คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
estoppel

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5320/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดในการเถียงข้อเท็จจริงขัดแย้งกับคำพิพากษาเดิมในคดีแรงงาน: หลักการ estoppel
แม้คดีก่อนจำเลยที่ 2 ได้ฟ้องโจทก์คดีนี้ว่าเลิกจ้างไม่เป็นธรรมขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2กับพวกร่วมกันลักทรัพย์ของโจทก์ไป ขอให้จำเลยที่ 2 กับพวกร่วมกันชดใช้ราคาทรัพย์ดังกล่าว แต่เหตุที่จำเลยที่ 2 อ้างในคดีก่อนว่าโจทก์เลิกจ้างไม่เป็นธรรม คือโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่ 2 กับพวกลักทรัพย์ของโจทก์ไป โดยจำเลยที่ 2 มิได้กระทำผิดซึ่งโจทก์ก็ให้การในคดีดังกล่าวว่า โจทก์มีสิทธิเลิกจ้างจำเลยที่ 2 เพราะจำเลยที่ 2ลักทรัพย์ของโจทก์ไป ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในคดีก่อนกับคดีนี้จึงเป็นปัญหาเดียวกันว่า จำเลยที่ 2 ลักทรัพย์ของโจทก์ไปหรือไม่และเมื่อโจทก์จำเลยในคดีทั้งสองเป็นคู่ความเดียวกัน จำเลยที่ 2จึงเถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นไม่ได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคแรก ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4209/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นข้อเท็จจริงที่วินิจฉัยในคดีอาญาผูกพันคดีแพ่ง หลักการ estoppel โดยปริยาย
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อแหวนเพชรกับสร้อยคอทองคำจากโจทก์แล้วผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าซื้อ และได้จำหน่ายทรัพย์ดังกล่าวให้บุคคลอื่น จึงขอให้จำเลยใช้ราคาทรัพย์ที่เช่าซื้อ แต่โจทก์เคยฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาข้อหายักยอกทรัพย์ดังกล่าว ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุด โดยได้วินิจฉัยพยานหลักฐานของโจทก์ตลอดจนข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แห่งคดีแล้วว่าฟังไม่ได้ว่าจำเลยทำสัญญาเช่าซื้อแหวนเพชรกับสร้อยคอทองคำจากโจทก์ แม้ศาลชั้นต้นจะใช้คำว่าพยานโจทก์ยังมีเหตุสงสัยว่าจำเลยอาจจะไม่ได้ทำสัญญาเช่าซื้อตามฟ้อง ก็หาใช่เหตุสงสัยดังถ้อยคำที่ปรากฏไม่ ถือได้ว่าศาลได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในประเด็นที่ว่า จำเลยได้ทำสัญญาเช่าซื้อตามฟ้องหรือไม่ไว้แล้ว ทั้งเป็นประเด็นเดียวกับประเด็นในคดีนี้ที่ได้กำหนดไว้ในชั้นชี้สองสถาน และคดีนี้ซึ่งคู่ความนำสืบทำนองเดียวกับที่สืบในคดีอาญาดังกล่าว ก็ฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ทำสัญญาเช่าซื้อทรัพย์ตามฟ้อง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์