พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 118/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ราคาสินค้าที่สำแดงตาม CIF เชื่อถือได้หากมีหลักฐานประกอบ และการประเมินราคาต้องอ้างอิงราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
กรณีของโจทก์เป็นเรื่องพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรจำเลยไม่พอใจราคาสินค้าที่โจทก์สำแดงจึงให้โจทก์ชำระอากรตามสำแดงและให้วางเงินประกันค่าอากรอีกส่วนหนึ่งได้มีการส่งมอบสินค้าให้โจทก์รับไปแล้วต่อมาพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินให้โจทก์ชำระอากรขาเข้าเพิ่มโจทก์ได้ชำระอากรเพิ่มเติมตามที่ได้รับแจ้งการประเมินการชำระค่าอากรเพิ่มเป็นการชำระหลังจากได้รับสินค้าแล้วจึงไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา10วรรคห้าดังนั้นการที่โจทก์ได้ชำระค่าอากรขาเข้าให้แก่จำเลยตามที่จำเลยเรียกเก็บโดยอาศัยอำนาจตามที่กฎหมายบัญญัติไว้แม้โจทก์จะมิได้สงวนสิทธิในการฟ้องร้องหรือเรียกร้องเงินจำนวนนี้คืนก็มิได้ตัดสิทธิในการฟ้องคดี เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิอย่างใดในเงินอากรขาเข้าที่เรียกเก็บตามฟ้องจำเลยก็ย่อมมีหน้าที่จะต้องคืนเงินจำนวนเท่ากับที่โจทก์ได้ชำระให้แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยอีกร้อยละ0.625ต่อเดือนของจำนวนที่ต้องคืนโดยไม่คิดทบต้นนับแต่วันที่ได้ชำระค่าอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา112จัตวาวรรคท้ายดังนั้นคดีนี้โจทก์ฟ้องขอเรียกเงินอากรขาเข้าที่ชำระไว้เดิมพร้อมดอกเบี้ยมาในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของจำนวนเงินที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้เรียกเก็บไว้เกินจำนวนอันจะพึงต้องเสียนับแต่วันชำระอากรขาเข้าโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง คดีนี้โจทก์ได้ชำระเงินอากรเพิ่มตามที่ได้รับแบบแจ้งการประเมินการชำระเงินค่าอากรเพิ่มดังกล่าวเป็นการชำระหลังจากได้รับมอบสินค้าแล้วกรณีจึงไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา10วรรคห้าดังนั้นการที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องขอคืนเงินอากรเพราะเหตุใดที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงจึงไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา10วรรคห้าเช่นกันเพราะขณะที่โจทก์รับมอบสินค้าจากกรมศุลกากรนั้นโจทก์ยังมิได้เสียอากรตามจำนวนที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนแต่กรณีตามฟ้องเป็นเรื่องโจทก์จำเลยปฏิบัติพิธีการศุลกากรตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา112และมาตรา112ทวิกล่าวคือเป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเห็นว่ามีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าอากรสำหรับของที่กำลังผ่านพิธีการศุลกากรพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยและตัวแทนของโจทก์จึงตกลงให้ชำระอากรตามจำนวนที่สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าทั้ง29ฉบับและให้วางหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นประกันค่าอากรที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะได้ประเมินอากรเพิ่มภายหลังจากที่ได้รับมอบสินค้าแล้วประมาณ1เดือนซึ่งกรณีดังกล่าวพระราชบัญญัติศุลกากรมิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นการเฉพาะจึงต้องใช้อายุความตามบทบัญญัติทั่วไปมีกำหนดสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30