โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ เครื่องหมายการค้า รูป "EKOMAG" มี คลื่น 2 เส้น อยู่ ด้าน ล่าง ตัวอักษร และ มี วงกลม 2 วง ล้อมรอบวงกลม ด้าน นอก เป็น เส้น ทึบหนา เครื่องหมายการค้า ดังกล่าว นี้ห้างหุ้นส่วนจำกัด แหลมทองพัฒนาการยนต์ (1974) เป็น ผู้ได้รับ การ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า ตาม ทะเบียน เลขที่ 55494 สำหรับ สินค้าจำพวก ที่ 6 โดย จดทะเบียน เมื่อ วันที่ 5 มีนาคม 2519 ต่อมาห้างหุ้นส่วนจำกัด แหลมทองพัฒนาการยนต์ (1974) ได้ โอน เครื่องหมายการค้า ดังกล่าว ให้ โจทก์ เมื่อ วันที่ 23 พฤษภาคม 2534นายทะเบียน เครื่องหมายการค้า ได้รับ จดทะเบียน ไว้ แล้ว เมื่อ วันที่3 มิถุนายน 2534 โจทก์ ได้ ใช้ เครื่องหมายการค้า นี้ กับ สินค้าเครื่องสูบ น้ำ ทุก ประเภท ตลอดมา เป็น ที่ แพร่หลาย รู้ จัก กัน ทั่วไปและ เพื่อ ให้ ได้รับ ความคุ้มครอง สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า โจทก์ ได้ยื่น คำขอ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า สำหรับ สินค้า จำพวก ที่ 7ซึ่ง มี เครื่องสูบ น้ำ สำหรับ ใช้ ใน การ กสิกรรม เรือกสวน ไร่ นา ที่ ใช้กำลัง ไฟฟ้า ใน การเกษตร ตาม คำขอ เลขที่ 220271 แต่ นายทะเบียนแจ้ง ว่า ไม่สามารถ รับ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า ดังกล่าวได้ เนื่องจาก เหมือนกับ เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย ที่ ได้ ยื่น คำขอจดทะเบียน ไว้ ตาม คำขอ เลขที่ 219428 ให้ โจทก์ กับ จำเลย ตกลง กันเองหรือ ให้ ศาล วินิจฉัยชี้ขาด จำเลย ได้ ลอก เลียน ดัดแปลง และ นำเครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ ไป ยื่น คำขอ จดทะเบียน โดย ไม่มี สิทธิเนื่องจาก โจทก์ และ จำเลย เคย เป็น หุ้นส่วน ผู้จัดการ ร่วมกัน ในห้างหุ้นส่วนจำกัด แหลมทองพัฒนาการยนต์ (1974) เมื่อ ห้าง เลิก กิจการ แล้ว โจทก์ เป็น ผู้รับ สิทธิ การ เป็น เจ้าของ เครื่องหมายการค้า จำเลยได้ ร่วม โอน เครื่องหมายการค้า ให้ โจทก์ ด้วย ตนเอง แต่ กลับ นำเครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ ไป ดัดแปลง ต่อเติม มี รูปร่าง รูป ทรงและ การ ใช้ ตัวอักษร เกือบ เหมือน เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ โดย เปลี่ยนชื่อ เป็น "F.KOMAC" จำเลย จงใจ นำ ไป ขอ จดทะเบียน เพื่อ ใช้ กับ สินค้า อื่น และ สินค้า เครื่องสูบ น้ำ อัน จะ ทำให้ ประชาชน ผู้ซื้อสินค้า หลงผิด ขอให้ ศาล มี คำสั่ง ให้ นายทะเบียน เครื่องหมายการค้ารับ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า ตาม คำขอ เลขที่ 220271 ของ โจทก์และ ให้ โจทก์ มีสิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า นี้ แต่ ผู้เดียว ห้าม มิให้จำเลย เกี่ยวข้อง ใช้ และ ไม่ให้ ดำเนินการ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้าตาม คำขอ เลขที่ 219428 หรือ คำ อื่น ใด ใน ลักษณะ เดียว กัน อีก ต่อไป
