พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 333/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าคล้ายคลึงกัน: ศาลฎีกาตัดสินว่าเครื่องหมาย 'GIAN FERRENTE' ไม่คล้ายกับ 'GIANFRANCO FERRE' และโจทก์มีสิทธิจดทะเบียน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ขอจดทะเบียนเป็นอักษรโรมัน ตัวพิมพ์ใหญ่ธรรมดาคำว่า "GIANFERRENTE" อ่านว่า "เจียนเฟอร์รองเต้" หรือ "จิอองเฟอร์รองเต้" ส่วนเครื่องหมายการค้าของบริษัทจิอองฟรังโก้เฟอร์รี่เอส.พี.เอ. จำกัด ซึ่งจดทะเบียนไว้แล้วเป็นอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่ คำว่า "GIANFRANCOFERRE" อ่านว่า "จิอองฟรังโก้เฟอร์รี่" แม้จะเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีตัวอักษรโรมันสองคำเช่นเดียวกันและในภาคส่วนแรก ประกอบด้วยอักษรโรมัน 4 ตัวแรกเหมือนกันก็ตาม แต่อักษรโรมันคำอื่นที่ประกอบเป็นคำแตกต่างกันโดยเครื่องหมายการค้าของโจทก์ คำว่า "GIAN" ประกอบด้วยอักษรโรมัน 4 ตัวส่วนของบริษัทจิอองฟรังโก้ฯ ผู้คัดค้านคือคำว่า"GIANFRANCO" ประกอบด้วยอักษรโรมัน 10 ตัว และภาคส่วนท้าย เครื่องหมายการค้าของโจทก์ใช้คำว่า "FERRENTE" ประกอบด้วย อักษรโรมัน 8 ตัว ส่วนของผู้คัดค้านใช้คำว่า "FERRE" ประกอบด้วยอักษรโรมัน 5 ตัว ทั้งการเรียกขานเครื่องหมายการค้า ของทั้งสองเครื่องหมายแตกต่างกัน ดังนั้นรูปลักษณะของ ตัวอักษรที่ประกอบเป็นคำ จำนวนตัวอักษรโรมันทั้งหมด กับการวางรูปคำ เสียงเรียกขานเครื่องหมายของทั้งสองฝ่าย แตกต่างกันเป็นส่วนมาก ทำให้ลักษณะของคำและการเรียกขาน เครื่องหมายการค้าทั้งสองมีจุดสังเกตข้อแตกต่างได้ชัด น่าเชื่อว่าสาธารณชนจะมองเห็นความแตกต่างกันได้ จึงยังถือไม่ได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือ คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบริษัทจิอองฟรังโก้ฯ จนถึงกับเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหรือหลงผิด ในความเป็นเจ้าของสินค้า โจทก์จึงมีสิทธิจดทะเบียน เครื่องหมายการค้า "GIANFERRENTE" คำวินิจฉัยของคณะกรรมการ เครื่องหมายการค้าที่วินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้า "GIANFERRENTE" คล้ายกับเครื่องหมาย "GIANFRANCOFERRE" และสั่งระงับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จึงไม่ชอบ ตามคำบรรยายฟ้องและคำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้ศาลพิพากษา เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า เป็นกรณีที่โจทก์อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการ เครื่องหมายการค้าโดยฟ้องคดีต่อศาลตามพระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 38 วรรคสอง และเมื่อศาล มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์ผู้ขอจดทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิ จดทะเบียนแล้ว ให้นายทะเบียนมีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นได้ แล้วมีหนังสือแจ้งคำสั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนทราบ เมื่อศาล วินิจฉัยว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามฟ้องแล้ว ขั้นตอนดำเนินการต่อไปมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วซึ่งนายทะเบียน จะรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่ ย่อมขึ้นอยู่กับ ขั้นตอนและเงื่อนไขตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ มิใช่จะรับจดทะเบียนให้ได้โดยทันที และกรณียังไม่มีข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์เกี่ยวกับ การปฏิบัติในขั้นตอนดังกล่าวแต่อย่างใด โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาล บังคับให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไปเลย ปัญหานี้ เป็นปัญหาอำนาจฟ้องซึ่งเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้