คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
6 เดือน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเบี้ยปรับจากสัญญาเช่า: ต้องฟ้องภายใน 6 เดือนนับจากวันส่งคืนทรัพย์สิน
สัญญาเช่าที่ราชพัสดุเพื่อใช้เป็นทางเดินและเป็นที่ตั้งตลาดและสัญญาเช่าอาคารหรือสิ่งก่อสร้างที่กำนหดว่าการชำระค่าเช่า ค่าภาษี ค่าธรรมเนียม หรือเงินอื่นใดที่ผู้เช่าต้องชำระให้แก่ผู้ให้เช่าตามกำหนด หาชำระเกินกำหนดเวลา ผู้เช่าจะต้องชำระเงินเพิ่มขึ้นจากเงินดังกล่าวเป็นเบี้ยปรับให้ผู้เช่าอีกในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินที่ค้างชำระ เมื่อครกำหนดสัญญาเช่าจำเลยไม่ได้เป็นผู้เช่าที่ดินและอาคารตลาดจากโจทก์ และโจทก์ได้รับมอบที่ดินพร้อมอาคารคืนจากจำเลยแล้ว การฟ้องคดีเรียกเบี้ยปรับตามสัญญาเช่าดังกล่าวจึงเป็นคดีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยปฏิบัติเกี่ยวแก่สัญญาเช่าเช่าต้องฟ้องภายใน 6 เดือนนับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่ให้เช่าตามมาตรา 563 กรณีมิใช่เป็นเรื่องดอกเบี้ยค้างชำระหรือค่าเช่าทรัพย์สินค้างชำระอันมีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9190/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าเสียหายจากการฝากทรัพย์: สัญญาฝากทรัพย์มีอายุความ 6 เดือน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 671
เมื่อจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของท่าเทียบเรือและรับจ้างขนสินค้าขึ้นจากเรือได้ขนถ่ายรถยนต์ของโจทก์ทั้งหมด ขึ้นจากเรือเสร็จแล้ว โจทก์มิได้รับรถยนต์ไปทันที แต่ได้ให้จำเลยเก็บรักษาไว้ที่ลานพักสินค้าของจำเลย โดยมีการ คิดค่าเก็บรักษา จึงมีลักษณะเป็นสัญญาฝากทรัพย์โดยมีบำเหน็จรวมอยู่ด้วย ซึ่งหากรถยนต์ได้รับความเสียหาย จำเลยผู้รับฝากต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ผู้ฝาก การฟ้องเรียกค่าซ่อมแซมรถยนต์เป็นการฟ้องเรียกค่าสินไหม ทดแทนเกี่ยวกับการฝากทรัพย์ อันมีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันสิ้นสัญญา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 671 โจทก์ฟ้องคดีนี้ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2539 จึงเกินกำหนด 6 เดือน นับแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2538 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์รับรถยนต์ คืนไปจากจำเลยอันเป็นวันสิ้นสัญญาฝากทรัพย์ สิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยจึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6090/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคืนค่าอากรต้องยื่นคำร้องภายใน 6 เดือน หากไม่ยื่นสิทธิในการฟ้องร้องจะขาดอายุความ
โจทก์อ้างในคำฟ้องว่า โจทก์ได้เสียค่าอากรแสตมป์ใบรับสำหรับรายรับจากการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ไป แต่ต่อมาโจทก์ทราบว่าโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียอากรแสตมป์ จึงมาฟ้องขอให้กรมสรรพากรจำเลยคืนเงินค่าอากรแสตมป์ คำฟ้องของโจทก์ดังนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการขอคืนเงินค่าภาษีอากรตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7(3)แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 ซึ่งตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน และประมวลรัษฎากร มาตรา 122 การขอคืนอากรไม่ว่าเป็นกรณีที่เสียไปโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสีย หรือเสียเกินไปกว่าอัตราที่กำหนดถ้าจะขอคืนต้องเป็นกรณีที่ค่าอากรที่จะคืนนั้นไม่น้อยกว่า 2 บาทและการขอคืนต้องยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในเวลา 6 เดือนนับแต่วันเสียอากรหรือค่าเพิ่มอากร เมื่อโจทก์มิได้ดำเนินการยื่นคำร้องเป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาที่กำหนดไว้ดังกล่าว จึงไม่อาจที่จะนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3526/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอพิจารณาใหม่ต้องยื่นภายใน 15 วันนับจากวันที่ส่งคำบังคับ หรือภายใน 6 เดือนหากมีเหตุสุดวิสัย
คำขอให้พิจารณาใหม่จะต้องยื่นต่อศาลภายในกำหนด 15 วันนับแต่วันที่การส่งคำบังคับมีผล จำเลยยื่นคำขอเมื่อล่วงเลยระยะเวลา15 วัน ตามที่กฎหมายกำหนด จึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาใหม่ได้ส่วนกำหนดระยะเวลา 6 เดือน ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคแรก ท่อนท้ายนั้นจะนำมาใช้บังคับต่อเมื่อมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้อันเป็นผลให้จำเลยไม่อาจยื่นคำขอภายในกำหนด 15 วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือภายในระยะเวลาตามกำหนดของศาลตามคำขอของจำเลยไม่ปรากฏว่า อ้างพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ไว้ จึงไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วแต่ศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 199/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตั๋วสัญญาใช้เงินเมื่อทวงถาม: ไม่ต้องยื่นภายใน 6 เดือนตาม ป.พ.พ. มาตรา 944
การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดให้ใช้เงินเมื่อทวงถาม มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1ผู้ออกตั๋วและจำเลยที่ 2 ผู้รับอาวัล ใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินแล้วจำเลยทั้งสองไม่ชำระ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดชดใช้เงินได้ ไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 944 ที่จะต้องนำตั๋วยื่นเพื่อให้ใช้เงินภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ลงในตั๋ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 199/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตั๋วสัญญาใช้เงินเมื่อทวงถาม ไม่ต้องยื่นภายใน 6 เดือน ผู้ทรงมีอำนาจฟ้องได้เมื่อทวงถามแล้ว
การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดให้ใช้เงินเมื่อทวงถาม มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ผู้ออกตั๋วและจำเลยที่ 2 ผู้รับอาวัล ใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินแล้ว แต่จำเลยทั้งสองไม่ชำระ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดชดใช้เงินได้ เพราะตั๋วสัญญาใช้เงินที่ให้ใช้เงินเมื่อทวงถาม ไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 944 และมาตรา 985 วรรคแรกที่ผู้ทรงจะต้องนำตั๋วยื่นเพื่อให้ใช้เงินภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ลงในตั๋ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 607/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาฝากทรัพย์ อายุความฟ้องร้อง 6 เดือน กรณีไม้ของกลางสูญหาย
โจทก์จำเลยทำสัญญากันมีข้อความเป็นสารสำคัญว่า โจทก์มอบไม้ของกลางให้จำเลยจัดการขนย้ายจากสถานีตำรวจภูธรตำบลกำพวนไปเก็บรักษาไว้ในที่ปลอดภัยบริเวณหมู่ที่ 2 ตำบลบางหิน อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง แล้วจำเลยต้องเก็บรักษาไม้ของกลางไว้เป็นการชั่วคราวในอารักขาแห่งตนอันเป็นการยอมให้จำเลยครอบครองไม้ของกลางแทนโจทก์ สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาฝากทรัพย์ และคดีมีอายุความฟ้องร้องภายใน 6 เดือน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2517 เจ้าหน้าที่ของโจทก์ตรวจพบว่าไม้ของกลางที่ได้ทำสัญญาให้จำเลยเฝ้าระวังหายไปทั้งหมด 5 ท่อน จึงทวงถามให้จำเลยชำระเบี้ยปรับตามสัญญา จำเลยไม่ชำระ จำเลยให้การว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความเพราะนับแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2517 อันเป็นวันที่โจทก์ทราบว่าไม้ของกลางหายไปจนบัดนี้เกิน 6 เดือนแล้ว โจทก์มิได้นำสืบในข้อนี้ ถือว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วตั้งแต่วันนั้นและถือว่าเป็นวันสิ้นสัญญา เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องคดีภายใน 6 เดือน นับแต่วันสิ้นสัญญาดังกล่าว คดีของโจทก์ขาดอายุความ