จำเลย ให้การ ว่า เครื่องหมายการค้า รูป "EKOMAG" ของ โจทก์ ได้ จดทะเบียน ไว้ เพื่อ ใช้ กับ สินค้า จำพวก ที่ 6 เท่านั้น ซึ่ง ใช้กับ สินค้า เครื่องจักร ทุก ชนิด และ ส่วน ของ เครื่องจักร เว้นแต่เครื่องจักร ที่ ใช้ ใน การ ทำไร่ นา เรือกสวน และ ส่วน ของ เครื่องจักร นั้น ๆส่วน เครื่องหมายการค้า รูป "F.KOMAC" ของ จำเลย นั้น ใช้ กับ สินค้า จำพวก ที่ 7 คือ สินค้า จำพวก เครื่องจักร ที่ ใช้ ใน การ ทำไร่ นา เรือกสวนและ ส่วน ของ เครื่องจักร นั้น ๆ ฉะนั้น เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ กับของ จำเลย จึง ใช้ กับ สินค้า ต่าง จำพวก กัน จำเลย ไม่ได้ ลอก เลียนเครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ เครื่องหมายการค้า ทั้ง สอง แตกต่าง กันอย่าง เห็น ได้ ชัด ไม่ทำ ให้ สาธารณชน สับสน หรือ หลงผิด ใน ความ เป็น เจ้าของหรือ แหล่งกำเนิด ของ สินค้า จำเลย ยื่น คำขอ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้าใน สินค้า จำพวก ที่ 7 ก่อน โจทก์ จำเลย มีสิทธิ ใน เครื่องหมายการค้าของ จำเลย ดีกว่า โจทก์ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า โจทก์ มีสิทธิ ดีกว่า จำเลย ใน การ ใช้เครื่องหมายการค้า (ที่ ถูก เป็น เครื่องหมายการค้า ตาม คำขอ เลขที่220271) สำหรับ สินค้า จำพวก ที่ 7 ห้าม มิให้ จำเลย เกี่ยวข้อง คำขอ อื่นไม่อาจ บังคับ ได้ ให้ยก เสีย
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คดี มี ปัญหา ที่ จะ ต้อง วินิจฉัย ประการ แรก ว่าคำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น ที่ ให้ งดสืบพยาน โจทก์ และ จำเลย ชอบ หรือไม่พิเคราะห์ แล้ว เห็นว่า คดี นี้ ข้อเท็จจริง ที่ ปรากฏ จาก คำฟ้อง คำให้การเอกสาร สลาก เครื่องหมายการค้า และ ภาพถ่าย ที่ ศาลชั้นต้น อนุญาตโจทก์ กับ จำเลย อ้าง ส่ง เป็น พยาน ประกอบ คำฟ้อง และ คำให้การ โดย ที่คู่ความ มิได้ โต้แย้ง กัน มี เนื้อหา เพียงพอ ที่ จะ วินิจฉัย ประเด็น แห่งคดี ได้ แล้ว โดยเฉพาะ เอกสาร ที่ โจทก์ และ จำเลย อ้าง ส่ง อัน ประกอบ ด้วยภาพ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ และ จำเลย สลาก เครื่องหมายการค้าที่ ใช้ กับ สินค้า เครื่องสูบ น้ำ ของ โจทก์ และ จำเลย รวมทั้ง ภาพถ่ายลักษณะ สินค้า เครื่องสูบ น้ำ ของ โจทก์ และ จำเลย มี สาระ และ ความ ชัดเจนเพียงพอ ที่ จะ วินิจฉัย ได้ว่า เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย เหมือน