โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ที่ 1 เป็น ผู้จัดการมรดก ของนาง จ่าง สุขสวัสดิ์ โจทก์ ที่ 2 เป็น ทายาทโดยธรรม และ เป็น ผู้รับ พินัยกรรม ของ นาง จ่าง คือ บ้าน ทรง มลิลา (ที่ ถูก บ้าน ทรง มนิลา )จำเลย เป็น เจ้าของ บ้าน ชั้น เดียว ใต้ถุน สูง โดย นาง จ่าง ยกให้ เมื่อ วันที่ 24 กันยายน 2529 บ้าน ของ โจทก์ ที่ 2 และ บ้าน ของ จำเลย เป็นบ้าน หลัง ใหญ่ ใช้ เลขที่ เดียว กัน ปลูกสร้าง อยู่ ใน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 694ตำบล ท่าไข่ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัด ฉะเชิงเทรา เรียง ติดต่อ กัน โจทก์ ทั้ง สอง ประสงค์ จะ รื้อถอน บ้าน ซึ่ง โจทก์ ที่ 2 มีสิทธิ ได้รับมรดก ตาม พินัยกรรม ดังกล่าว แต่ จำเลย ไม่ยอม โดย อ้างว่า นาง จ่าง ยก บ้าน ดังกล่าว ให้ จำเลย ตาม สัญญา ให้ ลงวันที่ 24 กันยายน 2529 ขอให้โจทก์ ที่ 1 และ หรือ โจทก์ ที่ 2 มีสิทธิ รื้อถอน บ้านเรือน ทรง มนิลา ซึ่งเป็น กรรมสิทธิ์ ของ โจทก์ ที่ 2 ตาม พินัยกรรม ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2524และ ห้าม จำเลย กับ บริวาร ขัดขวาง การ รื้อถอน
จำเลย ให้การ ว่า พินัยกรรม ที่ โจทก์ อ้าง เป็น พินัยกรรม ปลอมลายมือชื่อ ผู้ทำพินัยกรรม ดังกล่าว เป็น ลายมือ ปลอม ข้อความ ใน พินัยกรรมไม่ได้ ระบุ ยก บ้าน ทรง มนิลา ให้ แก่ ผู้ใด ไว้ และ บ้าน ทรง มนิลา ที่ ระบุใน พินัยกรรม นี้ ไม่ได้ ระบุ เลขที่ บ้าน ไว้ อีก ทั้ง ชื่อ ของ โจทก์ ที่ 2ที่ ระบุ ไว้ ใน พินัยกรรม ดังกล่าว มี การ ขีดฆ่า แก้ไข โดย ผู้ทำพินัยกรรมไม่ได้ ลงชื่อ กำกับ ไว้ จึง ไม่สมบูรณ์ โจทก์ ที่ 2 จึง ไม่มี สิทธิ ใด ๆพินัยกรรม นาง จ่าง มี บ้าน หลัง เดียว คือ บ้าน เลขที่ 15 หมู่ ที่ 4ตำบล ท่าไข่ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัด ฉะเชิงเทรา ก่อน ตาย นาง จ่าง จดทะเบียน โอน ให้ แก่ จำเลย เมื่อ ปี 2529 แล้ว แผนที่ สังเขป ท้ายฟ้อง หมายเลข 4 ไม่ถูกต้อง จำเลย กับ สามี ปลูก บ้าน หมายเลข 1บ้าน ดังกล่าว จึง เป็น กรรมสิทธิ์ ของ จำเลย กับ สามี บ้าน หมายเลข 2 และ 3เป็น ของ นาง จ่าง ซึ่ง ได้ โอน ให้ จำเลย แล้ว โจทก์ ทั้ง สอง ไม่มี สิทธิ รื้อถอน ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ โจทก์ ทั้ง สอง รื้อ บ้าน พิพาท คือ บ้านหมายเลข 3 ตาม เอกสาร หมาย จ. 2 เป็น บ้าน ทรง มนิลา มุง กระเบื้องวิบูลศรี พร้อม กระดาน พื้น 19 แผ่น กระดาน ระเบียง ด้าน ยาว 7 แผ่น1 หลัง อันเป็น กรรมสิทธิ์ ของ โจทก์ ที่ 2 ตาม พินัยกรรม ของนาง จ่าง สุขสวัสดิ์ ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2524 ห้าม จำเลย และ บริวาร ขัดขวาง การ รื้อถอน
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า "ที่ จำเลย ฎีกา ใน ข้อกฎหมาย ว่า ข้อความใน พินัยกรรม เอกสาร หมาย จ. 3 มี การ ขีดฆ่า แก้ไข โดย นาง จ่าง ผู้ทำ พินัยกรรม และ พยาน ใน พินัยกรรม มิได้ ลงลายมือชื่อ กำกับ ไว้ พินัยกรรมจึง ตกเป็น โมฆะ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1705 นั้นเนื่องจาก ใน ปัญหา ดังกล่าว ศาลชั้นต้น มิได้ ฟัง ข้อเท็จจริง มาศาลอุทธรณ์ จึง ฟัง ข้อเท็จจริง จาก พยานหลักฐาน ใน สำนวน ว่า พินัยกรรมที่นา ง จ่าง ทำ ตาม เอกสาร หมาย จ. 3 ข้อ 2 มี การ ขีดฆ่า คำ ว่า "ลเมีย ด"แล้ว ตก เติม คำ ว่า "ละเมียด " โดย นาง จ่าง ผู้ทำพินัยกรรม นาย ผล