พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7293/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนส่งทางทะเล F.I.O.S.T. ความรับผิดของผู้ขนส่งต่อความเสียหายและสูญหายของสินค้า
++ เรื่อง การค้าระหว่างประเทศ รับขนของทางทะเล ประกันภัย รับช่วงสิทธิ ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลททาง online ++
++
++
++
++ คดีนี้โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยรับช่วงสิทธิจากบริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ผู้เอาประกันภัยจำนวน 582,295.18บาท และรับช่วงสิทธิจากห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส.ที.เอ.อินเตอร์เนชั่นแนลโปรดักส์ ผู้เอาประกันภัยอีกรายหนึ่งจำนวน 35,390.02 บาท มาฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลยเป็นคดีเดียวกัน
++ การพิจารณาสิทธิในการอุทธรณ์ต้องถือทุนทรัพย์ในการรับช่วงสิทธิแต่ละรายแยกกัน เมื่อทุนทรัพย์ที่โจทก์รับช่วงสิทธิจากห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส.ที.เอ.อินเตอร์เนชั่นแนล โปรดักส์มาฟ้องเป็นคดีนี้ มีจำนวนไม่เกิน 50,000 บาท คดีในส่วนนี้จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
++ อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่า กากเม็ดทานตะวันไม่ได้สูญหายในระหว่างการขนส่ง โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องชำระค่าเสียหายและไม่อาจรับช่วงสิทธิมาฟ้องจำเลยนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในส่วนนี้เป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ต้องถือว่าข้อเท็จจริงได้ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้โจทก์จะฎีกาต่อมาศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
++
++ สำหรับกรณีโจทก์รับช่วงสิทธิจากบริษัทศิริผลมหานคร จำกัดนั้น ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นรับฟังได้ว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยกากถั่วเหลืองจากบริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ที่จำเลยเป็นผู้ขนส่งโดยใช้เรือเตาฮัวหลิงจากเมืองแดนดอง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมายังท่าเรือในประเทศไทย เพื่อส่งมอบให้แก่บริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ผู้รับตราส่งต่อมาเมื่อเรือเตาฮัวหลิงเดินทางมาถึงท่าเรือในประเทศไทย ปรากฏว่าบริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ได้รับมอบกากถั่วเหลืองไม่ครบจำนวนตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งเอกสารหมาย จ.16 ถึง จ.19 โดยขาดไป 123.57เมตริกตัน โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวน582,295.15 บาท ให้แก่บริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ผู้เอาประกันภัยไปเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2537 และรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องเอาแก่จำเลยผู้ขนส่ง
++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า กากถั่วเหลืองที่ขนส่งได้สูญหายไปในระหว่างการขนส่งทางทะเลอันจะทำให้จำเลยผู้ขนส่งต้องรับผิดสำหรับความสูญหายดังกล่าวต่อบริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ผู้รับตราส่งหรือไม่ เพียงใด
