โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ได้ สร้าง สะพาน ทางเดิน คอนกรีต กว้าง 1.5 เมตรยาว ประมาณ 36 เมตร รุกล้ำ ที่ดิน ของ โจทก์ ระหว่าง โฉนด เลขที่ 6202,2224 และ 2246 เป็น เนื้อที่ 13.5 ตารางวา โจทก์ บอกกล่าว ให้ จำเลยรื้อถอน แล้ว จำเลย เพิกเฉย ทำให้ โจทก์ เสียหาย ไม่ได้ ใช้ ประโยชน์ใน ที่ดิน ดังกล่าว ขอให้ บังคับ จำเลย รื้อถอน สะพาน ทำ ที่ดิน ดังกล่าวให้ อยู่ ใน สภาพ เรียบร้อย และ ห้าม ยุ่ง เกี่ยวกับ ที่ดิน ของ โจทก์ ต่อไปหาก ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ โจทก์ เป็น ผู้ รื้อถอน โดย จำเลย ออก ค่าใช้จ่ายให้ จำเลย ใช้ ค่าเสียหาย 100,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย และ ให้ จำเลยใช้ ค่าเสียหาย ปี ละ 100,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย นับแต่ วันฟ้อง จนกว่าจะ รื้อถอน สะพาน ออก ไป จาก ที่ดิน ของ โจทก์
จำเลย ให้การ และ ฟ้องแย้ง ว่า ที่ดิน ด้าน ทิศตะวันตก ของ ที่ดินโฉนด เลขที่ 6202, 2224 และ ที่ดิน ด้าน ทิศตะวันออก ของ ที่ดินโฉนด เลขที่ 2246 เป็น คลอง สาธารณประโยชน์ ที่ ประชาชน ใช้ ร่วมกันเป็น เวลา นาน หลาย สิบ ปี เดิม ริมคลอง ด้าน ทิศตะวันออก ซึ่ง อยู่ นอก เขตที่ดิน ของ โจทก์ มี ทางเดิน เลียบ คลอง ต่อมา น้ำท่วม ประชาชน ได้ ร่วมกันสร้าง สะพาน ทางเดิน ไม้ บน ทางเดิน เลียบ คลอง จน กระทั่ง คลอง ดังกล่าวตื้นเขินเมื่อ สะพาน ทางเดิน ไม้ ดังกล่าว ชำรุด จำเลย ก็ ดูแล ซ่อมแซมตลอดมา จน ถึง ปี 2530 จำเลย จึง ได้ สร้าง สะพาน ทางเดิน พิพาท แทน โจทก์ได้ ขอ รังวัด ออก โฉนด ที่ดิน ใหม่ ทำให้ แนวเขต ที่ดิน ของ โจทก์ รุกล้ำเข้า ไป ใน เขต ที่ดิน ที่ เคย เป็น คลอง และ ใช้ สร้าง สะพาน ทางเดิน พิพาทดังกล่าว คลอง และ สะพาน ทางเดิน พิพาท นี้ ประชาชน ได้ ใช้ ประโยชน์ ร่วมกันมา หลาย สิบ ปี จน ถึง ปัจจุบัน แม้ จะ อยู่ ใน โฉนด ที่ดิน แต่ เจ้าของ เดิมได้ยิน ยอม ให้ ประชาชน ใช้ ร่วมกัน มา ตลอด ถือได้ว่า เจ้าของ ที่ดิน เดิมอุทิศ ให้ เป็น ทางสาธารณะ โดย ปริยาย โจทก์ ไม่ได้ เสียหาย ตาม ฟ้องขอให้ ยกฟ้อง และ พิพากษา ว่า ที่ดิน ที่ สร้าง สะพาน ทางเดิน พิพาท กว้าง1.5 เมตร ยาว ประมาณ 37.4 เมตร และ ที่ดิน ซึ่ง เดิม เป็น คลอง กว้างประมาณ 6 เมตร ยาว ประมาณ 51.7 เมตร ที่ ไม่ได้ สร้าง สะพาน ทางเดิน พิพาทรวม เนื้อที่ 77.5 ตารางวา ใน โฉนด เลขที่ 6202, 2224 และ 2246ของ โจทก์ เป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ให้ โจทก์ ไป จดทะเบียน ที่ดินดังกล่าว เป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน หาก โจทก์ ไม่ไป จดทะเบียน ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ของ โจทก์
