โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น เจ้าหน้าที่ ท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติ ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 หรือ เป็นเจ้าพนักงาน ท้องถิ่น ตาม พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 จำเลยได้ ก่อสร้าง ดัดแปลง อาคาร ตึกแถว เลขที่ 247/37 โดย ต่อเติม อาคารคอนกรีต เสริมเหล็ก สอง ชั้น เชื่อม ต่อ ออก ไป ทาง ด้านหลัง ของอาคาร ตึกแถว เดิม กว้าง 2.40 เมตร ยาว 5.20 เมตร สูง 7.40 เมตร และด้านข้าง ใน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 32016 กว้าง 4.40 เมตร ยาว 7.40 เมตรผนัง ทุกด้าน ก่อ อิฐ ฉาบ ปูน และ หลังคา คอนกรีต เสริมเหล็ก ปกคลุมที่ ว่าง ทางเดิน ด้านหลัง อาคาร ตึกแถว เลขที่ 247/37 และ ที่ดิน ที่ว่าง อยู่ 2.00 เมตร โดย จำเลย ไม่ ได้ รับ อนุญาต ตาม กฎหมาย จากเจ้าพนักงาน ท้องถิ่น สิ่งปลูกสร้าง ที่ จำเลย ดัดแปลง ต่อเติม ดังกล่าวไม่ สามารถ แก้ไข เปลี่ยนแปลง ให้ ถูกต้อง และ โจทก์ ไม่ อาจ ออกใบอนุญาต ให้ จำเลย ดัดแปลง ได้ เพราะ ขัด ต่อ กฎกระทรวง เทศบัญญัติของ เทศบาล นครกรุงเทพ และ ข้อบัญญัติ กรุงเทพมหานคร หัวหน้าเขต ผู้รับ มอบอำนาจ จาก โจทก์ มี คำสั่ง ให้ จำเลย รื้อถอน อาคาร ที่ กำลังดัดแปลง ต่อเติม ออก จำเลย เพิกเฉย และ ยัง ดัดแปลง ต่อเติม อยู่ อีกหัวหน้าเขต จึง แจ้ง ให้ จำเลย ระงับ การ ก่อสร้าง พนักงาน สอบสวน ได้ดำเนินคดี อาญา แก่ จำเลย โดย ศาลแขวง พระนครใต้ พิพากษา ลงโทษ ตามพระราชบัญญัติ ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 จำเลย ก็ ยัง ไม่รื้อถอน หัวหน้าเขต แจ้ง ให้ จำเลย รื้อถอน ภายใน 30 วัน จำเลย ก็ ยังเพิกเฉย และ มิได้ ใช้ สิทธิ อุทธรณ์ คำสั่ง ของ โจทก์ ต่อ คณะกรรมการพิจารณา อุทธรณ์ ขอ ให้ จำเลย รื้อถอน อาคาร ดังกล่าว ถ้า จำเลย ไม่ ยอมรื้อถอน ก็ ให้ โจทก์ รื้อถอน ได้ เอง โดย ให้ จำเลย เป็น ผู้ เสียค่าใช้จ่าย
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย ไม่ ได้ เป็น ผู้ ก่อสร้าง ต่อเติม อาคาร ตามฟ้อง จำเลย เพียง รับ ช่วงซื้อ ตึกแถว และ ที่ดิน มา โดย สุจริต ตามสภาพ ตึกแถว ที่ ปรากฏ กับ การ ใช้ ไม่ ทำ ให้ ใคร เดือดร้อน ไม่ มีลักษณะ ขัด กฎหมาย โจทก์ ไม่ มี อำนาจฟ้อง เพราะ คดี นี้ จำเลย ได้อุทธรณ์ ต่อ คณะกรรมการ พิจารณา ขณะนี้ เรื่อง อยู่ ระหว่าง การ พิจารณาโจทก์ จึง ต้อง รอ คำ วินิจฉัย จาก คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ เสียก่อน ขอ ให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย รื้อถอน ส่วน ของ อาคาร ตึกแถว ที่ก่อสร้าง ดัดแปลง เพิ่มเติม ตาม ฟ้อง ถ้า จำเลย ไม่ ยอม รื้อถอน ก็ ให้โจทก์ รื้อถอน ได้ เอง โดย ให้ จำเลย เป็น ผู้ เสีย ค่าใช้จ่าย