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2521)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 881/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการชำระหนี้ภาษีอากรในคดีล้มละลาย: เกิน 6 เดือน vs. ภายใน 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
แม้หนีภาษีอากรจะเป็นหนี้บุริมสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษและบัญญัติขึ้นภายหลังได้กำหนดลำดับสิทธิในการที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ไว้ตามมาตรา 130 จึงเป็นข้อยกเว้นจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไป ในการขอรับชำระหนี้ภาษีอากร จึงต้องถือตามพระราชบัญญัตินี้เป็นสำคัญ
ภาษีอากรถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 130(6) นั้นคือ ภาษีอากรที่ถึงกำหนดชำระระหว่าง 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์นั่นเอง มิได้รวมถึงภาษีอากรที่ได้ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือนก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แต่อย่างใด หนี้ภาษีการค้าที่ลูกค้าติดค้างอยู่ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือนก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 130(6) คงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130(8) เท่านั้น
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 84, 85 ทวิ กำหนดให้ผู้ประกอบการค้ายื่นแบบแสดงรายการการค้าแต่ละเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปมาตรา 86 กำหนดให้ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าชำระภาษีภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 85 ทวิ และมาตรา 89 ทวิ วรรคสามบัญญัติว่า การคำนวณเงินเพิ่ม ฯลฯ ให้เริ่มนับเมื่อพ้นสิบห้าวันถัดจากเดือนภาษี ซึ่งหมายความว่าเงินเพิ่มนั้นจะเริ่มคิดคำนวณทันทีหลังจากที่ลูกหนี้ไม่ชำระภาษีการค้าภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หาใช่นับแต่ภายหลังที่เจ้าหนี้ได้แจ้งการประเมินภาษีไปยังลูกหนี้ แล้วลูกหนี้ไม่ชำระภาษีภายในกำหนด 30 วัน นับแต่เจ้าหนี้แจ้งการประเมินไม่ ฉะนั้นแม้เจ้าหนี้เพิ่งแจ้งการประเมินภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ก็ยังคงต้องรับผิดในเงินเพิ่มดังกล่าว
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ตรี บัญญัติว่า เบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้ถือว่าเป็นเงินภาษี และมาตรา 89 ทวิ บัญญัติให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ ฉะนั้น เงินเพิ่มที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้จึงต้องแยกพิจารณาเป็น 2 ตอน เงินเพิ่มสำหรับระยะเวลา 6 เดือนก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ รวมทั้งภาษีบำรุงเทศบาล เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 130(6) ส่วนเงินเพิ่มและภาษีบำรุงเทศบาลที่ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือน อยู่ในลำดับที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130(8)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1556-1557/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันหลังสิ้นสุดสัญญาตัวแทน: ระยะเวลา 6 เดือน ยังคงผูกพันตามหนี้ที่เกิดขึ้น
สัญญาค้ำประกันที่มีข้อความว่า ถ้านายธ.พ้นจากหน้าที่ตัวแทนในการขายของบริษัท. เนื่องจากบริษัทบอกเลิกสัญญาหรือด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดก็ตาม. สัญญาค้ำประกันฉบับนี้ยังไม่ยกเลิกจนกว่าจะครบกำหนด 6 เดือนนับตั้งแต่นายธ.ได้พ้นจากหน้าที่นั้น. หมายความว่า แม้นายธ.จะพ้นหน้าที่ตัวแทนไปแล้วก็ตาม. หนี้อันเกิดจากสัญญาตัวแทนที่จะต้องชำระก็หาได้หมดสิ้นไปทันทีไม่.อาจมีหนี้ที่นายธ.ทำขึ้นหลังที่สัญญาตัวแทนระงับลงแล้วอีกบางประการก็ได้.ซึ่งผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันต่อไปอีก 6 เดือน. หาใช่ว่าพอพ้น 6 เดือนแล้ว ความรับผิดใดๆที่ผู้ค้ำประกันมีอยู่เดิมก็จะยกเลิกไปด้วยไม่.