โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๔๙๐ จำเลยที่ ๑ ทำหนังสือสัญญาจำนองที่ดินโฉนดที่ ๑๖๕๒ ไว้แก่โจทก์เป็นเงินสองหมื่นบาท โดยจำเลยที่ ๒ เป็นผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ ๑ จำเลยที่ ๓ ซึ่งเป็นสามีจำเลยที่ ๒ ลงชื่อเป็นผู้ค้ำประกัน หนังสือสัญญาจำนองและค้ำประกันได้ลงนามตอหน้าจำเลยที่ ๔ ๆลงนามเป็นเจ้าพนักงานที่ดิน ต่อที่จำเลยที่ ๑ ได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานหอทะเบียนที่ดินว่าหายไปและรับใบแทนโฉนดไปแล้ว แม้โฉนดที่โจทก์ยึดถือไว้ใช้ไม่ได้สัญญาจำนองก็ยังใช้ได้ในฐานเป็นสัญญากู้ ซึ่งจำเลยที่ ๑ - ๒ - ๓ ต้องรับผิด จำเลยที่ ๔ ได้กระทำการโดยประมาทอย่างร้ายแรงทำให้โจทก์เสียหาย เพราะโฉนดฉะบับนี้ที่หอทะเบียนที่ดินยึดถือไว้มีบันทึกไว้ด้วยตัวอักษรแดง เห็นได้ชัดแจ้งว่าที่ดินรายนี้ได้มีการออกใบอทนโฉนดไปแล้ว แต่จำเลยที่ ๔ ก็ยังลงนามอนุมัติให้ทำสัญญากัน จำเลยที่ ๕ ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาจำเลยที่ ๔ ก็ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ ๔ ด้วย
จำเลยที่ ๑ ให้การว่า ไม่เคยมอบอำนาจให้จำเลยที่ ๒ ไปจำนองที่ดิน
จำเลยที่ ๒ - ๓ ไม่ยื่นคำให้การ
จำเลยที่ ๔ - ๕ ให้การว่าไม่ได้ประมาท
ศาลชั้นต้นฟังว่า จำเลยที่ ๑ มิได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ ๒ ไปจำนองแทน จึงพิพากษาให้จำเลยที่ ๒ - ๓ คืนเงินสองหมื่นบาทพร้อมทั้งดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ คำขอนอกนั้นให้ยก
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยที่ ๔ - ๕ ร่วมกันรับผิดใช้เงิน ๒๐,๐๐๐ บาทให้แก่โจทก์บังคับเอาจากจำเลยที่ ๒ - ๓ ก่อน ฯลฯ
จำเลยที่ ๔ - ๕ ฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่า ในโฉนดฉะบับหลวงในคดีรนี้ได้จดแจ้งการออกใบแทนโฉนดพร้อมทั้งวันเดือนปีไว้ด้วยหมีกสีแดง เห็นได้อย่างสดุดตา ถ้าหากจำเลยที่ ๔ มิได้ละเลยต่อการตรวจดูตามสมควรแล้ว จะมีการทำจำนองต่อกันเป็นที่เสียหายแก่โจทก์ไม่ได้เลย ศาลฎีกาเห็นว่า จำเลยที่ ๔ กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้โจทก์เสียหายโดยเสียเงินทำการรับจำนองไป ฉะนั้นจำเลยที่ ๔ จึงต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นนี้ด้วย ส่วนจำเลยที่ ๕ นั้นเมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ ๔ ได้กระทำไปตามหน้าที่เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ ๕ ก็ต้องรับผิดตามนับแห่ง ป.ม.แพ่งฯมาตรา ๗๖ ศาลอุทธรณ์ พิพากษาชอบแล้ว
จึงพิพากษา