พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6844/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนคณะกรรมการสมาคมโดยการไม่ไว้วางใจ และการตั้งคณะกรรมการรักษาการชอบด้วยกฎหมาย
การดำเนินกิจการของสมาคมอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของที่ประชุมใหญ่โดยคณะกรรมการของสมาคมเป็นผู้ดำเนินกิจการตามกฎหมายและข้อบังคับของสมาคมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 86 เมื่อที่ประชุมใหญ่วิสามัญลงมติไม่ไว้วางใจคณะกรรมการชุดเดิม ทำให้คณะกรรมการชุดเดิมพ้นตำแหน่งไปและตั้งคณะกรรมการรักษาการขึ้นให้มีอำนาจหน้าที่ชั่วคราวในการดำเนินกิจการของผู้คัดค้านตามที่ได้รับมอบหมายจากที่ประชุมใหญ่ การที่คณะกรรมการรักษาการจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปีเพื่อลงมติแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ก็เป็นการดำเนินการตามที่รับมอบหมายจากที่ประชุมใหญ่จึงเป็นการดำเนินการที่ชอบด้วยกฎหมายและทำให้การตั้งคณะกรรมการชุดใหม่กับการประชุมของคณะกรรมการชุดใหม่ภายหลังจากนั้นชอบด้วยกฎหมายด้วย ไม่เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 85 วรรคสามที่ให้คณะกรรมการชุดเดิมปฏิบัติหน้าที่กรรมการของสมาคมต่อไปจนกว่าจะได้มีการจดทะเบียนกรรมการชุดใหม่ในระหว่าง ที่ยังไม่มีการจดทะเบียนกรรมการของสมาคมชุดใหม่เพราะบทบัญญัติดังกล่าวมีความมุ่งหมายสำหรับกรณีที่คณะกรรมการชุดเดิมพ้นตำแหน่งหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการในกรณีปกติธรรมดา และอยู่ในระหว่างดำเนินการทางทะเบียนเพื่อให้การดำเนินการของสมาคมมีความต่อเนื่องหรือไม่มีเหตุขัดข้องในช่วงว่างกรรมการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 841/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างด้วยเหตุไม่ไว้วางใจจากทรัพย์สินสูญหาย แม้ไม่มีหลักฐานการลักทรัพย์ก็ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์มีหน้าที่ดูแลห้องพักของแขกผู้มาพักในโรงแรมประจำชั้นที่ 16 โดยโจทก์คนเดียวเท่านั้นที่เกี่ยวข้องกับห้องพัก ดังนั้นการที่ทรัพย์สินของแขกผู้มาพักในโรงแรมซึ่งเก็บไว้ในห้องพักได้สูญหายไปในระหว่างที่แขกไม่อยู่ในห้องพักโดยไม่ทราบเหตุผล ย่อมเป็นพฤติการณ์ที่น่าระแวงสงสัยว่าโจทก์เป็นคนร้ายและทำให้จำเลยไม่ไว้วางใจโจทก์ต้องถือว่าจำเลยมีเหตุผลอันสมควรที่จะเลิกจ้างโจทก์ ไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
แม้ข้อเท็จจริงจะฟังไม่ได้ว่าโจทก์ลักทรัพย์ของแขกผู้มาพักในโรงแรมตามข้อกล่าวหาของจำเลย แต่เมื่อคำให้การของจำเลยได้แสดงเหตุผลแห่งการเลิกจ้างไว้ด้วยว่าโจทก์มีพฤติการณ์ที่จำเลยไม่ไว้วางใจ ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจวินิจฉัยต่อไปได้ว่า การที่โจทก์ปฏิบัติงานตามหน้าที่เนื่องในมูลกรณีเดียวกันนี้เป็นเหตุให้จำเลยไม่ไว้วางใจโจทก์ซึ่งจำเลยมีสิทธิที่จะเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
เงินค่าบริการที่จำเลยเรียกเก็บจากลูกค้าในอัตราร้อยละ10 ของค่าใช้จ่ายของลูกค้า และเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างแต่ละคราว จำเลยจะนำเงินจำนวนนี้มาแบ่งเฉลี่ยให้แก่ลูกจ้างทุกคนคนละเท่า ๆ กัน โดยจำเลยไม่ได้รับประโยชน์ด้วยและลูกจ้างจะได้รับค่าบริการมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับจำนวนค่าใช้จ่ายของลูกค้าเป็นสำคัญ เงินค่าบริการจึงไม่ใช่ค่าจ้างตามความหมายที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2.(ที่มา-ส่งเสริม)
