ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัยการผู้ช่วยมีอำนาจลงนามฟ้องคดีอาญาได้ โดยอาศัยอำนาจของพนักงานอัยการตามกฎหมาย
อัยการผู้ช่วยก็มีอำนาจลงนามเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาได้ เพราะอัยการผู้ช่วยก็เป็นพนักงานอัยการ (พ.ร.บ.อัยการ 2478 มาตรา 11) จึงอาจเป็นโจทก์ในคดีอาญาได้ตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 28(1) ประกอบกับ พ.ร.บ.อัยการ 2478 มาตรา 19(1)
ศาลชั้นต้นสั่งไม่ประทับฟ้องที่อัยการเป็นโจทก์ โดยเห็นว่าผู้ลงนามเป็นโจทก์นั้นไม่มีอำนาจเป็นโจทก์ ศาลอุทธรณ์ยกคำสั่งศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นประทับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณาต่อไปนั้น จำเลยย่อมฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ เพราะคดีที่อัยการเป็นโจทก์เมื่อยื่นฟ้องก็ถือว่าผู้ถูกฟ้องตกเป็นจำเลยทันทีผิดกับคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ ผู้ถูกฟ้องไม่เป็นจำเลยจนกว่าศาลจะประทับฟ้อง
(ประชุมใหญ่)