++ เห็นว่า โจทก์มีใบตราส่งเอกสารหมาย จ.16ถึง จ.19 ใบกำกับสินค้าเอกสารหมาย จ.8 ถึง 11 และหนังสือรับรองการตรวจสอบน้ำหนักเอกสารหมาย จ.12 ถึง จ.15 มาแสดงว่าบริษัทเซรอยฟู๊ด เลียนนิ่ง เซรีลส์ แอนด์ ออยล์ อิมปอร์ต แอนด์ เอ็กซ์ปอร์ตจำกัด ผู้ส่งได้ส่งกากถั่วเหลืองจำนวน 4,773.150 เมตริกตัน มาให้บริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ทางเรือเดินทะเลชื่อเตาฮัวหลิง โดยผู้แทนเรือเตาฮัวหลิงของจำเลยผู้ขนส่งได้ลงชื่อออกใบตราส่งเอกสารหมายจ.16 ถึง จ.19 ระบุว่า กากถั่วเหลืองดังกล่าวได้บรรทุกบนเรือในลักษณะเทกอง (IN BULK) รวมน้ำหนัก 4,773.150 เมตริกตัน ตั้งแต่วันที่28 กันยายน 2536 แม้จะได้ความว่า การขนส่งรายนี้เป็นการขนส่งแบบF.I.O.S.T. ซึ่งผู้ส่งมีหน้าที่บรรทุกของลงเรือด้วยค่าใช้จ่ายของตนเองก็ตาม แต่ก่อนการบรรทุกกากถั่วเหลืองลงเรือก็ได้มีการตรวจสอบน้ำหนักของกากถั่วเหลืองโดยนำไปชั่งน้ำหนักบนตาชั่งที่ตรวจสอบแล้วและชั่งน้ำหนักได้ 4,773.150 เมตริกตัน ปรากฏตามหนังสือรับรองการตรวจสอบน้ำหนักของสำนักงานตรวจสอบสินค้านำเข้าและส่งออกแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนสาขาเลียนนิ่ง เอกสารหมาย จ.12 ถึง จ.15 การที่เรือเตาฮัวหลิงของจำเลยผู้ขนส่งออกใบตราส่งเอกสารหมาย จ.16 ถึง จ.19 ให้แก่ผู้ส่งสินค้าโดยระบุว่าผู้ส่งสินค้าได้ส่งกากถั่วเหลืองลงเรือแล้วในลักษณะเทกอง และระบุจำนวนน้ำหนักไว้ชัดเจนว่ากากถั่วเหลืองมีน้ำหนักจำนวน4,773.150 เมตริกตัน ตรงกับน้ำหนักที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองการตรวจสอบน้ำหนักเอกสารหมาย จ.12 ถึง จ.15 และใบกำกับสินค้าเอกสารหมาย จ.8 ถึง จ.11 ซึ่งเป็นน้ำหนักที่ระบุโดยผู้ส่ง
++ จึงเชื่อได้ว่าผู้ส่งของได้ส่งมอบกากถั่วเหลืองลงเรือเตาฮัวหลิงครบจำนวนตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งคือจำนวน 4,773.150 เมตริกตัน แต่ต่อมาเมื่อเรือเตาฮัวหลิงเดินทางมาถึงประเทศไทย นายสราวุธ ภู่เจริญยศ พนักงานของบริษัท พี แอนด์ เอ แอดจัสเม้นท์ จำกัด ซึ่งโจทก์ว่าจ้างให้สำรวจความเสียหายของสินค้าพยานโจทก์เบิกความว่า นายสราวุธได้ทำการสำรวจกากถั่วเหลืองแล้ว ปรากฏว่ากากถั่วเหลืองที่ขนถ่ายออกจากเรือทั้งหมดมีน้ำหนัก 4,649.58 เมตริกตัน ขาดจำนวนจากใบตราส่งไป123.57 เมตริกตัน หรือร้อยละ 2.59 ตามรายงานการสำรวจพร้อมคำแปลเอกสารหมาย จ.22 และ จ.24
++ นายสราวุธเป็นพนักงานของบริษัทที่ประกอบธุรกิจรับจ้างสำรวจความสูญหายและเสียหายของสินค้าไม่มีส่วนได้เสียกับฝ่ายใด คำเบิกความจึงมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ
++ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า กากถั่วเหลืองที่ขนส่งได้สูญหายขาดจำนวนไปในระหว่างการขนส่งทางทะเลซึ่งจำเลยผู้ขนส่งต้องรับผิดในความสูญหายดังกล่าวต่อผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยสินค้าดังกล่าวไว้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความสูญหายของสินค้าให้แก่ผู้เอาประกันตามสัญญาประกันภัยทางทะเลไป โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิดังกล่าวของผู้เอาประกันมาเรียกร้องเอาแก่จำเลยผู้ขนส่งสินค้านั้นได้
++ ส่วนปัญหาว่า เรียกร้องได้เพียงใดนั้น
++ แม้จะได้ความจากคำเบิกความของนายสราวุธประกอบรายงานการสำรวจเอกสารหมาย จ.22 และ จ.24 ว่า ในการขนถ่ายสินค้าใช้เครื่องตักก้ามปูตักกากถั่วเหลืองจากเรือลงรถยนต์บรรทุกแล้วแล่นไปชั่งน้ำหนักบนเครื่องชั่งซึ่งอยู่ในบริเวณเดียวกัน การขนถ่ายโดยวิธีการใช้เครื่องตักดังกล่าวทำให้กากถั่วเหลืองร่วงหล่นสูญเสียไปบ้างเล็กน้อยซึ่งผู้รับตราส่งต้องรับผิดชอบในความเสียหายส่วนนี้เอง เพราะเป็นผู้มีหน้าที่ขนถ่ายสินค้าลงจากเรือตามข้อตกลงในการขนส่งแบบ F.I.O.S.T. ก็ตามแต่ก็ปรากฏว่าโจทก์ได้หักค่าเสียหายส่วนนี้ให้แล้ว โดยหักเป็นความเสียหายส่วนแรกที่ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดชอบ แต่ผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเองตามเงื่อนไขการคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4 ถึง จ.7 จำนวนร้อยละ 1 ของน้ำหนักสินค้าทั้งหมดซึ่งคิดเป็นจำนวน 47.731 เมตริกตัน ออกจากน้ำหนักสินค้าขาดจำนวนทั้งหมด คงเหลือน้ำหนักสินค้าขาดจำนวนสุทธิ 75.839 เมตริกตัน คำนวณเป็นเงินค่าเสียหายที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องทั้งสิ้น 582,295.15 บาท รายละเอียดปรากฏตามหนังสือเรียกร้องเอกสารหมาย จ.29 และ จ.30 จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลททาง online ++