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า จำเลย เป็น ผู้ ก่อสร้าง ต่อเติม อาคาร พิพาท โดยไม่ ได้ รับ อนุญาต เป็น เหตุ ให้ ขาด ประโยชน์ แห่ง การ ป้องกันอัคคีภัย และ การ ผังเมือง ไม่ ต้อง ด้วย วัตถุประสงค์ ของ กฎหมายแม้ อาคาร พิพาท จะ มี ความ มั่นคง แข็งแรง ก็ ถือ ไม่ ได้ ว่า มี เหตุสมควร ที่ จะ ต้อง รื้อถอน หัวหน้า เขตยานนาวา มี คำสั่ง ให้ จำเลยรื้อถอน อาคาร ที่ จำเลย ก่อสร้าง ปกคลุม ทางเดิน เมื่อ วันที่ 16กรกฎาคม 2522 และ ต่อมา เมื่อ วันที่ 31 สิงหาคม 2522 ได้ มี หนังสือแจ้ง ให้ จำเลย ระงับ การ ก่อสร้าง ปรากฏ ว่า จำเลย มิได้ ใช้ สิทธิอุทธรณ์ คำสั่ง ของ หัวหน้า เขตยานนาวา ดังกล่าว ภายใน เวลา ที่ กฎหมายกำหนด แต่ อย่างใด แม้ ต่อมา หัวหน้า เขตยานนาวา จะ มี คำสั่ง ลง วันที่ 20 มีนาคม 2524 ให้ จำเลย ระงับ การ ก่อสร้าง อาคาร ที่ ปิด ทาง เดินด้านหลัง และ ที่ ต่อเชื่อ อาคาร ด้านข้าง โดย มิได้ รับ อนุญาต และเมื่อ วันที่ 23 เมษายน 2524 หัวหน้า เขตยานาวา ได้ มี คำสั่ง ให้ จำเลยรื้อถอน อาคาร ที่ จำเลย ก่อสร้าง ปกคลุม ทางเดิน อีก ครั้งหนึ่งปรากฏ ว่า จำเลย ได้ รับ คำสั่ง เมื่อ วันที่ 28 เมษายน 2524 แต่ จำเลยก็ มิได้ ใช้ สิทธิ อุทธรณ์ คำสั่ง ของ หัวหน้า เขตยานนาวา ครั้งหลังนี้ ภายใน เวลา ที่ กฎหมาย กำหนด เช่นเดียว กัน โจทก์ จึง มี อำนาจฟ้องของ ให้ จำเลย รื้อถอน อาคาร ที่ จำเลย ต่อเติม โดย ไม่ ได้ รับ อนุญาตได้ การ ที่ จำเลย อุทธรณ์ คำสั่ง ที่ กทม.9005/4919 ของ หัวหน้าเขตยานนาวา ใน ฐานะ เจ้าพนักงาน ท้องถิ่น เมื่อ วันที่ 13 กรกฎาคม 2524เป็น การ อุทธรณ์ เกิน สามสิบ วัน นับแต่ วัน ทราบ คำสั่ง ต้องห้ามตาม พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 52 โจทก์ จึง ไม่ จำต้องรอ ฟัง คำวินิจฉัย ของ คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ ก่อน แม้ คำสั่ง ให้รือถอน อาคาร พิพาท จะ กำหนด ให้ จำเลย รื้อถอน อาคาร น้อยกว่า สามสิบวัน อัน เป็น การ ไม่ ชอบ ด้วย พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 42 วรรคแรก แต่ โจทก์ ฟ้อง คดี นี้ ภายหลัง ที่ จำเลย ได้ รับคำสั่ง ดังกล่าว นาน ถึง 2 ปีเศษ โจทก์ จึง มี อำนาจฟ้อง ส่วน ที่คำสั่ง ให้ รื้อถอน อาคาร พิพาท ออก ภายหลัง คำสั่ง ให้ห ระงับ การก่อสร้าง เกินกว่า 30 วัน ก็ ไม่ ทำ ให้ อำนาจ ของ เจ้าพนักงาน ท้องถิ่นใน การ ที่ จะ สั่ง ให้ จำเลย รื้อถอน อาคาร ที่ ดัดแปลง หรือ ต่อเติมโดย ไม่ ได้ รับ อนุญาต และ ไม่ สามารถ แก้ไข เปลี่ยนแปลง ให้ ถูกต้องหมด ไป ทั้ง ตาม มาตรา 11 ทวิ แห่ง พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 และ ตาม มาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 หาก โจทก์ จะ เสียหาย เพราะ การที่ เจ้าพนักงาน ท้องถิ่น ไม่ ปฏิบัติ ตาม พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มาตรา 40 วรรคสอง ก็ ชอบ ที่ จะ ไป ว่ากล่าว กัน ต่างหาก
พิพากษา ยืน.