พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ไม่ได้จดทะเบียนสมรส: เจ้าของร่วมทรัพย์สินมีสิทธิยื่นคำร้อง
ผู้ร้องมิใช่ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย แต่ผู้ตายได้ที่ดินมาหลังจากอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยากับผู้ร้องและไม่ปรากฏว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาโดยการให้โดยเสน่หา ที่ดินจึงเป็นทรัพย์สินที่ผู้ตายและผู้ร้องเป็นเจ้าของร่วมกัน ถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3670/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายเมื่อไม่ได้จดทะเบียนสมรส และอำนาจปกครองบุตร
บทบัญญัติมาตรา 1536 ซึ่งบัญญัติว่า เด็กเกิดแต่หญิงขณะเป็นภริยาชายหรือภายในสามร้อยสิบวันนับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีหรือเคยเป็นสามี หมายถึงเด็กที่เกิดจากหญิงขณะที่เป็นภริยาชายโดยชายหญิงได้จดทะเบียนสมรสกันแล้ว จึงให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เด็กนั้นเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีหรือเคยเป็นสามีในกรณีที่เด็กเกิดภายในสามร้อยสิบวันนับแต่การสมรสของชายหญิงที่จดทะเบียนสมรสได้สิ้นสุดลงตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1492/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์สินที่ได้มาขณะอยู่กินเป็นสามีภริยา แม้ไม่ได้จดทะเบียนสมรส
ทรัพย์พิพาทเป็นของร่วมกันระหว่างจำเลยกับผู้ร้อง แม้จำเลย กับผู้ร้องจะเป็นสามีภริยากันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส ทรัพย์ที่ ทำมาหาได้ในระหว่างอยู่กินด้วยกัน ก็ต้องถือว่าคนทั้งสอง มีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะร้องขอให้ถอนการยึดทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 684/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินที่ได้จากการอยู่กินฉันสามีภริยา แม้ไม่ได้จดทะเบียนสมรส มีสิทธิแบ่งครึ่งได้ หากช่วยกันทำมาหากิน
โจทก์จำเลยแต่งงานกันตามประเพณีนิยม (ไม่ได้จดทะเบียนสมรส)อยู่กินกันฉันสามีภริยาทำมาหากินร่วมกันมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นมานี้ย่อมเป็นของโจทก์จำเลยร่วมกัน จำเลยมีสิทธิขอแบ่งได้ครึ่งหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 237/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอายุความ: สิทธิใช้ทางเดินแม้ไม่ได้จดทะเบียน
โจทก์ใช้ตรอกพิพาทเป็นทางเดินเข้าออกจากที่ดินโจทก์สู่ทางสาธารณะมากกว่าสิบปีแล้วตรอกพิพาทจึงตกอยู่ในภารจำยอมโดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 และมิใช่เป็นการได้มาโดยนิติกรรมอันจะต้องจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299
อายุความ 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1374 เป็นเรื่องผู้ครอบครองถูกรบกวนในการครอบครองทรัพย์สินเพราะมีผู้สอดเข้าเกี่ยวข้อง มิใช่อายุความบังคับแก่เรื่องภารจำยอมซึ่งจะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1399
