พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 625/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนเนื่องจากไม่ส่งเงินสมทบติดต่อกัน 3 เดือน แม้ไม่มีการเตือน
พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 39 วรรคสาม ที่กำหนดหน้าที่ของผู้ประกันตนที่จะต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเดือนละครั้งภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป หากไม่นำส่งหรือนำส่งไม่ครบต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 39 วรรคท้าย เป็นคนละกรณีกับการที่ผู้ประกันตนไม่ส่งเงินสมทบสามเดือนติดต่อกันตามมาตรา 41 (4) ซึ่งบัญญัติให้ความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 สิ้นสุดลงโดยผลของกฎหมายโดยไม่มีข้อยกเว้น และไม่จำต้องพิจารณาว่า ผู้ประกันตามมีเจตนาที่จะส่งเงินสมทบหรือไม่ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกันตนไม่ส่งเงินสมทบสามเดือนติดต่อกันความเป็นผู้ประกันตนย่อมสิ้นสุดลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3085/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีอาญา: การร้องทุกข์ของผู้เสียหายร่วม และผลของการไม่ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน
ล. เป็นผู้ถือหุ้นคนหนึ่งของบริษัทลัดสุภาอินเตอร์เทรดจำกัด เช่นเดียวกับโจทก์ ล. จึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยได้เช่นเดียวกับโจทก์ คดีนี้เป็นความผิดอันยอมความได้ เมื่อ ล. ไม่ได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2253/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้องคดีบุกรุกที่ดิน: การขาดอายุความเนื่องจากไม่ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน
จำเลยเข้าไปปักเสาและปลูกต้นมะขามในที่ดินของโจทก์ก็เพื่อถือการครอบครองที่ดินของโจทก์ ดังนั้น ความผิดฐานบุกรุกได้เกิดขึ้นและสำเร็จแล้วเมื่อจำเลยเข้าไปกระทำการดังกล่าว ส่วนการครอบครองที่ดินต่อมาเป็นเพียงผลของการบุกรุก การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดต่อเนื่องตราบเท่าที่จำเลยยังถือการครอบครองที่ดินของโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เหตุเกิดระหว่างวันที่ 1 ถึง 10 สิงหาคม 2528 เวลาใดไม่ปรากฏชัด ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 และ 363 โดยมิได้บรรยายฟ้องว่าเหตุเกิดเวลากลางคืน แม้จะมีข้อความตอนหนึ่งว่าขณะนี้จำเลยยังคงบุกรุกอยู่ ซึ่งพอเข้าใจได้ว่าจำเลยบุกรุกที่ดินตามฟ้องทั้งเวลากลางวันและกลางคืน แต่โจทก์ก็มิได้ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 (3)จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 (3) อันเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน เมื่อความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 และ 363 เป็นความผิดอันยอมความกันได้ โจทก์มิได้ร้องทุกข์และได้ฟ้องคดีเองเมื่อพ้นกำหนดสามเดือนนับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2531)
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เหตุเกิดระหว่างวันที่ 1 ถึง 10 สิงหาคม 2528 เวลาใดไม่ปรากฏชัด ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 และ 363 โดยมิได้บรรยายฟ้องว่าเหตุเกิดเวลากลางคืน แม้จะมีข้อความตอนหนึ่งว่าขณะนี้จำเลยยังคงบุกรุกอยู่ ซึ่งพอเข้าใจได้ว่าจำเลยบุกรุกที่ดินตามฟ้องทั้งเวลากลางวันและกลางคืน แต่โจทก์ก็มิได้ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 (3)จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 (3) อันเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน เมื่อความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 และ 363 เป็นความผิดอันยอมความกันได้ โจทก์มิได้ร้องทุกข์และได้ฟ้องคดีเองเมื่อพ้นกำหนดสามเดือนนับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2531)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2253/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีบุกรุก เนื่องจากโจทก์มิได้ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่วันรู้เรื่องความผิด
จำเลยเข้าไปปักเสาและปลูกต้นมะขามในที่ดินของโจทก์ก็เพื่อถือการครอบครองที่ดินของโจทก์ ดังนั้น ความผิดฐานบุกรุกได้เกิดขึ้นและสำเร็จแล้วเมื่อจำเลยเข้าไปกระทำการดังกล่าวส่วนการครอบครองที่ดินต่อมาเป็นเพียงผลของการบุกรุก การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดต่อเนื่องตราบเท่าที่จำเลยยังถือการครอบครองที่ดินของโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เหตุเกิดระหว่างวันที่ 1 ถึง 10 สิงหาคม 2528เวลาใดไม่ปรากฏชัด ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362และ 363 โดยมิได้บรรยายฟ้องว่าเหตุเกิดเวลากลางคืน แม้จะมีข้อความตอนหนึ่งว่าขณะนี้จำเลยยังคงบุกรุกอยู่ ซึ่งพอเข้าใจได้ว่าจำเลยบุกรุกที่ดินตามฟ้องทั้งเวลากลางวันและกลางคืนแต่โจทก์ก็มิได้ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365(3)จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365(3) อันเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน เมื่อความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 และ 363 เป็นความผิดอันยอมความกันได้ โจทก์มิได้ร้องทุกข์และได้ฟ้องคดีเองเมื่อพ้นกำหนดสามเดือนนับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96.(วรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2531)
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เหตุเกิดระหว่างวันที่ 1 ถึง 10 สิงหาคม 2528เวลาใดไม่ปรากฏชัด ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362และ 363 โดยมิได้บรรยายฟ้องว่าเหตุเกิดเวลากลางคืน แม้จะมีข้อความตอนหนึ่งว่าขณะนี้จำเลยยังคงบุกรุกอยู่ ซึ่งพอเข้าใจได้ว่าจำเลยบุกรุกที่ดินตามฟ้องทั้งเวลากลางวันและกลางคืนแต่โจทก์ก็มิได้ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365(3)จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365(3) อันเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน เมื่อความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 และ 363 เป็นความผิดอันยอมความกันได้ โจทก์มิได้ร้องทุกข์และได้ฟ้องคดีเองเมื่อพ้นกำหนดสามเดือนนับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96.(วรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2531)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 423/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การควบคุมตัวบุคคลอันธพาลตามประกาศคณะปฏิวัติ การพิจารณาปล่อยตัวต้องทำภายใน 3 เดือน หากไม่พิจารณา การควบคุมต่อไปถือว่าไม่ชอบ
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 43 ข้อ 1 ให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดส่งบุคคลที่ประพฤติตนเป็นอันธพาลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 21 ไปยังสถานอบรมและฝึกอาชีพได้
เมื่อบุคคลดังกล่าวเข้าไปอยู่ในสถานอบรมและฝึกอาชีพแล้ว จึงตกเป็นอำนาจของคณะกรรมการ ฯ ที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 43 ข้อ 2 ที่จะต้องพิจารณาและมีคำสั่งทุก ๆ 3 เดือนว่า บุคคลที่ถูกควบคุมนั้นควรให้ควบคุมไว้หรือให้ปล่อยตัวไป ถ้าคณะกรรมการ ฯ มิได้พิจารณาและมีคำสั่งประการใด การควบคุมบุคคลดังกล่าวไว้เมื่อพ้นกำหนด 3 เดือน เป็นการควบคุมที่ไม่ชอบตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 43 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่105/2506)
เมื่อบุคคลดังกล่าวเข้าไปอยู่ในสถานอบรมและฝึกอาชีพแล้ว จึงตกเป็นอำนาจของคณะกรรมการ ฯ ที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 43 ข้อ 2 ที่จะต้องพิจารณาและมีคำสั่งทุก ๆ 3 เดือนว่า บุคคลที่ถูกควบคุมนั้นควรให้ควบคุมไว้หรือให้ปล่อยตัวไป ถ้าคณะกรรมการ ฯ มิได้พิจารณาและมีคำสั่งประการใด การควบคุมบุคคลดังกล่าวไว้เมื่อพ้นกำหนด 3 เดือน เป็นการควบคุมที่ไม่ชอบตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 43 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่105/2506)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 733/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีความผิดอันยอมความกันได้: การร้องทุกข์และการฟ้องภายใน 3 เดือน
คดีความผิดอันยอมความกันได้ แม้ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องคดีแดง ถ้าโจทก์มิได้ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่โจทก์รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีก็ขาดอายุความ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 เป็นบทบังคับว่า ถ้าไม่ได้ร้องทุกข์ในกำหนด คดีก็ขาดอายุความ ฉะนั้น ถ้าผู้เสียหายไม่ร้องทุกข์แต่ละฟ้องเลยทีเดียว ก็ต้องฟ้องใน 3 เดือน เช่นเดียวกัน เพราะในกรณีอย่างนี้ถือได้ว่า การฟ้องนั้นเท่ากับการร้องทุกข์แล้ว จึงหาต้องร้องทุกข์อีกไม่
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 เป็นบทบังคับว่า ถ้าไม่ได้ร้องทุกข์ในกำหนด คดีก็ขาดอายุความ ฉะนั้น ถ้าผู้เสียหายไม่ร้องทุกข์แต่ละฟ้องเลยทีเดียว ก็ต้องฟ้องใน 3 เดือน เช่นเดียวกัน เพราะในกรณีอย่างนี้ถือได้ว่า การฟ้องนั้นเท่ากับการร้องทุกข์แล้ว จึงหาต้องร้องทุกข์อีกไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 390/2478
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความยักยอกทรัพย์: ผู้จัดการทราบเรื่องแต่ไม่แจ้งความเกิน 3 เดือน คดีขาดอายุความ
ผู้จัดการทรัพย์ของบริษัทรู้เรื่องยักยอกแล้วมิได้ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน คดีย่อมขาดอายุความ