แม้ข้อเท็จจริงจะฟังไม่ได้ว่าโจทก์ลักทรัพย์ของแขกผู้มาพักในโรงแรมตามข้อกล่าวหาของจำเลย แต่เมื่อคำให้การของจำเลยได้แสดงเหตุผลแห่งการเลิกจ้างไว้ด้วยว่าโจทก์มีพฤติการณ์ที่จำเลยไม่ไว้วางใจ ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจวินิจฉัยต่อไปได้ว่า การที่โจทก์ปฏิบัติงานตามหน้าที่เนื่องในมูลกรณีเดียวกันนี้เป็นเหตุให้จำเลยไม่ไว้วางใจโจทก์ซึ่งจำเลยมีสิทธิที่จะเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
เงินค่าบริการที่จำเลยเรียกเก็บจากลูกค้าในอัตราร้อยละ10 ของค่าใช้จ่ายของลูกค้า และเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างแต่ละคราว จำเลยจะนำเงินจำนวนนี้มาแบ่งเฉลี่ยให้แก่ลูกจ้างทุกคนคนละเท่า ๆ กัน โดยจำเลยไม่ได้รับประโยชน์ด้วยและลูกจ้างจะได้รับค่าบริการมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับจำนวนค่าใช้จ่ายของลูกค้าเป็นสำคัญ เงินค่าบริการจึงไม่ใช่ค่าจ้างตามความหมายที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4344-4345/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานไม่ไว้วางใจ แม้มิใช่ความผิดร้ายแรง ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสองมิได้ทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงตามคำสั่งเลิกจ้างของจำเลยแต่จากการ สอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนได้ความว่าโจทก์ทั้งสองมีพฤติการณ์เป็นที่น่าสงสัยในความซื่อสัตย์สุจริต ไม่น่าไว้วางใจ และมีมลทินมัวหมองเป็นการพิจารณาถึงเหตุที่เลิกจ้างหย่อนลงไปจาก ข้ออ้างที่ว่าทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงว่าจำเลย จะมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองหรือไม่ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองเป็นไปตามผลการสอบสวนซึ่งมีเหตุที่จำเลยจะไม่ไว้วางใจโจทก์ทั้งสองให้ทำงานกับจำเลยต่อไปแม้จะมิใช่ ความผิดร้ายแรง แต่ก็มีเหตุอันสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองได้ ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
คำให้การของ อ. และโจทก์ที่ 1 ต่อคณะกรรมการสอบสวนเป็นการ บอกเล่าข้อเท็จจริงต่อคณะกรรมการสอบสวนโดยไม่มีการลงนามหรือปฏิญาณตามแบบวิธีการเบิกความต่อศาลเป็นเพียงพยานบอกเล่า รับฟังได้เพียงประกอบคำเบิกความของตัวพยานซึ่งได้มาเบิกความต่อศาล เท่านั้นเมื่อ อ. และโจทก์ที่ 1 มาเบิกความต่อศาลศาลจึงต้องรับฟัง คำเบิกความของพยานทั้งสองอันเป็นประจักษ์พยานตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 95
จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองเป็นไปตามผลการสอบสวนซึ่งมีเหตุที่จำเลยจะไม่ไว้วางใจโจทก์ทั้งสองให้ทำงานกับจำเลยต่อไปแม้จะมิใช่ ความผิดร้ายแรง แต่ก็มีเหตุอันสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองได้ ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
คำให้การของ อ. และโจทก์ที่ 1 ต่อคณะกรรมการสอบสวนเป็นการ บอกเล่าข้อเท็จจริงต่อคณะกรรมการสอบสวนโดยไม่มีการลงนามหรือปฏิญาณตามแบบวิธีการเบิกความต่อศาลเป็นเพียงพยานบอกเล่า รับฟังได้เพียงประกอบคำเบิกความของตัวพยานซึ่งได้มาเบิกความต่อศาล เท่านั้นเมื่อ อ. และโจทก์ที่ 1 มาเบิกความต่อศาลศาลจึงต้องรับฟัง คำเบิกความของพยานทั้งสองอันเป็นประจักษ์พยานตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 95
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3538/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและการพิสูจน์ความผิดทางอาญา: นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างเมื่อไม่ไว้วางใจลูกจ้าง แม้ไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุด
แม้โจทก์จะถูกกล่าวหาว่าร่วมกับผู้อื่นค้ายาเสพติดให้โทษเฮโรอีนแต่เมื่อพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องโจทก์ความผิดที่โจทก์ถูกกล่าวหามิได้มีการฟ้องให้ศาลพิจารณาพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้กระทำผิดแล้วก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้กระทำผิดดังข้อกล่าวหาและไม่มีเหตุที่จะถือว่าโจทก์ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงและฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยอันเป็นเหตุให้จำเลยเลิกจ้างได้ โดยไม่จ่ายค่าชดเชย
การเลิกจ้างที่จะถือว่าไม่เป็นธรรมนั้นย่อมต้องพิเคราะห์ถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างว่านายจ้างมีเหตุอันสมควรหรือเพียงพอที่จะเลิกจ้างลูกจ้างหรือไม่ เป็นคนละเหตุกับการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยซึ่งต้องพิเคราะห์ถึงว่าลูกจ้างกระทำผิดต่อระเบียบข้อบังคับหรือกฎหมายหรือไม่เมื่อระเบียบของจำเลยให้คำนิยามคำว่า "เลิกจ้าง" ไว้ว่าหมายความว่า "มาตรการลงโทษที่ใช้กับพนักงานซึ่งบริษัทไม่ไว้วางใจและไม่ประสงค์ที่จะให้อยู่ทำการกับบริษัทต่อไปหรือยุบหน่วยงานหรือตำแหน่งงาน"พฤติการณ์ของโจทก์มีเหตุอันสมควรและเพียงพอที่จำเลยจะไม่ไว้วางใจและให้โจทก์ทำงานกับจำเลยต่อไป ถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
การเลิกจ้างที่จะถือว่าไม่เป็นธรรมนั้นย่อมต้องพิเคราะห์ถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างว่านายจ้างมีเหตุอันสมควรหรือเพียงพอที่จะเลิกจ้างลูกจ้างหรือไม่ เป็นคนละเหตุกับการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยซึ่งต้องพิเคราะห์ถึงว่าลูกจ้างกระทำผิดต่อระเบียบข้อบังคับหรือกฎหมายหรือไม่เมื่อระเบียบของจำเลยให้คำนิยามคำว่า "เลิกจ้าง" ไว้ว่าหมายความว่า "มาตรการลงโทษที่ใช้กับพนักงานซึ่งบริษัทไม่ไว้วางใจและไม่ประสงค์ที่จะให้อยู่ทำการกับบริษัทต่อไปหรือยุบหน่วยงานหรือตำแหน่งงาน"พฤติการณ์ของโจทก์มีเหตุอันสมควรและเพียงพอที่จำเลยจะไม่ไว้วางใจและให้โจทก์ทำงานกับจำเลยต่อไป ถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 133/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดเนื่องจากขาดทุน, ไม่ไว้วางใจกัน, และการจัดการที่ผิดปกติ
ได้ความว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดขาดทุนและมีทรัพย์สินเหลืออยู่ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายของห้างที่ต้องใช้จ่ายเป็นประจำ การดำเนินการต่อไปมีแนวโน้มที่มีแต่จะขาดทุน พฤติการณ์ที่หุ้นส่วนไม่ปรองดองกัน แสดงให้เห็นว่าไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน ถือได้ว่าขาดสิ่งอันเป็นสารสำคัญของการเข้าเป็นหุ้นส่วน หากจะเปลี่ยนตัวหุ้นส่วนผู้จัดการ ก็ไม่มีทางจะทำได้เพราะห้างนี้มีเพียงจำเลยที่ 1 คนเดียวเท่านั้นเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด นอกจากนั้นบัญชีของห้างบางรายการลงไว้ไม่ถูกต้อง รายจ่ายก็ปรากฏว่าจ่ายโดยหละหลวม ฟุ่มเฟือยเกินกว่าความจำเป็น การดำเนินการของห้างปราศจากการควบคุมที่ดี เหล่านี้เป็นเหตุให้ห้างเหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ ศาลย่อมพิพากษาให้ห้างดังกล่าวเลิกกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 133/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด: ขาดทุน, ไม่ไว้วางใจ, ขาดการควบคุมภายใน, ไม่มีทางฟื้นตัว
