึงวันยื่นคำร้องเป็นจำนวนมาก รวมเป็นเงินทั้งสิน 904,377,813.29 บาท สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ลูกหนี้ทั้งสี่ไม่สามารถชำระหนี้ทั้งหมดได้แล้ว และลูกหนี้ทั้งสี่มีหน้าที่จะต้องให้ข้อมูลต่าง ๆ เช่น สถานะทางการเงินที่แท้จริง ความสามารถในการชำระหนี้ หรือแผนการปรับโครงสร้างหนี้ที่ชัดเจนโดยเร็วเพื่อให้ผู้ร้องนำมาประกอบการพิจารณาได้ว่าลูกหนี้ทั้งสี่สุจริต สามารถเข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ได้เนื่องจากยังอยู่ในฐานะที่จะชำระหนี้ได้ภายในเวลาที่กำหนดและสามารถดำเนินกิจการเดิมหรือเริ่มกิจการใหม่ได้ต่อไป การที่ลูกหนี้ทั้งสี่มีพฤติการณ์เพิกเฉยมิได้ดำเนินการเสนอแผนปรับโครงสร้างหนี้พร้อมนำส่งเอกสารข้อมูลกิจการและทรัพย์สินส่วนบุคคลซึ่งอยู่ในความรับรู้และการครอบครองของตนภายในระยะเวลาตามที่ผู้ร้องกำหนดโดยไม่ปรากฏเหตุผลอันสมควร และทำให้การแก้ไขปัญหาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของลูกหนี้ทั้งสี่ล่าช้าไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ฯ กรณีถือได้ว่าลูกหนี้ทั้งสี่ไม่ให้ความร่วมมือกับผู้ร้องในการปรับโครงสร้างหนี้ตามที่ผู้ร้องสั่ง โดยที่ตนอยู่ในฐานะที่จะดำเนินการได้ ผู้ร้องจึงดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ทั้งสี่เด็ดขาดได้ตามมาตรา 58 วรรคสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 431/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดก: การจัดการและปันทรัพย์มรดกโดยไม่ต้องจัดประชุม หากทายาทไม่ให้ความร่วมมือ
โจทก์แต่ผู้เดียวเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล โจทก์จึงมีหน้าที่และอำนาจในการจัดการมรดกตามที่ ป.พ.พ. บรรพ 6 ลักษณะ 4 บัญญัติไว้ การที่โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบข้อเท็จจริงแต่เพียงว่าโจทก์ไม่สามารถจัดการมรดกในส่วนที่ดินมีโฉนดได้เพราะทายาทไม่ให้ความร่วมมือ ไม่เข้าร่วมประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นร่วมกันในการจัดการและปันทรัพย์มรดก แม้จะเป็นจริงดังโจทก์กล่าวอ้างโจทก์ก็มีอำนาจดำเนินการจัดการและปันทรัพย์มรดกไปได้โดยไม่ต้องจัดประชุม เพราะอาจมีทายาทที่ไม่เห็นด้วยไม่เข้าร่วมประชุมอันจะทำให้การจัดการมรดกติดขัดหรือหยุดชะงักลง ทำให้เกิดความเสียหายกับการจัดการและปันทรัพย์มรดกได้ ข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างว่า ทายาทไม่เข้าร่วมประชุม ยังไม่อาจรับฟังได้ถึงขนาดว่าจำเลยทั้งห้าซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกร่วมกับโจทก์ ขัดขวางหรือโต้แย้งสิทธิในการทำหน้าที่เป็นผู้จัดการมรดกของโจทก์จนไม่สามารถจัดการมรดกได้ โจทก์ยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิ จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
of 2