หรือคล้าย กับ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ จน อาจ ทำให้ สาธารณชน สับสนหรือ หลงผิด ใน ความ เป็น เจ้าของ สินค้า หรือ แหล่งกำเนิด ของ สินค้าหรือไม่ โดย ไม่จำเป็น ต้อง สืบพยาน เพิ่มเติม ที่ จำเลย ฎีกา ว่าความเห็น ของ ศาล มิได้ เป็น ความเห็น ของ สาธารณชน และ การ พิจารณาว่า สาธารณชน จะ สับสน หรือ หลงผิด หรือไม่ ต้อง พิจารณา ถึง สาธารณชนที่ เป็น กลุ่ม ใน บุคคล ที่ ใช้ สินค้า ประเภท นั้น ๆ เท่านั้น ซึ่ง จำเลย จะนำพยาน มา สืบต่อ ไป นั้น เห็นว่า เมื่อ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ยุติ ชัดเจนเพียงพอ ที่ จะ วินิจฉัย ประเด็น แห่ง คดี แล้ว ปัญหา ว่า เครื่องหมายการค้าของ จำเลย เหมือน หรือ คล้าย กับ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ จน อาจ ทำให้สาธารณชน สับสน หรือ หลงผิด ใน ความ เป็น เจ้าของ สินค้า หรือ แหล่งกำเนิดของ สินค้า หรือไม่ จึง เป็น ปัญหาข้อกฎหมาย ศาล ย่อม อยู่ ใน ฐานะ ที่ จะวินิจฉัย ได้ว่า เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย เหมือน หรือ คล้าย กับเครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ จน อาจ ทำให้ สาธารณชน สับสน หรือ หลงผิดหรือไม่ ซึ่ง ใน การ วินิจฉัย ปัญหาข้อกฎหมาย ดังกล่าว ย่อม ต้อง พิจารณาจาก รูป แบบ เครื่องหมายการค้า สลาก เครื่องหมายการค้า ที่ ใช้ กับ สินค้าและ ตัว สินค้า เป็น สำคัญ หา จำต้อง อาศัย ข้อเท็จจริง จาก พยานบุคคลไม่ว่า จะ เป็น บุคคล ทั่วไป หรือ เฉพาะ กลุ่ม ที่ ใช้ สินค้า ซึ่ง เป็น เพียงพยาน ความเห็น แต่อย่างใด ไม่ ซึ่ง ใน คดี นี้ ข้อเท็จจริง ที่ ปรากฏ ตามคำฟ้อง คำให้การ พยานเอกสาร สลาก เครื่องหมายการค้า และภาพถ่าย ที่ โจทก์ และ จำเลย อ้าง ส่ง ต่อ ศาล ชัดเจน เพียงพอ ที่ จะวินิจฉัย ประเด็น แห่ง คดี ได้ ทั้งหมด แล้ว การ สืบพยาน บุคคล ไม่อาจเปลี่ยนแปลง คำวินิจฉัย เป็น ประการอื่น ได้ จึง ไม่จำเป็น ต้อง สืบพยานบุคคล ต่อไป ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ให้ งดสืบพยาน โจทก์ และ จำเลย ชอบแล้ว
ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ต่อไป มี ว่า เครื่องหมายการค้า ของ จำเลยเหมือน หรือ คล้าย กับ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ จน ถึง นับ ได้ว่า เป็นการ ลวง สาธารณชน ให้ สับสน หรือ หลงผิด หรือไม่ เห็นว่า เครื่องหมายการค้าของ โจทก์ เป็น รูป วงกลม 2 วง วงกลม ด้าน นอก เป็น เส้น ทึบ หนา ใน วงกลมด้าน บน มี อักษร โรมัน ตัว พิมพ์ ใหญ่ คำ ว่า "EKOMAG" ด้าน ล่าง ของ อักษร โรมัน ดังกล่าว มี เส้น คลื่น 2 เส้น อยู่ ภายใน วงกลม ส่วน เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย เป็น รูป