คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
1 ปี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6345-6346/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินสิ้นสุดลงเนื่องจากโจทก์ไม่ฟ้องแย่งการครอบครองภายใน 1 ปี ทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความใช้บังคับไม่ได้
คดีก่อนพนักงานอัยการได้ฟ้องขอให้ลงโทษ ช. สามีจำเลย ข้อหาบุกรุกที่ดินของโจทก์ ศาลพิพากษายกฟ้องโดยฟังข้อเท็จจริงว่า ช. และจำเลยเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตั้งแต่ปี 2528 หรือก่อนปี 2528 อันเป็นการบุกรุกแย่งการครอบครอง เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่ ช. บุกรุก เข้าแย่งการครอบครอง โจทก์ย่อมหมดสิทธิฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองและสิทธิครอบครองของโจทก์ก่อนสิ้นสุดลง ที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ในฐานะทายาทของ ช. ให้ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับ ช. และให้ขับไล่จำเลย จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าว ในการวินิจฉัยคดีนี้ ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังที่บัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ข้อเท็จจริงจึง ฟังได้ว่าสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทของโจทก์ได้สิ้นสุดลงแล้ว คำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์และ ช. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 โจทก์จะฟ้องขอให้บังคับจำเลยทายาทของ ช. ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวมีมาก่อนที่ศาลในคดีส่วนอาญาได้พิพากษาไปแล้ว และให้ขับไล่จำเลยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6463/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคืนรถยนต์ของกลางที่ศาลสั่งริบต้องยื่นภายใน 1 ปีนับจากวันคำพิพากษาถึงที่สุด แม้เจ้าของรถไม่รู้เห็นเป็นใจ
เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ริบรถยนต์ของกลางไปแล้วก็ชอบที่ผู้ร้องซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของแท้จริงและมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยจะต้องยื่นคำเสนอขอคืนต่อศาลภายใน1 ปี นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางต่อศาลชั้นต้นภายหลังวันคำพิพากษาถึงที่สุดเกิน 1 ปี ย่อมต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว แม้ผู้ร้องเป็นเจ้าของรถยนต์ของกลางและมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำผิดของจำเลย ทั้งเพิ่งทราบผลคำพิพากษาเมื่อพ้น 1 ปีก็ตาม ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิยื่นคำร้อง ขอให้ศาลสั่งคืนรถยนต์ของกลางได้
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ได้บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าการขอคืนของกลางที่ศาลสั่งให้ริบจะต้องกระทำภายใน 1 ปี นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด บทกฎหมายดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษามีผลใช้บังคับแล้ว จึงต้องถือว่าทุกคนรู้ บุคคลใดรวมทั้งผู้ร้องจะอ้างว่าไม่รู้กฎหมายหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 230/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคืนการครอบครองที่ดินมือเปล่าต้องฟ้องภายใน 1 ปี หากพ้นกำหนด สิทธิฟ้องจะขาดเสีย
การฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1375วรรคสองที่กำหนดให้ฟ้องคดีภายในปีหนึ่งนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองนั้นเป็นบทบังคับเรื่องกำหนดเวลาสำหรับฟ้องหากไม่ฟ้องภายในกำหนดก็หมดสิทธิฟ้องอำนาจฟ้องเรียกคืนที่พิพาทย่อมไม่มีฉะนั้นกำหนดเวลาหนึ่งปีดังกล่าวจึงเป็นระยะเวลาให้สิทธิฟ้องเรียกคืนการครอบครองที่ดินมือเปล่าไม่ใช่เรื่องอายุความเพราะอายุความเป็นเรื่องขณะฟ้องสิทธิเรียกร้องยังมีอยู่แต่ไม่ใช้สิทธินั้นบังคับเสียภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดจึงขาดอายุความห้ามมิให้ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 740/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเวนคืน: การนับระยะเวลา 1 ปีจากวันรัฐมนตรีไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.เวนคืน
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา26วางหลักเกณฑ์การนำคดีมาฟ้องศาลเมื่อผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนยังไม่พอใจคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีไว้2กรณีกรณีแรกเป็นกรณีที่รัฐมนตรีได้วินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จสิ้นใน60วันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์เมื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจคำวินิจฉัยก็มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลภายใน1ปีนับแต่ที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยกรณีที่สองเป็นกรณีที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่เสร็จสิ้นภายใน60วันนับแต่วันรับอุทธรณ์ซึ่งผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลภายใน1ปีนับแต่พ้นกำหนด60วันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์มิฉะนั้นไม่มีสิทธิฟ้องร้องและปัญหาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่นี้เป็นหน้าที่ของศาลต้องพิจารณาหาใช่อำนาจของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6046/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีสัญญาจ้างซ่อมแซม: ใช้ 10 ปี ไม่ใช่ 1 ปี