(มาตรา164เดิม) หลักเกณฑ์การประเมินตามคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่8/2530ข้อ2.3ที่ให้ใช้ราคานำเข้าสูงสุดต่อรายที่พิจารณาราคาภายในระยะเวลาไม่เกิน3เดือนกับคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่47/2531ข้อ1.5ที่ให้ใช้ราคานำเข้าสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาไม่เกิน3เดือนและตามคำสั่งกค0614(ก)/8024ลงวันที่25กรกฎาคม2532ที่กำหนดให้สินค้าก๊าซเอทธีลีนเหลวเป็นสินค้าที่มีการเคลื่อนไหวเร็วประกอบคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่8/2530ข้อ2.2ที่ระบุว่าของที่ราคาเคลื่อนไหวเร็วซึ่งกองพิธีการและประเมินอากรร่วมกับกองวิเคราะห์ราคาได้พิจารณากำหนดชนิดของนั้นๆไว้ให้ใช้ราคานำเข้าสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาระยะเวลาไม่เกิน1เดือนเป็นราคาที่ใช้ในการประเมินอากรนั้นเป็นเพียงแนวทางให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยใช้สำหรับพิจารณาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดโดยเปรียบเทียบราคากับผู้นำเข้ารายก่อนเท่านั้นดังนั้นการที่จำเลยนำสืบแสดงหลักฐานว่าราคาที่โจทก์สำแดงต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าประเภทชนิดเดียวกันจากแหล่งประเทศกำเนิดเดียวกันโดยใช้หลักเกณฑ์การประเมินราคาที่โจทก์เคยนำเข้าโดยให้ใช้ราคาสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาราคาภายในระยะเวลาไม่เกิน3เดือนหรือ1เดือนเป็นราคาที่ใช้ในการประเมินอากรเมื่อโจทก์จำเลยรับกันว่าสินค้าก๊าซเอทธิลีนเหลวเป็นสินค้าที่มีราคาเคลื่อนไหวเร็วมีการเปลี่ยนแปลงราคาเดือนละ3ถึง4ครั้งจึงเป็นการไม่แน่นอนว่าราคาสินค้าที่เคยนำเข้าสูงสุดย้อนหลังไม่เกิน3เดือนหรือ1เดือนที่จำเลยใช้เป็นเกณฑ์ประเมินเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา2ส่วนโจทก์นำสืบแสดงว่าราคาก๊าซเอทธิลีนเหลวขึ้นลงเร็วก่อนโจทก์สั่งซื้อจะต้องสอบถามราคาจากผู้ผลิตและข่าวสารทั่วโลกแหล่งข่าวสารที่โจทก์ติดตามประจำคือไอ.ซี.ไอ.เอส.(IndenpendentChemicalInformationService)ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลของราคาก๊าซเอทธิลีนเหลวทั่วโลกราคาของก๊าซเอทธิลีนเหลวมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาตามสถานการณ์ของตลาดเฉลี่ยเดือนละ3ครั้งราคาที่โจทก์จัดซื้อเมื่อเทียบเคียงราคาจากข่าวสารจะใกล้เคียงระดับเดียวกันการซื้อโจทก์ชำระราคาโดยเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตมีใบกำกับสินค้าแสดงราคาสินค้าสัญญาซื้อขายพร้อมทั้งใบเสร็จรับเงินของธนาคารเป็นหลักฐานจำเลยมิได้นำสืบโต้แย้งว่าพยานหลักฐานที่โจทก์สำแดงราคาสินค้าตามที่ปรากฏในใบกำกับสินค้าและใบขนสินค้าขาเข้าทั้ง29ฉบับที่โจทก์ซื้อมาและชำระราคาไปแล้วนั้นไม่ถูกต้องอย่างไรฉะนั้นราคาสินค้าที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าทุกฉบับจึงมีเหตุผลเชื่อได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 112/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรที่ถูกต้องตามราคาตลาดจริง โดยพิจารณาจากราคา CIF และความผันผวนของราคาน้ำมัน
