พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5861/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ จากประกาศ คสช. และการพิจารณาความผิดหลายกรรมต่างกัน กรณีไม้พะยูง
คดีนี้ โจทก์อุทธรณ์ว่า ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 106/2557 ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2557 ซึ่งได้ประกาศและให้มีผลบังคับใช้ทันทีตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม 2557 เป็นต้นไป ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา 7 และมาตรา 48 ความในวรรคสองของมาตรา 69 และมาตรา 73 แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 และความในลำดับที่ 53 ในช่องประเภท ก. ไม้หวงห้ามธรรมดาของบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ.2530 และให้ใช้บทบัญญัติตามความในวรรคหนึ่งของมาตรา 7 และมาตรา 48 ความในวรรคสองของมาตรา 69 และมาตรา 73 แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ที่แก้ไขใหม่ มีผลให้ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับไม้พะยูงตามฟ้อง ฐานมีไม้หวงห้ามแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูป นับตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม 2557 เป็นต้นไป ต้องถูกลงโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง, 48 วรรคหนึ่ง, 69 วรรคสอง (1), 73 วรรคสอง (1) ซึ่งความผิดทั้งสองฐานต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสองล้านบาท ที่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 48 วรรคหนึ่ง, 69 วรรคหนึ่ง, 73 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทบัญญัติเดิม และพิพากษาลงโทษจำเลยฐานมีไม้หวงห้ามแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูป ให้จำคุกกระทงละ 3 เดือน และปรับกระทงละ 5,000 บาท จึงเป็นโทษที่ต่ำกว่าอัตราโทษตามกฎหมายที่ใช้บังคับขณะกระทำความผิด ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำเลยโดยปรับบทลงโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง, 48 วรรคหนึ่ง, 69 วรรคสอง (1), 73 วรรคสอง (1) ที่แก้ไขเพิ่มเติมตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 106/2557 โดยไม่รอการลงโทษแก่จำเลย อันเป็นการอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ปรับบทกฎหมายและลงโทษจำเลยตามฟ้องเสียใหม่ให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง, 48 วรรคหนึ่ง, 69 วรรคสอง (1), 73 วรรคสอง (1) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะกระทำความผิด และมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสองล้านบาท สูงกว่าระวางโทษตามบทกฎหมายที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย ย่อมถือได้ว่าโจทก์อุทธรณ์ในทำนองขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลยแล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 4 จึงชอบที่จะพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยได้
การที่จำเลยมีไม้หวงห้ามแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและการที่จำเลยมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูป ลักษณะความผิดในแต่ละข้อหาอาศัยเจตนาในการกระทำความผิดแตกต่างแยกจากกันได้ จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ไม้พะยูงของกลางเป็นไม้หวงห้ามที่มีราคาแพงมีความต้องการในตลาดสูง แม้มีจำนวนไม่มากแต่ก็เป็นการทำลายทรัพยากรที่สำคัญของประเทศ เป็นเหตุให้สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติถูกทำลาย ประกอบกับปัจจุบันปัญหาการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนมีมากมีผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะรอการลงโทษจำคุกจำเลย
การที่จำเลยมีไม้หวงห้ามแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและการที่จำเลยมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูป ลักษณะความผิดในแต่ละข้อหาอาศัยเจตนาในการกระทำความผิดแตกต่างแยกจากกันได้ จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ไม้พะยูงของกลางเป็นไม้หวงห้ามที่มีราคาแพงมีความต้องการในตลาดสูง แม้มีจำนวนไม่มากแต่ก็เป็นการทำลายทรัพยากรที่สำคัญของประเทศ เป็นเหตุให้สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติถูกทำลาย ประกอบกับปัจจุบันปัญหาการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนมีมากมีผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะรอการลงโทษจำคุกจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3332/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีไม้พะยูงและการดำเนินกระบวนการซ้ำที่ต้องห้าม
ข้อเท็จจริงในเรื่องไม้พะยูงของกลาง จำเลยที่ 1 เคยยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ผู้พิพากษาที่จำเลยที่ 1 ร้องขอไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และศาลฎีกามีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนเพื่อพิสูจน์ว่าไม้พะยูงของกลางเป็นไม้ที่ขึ้นในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองโดยเจตนาที่จะให้มีการรับฟังข้อเท็จจริงใหม่ว่า ไม้พะยูงของกลางเป็นไม้ที่ขึ้นในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองของผู้อื่น ทำนองเดียวกับการขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ถือได้ว่าเป็นการยื่นคำร้องในประเด็นเดียวกันกับที่ศาลได้วินิจฉัยไปแล้ว ย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำร้องของจำเลยที่ 1 มา เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย