คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
180 วัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 84/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะเปลี่ยนจากบริษัทเป็นรัฐวิสาหกิจ กฎหมายแรงงานรัฐวิสาหกิจใช้บังคับ ค่าชดเชย 180 วัน
เดิมจำเลยเป็นสถาบันการเงินและเป็นบริษัทมหาชนจำกัดต่อมาเมื่อวันที่ 14สิงหาคม 2541 กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเข้าแทรกแซงกิจการของจำเลยโดยถือหุ้นเกินร้อยละ 50 ฐานะของจำเลยจึงเปลี่ยนเป็นรัฐวิสาหกิจตั้งแต่วันดังกล่าวตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 มาตรา 4 และพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 มาตรา 4(2) โจทก์ย่อมเปลี่ยนจากการเป็นลูกจ้างจำเลยในฐานะบริษัทมหาชนจำกัดมาเป็นพนักงานของจำเลยในฐานะรัฐวิสาหกิจตั้งแต่วันดังกล่าวเช่นเดียวกัน สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับค่าชดเชยกรณีถูกเลิกจ้างหรือไม่เพียงใด จึงต้องบังคับตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 โดยไม่บังคับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 2 และข้อ 14 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515เพราะมีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515 ไม่ใช้บังคับ กำหนดไว้ในข้อ 2 ให้รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เป็นกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ไม่ใช้บังคับ ประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้ประกาศ ณ วันที่ 12 กันยายน 2534 จึงเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่จำเลยมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ แม้ต่อมาเมื่อพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มีผลใช้บังคับและเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้มีการยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ไปแล้วตามมาตรา 3(1) ก็ตาม แต่มาตรา 4(2) ก็ได้บัญญัติมิให้นำพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มาใช้บังคับแก่รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์กรณีจึงไม่อาจนำมาตรา 13 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์ได้
ตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 และระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 45(3) กำหนดว่า พนักงานซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี ขึ้นไปโดยรวมวันหยุด วันลา และวันที่รัฐวิสาหกิจสั่งให้หยุดงานเพื่อประโยชน์ของรัฐวิสาหกิจ ให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าชดเชยแก่พนักงานไม่น้อยกว่าเงินเดือนค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน แม้ข้อ 48 วรรคสอง ในหมวด 7 บทเฉพาะกาล ของระเบียบดังกล่าวจะกำหนดว่า รัฐวิสาหกิจใดจัดสิทธิประโยชน์ให้แก่พนักงานสูงกว่าสิทธิประโยชน์ตามระเบียบนี้แล้ว ให้รัฐวิสาหกิจนั้นถือปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ หรือข้อกำหนดเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์เดิมต่อไปได้ และคณะรัฐมนตรีมีมติให้สถาบันการเงินที่เป็นรัฐวิสาหกิจเพราะกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเข้าแทรกแซงได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการในเรื่องเงินเดือน สวัสดิการและผลประโยชน์ตอบแทนของพนักงาน โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และหรือเงื่อนไขในการจ้างเดิมของสถาบันการเงินนั้น ซึ่งเป็นระเบียบและมติที่มีเจตนาให้ลูกจ้างที่เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจโดยผลของการเปลี่ยนฐานะของจำเลยไม่ต้องเสียสิทธิประโยชน์ที่เคยได้รับอยู่ก่อนก็ตาม แต่ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในขณะที่มีฐานะเป็นบริษัทมหาชนจำกัดที่เป็นหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ้างเดิมก็กำหนดว่า พนักงานซึ่งทำงานกับจำเลยติดต่อกันครบ 3 ปี ขึ้นไปโดยรวมวันหยุด วันลา และวันที่จำเลยสั่งให้หยุดงานเพื่อประโยชน์ของจำเลย จำเลยจะจ่ายค่าชดเชยให้ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน ซึ่งค่าชดเชยที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวก็เท่ากับค่าชดเชยที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 45(3) โจทก์จึงไม่เสียสิทธิประโยชน์ที่จะพึงได้รับค่าชดเชย โจทก์ซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี ขึ้นไปย่อมมีสิทธิได้ค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 และระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 45(3) เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน หาใช่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2190/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างเหมาประจำมีสิทธิค่าชดเชย แม้จ่ายค่าแรงตามผลงาน การคำนวณต้องใช้ค่าจ้าง 180 วันสุดท้าย
โจทก์ทำงานกับจำเลยเป็นคนงานเหมาประจำได้ค่าจ้างเป็นรายเทการทำงานต้องเซ็นชื่อไปและกลับแม้ไม่มีงานให้ทำการ ลางานต้องยื่นใบลาการบังคับบัญชาขึ้นต่อหมวดพัสดุมี สิทธิได้รับค่าครองชีพ เบิกค่ารักษาพยาบาลและค่าเล่าเรียนบุตร ได้ มีสิทธิทำงานไปจนเกษียณอายุคนงานประเภท เหมาชั่วคราวของจำเลยไม่มีสิทธิต่างๆดังกล่าว การจ่ายค่าแรงของคนงานเหมาประจำหากได้ค่าแรงน้อยกว่าเดือนละ530บาทก็จะได้รับ 530 บาทแสดงว่าจำเลยมิได้คำนึงถึงผลสำเร็จ แห่งงานที่โจทก์ทำให้จำเลยแม้การจ่ายค่าแรงจำเลยจะคิด ให้แก่ผู้ทำหน้าที่บรรจุสุราจากจำนวนเทของสุราที่บรรจุขวดและผู้ทำหน้าที่ล้างขวดสุราจำเลยจ่ายค่าแรงให้เท่ากับ ผู้ทำหน้าที่บรรจุสุรา การคิดค่าแรงตามจำนวนเทจึงเป็นเพียงวิธีการคำนวณค่าจ้างเท่านั้นไม่ใช่การคิดค่าแรงงานตาม ผลงานที่คนงานประจำทำได้ในแต่ละวันความสัมพันธ์ระหว่าง โจทก์กับจำเลยจึงเป็นการจ้างแรงงาน เมื่อโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย ปัญหาว่าการที่โจทก์จะ มีสิทธิรับบำเหน็จหรือไม่จ่ายเงินเข้าสมทบกองทุนบำเหน็จหรือไม่ ก็ไม่ทำให้สภาพการเป็นลูกจ้างของโจทก์เปลี่ยน ไปเป็นไม่ใช่ลูกจ้างปัญหาที่จำเลยอุทธรณ์ดังกล่าวจึงมิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง จึงไม่เป็นสาระแก่การ วินิจฉัย ข้อที่จำเลยอุทธรณ์ว่าการพ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุไม่ใช่การเลิกจ้างนั้นเป็นข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การทั้งมิใช่ข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์เป็นลูกจ้างประจำที่ได้รับค่าจ้างตามผลงาน การคำนวณค่าชดเชยของโจทก์จึงต้องคิดจากค่าจ้างของการทำงานที่ โจทก์ได้รับจริงในหนึ่งร้อยแปดสิบวันสุดท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2113/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทดลองปฏิบัติงานเกิน 180 วัน ไม่เป็นโมฆะ ประกาศกระทรวงมหาดไทยเป็นข้อยกเว้นค่าชดเชย
กำหนดเวลาทดลองปฏิบัติงานตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46 วรรคสุดท้าย นั้น เป็นเพียงข้อยกเว้นว่าถ้านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างประจำที่นายจ้างได้แจ้งให้ทราบเป็นหนังสือ เมื่อเริ่มเข้าทำงานแล้วว่าจะทดลองปฏิบัติงานมีกำหนดไม่เกิน 180 วัน และนายจ้างได้บอกเลิกจ้างภายในกำหนดระยะเวลา 180 วันที่ให้ลูกจ้างทดลองปฏิบัติงานนั้น นายจ้างก็ไม่จำต้องจ่ายค่าชดเชย มิใช่เป็นเรื่องห้ามมิให้จ้างทดลองปฏิบัติงานเกิน 180 วัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2113/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทดลองงานเกิน 180 วัน ไม่โมฆะ ประกาศกระทรวงมหาดไทยเป็นข้อยกเว้นค่าชดเชย
กำหนดเวลาทดลองปฏิบัติงานตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46 วรรคสุดท้าย นั้น เป็นเพียงข้อยกเว้นว่าถ้านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างประจำที่นายจ้างได้แจ้งให้ทราบเป็นหนังสือเมื่อเริ่มเข้าทำงานแล้วว่าจะทดลองปฏิบัติงานมีกำหนดไม่เกิน 180 วัน และนายจ้างได้บอกเลิกจ้างภายในกำหนดระยะเวลา 180 วันที่ให้ลูกจ้างทดลองปฏิบัติงานนั้น นายจ้างก็ไม่จำต้องจ่ายค่าชดเชย มิใช่เป็นเรื่องห้ามมิให้จ้างทดลองปฏิบัติงานเกิน 180 วัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2330/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันภาษีอากรต่างด้าว: ความรับผิดเมื่อไม่กลับเข้าประเทศภายใน 180 วัน