วงกลม 2 วง ซ้อน กัน และ วงกลม ด้าน นอกเป็น เส้น ทึบ หนา เช่นเดียว กับ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ ใน วงกลมด้าน บน มี อักษร โรมัน ตัว พิมพ์ ใหญ่ คำ ว่า "F.KOMAC" ด้าน ล่าง ของ อักษร โรมัน ดังกล่าว มี เส้น คลื่น 2 เส้น อยู่ ภายใน วงกลม เช่นกัน จึง เห็น ได้ชัดเจน ว่า เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย เหมือน หรือ คล้าย กับ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ เกือบ ทั้งหมด ไม่ว่า จะ เป็น รูป ลักษณะ การ วาง ตัวอักษรโรมัน ขนาด และ จำนวน ตัวอักษร โรมัน และ เส้น คลื่น 2 เส้น ซึ่ง อยู่ใต้ อักษร โรมัน คง มี ข้อแตกต่าง กัน บาง ประการ เท่านั้น กล่าว คืออักษร โรมัน ตัว แรก โจทก์ ใช้ อักษร "E" ส่วน จำเลย ใช้ อักษร "F" และ ตัวอักษร โรมัน ตัว ท้าย โจทก์ ใช้ อักษร "G" ส่วน จำเลย ใช้ อักษร "C" และ เส้น คลื่น 2 เส้น ใน วงกลม ของ โจทก์ เป็น เส้น บาง และ ค่อนข้าง ชิด กัน ส่วน ของ จำเลย เป็น เส้น คลื่น 2 เส้น หนา และ ห่าง กันมาก กว่า ของ โจทก์ ข้อแตกต่าง ดังกล่าว เป็น ข้อแตกต่าง เพียง เล็กน้อยไม่ใช่ สาระสำคัญ ยาก ที่ สาธารณชน จะ สังเกต เห็น หรือ แยกแยะ ข้อแตกต่างดังกล่าว ได้ ทั้ง เมื่อ พิจารณา รูป ลักษณะ สลาก เครื่องหมายการค้าของ โจทก์ และ จำเลย ตาม วัตถุ พยาน หมาย จ. 12 สลาก เครื่องหมายการค้าของ จำเลย ใช้ สี เหลือง และ สี ขาว เหมือนกับ ของ โจทก์ รูป ลักษณะ และแบบ ของ สลาก ก็ เหมือนกับ ของ โจทก์ มาก โดยเฉพาะ ตัวอักษร โรมัน ตัว "F" จำเลย ทำ จุด หลัง อักษร โรมัน "F" ให้ คล้าย กับ หาง ด้าน ล่าง ของ อักษร ตัว "E" ประกอบ กับ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ ก็ ใช้ กับ สินค้า เครื่องสูบ น้ำ ทั่วไป ส่วน เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย ใช้ กับสินค้า เครื่องสูบ น้ำ สำหรับ ใช้ ใน การ กสิกรรม เรือกสวน ไร่ นา สินค้าของ โจทก์ และ ของ จำเลย จึง เป็น สินค้า ที่ มี ลักษณะ อย่างเดียว กันข้อเท็จจริง ตาม ที่ ได้ วินิจฉัย ดังกล่าว จึง ถือได้ว่า เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย เหมือน หรือ คล้าย กับ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์จน ถึง นับ ได้ว่า เป็น การ ลวง สาธารณชน ให้ สับสน หรือ หลงผิด ใน ความ เป็นเจ้าของ สินค้า แล้ว