ได้ความว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดขาดทุนและมีทรัพย์สินเหลืออยู่ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายของห้างที่ต้องใช้จ่ายเป็นประจำการดำเนินการต่อไปมีแนวโน้มที่มีแต่จะขาดทุนพฤติการณ์ที่หุ้นส่วนไม่ปรองดองกันแสดงให้เห็นว่าไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน ถือได้ว่าขาดสิ่งอันเป็นสารสำคัญของการเข้าเป็นหุ้นส่วน หากจะเปลี่ยนตัวหุ้นส่วนผู้จัดการ ก็ไม่มีทางที่จะทำได้เพราะห้างนี้มีเพียงจำเลยที่ 1 คนเดียวเท่านั้นเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดนอกจากนั้นบัญชีของห้างบางรายการลงไว้ไม่ถูกต้อง รายจ่ายก็ปรากฏว่าจ่ายโดยหละหลวมฟุ่มเฟือยเกินกว่าความจำเป็น การดำเนินการของห้างปราศจากการควบคุมที่ดี เหล่านี้เป็นเหตุให้ห้างเหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ ศาลย่อมพิพากษาให้ห้างดังกล่าวเลิกกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8522/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนสามัญเมื่อหุ้นส่วนไม่ไว้วางใจกัน และการพิจารณาคดีมีทุนทรัพย์
การชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1061 วรรคสาม ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดด้วยกันจัดทำหรือให้บุคคลอื่นซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนได้แต่งตั้งขึ้นนั้นเป็นผู้จัดทำ ซึ่งตามมาตรา 1061 วรรคสี่ การแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีให้วินิจฉัยชี้ขาดโดยคะแนนเสียงข้างมากของผู้เป็นหุ้นส่วน ฉะนั้นในกรณีที่ไม่อาจหาเสียงข้างมากของผู้เป็นหุ้นส่วนได้ ผู้เป็นหุ้นส่วนอาจร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีให้ โดยเฉพาะกรณีที่มีการฟ้องขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนไม่อาจตกลงกันในเรื่องผู้ชำระบัญชีได้ ศาลย่อมมีอำนาจแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี ได้ตามที่เห็นสมควรแม้คู่กรณีจะเสนอผู้ใดมาโดยเฉพาะก็ตาม การแต่งตั้งจำเลยเป็นผู้ชำระบัญชีจึงไม่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1061 แต่อย่างไรก็ตามการตกลงเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญตามฟ้องมีผู้เป็นหุ้นส่วนเพียง 2 คน คือโจทก์และจำเลยซึ่งต่างฝ่ายต่างไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันทั้งไม่ประสงค์เป็นผู้ชำระบัญชีร่วมกัน หากแต่งตั้งจำเลยหรือโจทก์เป็นผู้ชำระบัญชีเพียงคนเดียวหรือเป็นผู้ชำระบัญชีร่วมกัน ย่อมเล็งเห็นได้ว่าจะต้องเกิดปัญหาในการชำระบัญชีไม่ร่วมมือกัน เป็นอุปสรรคแก่การชำระบัญชีและไม่เกิดประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย จึงเห็นสมควรแต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีให้เป็นผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนแทนจำเลย
โจทก์ฟ้องแทนห้างหุ้นส่วน เมื่อตามคำฟ้องและอุทธรณ์ของโจทก์ซึ่งกระทำแทนห้างหุ้นส่วนมีคำขอบังคับให้จำเลยชำระเงินแก่ห้างหุ้นส่วน จึงถือได้ว่าเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เป็นเงินแก่ห้างหุ้นส่วน จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ห้างหุ้นส่วนโดยโจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่เรียกร้อง
โจทก์ฟ้องแทนห้างหุ้นส่วน เมื่อตามคำฟ้องและอุทธรณ์ของโจทก์ซึ่งกระทำแทนห้างหุ้นส่วนมีคำขอบังคับให้จำเลยชำระเงินแก่ห้างหุ้นส่วน จึงถือได้ว่าเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เป็นเงินแก่ห้างหุ้นส่วน จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ห้างหุ้นส่วนโดยโจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่เรียกร้อง