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ว่าจ้างจำเลยที่1ซ่อมแซมถนนพิพาทโดยมีจำเลยที่2ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่1ซ่อมแซมถนนพิพาทและส่งมอบงานให้โจทก์แล้วต่อมาเจ้าหน้าที่ของโจทก์พบความชำรุดบกพร่องจึงแจ้งให้จำเลยที่1ซ่อมแซมแก้ไขจำเลยที่1เพิกเฉยโจทก์จึงจ้างบุคคลอื่นซ่อมแซมแก้ไขซึ่งจำเลยที่1ต้องรับผิดใช้ค่าจ้างให้แก่โจทก์ตามที่ระบุในสัญญาจ้างและจำเลยที่2ต้องร่วมรับผิดด้วยถือว่าเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่1รับผิดตามสัญญาจ้างธรรมดาซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไปคือ10ปีหาใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องอันมีอายุความ1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา601ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4934/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความลาภมิควรได้: การฟ้องภายใน 1 ปีนับจากวันที่รู้สิทธิเรียกร้อง
โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยโดยตั้งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ฐานลาภมิควรได้ว่า จำเลยได้เงินจากโจทก์โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และมีคำขอบังคับให้จำเลย คืนเงินตามสภาพแห่งข้อหาดังกล่าว จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 419 ในเรื่องลาภมิควรได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์รู้ว่าโจทก์มีสิทธิเรียกเงินคืนจากจำเลยเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2529แต่โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2531 พ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่เวลาที่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกเงินคืนฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 419

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1166/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน: การครอบครองปรปักษ์ การบอกกล่าวเจตนาไม่ยึดถือแทนเจ้าของ และการฟ้องขับไล่ภายใน 1 ปี
โจทก์อนุญาตให้จำเลยเข้าอยู่อาศัยและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทของโจทก์ การที่จำเลยครอบครองที่ดินดังกล่าวจึงเป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิของโจทก์และยึดถือแทนโจทก์ จำเลยจะเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือเพื่อตัวจำเลยเองได้ก็แต่โดยบอกกล่าวไปยังโจทก์ว่าจำเลยไม่เจตนาจะยึดถือแทนโจทก์ต่อไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1381 แม้จำเลยจะได้คัดค้านการออกโฉนดที่ดินพิพาทของโจทก์แล้วก็ตาม แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แจ้งการคัดค้านการขอออกโฉนดที่ดินให้โจทก์ทราบอันจะถือได้ว่าจำเลยได้บอกกล่าวไปยังโจทก์ว่าไม่เจตนาจะยึดถือที่ดินพิพาทแทนโจทก์ต่อไป ดังนั้น เมื่อสำนักงานที่ดินมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยคัดค้านการออกโฉนดที่ดินของโจทก์ และกำหนดวันเวลาให้โจทก์ไปพบเจ้าพนักงานเพื่อดำเนินการสอบสวนเปรียบเทียบ เมื่อโจทก์และจำเลยได้พบกันในวันดังกล่าวจึงน่าเชื่อว่าจำเลยได้บอกให้โจทก์ทราบในวันนั้นแล้วว่าจำเลยคัดค้านการขอออกโฉนดที่ดินของโจทก์และไม่เจตนาจะยึดถือที่ดินพิพาทแทนโจทก์ต่อไป โจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองยังไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันดังกล่าวซึ่งถือได้ว่าเป็นวันที่จำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินหลังการแลกเปลี่ยนที่ไม่จดทะเบียน: สิทธิครอบครองเกิดหลัง 1 ปี
การแลกเปลี่ยนที่ดินแม้มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แต่ที่ดินที่ตกลงแลกเปลี่ยนกันเป็นที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3ก.)โจทก์ที่2ได้ครอบครองอย่างเป็นเจ้าของมีเขตแน่นอนอนึ่งข้อเท็จจริงแห่งคดีฟังได้ด้วยว่าโจทก์ได้ครอบครองจนเกิน1ปีแล้วจำเลยย่อมหมดสิทธิเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1375. การแลกเปลี่ยนที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3)โดยต่างฝ่ายต่างเข้าครอบครองที่ดินของอีกฝ่ายหนึ่งที่แลกเปลี่ยนกันผู้แลกเปลี่ยนไม่มีหน้าที่ทางนิติกรรมที่จะจดทะเบียนแบ่งแยกให้หรือรับโอน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 510/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินชำระหนี้ การแย่งการครอบครอง และผลของการไม่ฟ้องภายใน 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375
จำเลยยกที่ดินมือเปล่าให้โจทก์เป็นการชำระหนี้แต่ยังคงปลูกบ้านอยู่อาศัยในที่ดินเป็นส่วนสัด ต่อมามีกรณีพิพาทระหว่างโจทก์จำเลย จำเลยอ้างว่าที่ดินเป็นของตนดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยได้แย่งการครอบครองที่ดินส่วนนั้นแล้ว เมื่อโจทก์ไม่ฟ้องคดีภายใน1 ปี จึงหมดสิทธิฟ้องเรียกเอาคืนซึ่งการครอบครองตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1375 วรรคสอง
กำหนดเวลาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1375 วรรคสอง ไม่ใช่อายุความแม้จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3441/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการสิ้นสุดสิทธิครอบครอง กรณีบุกรุกที่ดิน ผู้เสียหายไม่ฟ้องแย่งคืนภายใน 1 ปี
คดีอาญาที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนถ้าข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ฟังมายังไม่พอแก่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยศาลฎีกาวินิจฉัยข้อเท็จจริงเพิ่มเติมได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ที่พิพาทเป็นของผู้เสียหาย จำเลยเข้าไปปลูกมันสำปะหลังในที่พิพาทตามฤดูกาล ได้เวลาแล้วก็ถอนไป มีการเก็บเกี่ยวและเข้าไปในที่พิพาทใหม่ทุกปี การเข้าไปไถที่พิพาทของจำเลยเป็นการเข้าไปโดยไม่มีข้ออ้างได้ตามกฎหมายก็ตามแต่การที่จำเลยบุกรุกเข้าไปไถและปลูกมันสำปะหลังในที่พิพาทเป็นการแย่งการครอบครองที่พิพาทของผู้เสียหาย เมื่อผู้เสียหายมิได้ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน1 ปีผู้เสียหายก็หมดสิทธิฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาท สิทธิครอบครองในที่พิพาทของผู้เสียหายย่อมสิ้นสุดลง ดังนั้น การที่จำเลยเข้าไปไถและปลูกมันสำปะหลังในที่พิพาท จึงเป็นการเข้าไปไถและปลูกมันสำปะหลังในขณะที่สิทธิครอบครองในที่พิพาทของผู้เสียหายสิ้นสุดลงแล้ว การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก
of 3