พรหมสุวรรณ และ จ่าเอก ไพเราะ โฉมศิริ พยาน ใน พินัยกรรม มิได้ ลงลายมือชื่อ กำกับ ไว้ ศาลฎีกา จำต้อง ถือ ตาม ข้อเท็จจริง ที่ศาลอุทธรณ์ ฟัง มา ดังกล่าว พิเคราะห์ แล้ว เห็นว่า การ ขีดฆ่า ชื่อ ผู้รับพินัยกรรม จาก เดิม ที่ เขียน ว่า "ลเมีย ด" แล้ว ตก เติม คำ ว่า "ละเมียด "ส่วน นามสกุล ของ ผู้รับพินัยกรรม ยัง คง ไว้ เช่น เดิม นั้น มิใช่ การ ขีดฆ่าอันเป็น การ เพิกถอน ข้อกำหนด พินัยกรรม แต่ เป็น การ แก้ไข เปลี่ยนแปลงเพื่อ เขียน ชื่อ ผู้รับพินัยกรรม ให้ ถูกต้อง เมื่อ การ ขีดฆ่า ตก เติม นั้นมิได้ ลง วัน เดือน ปี ที่ แก้ไข ผู้ทำพินัยกรรม และ พยาน ใน พินัยกรรม ทั้งสอง คน มิได้ ลงชื่อ กำกับ การ แก้ไข เปลี่ยนแปลง จึง ไม่สมบูรณ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656 วรรคสอง คำ ว่า"ละเมียด " ที่ เขียน ตก เติม จึง เสีย ไป และ ถือว่า ไม่มี การ แก้ไขเปลี่ยนแปลง คำ ว่า "ลเมีย ด" ใน พินัยกรรม โดย พินัยกรรม เอกสารหมาย จ. 3 ข้อ 2 คง มี ข้อความ ตาม เดิม การ แก้ไข เปลี่ยนแปลงพินัยกรรม เอกสาร หมาย จ. 3 ที่ ทำ ไม่ถูกต้อง ตาม แบบ ดังกล่าว จึง หามีผล ทำให้ พินัยกรรม ที่ สมบูรณ์ อยู่ แล้ว ต้อง ตกเป็น โมฆะ ไม่
ส่วน ที่ จำเลย ฎีกา ว่า ศาลอุทธรณ์ มิได้ วินิจฉัย อุทธรณ์ ของ จำเลยที่ ว่า พินัยกรรม เอกสาร หมาย จ. 3 ข้อ 2 ระบุ เพียง ว่า ขอมอบ พินัยกรรมให้ กับ นาง ละเมียด เท่านั้น จึง ฟัง ไม่ได้ ว่า นาง จ่าง ทำ พินัยกรรม ยก บ้าน พิพาท ให้ โจทก์ ที่ 2 คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบ ขอให้ ย้อนสำนวน ไป ให้ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ใน ปัญหา ดังกล่าว นั้น เห็นว่า ในปัญหา ที่ จำเลย อุทธรณ์ ดังกล่าว จำเลย ได้ ยกขึ้น เป็น ข้อต่อสู้ ไว้ ในคำให้การ และ อยู่ ใน ประเด็น ข้อพิพาท ที่ ศาลชั้นต้น กำหนด ว่า นาง จ่าง ได้ ทำ พินัยกรรม ยก บ้าน พิพาท ให้ โจทก์ ที่ 2 หรือไม่ การ ที่ ศาลอุทธรณ์ไม่ได้ วินิจฉัย ปัญหา อุทธรณ์ ของ จำเลย ดังกล่าว จึง เป็น การ ไม่ชอบ และศาลฎีกา เห็นสมควร วินิจฉัย ไป โดย ไม่ต้อง ย้อนสำนวน ไป ให้ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ซึ่ง พินัยกรรม เอกสาร หมาย จ. 3 มี ข้อความ ว่า "ข้อ 1ข้าพเจ้า ถึงแก่ความตาย ไป แล้ว บรรดา ทรัพย์สิน ของ ข้าพเจ้า ที่ มี อยู่และ ที่ จะ เกิดขึ้น ใน ภายหน้า ข้าพเจ้า ยอม ยกให้ เป็น กรรมสิทธิ์ แก่ผู้ที่ ได้ ระบุ ไว้ ใน พินัยกรรม นี้ ให้ เป็น ผู้รับ ทรัพย์สิน ตาม จำนวน ซึ่งกำหนด ไว้ ดัง ต่อไป นี้
(1) เรือน ทรง มลิลา มุง กระเบื้อง วิบูลศรี พร้อม กระดาน พื้น 19แผ่น กระดาน ระเบียง ด้าน ยาว 7 แผ่น 1 หลัง
ข้อ 2 ข้าพเจ้า ขอมอบ พินัยกรรม ให้ กับ นาง ลเมียด ช้างแก้วมณี และ ขอ ตั้ง ให้ นาย มานพ สุขสวัสดิ์ เป็น ผู้จัดการมรดก ของ ข้าพเจ้า ตาม พินัยกรรม นี้ " ดังนี้ เห็นว่า ถ้อยคำ ใน พินัยกรรม แสดง ว่า นาง จ่าง เจ้ามรดก มี เจตนา ทำ พินัยกรรม ยก เรือน พิพาท ให้ แก่ นาง ละเมียด ช้างแก้วมณี โจทก์ ที่ 2 และ ตั้ง นาย มานพ โจทก์ ที่ 1 เป็น ผู้จัดการ มรดก หาใช่ มี เจตนา เพียงแต่ มอบ เอกสาร พินัยกรรม ให้ โจทก์ ที่ 2 เก็บรักษาไว้ เฉย ๆ เท่านั้น ไม่ โจทก์ ที่ 2 จึง เป็น ผู้รับพินัยกรรมที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา มา นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ใน ผล ฎีกา ของจำเลย ฟังไม่ขึ้น "
พิพากษายืน