พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5140/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้า ‘DERMACREAM’ เป็นคำที่สื่อถึงลักษณะสินค้าโดยตรง ไม่เป็นเครื่องหมายที่บ่งบอกถึงแหล่งกำเนิด
แม้อักษรโรมันคำว่า DERMACREAM จะไม่ปรากฏอยู่ในพจนานุกรมฉบับใดและเป็นคำที่โจทก์คิดประดิษฐ์เองก็ตาม แต่คำว่า DERMA โจทก์ยอมรับว่าเป็นคำที่มีปรากฏอยู่ในพจนานุกรมฉบับภาษาอังกฤษ ซึ่งหมายถึงผิวหนัง แม้ภาษาอังกฤษจะมิใช่ภาษาประจำชาติหรือภาษาราชการของประเทศไทย แต่ก็เป็นภาษาที่มีบทบาทต่อชีวิตประจำวันทั้งในแวดวงการศึกษาและธุรกิจ ย่อมทำให้คำว่า DERMA เป็นที่รู้จักและเข้าใจกันได้อย่างแพร่หลาย เพราะบุคคลทั่วไปสามารถศึกษาได้ รวมทั้งตามพจนานุกรมคำว่า DERMA ยังนำไปใช้ในศาสตร์ที่เกี่ยวกับผิวหนังด้วย ส่วนคำว่า DREAM พจนานุกรมก็ให้ความหมายไว้ว่า ของเหลว โจทก์เพียงนำเอาคำว่า DERMA กับคำว่า CREAM ซึ่งมีความหมายตามพจนานุกรมมาเขียนติดกันเท่านั้น ซึ่งรายการสินค้าต่างๆ ที่โจทก์ขอจดทะเบียนจำพวกที่ 3 และที่ 16 ล้วนเป็นสินค้าที่เป็นของเหลวหรือครีมซึ่งใช้สำหรับผิวหนังทั้งสิ้น คำว่า DERMACREAM จึงเป็นคำที่มีความหมายเล็งถึงลักษณะของสินค้าในจำพวกที่ 3 และที่ 16 ดังกล่าวโดยตรง อันไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 6 (1) และมาตรา 7 วรรคสอง (2) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5140/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: คำว่า DERMACREAM เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะสินค้า จึงจดทะเบียนไม่ได้
พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง ที่ว่าคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าให้เป็นที่สุดนั้น ย่อมหมายถึงคำวินิจฉัยที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น หากผู้ขอจดทะเบียนยังไม่เห็นด้วยกับเหตุผลในคำวินิจฉัยว่าลักษณะของเครื่องหมายการค้าของผู้ขอมีลักษณะไม่ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนและคำวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น ไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไรแล้ว ผู้ขอย่อมนำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อให้ทบทวนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้านั้นว่าเป็นคำวินิจฉัยที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ได้ ซึ่งโจทก์ได้บรรยายฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า DERMACREAM ของโจทก์ โดยตั้งข้อหาไว้ชัดเจนว่า คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การพิจารณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ระบุรายการสินค้าในแต่ละคำขอไว้หลายรายการนั้นเป็นลักษณะของการพิจารณาเป็นรายคำขอ มิใช่ต้องพิจารณาสินค้าแต่ละชนิดในรายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนเมื่อนายทะเบียนพบลักษณะที่ต้องห้ามมิให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้าชนิดใดในรายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนนั้นแล้ว นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าก็ชอบที่จะปฏิเสธไม่ยอมรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอนั้น หากโจทก์เห็นว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ต้องห้ามจดทะเบียนสำหรับสินค้าชนิดใดเพราะเครื่องหมายการค้าของโจทก์มิใช่คำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง โจทก์ก็ชอบที่จะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับสินค้าชนิดนั้นโดยระบุเฉพาะสินค้าชนิดนั้นในคำขอจดทะเบียนได้
เมื่อพิจารณาจากรายการสินค้าในจำพวกที่ 3 ที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า DERMACREAM ซึ่งมีความหมายว่าครีมหรือของเหลวสำหรับผิวหนัง ล้วนเป็นสินค้าที่เป็นของเหลวหรือมีของเหลวอยู่ด้วยซึ่งใช้กับผิวหนังทั้งสิ้น โดยเฉพาะโลชั่นใช้กับเด็กอ่อนเห็นได้ชัดว่าเป็นของเหลวหรือครีมสำหรับผิวหนัง และสินค้าในจำพวกที่ 16 ก็เป็นสินค้าที่มีส่วนผสมของของเหลวหรือครีมสำหรับผิวหนัง คำว่า DERMACREAM จึงเป็นคำที่มีความหมายเล็งถึงลักษณะของสินค้าในจำพวกที่ 3 และที่ 16 ดังกล่าวโดยตรงอันไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 6 (1) และ มาตรา 7 วรรคสอง (2) แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
การพิจารณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ระบุรายการสินค้าในแต่ละคำขอไว้หลายรายการนั้นเป็นลักษณะของการพิจารณาเป็นรายคำขอ มิใช่ต้องพิจารณาสินค้าแต่ละชนิดในรายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนเมื่อนายทะเบียนพบลักษณะที่ต้องห้ามมิให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้าชนิดใดในรายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนนั้นแล้ว นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าก็ชอบที่จะปฏิเสธไม่ยอมรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอนั้น หากโจทก์เห็นว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ต้องห้ามจดทะเบียนสำหรับสินค้าชนิดใดเพราะเครื่องหมายการค้าของโจทก์มิใช่คำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง โจทก์ก็ชอบที่จะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับสินค้าชนิดนั้นโดยระบุเฉพาะสินค้าชนิดนั้นในคำขอจดทะเบียนได้
เมื่อพิจารณาจากรายการสินค้าในจำพวกที่ 3 ที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า DERMACREAM ซึ่งมีความหมายว่าครีมหรือของเหลวสำหรับผิวหนัง ล้วนเป็นสินค้าที่เป็นของเหลวหรือมีของเหลวอยู่ด้วยซึ่งใช้กับผิวหนังทั้งสิ้น โดยเฉพาะโลชั่นใช้กับเด็กอ่อนเห็นได้ชัดว่าเป็นของเหลวหรือครีมสำหรับผิวหนัง และสินค้าในจำพวกที่ 16 ก็เป็นสินค้าที่มีส่วนผสมของของเหลวหรือครีมสำหรับผิวหนัง คำว่า DERMACREAM จึงเป็นคำที่มีความหมายเล็งถึงลักษณะของสินค้าในจำพวกที่ 3 และที่ 16 ดังกล่าวโดยตรงอันไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 6 (1) และ มาตรา 7 วรรคสอง (2) แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534