++
++
++
++ คดีนี้โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยรับช่วงสิทธิจากบริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ผู้เอาประกันภัยจำนวน 582,295.18บาท และรับช่วงสิทธิจากห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส.ที.เอ.อินเตอร์เนชั่นแนลโปรดักส์ ผู้เอาประกันภัยอีกรายหนึ่งจำนวน 35,390.02 บาท มาฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลยเป็นคดีเดียวกัน
++ การพิจารณาสิทธิในการอุทธรณ์ต้องถือทุนทรัพย์ในการรับช่วงสิทธิแต่ละรายแยกกัน เมื่อทุนทรัพย์ที่โจทก์รับช่วงสิทธิจากห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส.ที.เอ.อินเตอร์เนชั่นแนล โปรดักส์มาฟ้องเป็นคดีนี้ มีจำนวนไม่เกิน 50,000 บาท คดีในส่วนนี้จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
++ อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่า กากเม็ดทานตะวันไม่ได้สูญหายในระหว่างการขนส่ง โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องชำระค่าเสียหายและไม่อาจรับช่วงสิทธิมาฟ้องจำเลยนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในส่วนนี้เป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ต้องถือว่าข้อเท็จจริงได้ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้โจทก์จะฎีกาต่อมาศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
++
++ สำหรับกรณีโจทก์รับช่วงสิทธิจากบริษัทศิริผลมหานคร จำกัดนั้น ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นรับฟังได้ว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยกากถั่วเหลืองจากบริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ที่จำเลยเป็นผู้ขนส่งโดยใช้เรือเตาฮัวหลิงจากเมืองแดนดอง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมายังท่าเรือในประเทศไทย เพื่อส่งมอบให้แก่บริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ผู้รับตราส่งต่อมาเมื่อเรือเตาฮัวหลิงเดินทางมาถึงท่าเรือในประเทศไทย ปรากฏว่าบริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ได้รับมอบกากถั่วเหลืองไม่ครบจำนวนตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งเอกสารหมาย จ.16 ถึง จ.19 โดยขาดไป 123.57เมตริกตัน โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวน582,295.15 บาท ให้แก่บริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ผู้เอาประกันภัยไปเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2537 และรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องเอาแก่จำเลยผู้ขนส่ง
++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า กากถั่วเหลืองที่ขนส่งได้สูญหายไปในระหว่างการขนส่งทางทะเลอันจะทำให้จำเลยผู้ขนส่งต้องรับผิดสำหรับความสูญหายดังกล่าวต่อบริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ผู้รับตราส่งหรือไม่ เพียงใด
++ เห็นว่า โจทก์มีใบตราส่งเอกสารหมาย จ.16ถึง จ.19 ใบกำกับสินค้าเอกสารหมาย จ.8 ถึง 11 และหนังสือรับรองการตรวจสอบน้ำหนักเอกสารหมาย จ.12 ถึง จ.15 มาแสดงว่าบริษัทเซรอยฟู๊ด เลียนนิ่ง เซรีลส์ แอนด์ ออยล์ อิมปอร์ต แอนด์ เอ็กซ์ปอร์ตจำกัด ผู้ส่งได้ส่งกากถั่วเหลืองจำนวน 4,773.150 เมตริกตัน มาให้บริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ทางเรือเดินทะเลชื่อเตาฮัวหลิง โดยผู้แทนเรือเตาฮัวหลิงของจำเลยผู้ขนส่งได้ลงชื่อออกใบตราส่งเอกสารหมายจ.16 ถึง จ.19 ระบุว่า กากถั่วเหลืองดังกล่าวได้บรรทุกบนเรือในลักษณะเทกอง (IN BULK) รวมน้ำหนัก 4,773.150 เมตริกตัน ตั้งแต่วันที่28 กันยายน 2536 