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1350 เป็นเรื่องให้เจ้าของที่ดินที่แบ่งแยกซึ่งไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินจากเจ้าของที่ดินที่แบ่งแยกไปได้ เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีตรอกพิพาทเป็นทางภารจำยอมออกสู่ทางสาธารณะได้อยู่ก่อนแล้ว จึงนำเอาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 มาปรับไม่ได้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันล้อมรั้วปิดตรอกพิพาท แม้จำเลยที่ 1 จะได้แบ่งขายที่ดินรวมทั้งตรอกพิพาทให้จำเลยร่วมอีกคนหนึ่งไปแล้ว และจำเลยที่ 2 มิได้มีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมาก่อน โจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องจำเลยทั้งสองได้
อายุความ 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1374 เป็นเรื่องผู้ครอบครองถูกรบกวนในการครอบครองทรัพย์สินเพราะมีผู้สอดเข้าเกี่ยวข้อง มิใช่อายุความบังคับแก่เรื่องภารจำยอมซึ่งจะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1399
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1350 เป็นเรื่องให้เจ้าของที่ดินที่แบ่งแยกซึ่งไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินจากเจ้าของที่ดินที่แบ่งแยกไปได้ เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีตรอกพิพาทเป็นทางภารจำยอมออกสู่ทางสาธารณะได้อยู่ก่อนแล้ว จึงนำเอาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 มาปรับไม่ได้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันล้อมรั้วปิดตรอกพิพาท แม้จำเลยที่ 1 จะได้แบ่งขายที่ดินรวมทั้งตรอกพิพาทให้จำเลยร่วมอีกคนหนึ่งไปแล้ว และจำเลยที่ 2 มิได้มีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมาก่อน โจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1020/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าไม่ได้จดทะเบียนและหมดอายุ ผู้ซื้อที่ดินย่อมไม่ผูกพันสัญญา
ผู้เช่าที่ดินทำสัญญาเช่าที่ดินกับเจ้าของเดิม และได้ปลูกสร้างอาคารบนที่ดินนั้น โดยมีข้อตกลงในสัญญาว่า เมื่อสร้างอาคารเสร็จแล้ว จะต้องให้ผู้เช่าได้มีสิทธิใช้ประโยชน์ต่อไปเป็นกำหนด 15 ปี นับแต่ปลูกสร้างเสร็จแต่สัญญานี้ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และกำหนดเวลาเช่า 3 ปี ล่วงเลยแล้ว ที่ดินแปลงนี้ได้โอนขายไปยังบุคคลอื่นต่อไป ผู้ที่รับซื้อที่ดินไว้ ย่อมฟ้องขับไล่ผู้เช่าที่ดินนั้นได้ เพราะข้อตกลงจะมีลักษณะเป็นสัญญาเช่าหรือเป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างอื่นก็ตาม ย่อมไม่ผูกพันผู้ซื้อ เพราะหากพิจารณาในแง่เป็นสัญญาเช่า ซึ่งผู้รับโอนต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่าด้วย การเช่ามีผลตามกฎหมายเพียง 3 ปีเท่านั้น เพราะไม่ได้จดทะเบียน กำหนดเวลาเช่า 3 ปี ก็ล่วงเลยมาเสียแล้วและหากพิจารณาในแง่เป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างอื่น ก็หามีผลผูกพันไปถึงผู้ซื้อซึ่งเป็นบุคคลภายนอกรับโอนกรรมสิทธิ์มาโดยสุจริตไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1020/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าไม่ได้จดทะเบียนและเกิน 3 ปี ผู้ซื้อที่ดินไม่ผูกพันสิทธิทำสัญญาเช่าเดิม
ผู้เช่าที่ดินทำสัญญาเช่าที่ดินกับเจ้าของเดิม และได้ปลูกสร้างอาคารบนที่ดินนั้น โดยมีข้อตกลงในสัญญาว่าเมื่อสร้างอาคารเสร็จแล้ว จะต้องให้ผู้เช่าได้มีสิทธิใช้ประโยชน์ต่อไปเป็นกำหนด 15 ปี นับแต่ปลูกสร้างเสร็จแต่สัญญานี้ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และกำหนดเวลาเช่า 3 ปีล่วงเลยแล้ว ที่ดินแปลงนี้ได้โอนขายไปยังบุคคลอื่นต่อไป ผู้ที่รับซื้อที่ดินไว้ ย่อมฟ้องขับไล่ผู้เช่าที่ดินนั้นได้ เพราะข้อตกลงจะมีลักษณะเป็นสัญญาเช่าหรือเป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างอื่นก็ตาม ย่อมไม่ผูกพันผู้ซื้อเพราะหากพิจารณาในแง่เป็นสัญญาเช่า ซึ่งผู้รับโอนต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่าด้วย การเช่ามีผลตามกฎหมายเพียง 3 ปีเท่านั้นเพราะไม่ได้จดทะเบียน กำหนดเวลาเช่า 3 ปี ก็ล่วงเลยมาเสียแล้ว และหากพิจารณาในแง่เป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างอื่นก็หามีผลผูกพันไปถึงผู้ซื้อซึ่งเป็นบุคคลภายนอกรับโอนกรรมสิทธิ์มาโดยสุจริตไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2001/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แม้ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ก็แบ่งทรัพย์สินที่หามาด้วยกันได้ ตามหลักเจ้าของร่วมกัน
หญิงฟ้องหย่าขาดจากชายผู้เป็นสามีและขอแบ่งสินสมรสด้วย แม้จะได้ความว่าการสมรสไม่ได้จดทะเบียนจึงไม่เป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย ศาลไม่จำต้องวินิจฉัยในเรื่องหย่า ก็ตามแต่ในเรื่องทรัพย์สินที่ขอแบ่งนั้น ศาลจำต้องวินิจฉัยให้ ตามนัยแห่งคำพิพากษาฎีกาที่ 1179/2492
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 303/2488
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาโดยไม่ได้จดทะเบียน และสิทธิในการเลี้ยงดูบุตร
แต่งงานกันตามประเพณีโดยมิได้จดทะเบียน แต่อยู่กินด้วยกันและระคนทรัพย์กันนั้น ทรัพย์ใดที่หามาได้ด้วยทรัพย์หรือแรงงานของฝ่ายใดก็ต้องถือว่าเจตนาเป็นเจ้าของร่วมกัน เมื่อไม่ปรากฏอย่างอื่นก็ต้องถือว่าเป็นเจ้าของร่วมกันคนละครึ่งแม้จะแยกกันอยู่ภายหลังโดยมีการเยี่ยมเยียนกันอยู่ก็ไม่พอถือว่าจะไม่ร่วมทุกข์ร่วมสุขและไม่ระคนทรัพย์ต่อกัน
บิดามารดาแยกกันอยู่ มีบุตรเป็นทารกยังไม่เดียงสาและบิดามีภรรยาใหม่ ควรให้มารดาเป็นผู้ปกครอง
มารดาซึ่งขอเป็นผู้ปกครองบุตรนั้น แม้จะไม่มีทรัพย์พอเลี้ยงดูหรือมีพอก็ตามเมื่อบิดามีฐานะจะออกค่าเลี้ยงดูได้ บิดาก็ต้องออกค่าเลี้ยงดู
จำเลยฎีกาเฉพาะทุนทรัพย์ที่แพ้ชั้นศาลอุทธรณ์ก็ต้องเสียค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์ที่แพ้นั้น
โจทก์ฟ้องแบ่งที่ดินกึ่งหนึ่งเป็นเงิน 1,000 บาท ศาลจะพิพากษาว่าโจทก์จำเลยมีส่วนคนละครึ่งไม่ได้ จะต้องพิพากษาให้แบ่งกันด้วย แต่ต้องไม่เกิน 1,000 บาทเท่าที่โจทก์ขอ
บิดามารดาแยกกันอยู่ มีบุตรเป็นทารกยังไม่เดียงสาและบิดามีภรรยาใหม่ ควรให้มารดาเป็นผู้ปกครอง
มารดาซึ่งขอเป็นผู้ปกครองบุตรนั้น แม้จะไม่มีทรัพย์พอเลี้ยงดูหรือมีพอก็ตามเมื่อบิดามีฐานะจะออกค่าเลี้ยงดูได้ บิดาก็ต้องออกค่าเลี้ยงดู
จำเลยฎีกาเฉพาะทุนทรัพย์ที่แพ้ชั้นศาลอุทธรณ์ก็ต้องเสียค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์ที่แพ้นั้น
โจทก์ฟ้องแบ่งที่ดินกึ่งหนึ่งเป็นเงิน 1,000 บาท ศาลจะพิพากษาว่าโจทก์จำเลยมีส่วนคนละครึ่งไม่ได้ จะต้องพิพากษาให้แบ่งกันด้วย แต่ต้องไม่เกิน 1,000 บาทเท่าที่โจทก์ขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1022/2485
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉุดคร่าภริยาไม่ได้จดทะเบียนเพื่อกลับบ้าน ไม่เป็นความผิด
จำเลยฉุดคร่าภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนเพื่อจะให้กลับบ้านหรือไปอยู่กินตามเดิมยังไม่เป็นผิดตามมาตรา 276.