ที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 4 อัฏฐ บัญญัติให้คนต่างด้าวซึ่งมีความจำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศเป็นปกติธุรเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพยื่นคำร้องขอรับใบผ่านภาษีอากรโดยมีหลักประกันหรือหลักทรัพย์อยู่ในประเทศไทยพอคุ้มค่าภาษีอากรที่ค้างหรือที่จะต้องชำระนั้น ก็เพียงป้องกันไม่ให้รัฐต้องขาดรายได้จากภาษีอากรที่คนต่างด้าวค้างชำระหรือที่จะต้องชำระ เพราะเหตุที่คนต่างด้าวออกจากประเทศไทยไปแล้วไม่กลับเข้ามาในประเทศไทยอีก
จำเลยทำสัญญาค้ำประกัน อ.คนต่างด้าวไว้ต่อโจทก์ เนื่องจากเหตุที่ อ.มีความจำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศ และร้องขอรับใบผ่านภาษีอากรนั้นเป็นการค้ำประกันการเดินทางไปต่างประเทศของ อ.ว่า เมื่อ อ.ไปต่างประเทศแล้วจะต้องเดินทางกลับมาประเทศไทยภายใน 180 วันนับแต่วันออกใบผ่านภาษีอากร ดังนั้น ที่สัญญาค้ำประกันระบุว่า "หากทางราชการจะเรียกร้อง (ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร) เอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวก ข้าพเจ้า (จำเลย) ยินยอมชำระแทนให้จนครบถ้วนทั้งสิ้น" นั้น หมายถึงว่าถ้า อ.ไม่เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยภายใน 180 วันนั้นนับตั้งแต่วันออกใบผ่านภาษีอากรหากทางราชการจะเรียกร้องภาษีอากรเอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวก จำเลยยินยอมชำระแทนให้จนครบ มิใช่หมายความว่าแม้ อ.เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยภายใน 180 วัน นับตั้งแต่วันออกใบผ่านภาษีอากรแล้ว หากทางราชการจะเรียกร้องเอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวกแล้วจำเลยยังจะต้องรับผิดชำระแทนครบถ้วน
อ.คนต่างด้าวได้รับใบผ่านภาษีอากรประเภทเดินทางหลายครั้ง (ระบบ ผ.3 ก) มีสิทธิใช้ใบผ่านภาษีอากรเดินทางไปต่างประเทศได้หลายครั้ง แต่ต้องเดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยภายใน 180 วันนับตั้งแต่วันออกใบผ่านภาษีอากรแล้ว เมื่อ อ.ได้เดินทางไปต่างประเทศแล้วกลับเข้ามาในประเทศไทย หลังจากนั้นก็ได้เดินทางไปต่างประเทศอีกภายใน 180 วันนั้นแล้วไม่ได้เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยอีกเลย ดังนี้ สัญญาค้ำประกันดังกล่าวหาได้ระงับไปเพราะ อ.กลับเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกไม่ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ภาษีอากรแทน อ.ตามสัญญาค้ำประกัน
จำเลยขอค้ำประกัน อ.ต่อโจทก์ว่า ถ้า อ.มีหน้าที่จะต้องเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรไม่ว่าในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะแทนผู้อื่น หากทางราชการจะเรียกร้องเอาจาก อ.ไม่ได้หรือไม่สะดวก จำเลยยินยอมชำระแทนให้จนครบถ้วน ดังนั้นหนี้อากรแสตมป์และเงินเพิ่มที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. โดย อ.หุ้นส่วนผู้จัดการค้างชำระอยู่ก่อนที่จำเลยจะค้ำประกัน อ. แม้เจ้าพนักงานประเมินจะแจ้งให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.นำเงินอากรแสตมป์และเงินเพิ่มไปชำระหลังจากที่จำเลยค้ำประกัน อ.จำเลยก็จะต้องรับผิดเพราะหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่ อ.ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจะต้องชำระให้โจทก์ เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.ที่ อ.เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการผิดนัดไม่ชำระภาษีอากรต้องถือว่า อ.ผิดนัดด้วย โจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้ฟ้องให้จำเลยผู้ค้ำประกันชำระหนี้ภาษีอากรแทน อ.ได้ โดยไม่จำต้องทวงถามจำเลยก่อน และไม่จำต้องเรียกร้องหรือทวงถามให้ อ.รับผิดเป็นส่วนตัวก่อน