ปัญหา สุดท้าย ที่ ต้อง วินิจฉัย มี ว่า โจทก์ หรือ จำเลย มีสิทธิ ดีกว่ากัน ใน การ ใช้ เครื่องหมายการค้า สำหรับ สินค้า จำพวก ที่ 7 ปัญหา นี้ปรากฏ ตาม หนังสือ คู่ มือ รับ จดทะเบียน หนังสือ คู่ มือ ต่อ อายุ การจดทะเบียน และ สำเนา หนังสือ สัญญา โอน เครื่องหมายการค้า ว่าเครื่องหมายการค้า รูป "EKOMAG" เป็น เครื่องหมายการค้า ที่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด แหลมทองพัฒนาการยนต์ (1974) ได้ จดทะเบียน ไว้ ตั้งแต่ วันที่ 5 มีนาคม 2519 สำหรับ สินค้า จำพวก ที่ 6 ทั้ง จำพวกห้างหุ้นส่วนจำกัด ดังกล่าว ได้ ผลิต และ จำหน่าย เครื่องสูบ น้ำโดย ใช้ เครื่องหมายการค้า รูป "EKOMAG" ต่อมา เมื่อ วันที่ 23พฤษภาคม 2534 ห้างหุ้นส่วนจำกัด แหลมทองพัฒนาการยนต์ (1974) ได้ โอน เครื่องหมายการค้า ดังกล่าว ให้ โจทก์ และ โจทก์ ใช้ เครื่องหมายการค้า รูป "EKOMAG" กับ สินค้า จำพวก ที่ 6 ประเภท เครื่องสูบ น้ำ ต่อมา จำเลย เพิ่ง ยื่น คำขอ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า รูป "F.KOMAC" เมื่อ วันที่ 19 กันยายน 2534 สำหรับ สินค้า จำพวก ที่ 7 อันเป็นสินค้า ประเภท เครื่องจักร สำหรับ ใช้ ใน การ ทำไร่ นา เรือกสวนและ ส่วน ของ เครื่องจักร นั้น ๆ และ จำเลย ได้ ใช้ เครื่องหมายการค้า ของจำเลย กับ เครื่องสูบ น้ำ สำหรับ ใช้ ใน การ กสิกรรม เรือกสวน ไร่ นา ที่ ใช้กำลัง ไฟฟ้า ใน การเกษตร ประกอบ กับ ปรากฏ ตาม คำฟ้อง ของ โจทก์ซึ่ง จำเลย มิได้ ให้การ ปฏิเสธ และ สัญญา เลิก ห้างหุ้นส่วน ว่า จำเลยเคย เป็น หุ้นส่วน ผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด แหลมทองพัฒนาการยนต์ (1974) ร่วม กับ โจทก์ และ ทราบ ดี ถึง การ ที่ โจทก์ รับโอน เครื่องหมายการค้า รูป "F.EKOMAG" มา เป็น ของ โจทก์ ดังนี้ แม้ จำเลย จะ ยื่น คำขอ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า รูป "F.KOMAG" สำหรับ สินค้า จำพวก ที่ 7 ก่อน ที่ โจทก์ จะ ยื่น คำขอ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า รูป "EKOMAG" ตาม คำขอ เลขที่ 220271 ก็ ตาม แต่ โจทก์ ใช้ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ มา ก่อน จำเลยทั้ง เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย ยัง เหมือน หรือ คล้าย กับ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ จน ถึง นับ ได้ว่า เป็น การ ลวง สาธารณชน ให้ สับสน หลงผิดใน ความ เป็น เจ้าของ สินค้า ดัง ได้ วินิจฉัย มา แล้ว แม้ โจทก์จะ ใช้ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ กับ เครื่องสูบ น้ำ ทั่วไป และ จำเลยใช้ เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย กับ เครื่องสูบ น้ำ สำหรับ ใช้ ใน การกสิกรรม เรือกสวน ไร่ นา ซึ่ง เป็น สินค้า ต่าง จำพวก กัน ก็ ตาม ก็ ไม่ทำ ให้จำเลย มีสิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า พิพาท ดีกว่า โจทก์ โจทก์ จึง มีสิทธิดีกว่า จำเลย ใน การ ใช้ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ และ ของ จำเลยสำหรับ สินค้า จำพวก ที่ 7
พิพากษายืน