แม้จะได้ความว่า การขนส่งรายนี้เป็นการขนส่งแบบF.I.O.S.T. ซึ่งผู้ส่งมีหน้าที่บรรทุกของลงเรือด้วยค่าใช้จ่ายของตนเองก็ตาม แต่ก่อนการบรรทุกกากถั่วเหลืองลงเรือก็ได้มีการตรวจสอบน้ำหนักของกากถั่วเหลืองโดยนำไปชั่งน้ำหนักบนตาชั่งที่ตรวจสอบแล้วและชั่งน้ำหนักได้ 4,773.150 เมตริกตัน ปรากฏตามหนังสือรับรองการตรวจสอบน้ำหนักของสำนักงานตรวจสอบสินค้านำเข้าและส่งออกแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนสาขาเลียนนิ่ง เอกสารหมาย จ.12 ถึง จ.15 การที่เรือเตาฮัวหลิงของจำเลยผู้ขนส่งออกใบตราส่งเอกสารหมาย จ.16 ถึง จ.19 ให้แก่ผู้ส่งสินค้าโดยระบุว่าผู้ส่งสินค้าได้ส่งกากถั่วเหลืองลงเรือแล้วในลักษณะเทกอง และระบุจำนวนน้ำหนักไว้ชัดเจนว่ากากถั่วเหลืองมีน้ำหนักจำนวน4,773.150 เมตริกตัน ตรงกับน้ำหนักที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองการตรวจสอบน้ำหนักเอกสารหมาย จ.12 ถึง จ.15 และใบกำกับสินค้าเอกสารหมาย จ.8 ถึง จ.11 ซึ่งเป็นน้ำหนักที่ระบุโดยผู้ส่ง
++ จึงเชื่อได้ว่าผู้ส่งของได้ส่งมอบกากถั่วเหลืองลงเรือเตาฮัวหลิงครบจำนวนตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งคือจำนวน 4,773.150 เมตริกตัน แต่ต่อมาเมื่อเรือเตาฮัวหลิงเดินทางมาถึงประเทศไทย นายสราวุธ ภู่เจริญยศ พนักงานของบริษัท พี แอนด์ เอ แอดจัสเม้นท์ จำกัด ซึ่งโจทก์ว่าจ้างให้สำรวจความเสียหายของสินค้าพยานโจทก์เบิกความว่า นายสราวุธได้ทำการสำรวจกากถั่วเหลืองแล้ว ปรากฏว่ากากถั่วเหลืองที่ขนถ่ายออกจากเรือทั้งหมดมีน้ำหนัก 4,649.58 เมตริกตัน ขาดจำนวนจากใบตราส่งไป123.57 เมตริกตัน หรือร้อยละ 2.59 ตามรายงานการสำรวจพร้อมคำแปลเอกสารหมาย จ.22 และ จ.24
++ นายสราวุธเป็นพนักงานของบริษัทที่ประกอบธุรกิจรับจ้างสำรวจความสูญหายและเสียหายของสินค้าไม่มีส่วนได้เสียกับฝ่ายใด คำเบิกความจึงมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ
++ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า กากถั่วเหลืองที่ขนส่งได้สูญหายขาดจำนวนไปในระหว่างการขนส่งทางทะเลซึ่งจำเลยผู้ขนส่งต้องรับผิดในความสูญหายดังกล่าวต่อผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยสินค้าดังกล่าวไว้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความสูญหายของสินค้าให้แก่ผู้เอาประกันตามสัญญาประกันภัยทางทะเลไป โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิดังกล่าวของผู้เอาประกันมาเรียกร้องเอาแก่จำเลยผู้ขนส่งสินค้านั้นได้
++ ส่วนปัญหาว่า เรียกร้องได้เพียงใดนั้น
++ แม้จะได้ความจากคำเบิกความของนายสราวุธประกอบรายงานการสำรวจเอกสารหมาย จ.22 และ จ.24 ว่า ในการขนถ่ายสินค้าใช้เครื่องตักก้ามปูตักกากถั่วเหลืองจากเรือลงรถยนต์บรรทุกแล้วแล่นไปชั่งน้ำหนักบนเครื่องชั่งซึ่งอยู่ในบริเวณเดียวกัน การขนถ่ายโดยวิธีการใช้เครื่องตักดังกล่าวทำให้กากถั่วเหลืองร่วงหล่นสูญเสียไปบ้างเล็กน้อยซึ่งผู้รับตราส่งต้องรับผิดชอบในความเสียหายส่วนนี้เอง เพราะเป็นผู้มีหน้าที่ขนถ่ายสินค้าลงจากเรือตามข้อตกลงในการขนส่งแบบ F.I.O.S.T. ก็ตามแต่ก็ปรากฏว่าโจทก์ได้หักค่าเสียหายส่วนนี้ให้แล้ว โดยหักเป็นความเสียหายส่วนแรกที่ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดชอบ แต่ผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเองตามเงื่อนไขการคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4 ถึง จ.7 จำนวนร้อยละ 1 ของน้ำหนักสินค้าทั้งหมดซึ่งคิดเป็นจำนวน 47.731 เมตริกตัน ออกจากน้ำหนักสินค้าขาดจำนวนทั้งหมด คงเหลือน้ำหนักสินค้าขาดจำนวนสุทธิ 75.839 เมตริกตัน คำนวณเป็นเงินค่าเสียหายที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องทั้งสิ้น 582,295.15 บาท รายละเอียดปรากฏตามหนังสือเรียกร้องเอกสารหมาย จ.29 และ จ.30 จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ ++