พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1294/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีใหม่หลังคำพิพากษาถึงที่สุด: การนับระยะเวลา 60 วันตามอำนาจฟ้อง
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 147 วรรคสองคำพิพากษาในคดีที่อาจอุทธรณ์ฎีกาได้จะถึงที่สุดต่อเมื่อระยะเวลาผ่านพ้นไปจนถึงวันครบกำหนดอายุอุทธรณ์หรือฎีกา สำหรับคดีที่อาจอุทธรณ์ได้จึงมีอายุอุทธรณ์ 1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 แต่เมื่อคดีดังกล่าวคู่ความมิได้อุทธรณ์ คดีจึงถึงที่สุดในกำหนด 1 เดือนนับแต่วันที่ศาลอ่านคำพิพากษาตามมาตรา 147 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1294/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีใหม่หลังคำพิพากษาถึงที่สุด: การนับระยะเวลา 60 วัน ตามสิทธิฟ้องใหม่
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา147วรรคสองคำพิพากษาในคดีที่อาจอุทธรณ์ฎีกาได้จะถึงที่สุดต่อเมื่อระยะเวลาผ่านพ้นไปจนถึงวันครบกำหนดอายุอุทธรณ์หรือฎีกาสำหรับคดีที่อาจอุทธรณ์ได้จึงมีอายุอุทธรณ์1เดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา229แต่เมื่อคดีดังกล่าวคู่ความมิได้อุทธรณ์คดีจึงถึงที่สุดในกำหนด1เดือนนับแต่วันที่ศาลอ่านคำพิพากษาตามมาตรา147วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีเวนคืน: กำหนด 1 ปีนับจากวันพ้นกำหนด 60 วัน หรือวันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 25 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า ในการพิจารณาอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทางกฎหมาย และผู้มีความรู้ความสามารถในการตีราคาอสังหาริมทรัพย์ มีจำนวนทั้งหมดไม่น้อยกว่าห้าคนเป็นผู้พิจารณาเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรี ทั้งนี้ ให้รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ และตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่าในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง ให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีหรือนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วแต่กรณีดังนี้เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ขอเพิ่มค่าทดแทนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยวันที่ 4 มิถุนายน 2533และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้รับคำอุทธรณ์ในวันเดียวกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน คือวันที่ 3สิงหาคม 2533 แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 3 สิงหาคม 2533 โจทก์ก็ต้องฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลา 60 วัน คือต้องฟ้องคดีภายในวันที่ 3 สิงหาคม 2534 การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องต่อศาลเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2535 ซึ่งพ้นกำหนดระยะเวลาแล้ว โจทก์จึงสิ้นสิทธิฟ้องร้อง
สิทธิของผู้ได้รับเงินค่าทดแทนที่จะฟ้องคดีต่อศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง มีได้เพียงกรณีใดกรณีหนึ่งคือ กรณีที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ ดังนี้ เมื่อรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว โจทก์หามีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีที่วินิจฉัยเกินกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ไม่
กำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง เป็นกำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิ มิใช่อายุความ การที่มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44ให้แก้ไขการกำหนดราคาเบื้องต้นและโจทก์ได้รับค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ไม่ทำให้กำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิสะดุดหยุดลงและเริ่มต้นใหม่
สิทธิของผู้ได้รับเงินค่าทดแทนที่จะฟ้องคดีต่อศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง มีได้เพียงกรณีใดกรณีหนึ่งคือ กรณีที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ ดังนี้ เมื่อรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว โจทก์หามีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีที่วินิจฉัยเกินกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ไม่
กำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง เป็นกำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิ มิใช่อายุความ การที่มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44ให้แก้ไขการกำหนดราคาเบื้องต้นและโจทก์ได้รับค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ไม่ทำให้กำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิสะดุดหยุดลงและเริ่มต้นใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 740/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีเวนคืน: นับจากวันพ้นกำหนดวินิจฉัยอุทธรณ์ (60 วัน) ไม่ใช่วันแจ้งคำวินิจฉัย
พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา26ได้วางหลักเกณฑ์ในการนำคดีมาฟ้องศาลเมื่อผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนยังไม่พอใจคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีไว้2กรณีคือกรณีแรกเป็นกรณีรัฐมนตรีได้วินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จสิ้นใน60วันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์เมื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีก็มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลภายใน1ปีนับแต่ที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยนั้นกรณีที่สองเป็นกรณีที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่เสร็จสิ้นภายใน60วันนับแต่วันรับอุทธรณ์กรณีเช่นนี้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลภายใน1ปีนับแต่พ้นกำหนด60วันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2415/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-เช็คค้ำประกัน: สิทธิโจทก์เกิดเมื่อครบกำหนด 60 วัน แม้เรียกเก็บเงินเกิน 6 เดือน จำเลยยังต้องรับผิด
คดีเดิมศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง เพราะเหตุโจทก์ยังไม่มีอำนาจฟ้อง เนื่องจากโจทก์นำเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีเรียกเก็บเงินในขณะที่ยังไม่พ้นระยะเวลา 60 วัน ตามข้อตกลงที่จำเลยเริ่มจะต้องมีความรับผิดต่อโจทก์ ปัจจุบันพ้นกำหนดระยะเวลา 60วัน ตามข้อตกลงที่จำเลยมีต่อโจทก์ โจทก์ยังมิได้รับชำระหนี้จาก อ. โจทก์มีสิทธินำเช็คพิพาทที่จำเลยออกให้โจทก์ค้ำประกันหนี้ อ.มาฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 เช็คพิพาทที่จำเลยออกให้โจทก์ค้ำประกันการหาเงินชำระหนี้ของ อ.จะมีผลใช้บังคับเมื่ออ.ไม่สามารถหาเงินชำระหนี้โจทก์ภายใน 60 วัน เมื่อครบกำหนด 60 วัน อ.หาเงินชำระหนี้โจทก์ไม่ได้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเก็บเงินตามเช็คที่ออกค้ำประกัน อ.ทันที ส่วนโจทก์จะใช้สิทธินำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินเมื่อใดก็เป็นสิทธิของโจทก์แม้จะเป็นระยะเวลาเกิน 6 เดือน นับแต่ อ.ไม่สามารถหาเงินชำระหนี้โจทก์ภายใน 60 วัน จำเลยก็ยังต้องมีความผูกพันชำระหนี้ตามเช็คค้ำประกันอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2234/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต้องยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ภายใน 60 วันก่อนฟ้องศาล
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืน พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 121(1) ซึ่งมาตรา 124 บัญญัติไว้ให้ ผู้เสียหายต้องยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ และต้องยื่น ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีการฝ่าฝืน เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงไม่อาจฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางในกรณีนี้ต่อไปได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 8 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13078/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนสินสมรส: การฟ้องต่อเนื่องจากคำพิพากษาเดิมมีอายุความ 60 วัน ไม่ใช่ 1 ปี
เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2549 โจทก์ในฐานะภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 ฟ้องเพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยที่ 1 นำเงินสินสมรสไปซื้อที่ดินและทาวน์เฮ้าส์พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ภายในกำหนดเวลาหนึ่งปี นับแต่โจทก์ทราบเหตุการณ์ทำนิติกรรมระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 แต่ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2552 ว่า ฟ้องโจทก์มิใช่การฟ้องเพื่อเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินและทาวน์เฮ้าส์ แต่เป็นการฟ้องเพื่อเรียกสินสมรสคืนจากจำเลยที่ 2 และการที่ศาลชั้นต้นให้โจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนถอนเงินในบัญชีซึ่งเป็นสินสมรสและมอบให้แก่จำเลยที่ 2 เพื่อซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 2 คืนเงินแก่โจทก์ เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น จะพิพากษาให้จำเลยที่ 2 คืนเงินหาได้ไม่ โจทก์ต้องไปว่ากล่าวต่างหาก โจทก์จึงยื่นฟ้องคดีนี้ในวันที่ 9 กรกฎาคม 2552 เรียกร้องให้จำเลยที่ 2 คืนเงินจำนวน 1,512,400 บาท จึงเป็นการใช้สิทธิฟ้องต่อเนื่องจากคำพิพากษาในคดีเดิม แม้คำพิพากษาคดีดังกล่าวจะไม่มีถ้อยคำว่า "โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่" อายุความคดีนี้ก็ตกอยู่ในบังคับ ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง ที่ฟ้องใหม่ได้ภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นถึงที่สุด หาใช่ต้องฟ้องคดีภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 วรรคสอง คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5300/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้ - การฟ้องซ้ำภายในอายุความ - ผลของการพิพากษาถึงที่สุด - กรอบเวลา 60 วัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกู้เงินธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) ตกลงผ่อนชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยรายเดือนรวม 36 งวด เป็นการฟ้องขอให้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ซึ่งมีข้อตกลงชำระหนี้ผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (2) สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในหนี้ดังกล่าวจึงมีกำหนดอายุความห้าปีนับแต่วันผิดนัดชำระหนี้ จำเลยชำระหนี้ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2555 ต้องถือว่าจำเลยผิดนัดชำระงวดที่เหลือทั้งหมด สิทธิเรียกร้องจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2555 เป็นต้นไป และจะครบกำหนดห้าปีในวันที่ 16 ตุลาคม 2560 โจทก์ในฐานะผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องของธนาคารฯ เคยฟ้องจำเลยในมูลหนี้เดียวกันกับคดีนี้เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2560 ภายในกำหนดอายุความห้าปี แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายกฟ้อง โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ฟ้องเข้ามาใหม่ภายในอายุความ และไม่มีคู่ความยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกากับฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 จึงเป็นที่สุดตั้งแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น คือ วันที่ 31 ตุลาคม 2560 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคท้าย อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับแก่การฎีกาคดีผู้บริโภคโดยอนุโลม ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 51 ประกอบ มาตรา 49 วรรคสอง เมื่อคดีถึงที่สุดในวันดังกล่าวอันเป็นวันหลังจากสิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความแล้ว โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นถึงที่สุดตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2561 จึงเป็นการฟ้องเมื่อล่วงพ้นกำหนดเวลาหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาในคดีก่อนถึงที่สุด ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1605/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกันในสัญญาเช่าซื้อหลังระยะเวลา 60 วันจากวันผิดนัด และขอบเขตความรับผิดในหนี้ประธาน
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อ และจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน ร่วมกันส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน เมื่อโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวและทวงถามจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับตามที่อยู่ของจำเลยที่ 2 ที่ระบุในสัญญาค้ำประกัน การบอกกล่าวเช่นนี้ แม้ไม่พบจำเลยที่ 2 และไม่มีผู้ใดรับไว้ ก็ถือว่าหนังสือบอกกล่าวได้ไปถึงจำเลยที่ 2 แล้ว แต่เมื่อโจทก์บอกกล่าวจำเลยที่ 2 ล่วงพ้นกำหนดเวลาหกสิบวันนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ผิดนัด ย่อมทำให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นเพียงความรับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทน ตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนี้บรรดาที่เกิดขึ้นภายหลังจากพ้นกำหนดเวลาหกสิบวันนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ผิดนัด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 วรรคสอง แต่สำหรับหนี้ส่งมอบรถยนต์หรือใช้ราคาแทนเป็นหนี้ประธานของสัญญาเช่าซื้อ จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน หากส่งไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนและชำระค่าเสียหาย ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 แม้โจทก์จะอุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 อย่างลูกหนี้ร่วม แต่อุทธรณ์ของโจทก์ก็ขอให้จำเลยที่ 2 ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ หากส่งไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนเป็นเงินมาด้วย จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ โจทก์จึงต้องชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ตามทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 220/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันสัญญาเช่าซื้อ: ผลของการแจ้งหนี้เกิน 60 วัน และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
ตามสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อรถยนต์ ข้อ 8 ระบุว่า "บรรดาหนังสือ จดหมาย คำบอกกล่าวใดๆ ของเจ้าของที่ส่งไปยังที่อยู่ของข้าพเจ้าตามสัญญานี้ โดยส่งเองหรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน หรือไม่ลงทะเบียนไม่ว่าจะถึงตัวหรือไม่ถึงตัว และไม่ว่าจะมีผู้รับหรือไม่มีผู้ใดยอมรับไว้ หรือไม่ยอมมารับภายในกำหนดไปรษณีย์แจ้งให้มารับ ... ข้าพเจ้ายินยอมผูกพันให้ถือว่าหนังสือ จดหมาย หรือคำบอกกล่าวใดๆ นั้น ได้ส่งให้ข้าพเจ้าโดยชอบแล้ว" ข้อเท็จจริงปรากฏตามหนังสือขอให้ชำระหนี้และบอกเลิกสัญญาพร้อมใบตอบรับว่าโจทก์ได้ส่งไปตามที่อยู่ที่จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันแจ้งไว้ในสัญญาค้ำประกันดังกล่าวแล้ว แม้ทางไปรษณีย์จะคืนหนังสือที่ส่งไปให้จำเลยที่ 2 เนื่องจากจำเลยที่ 2 ไม่มารับภายในกำหนดก็ตาม ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ได้รับหนังสือบอกกล่าวโดยชอบแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันได้ แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2558 โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้และบอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559 จึงพ้นกำหนดเวลา 60 วัน นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ผิดนัด จำเลยที่ 2 จึงหลุดพ้นจากความรับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้นภายหลังจากพ้นกำหนดเวลา 60 วัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 วรรคสอง สำหรับหนี้การส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อและหากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนถือเป็นหนี้ประธาน แม้โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวแก่จำเลยที่ 2 เกิน 60 วัน นับแต่ผิดนัดก็ตาม จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันย่อมไม่หลุดพ้น ส่วนหนี้ค่าขาดประโยชน์ถือเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ จำเลยที่ 2 จึงหลุดพ้นจากความรับผิดเฉพาะที่เกิดขึ้นภายหลังจากพ้นกำหนด 60 วัน