คำสั่งเฉพาะกรมศุลกากรที่ 14/2524 เรื่อง การตรวจสอบและ ประเมินราคาสินค้าและคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 8/2530 เรื่อง ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการพิจารณาราคาที่ใช้ในการประเมินอากรและการตรวจสอบใบขนสินค้าขาเข้า เป็นเพียงแนวทางให้เจ้าพนักงานของ กรมศุลกากรจำเลยใช้สำหรับการพิจารณาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดโดย การเปรียบเทียบราคากับผู้นำเข้ารายก่อนเท่านั้น คำสั่งเฉพาะ กรมศุลกากรที่ 14/2524 ระบุให้ผู้อำนวยการกองประเมินอากรใช้ ดุลพินิจพิจารณานอกเหนือจากหลักเกณฑ์ในคำสั่งดังกล่าวตามควร แก่กรณีได้ แสดงให้เห็นว่าราคาที่มีผู้นำเข้าสูงสุดในระยะเวลา 3 เดือน ก่อนโจทก์นำเข้าอาจไม่ใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จึงต้อง ให้ผู้อำนายการกองประเมินราคาพิจารณาอีกชั้นหนึ่ง ฉะนั้น การที่เจ้าพนักงานของจำเลยเห็นว่าราคาที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าต่ำกว่าราคาที่เคยมีผู้นำเข้าก่อนหน้านั้น จึงถือเอาราคาที่มี ผู้นำเข้าสูงสุดในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน ก่อนโจทก์นำเข้า เป็นราคาที่ใช้ในการประเมิน จึงไม่อาจถือเป็นราคาอันแท้จริง ในท้องตลาดได้ สินค้าเคมีภัณฑ์ ที่โจทก์นำเข้าคือ เมทิ่วเอททิ่วคีโตน(methylethylketone) และ บิวทิ่วอะครีเลทโมโนเมอร์ (butylacrylatemonomer) อันเป็นผลิตภัณฑ์อันเกิดจากผลพลอยได้ในการผลิตน้ำมันราคาน้ำมันในท้องตลาดขึ้นลงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอทำให้ผลิตภัณฑ์พลอยได้จากน้ำมันขึ้นลงตามไปด้วย ฉะนั้น ราคาสูงและต่ำในการนำเข้าแต่ละครั้งโดยไม่ปรากฏว่ามีการลดหย่อนราคากันเป็นพิเศษจึงอาจถือได้ว่าเป็นราคาสินค้าขาเข้าซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาและที่ที่ของนำเข้าโดยไม่มีหักทอนและลดหย่อนราคา อันถือได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1284/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
CIF, หน้าที่ประกันภัย, ข้อจำกัดความรับผิดโมฆะ, ตัวแทนรับผิดชอบสัญญา
การตกลงซื้อขายกันในราคา ซี. ไอ. เอฟ นั้น หมายความว่า ราคาสินค้าที่ตกลงซื้อขายกันรวมค่าประกันภัยและค่าระวางขนส่งด้วย ฉะนั้น ผู้ขายจึงมีหน้าที่ต้องเอาประกันภัยสินค้านั้นในระหว่างขนส่งไปยังผู้ซื้อ ถือได้ว่าผู้ขายมีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัยไว้สัญญาประกันภัยที่ผู้ขายทำไว้กับโจทก์จึงมีผลผูกพันกันตามกฎหมายโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้วจึงมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยซึ่งเป็นผู้รับขนส่งได้
การที่ผู้ส่งเพียงแต่ยอมรับใบตราส่งซึ่งมีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง เพื่อเป็นหลักฐานไปขอรับเงินค่าสินค้าจากธนาคาร ยังไม่เพียงพอที่จะถือว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเช่นว่านั้น ข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งที่ระบุไว้ในใบตราส่งจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 625
จำเลยทำสัญญารับขนส่งสินค้าแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศ เมื่อสินค้าสูญหายไปในระหว่างขนส่งจำเลยจะต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำพังตนเอง
การที่ผู้ส่งเพียงแต่ยอมรับใบตราส่งซึ่งมีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง เพื่อเป็นหลักฐานไปขอรับเงินค่าสินค้าจากธนาคาร ยังไม่เพียงพอที่จะถือว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเช่นว่านั้น ข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งที่ระบุไว้ในใบตราส่งจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 625
จำเลยทำสัญญารับขนส่งสินค้าแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศ เมื่อสินค้าสูญหายไปในระหว่างขนส่งจำเลยจะต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำพังตนเอง