โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ทั้ง สอง กับพวก ร่วมกัน ปล้น เอา เงิน ของนาย พิสิฐ โดย ร่วมกัน ใช้ มีดปลายแหลม แทง นาย พิสิฐ เป็นเหตุ ให้ นาย พิสิฐ ถึงแก่ความตาย ขอให้ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 289, 340 ให้ จำเลย ทั้ง สอง คืน หรือ ใช้ เงิน จำนวน26,000 บาท แก่ ทายาท หรือ ผู้มีสิทธิ รับมรดก ของ ผู้ตาย
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ปฏิเสธ
ระหว่าง พิจารณา นาง สมจิตต์ อาภาสกุล ภริยา ของ นาย พิสิฐ อาภาสกุล ผู้ตาย ยื่น คำร้องขอ เข้าร่วม เป็น โจทก์ ศาลชั้นต้น อนุญาต
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ และ โจทก์ร่วม อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษากลับ เป็น ว่า จำเลย ที่ 1 ที่ 2มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 (5)(6) และ มาตรา 340วรรคห้า เป็น การกระทำ กรรมเดียว ผิด ต่อ กฎหมาย หลายบท แต่ละ บทมี โทษ เท่ากัน ให้ ลงโทษ ประหารชีวิต จำเลย ที่ 2 ให้การรับสารภาพ ชั้นจับกุม และ ชั้นสอบสวน เป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณา ของ ศาล มีเหตุ บรรเทา โทษลดโทษ ให้ หนึ่ง ใน สาม ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คง ให้ จำคุกตลอด ชีวิต ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน คืนเงิน 26,000 บาท แก่ ทายาทผู้ตาย ด้วย
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คำรับ ของ จำเลย ที่ 2 เป็น แต่เพียง รับ ว่าเมื่อ จำเลย ที่ 1 แทง ผู้ตาย จน ตาย แล้ว จำเลย ที่ 1 จึง เรียก จำเลย ที่ 2ไป ค้นตัว ผู้ตาย ได้ เงินสด ไป จำนวน หนึ่ง แล้ว พา กัน หลบหนี เท่านั้น มิได้รับสารภาพ ว่า ได้ ร่วมกัน หรือ คบคิด กัน มา ฆ่า ผู้ตาย แต่อย่างใดแม้ จำเลย ที่ 2 จะ นำ เจ้าพนักงาน ตำรวจ ไป ตรวจค้น เสื้อผ้า ที่ จำเลย ที่ 2นำ ไป ซ่อน ไว้ ใน หนองน้ำ และ จำเลย ที่ 2 รับ ว่า ได้ บอก กับ บุคคลอื่น ๆว่า ได้ ร่วม กับ จำเลย ที่ 1 ฆ่า ผู้ตาย ก็ ตาม แต่ ตาม ข้อเท็จจริง ตามคำรับ ของ จำเลย ที่ 2 ตาม เอกสาร หมาย จ. 15 ดังกล่าว ประกอบ กับหลักฐาน การ นำ เสื้อผ้า ไป ซ่อน แล้ว นำ เจ้าพนักงาน ตำรวจ ไป ตรวจค้นเอา มา โดย จำเลย ที่ 2 ยอมรับ ว่า เสื้อผ้า ที่ ค้น มา ได้ ส่วน หนึ่งเป็น ของ จำเลย ที่ 2 จริง และ ต่อมา เมื่อ จำเลย ที่ 2 เข้า มอบตัวได้ มอบ เงิน จำนวน 2,000 บาท แก่ เจ้าพนักงาน ตำรวจ แจ้ง ว่าเป็น ส่วน ที่ เหลือ จาก ที่ เอาไป จาก ผู้ตาย และ โจทก์ร่วม รับ คืน ไป โดยจำเลย ที่ 2 ไม่ได้ โต้แย้ง คัดค้าน แต่อย่างใด จาก พยานหลักฐาน ต่าง ๆดังกล่าว ประกอบ คำรับ ใน ชั้นสอบสวน ของ จำเลย ที่ 2 คดี จึง ฟังได้แต่เพียง ว่า จำเลย ที่ 2 ได้ ล้วง เอา เงินสด จาก ผู้ตาย ไป จริง อันเป็นความผิด ฐาน ร่วม กับพวก อีก คนหนึ่ง ลักทรัพย์ ของ ทายาท ผู้ตายเท่านั้น ข้อเท็จจริง ดังกล่าว ไม่อาจ จะ รับฟัง เลย ไป ถึง ว่า จำเลย ที่ 2ได้ ร่วมกัน กับ คนร้าย อื่น ชิงทรัพย์ หรือ ปล้นทรัพย์ หรือ ฆ่า ผู้ตายตาม ฟ้อง ซึ่ง ความผิด ฐาน ลักทรัพย์ นี้ เป็น ความผิด ที่ มี การกระทำ รวม อยู่ใน ความผิด ฐาน ปล้นทรัพย์ และ เป็น ความผิด อยู่ ใน ตัวเอง ศาล มีอำนาจลงโทษ จำเลย ที่ 2 ฐาน ลักทรัพย์ ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคท้าย
สำหรับ จำเลย ที่ 1 เมื่อ โจทก์ และ โจทก์ร่วม ไม่มี ประจักษ์พยานที่ จะ ยืนยัน ได้ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้ ฆ่า ผู้ตาย คง มี แต่ คำรับ ของจำเลย ที่ 2 ใน ชั้นสอบสวน ให้การ ซัดทอด ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้ใช้อาวุธ มีด แทง ฆ่า ผู้ตาย เท่านั้น และ จำเลย ที่ 1 ก็ ให้การ ปฏิเสธ ตลอดมารวมทั้ง เสื้อผ้า รองเท้า ที่ จำเลย ที่ 2 นำ เจ้าพนักงาน ตำรวจ ไป ยึด มาและ อ้างว่า ส่วน หนึ่ง เป็น ของ จำเลย ที่ 1 จำเลย ที่ 1 ก็ ปฏิเสธเช่นเดียวกัน การ ส่ง หลักฐาน ของกลาง ต่าง ๆ ที่ เจ้าพนักงาน ตำรวจยึด มา ได้ ไป ตรวจ พิสูจน์ ยัง กองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจ ผล การ ตรวจก็ ไม่อาจ ยืนยัน อะไร ให้ เป็น ประโยชน์ แก่ คดี ของ โจทก์ และ โจทก์ร่วม ได้ลำพัง แต่ คำให้การ ซัดทอด ใน ชั้นสอบสวน ของ จำเลย ที่ 2 ซึ่ง เป็น คนร้ายด้วยกัน ย่อม ไม่อาจ ฟัง ลงโทษ จำเลย ที่ 1 ได้
พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำเลย ที่ 2 มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(1)(7) วรรคสาม ให้ จำคุก 3 ปี จำเลย ที่ 2 ให้การรับสารภาพ ใน ความผิด ฐาน นี้ ใน ชั้นสอบสวน เป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณาอยู่ บ้าง มีเหตุ บรรเทา โทษ ลดโทษ ให้ หนึ่ง ใน สาม ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 คง จำคุก จำเลย ที่ 2 มี กำหนด 2 ปี ให้ จำเลย ที่ 2 คืนเงิน26,000 บาท แก่ ทายาท ผู้ตาย ด้วย คำขอ อื่น นอกจาก นี้ ให้ยกและ ให้ยก ฟ้องโจทก์ สำหรับ จำเลย ที่ 1