โจทก์ ให้การ แก้ฟ้อง แย้ง ว่า ไม่เคย มี ทางเดิน เลียบ คลอง ที่ดินของ โจทก์ ดังกล่าว ไม่มี ส่วน ใด เป็น คลอง หรือ ทางเดินสาธารณะ เพียงแต่บริเวณ ที่ดิน ของ โจทก์ เป็น ที่ลุ่ม น้ำท่วม ถึง บางเวลา ชาวบ้านเดิน เข้า ออก ไม่ สะดวก จึง ขออนุญาต สร้าง สะพาน ทางเดิน ไม้ ผ่าน ที่ดินของ โจทก์ ซึ่ง โจทก์ อนุญาต ให้ สร้าง เป็น การ ชั่วคราว ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับ ฟ้องเดิม ขอให้ ยกฟ้อง แย้ง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษายก ฟ้องโจทก์ และ พิพากษา ว่าที่ดิน สร้าง สะพาน คอนกรีต พิพาท กว้าง 1.5 เมตร ยาว ประมาณ 37.5 เมตรตาม แผนที่ พิพาท เป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ให้ โจทก์ จดทะเบียน ที่ดินดังกล่าว เป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน หาก โจทก์ ไม่ไป จดทะเบียนให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ของ โจทก์ คำขอ ตาม ฟ้องแย้ง อื่นนอกจาก นี้ ให้ยก
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ยก ฟ้องโจทก์ และ ยกฟ้อง แย้ง จำเลย
โจทก์ และ จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า "พิเคราะห์ แล้ว คดี มี ปัญหา ใน ชั้น นี้ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ว่า ที่ดิน ที่ ใช้ สร้าง สะพาน ทางเดิน พิพาท เป็นที่ดิน ของ โจทก์ หรือ เป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ข้อเท็จจริงใน เรื่อง นี้ จำเลย มี นางสาว ฉอ้อน หมีทองคำ เจ้าของ เดิม ที่ดิน โฉนด เลขที่ 6202 นาง สง่า กลิ่นสุขหอม เจ้าของ เดิม ที่ดิน โฉนด เลขที่ 2224 และ นาง ฉลองรัฐ เล็กมณี กับ นาง เฉลิมศรี สงเคราะห์ เจ้าของ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 2247 ซึ่ง อยู่ ติดกับ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 2246 ของ โจทก์ เบิกความ เป็น พยาน ได้ข้อเท็จจริง ต้อง กัน ว่า ที่ดิน โฉนด เลขที่ 6202, 2224 และ 2246ของ โจทก์ และ โฉนด เลขที่ 2247 มี ทางเดิน ซึ่ง ชาวบ้าน ใช้ สัญจร ไป มาโดย ทางเดิน ดังกล่าว อยู่ ทาง ด้าน ทิศตะวันตก ของ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 6202,2224 และ ด้าน ทิศตะวันออก ของ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 2246 ลักษณะ ของทางเดิน นั้น นางสาว ฉอ้อน ว่า เดิม ใช้ ไม้ ขอน สำหรับ ทอด เดิน ต่อมา ได้ ทำ เป็น เนินดิน หลังจาก นั้น ได้ สร้าง เป็น สะพาน ไม้ และ เปลี่ยน มาเป็น สะพาน คอนกรีต ใน ภายหลัง ซึ่ง ข้อเท็จจริง ดังกล่าว สอด รับ กับคำเบิกความ ของ นาย อุดม กลิ่นหอม อดีต กำนัน ตำบล บางหญ้าแพรก ซึ่ง เป็น ผู้ทำ สะพาน ไม้ ใน ทางเดิน พิพาท และ ตรง กับ คำเบิกความ ของนาย สมศักดิ์ สุทัศน์ ณ อยุธยา กำนัน ตำบล บางหญ้าแพรก ใน ขณะที่ โจทก์ ฟ้องคดี นี้ นาย สมศักดิ์ ยัง เบิกความ อีก ว่า ใน สมัย ที่นาย อุดม เป็น กำนัน ได้ มี การ ปรับปรุง สะพาน ไม้ ลูก ระนาด เป็น สะพาน ไม้ โดย ทำ ทับแนว คลอง สมัย ที่นาย สมศักดิ์ เป็น กำนัน ก็ ได้ ปรับปรุง เป็น สะพาน คอนกรีต โดย ใช้ งบประมาณ ของ สุขาภิบาล โดย ทำ ใน แนว ของ สะพาน ไม้ทับ แนว คลอง ข้อเท็จจริง จาก พยานหลักฐาน ของ จำเลย ดังกล่าว ฟังได้ ว่าทางเดิน พิพาท มี มา นาน กว่า 30 ปี ชาวบ้าน ได้ ใช้ ทางเดิน พิพาท สืบเนื่องมา ตั้งแต่ ใช้ ไม้ ขอน ทอด เดิน เปลี่ยน เป็น สะพาน ไม้ และ ทำ เป็น สะพานคอนกรีต ทั้งนี้ โดย เจ้าของ ที่ดิน เดิม มิได้ หวงห้าม หรือ สงวนสิทธิแต่อย่างใด และ มิใช่ กรณี ที่ ชาวบ้าน ใช้ ทางเดิน โดย ถือ วิสาสะ เนื่องจากมี การ ใช้ ขอนไม้ ทอด และ ทำ เป็น สะพาน ไม้ ใน เวลา ต่อมา แสดง ให้ เห็นว่าเจ้าของ ที่ดิน เดิม ได้ อุทิศ ที่ดิน ส่วน ที่ เป็น ทางเดิน พิพาท ให้ เป็นประโยชน์ ต่อ ประชาชน ทั่วไป แล้ว กรณี มิได้ เป็น ไป ดัง ที่ โจทก์ อ้างใน ฎีกา ว่า ที่ดิน ที่ ใช้ สร้าง สะพาน ทางเดิน พิพาท ดังกล่าว เจ้าของที่ดิน เดิม ได้ หวงแหน มิได้ ยกให้ เป็น ทางสาธารณะ ส่วน ที่ โจทก์ อ้างว่าเจ้าของ ที่ดิน เดิม ได้ รังวัด ทั้ง แปลง มิได้ กัน แนวเขต ทางเดิน พิพาทออก ไป นั้น มิใช่ เป็นเหตุ ผล ที่ มี น้ำหนัก ยิ่งกว่า พยานบุคคล ที่ จำเลยนำ มา สืบ ดังกล่าว ข้างต้น เนื่องจาก ไม่มี บทบัญญัติ ใด กำหนด ให้ เจ้าของที่ดิน จำต้อง กระทำ เช่นนั้น เมื่อ เจ้าของ ที่ดิน เดิม ไม่ หวงห้ามและ อุทิศ ที่ดิน ส่วน ที่ เป็น ทางเดิน พิพาท ให้ ประชาชน ทั่วไป ใช้ มาก ว่า30 ปี ย่อม ถือได้ว่า เป็น ทรัพย์สิน สำหรับ พลเมือง ใช้ ร่วมกันอันเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตาม มาตรา 1304(2) แห่ง ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ ฎีกา ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น
คดี มี ปัญหา ต่อไป ตาม ฎีกา ของ จำเลย ว่า ฟ้องแย้ง ของ จำเลย เกี่ยวกับฟ้องเดิม หรือไม่ เห็นว่า คดี นี้ โจทก์ ฟ้อง ว่า ที่ดิน ที่ จำเลยใช้ สร้าง สะพาน ทางเดิน พิพาท เป็น ที่ดิน ของ โจทก์ ขอให้ บังคับ จำเลยรื้อถอน จำเลย ให้การ ว่า ที่ดิน ดังกล่าว เจ้าของ ที่ดิน เดิม อุทิศให้ เป็น ทางสาธารณะ ประเด็น แห่ง คดี เดิม จึง มี ว่า ที่ดิน ที่ จำเลยใช้ สร้าง สะพาน ทางเดิน พิพาท เป็น ที่ดิน ของ โจทก์ หรือ เป็น สาธารณสมบัติของ แผ่นดิน ดังนั้น ที่ จำเลย ฟ้องแย้ง ขอให้ ศาล พิพากษา ว่า ที่ดินที่ สร้าง สะพาน ทางเดิน พิพาท กว้าง 1.5 เมตร ยาว ประมาณ 37.4 เมตรเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน จึง เป็น ฟ้องแย้ง ที่ เกี่ยวกับ ทรัพย์พิพาทเดียว กัน กับ ฟ้องเดิม ฟ้องแย้ง ส่วน นี้ ย่อม เกี่ยวกับ ฟ้องเดิม และฟ้องแย้ง ใน ส่วน ที่ เกี่ยวกับ ที่ดิน ทั้ง สอง ด้าน ของ ที่ดิน ที่ ใช้ สร้างทางเดิน พิพาท ใน ฟ้องเดิม นั้น ก็ เป็น ที่ดิน ติด เป็น ผืน เดียว กัน กับทางเดิน พิพาท เท่ากับ จำเลย อ้างว่า ที่ดินพิพาท กว้าง ยาว กว่า ที่ โจทก์ระบุ มา ใน ฟ้องเดิม และ ก็ เป็น การ ตั้ง สิทธิ ว่า ถูก โจทก์ โต้แย้ง สิทธิตาม ฟ้องเดิม โดย โจทก์ อ้างว่า ที่ดิน ที่ จำเลย ฟ้องแย้ง ใน ส่วน นี้ก็ เป็น ของ โจทก์ ถือได้ว่า ฟ้องแย้ง ใน ส่วน นี้ มี ส่วน สัมพันธ์ กับฟ้องเดิม พอ ที่ จะ พิจารณา และ ชี้ขาด ตัดสิน เข้า ด้วยกัน ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม และ มาตรา179 วรรคท้าย ฟ้องแย้ง ใน ส่วน นี้ จึง เกี่ยวกับ ฟ้องเดิม เช่นเดียวกันเมื่อ เป็น ฟ้องแย้ง ที่ชอบ แล้ว จะ ได้ วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย เกี่ยวกับฟ้องแย้ง ต่อไป จาก ข้อเท็จจริง ที่ ฟังได้ ว่า ที่ดิน ที่ ใช้ สร้างทางเดิน พิพาท เป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ก็ ชอบ ที่ จะ พิพากษา ให้ ตามคำขอ ใน ฟ้องแย้ง ส่วน นี้ ได้ ส่วน ที่ จำเลย ฟ้องแย้ง ขอให้ โจทก์ จดทะเบียนที่ดิน ดังกล่าว เป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน นั้น เห็นว่า การ จดทะเบียนเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน เป็น อำนาจ หน้าที่ ของ เจ้าพนักงาน ที่ จะดำเนินการ และ ไม่ปรากฏ ว่า โจทก์ มี หน้าที่ อย่างใด ใน ทาง นิติกรรมที่ จะ ต้อง ไป ดำเนินการ ดังกล่าว จึง ไม่อาจ บังคับ ให้ ตาม คำขอ ใน ฟ้องแย้งส่วน นี้ ได้ และ ฟ้องแย้ง ที่ ว่า ที่ดิน ทั้ง สอง ด้าน ของ ทางเดิน พิพาทเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ด้วย นั้น พิเคราะห์ แล้ว เห็นว่า จำเลยมี เพียง นาย ณรงค์ กุลเจริญ เป็น พยาน เบิกความ ว่า ที่ดินพิพาท ที่ สร้าง สะพาน คอนกรีต เดิม มี สภาพ เป็น คลอง สาธารณะ กว้าง 6 เมตรซึ่ง เป็น การ กล่าวอ้าง ลอย ๆ เพราะ พยาน มิได้ เป็น ผู้รู้เห็น หรือเคย เห็น ที่ดิน ใน ขณะที่ มี สภาพ เป็น คลอง สาธารณะ ประกอบ กับ พิจารณาแผนที่ ระวาง เอกสาร หมาย ล. 1 กับ ภาพถ่าย หมาย ล. 3 แล้ว ก็ ปรากฏ กับพิจารณา แผนที่ ระวาง เอกสาร หมาย ล. 1 กับ ภาพถ่าย หมาย ล. 3 แล้ว ก็ปรากฏว่า เคย เป็น คลอง แต่ ไม่ได้ ความ ว่า กว้าง ยาว เท่าใด ข้อเท็จจริงยัง ฟัง ไม่ได้ ว่า ที่ดิน ทั้ง สอง ด้าน ดังกล่าว เป็น สาธารณสมบัติ ของแผ่นดิน ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายก ฟ้องแย้ง ทั้งหมด นั้น ศาลฎีกาไม่เห็น พ้อง ด้วย ฎีกา จำเลย ฟังขึ้น บางส่วน "
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ที่ดิน ที่ ใช้ สร้าง ทางเดิน พิพาท กว้าง1.5 เมตร ยาว ประมาณ 37.4 เมตร เป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดินนอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกา ให้ เป็น พับ