โจทก์ ฟ้อง ว่า เดิม จำเลย ที่ 1 เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดินโฉนด เลขที่ 8332 ตำบล สาลี อำเภอบางปลาม้า จังหวัด สุพรรณบุรี ร่วม กับ บุคคลอื่น เฉพาะ ส่วน ของ จำเลย ที่ 1 มี เนื้อที่ 20 ไร่ 3 งาน10 ตารางวา ต่อมา ปี 2530 จำเลย ที่ 1 ให้ โจทก์ เช่า ที่ดิน ดังกล่าวเพื่อ ทำนา มี กำหนด 3 ปี นับแต่ วันที่ 1 มกราคม 2531 ถึง วันที่31 ธันวาคม 2533 ซึ่ง ตาม พระราชบัญญัติ การเช่าที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรมพ.ศ. 2524 ถือว่า สัญญาเช่า นา ดังกล่าว มี กำหนด 6 ปี แต่ ต่อมาเดือน พฤษภาคม 2530 จำเลย ที่ 1 ได้ ขาย ที่ดิน ดังกล่าว ให้ แก่ จำเลยที่ 2 ใน ราคา 324,000 บาท การ โอน ที่ดิน ดังกล่าว ไม่ได้ แจ้ง การ ขายให้ โจทก์ ซึ่ง เป็น ผู้เช่า นา ทราบ ก่อน ตาม กฎหมาย โจทก์ ประสงค์จะซื้อ ที่ดิน ดังกล่าว จึง ได้ ยื่น คำร้อง ต่อ คณะกรรมการ การเช่าที่ดินเพื่อ เกษตรกรรม ประจำ ตำบล สาลี ต่อมา คณะกรรมการ ดังกล่าววินิจฉัย ให้ โจทก์ มีสิทธิ ซื้อ ที่ดิน ได้ จำเลย ทั้ง สอง ทราบ แล้วไม่ปฏิบัติ ตาม และ ไม่ได้ อุทธรณ์ คำวินิจฉัย ของ คณะกรรมการการเช่าที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรม ประจำ ตำบล สาลี ภายใน กำหนดต่อมา จำเลย ที่ 2 ได้ ฟ้องคดี จำเลย ที่ 1 ต่อ ศาลจังหวัด สุพรรณบุรีให้ โอน ที่ดิน ดังกล่าว ให้ และ ศาล พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 โอน ที่ดินให้ แก่ จำเลย ที่ 2 ซึ่ง จำเลย ที่ 2 ได้ จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์เรียบร้อย แล้ว ขอให้ เพิกถอน การ จดทะเบียน โอน ซื้อ ขาย ที่ดิน โฉนดเลขที่ 8332 ระหว่าง จำเลย ที่ 1 กับ จำเลย ที่ 2 และ ให้ จำเลย ที่ 1และ หรือ จำเลย ที่ 2 โอน ขาย ที่ดิน โฉนด เลขที่ 8332 เฉพาะ ส่วนซึ่ง เป็น กรรมสิทธิ์ ของ จำเลย เนื้อที่ 20 ไร่ 1 งาน 10 ตารางวาให้ แก่ โจทก์ ใน ราคา 324,000 บาท และ รับ ชำระ ราคา ที่ดิน ดังกล่าวจาก โจทก์ พร้อม กับ การ จดทะเบียน โอน ขาย กรรมสิทธิ์ ที่ดิน แก่ โจทก์ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ หาก ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา ของศาล แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า เมื่อ วันที่ 4 พฤษภาคม 2531 จำเลยที่ 1 ได้ ทำ สัญญาจะซื้อขาย ที่ดิน โฉนด เลขที่ 8332 ให้ แก่ จำเลย ที่ 2โดย ขาย ที่ดิน เฉพาะ ส่วน ของ จำเลย ที่ 1 ใน ราคา 324,000 บาท นัด โอนกรรมสิทธิ์ ใน วันที่ 15 กรกฎาคม 2531 ครั้น ถึง วันนัด จำเลย ที่ 1ไม่ยอม จดทะเบียน ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 จำเลย ที่ 2 จึง ฟ้อง จำเลย ที่ 1ตาม คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 1137/2531 ของ ศาลชั้นต้น ศาล พิพากษาให้ จำเลย ที่ 1 จดทะเบียน โอน ขาย ที่ดิน ที่พิพาท ให้ แก่ จำเลยที่ 2 ต่อมา จำเลย ที่ 1 สมคบ กับ โจทก์ ซึ่ง เป็น หลาน เขย ทำหนังสือ สัญญาเช่า ปลอม ขึ้น อ้างว่า โจทก์ เป็น ผู้เช่า นา พิพาท เพื่อ จะ ได้ใช้ สิทธิ ซื้อ คืน จาก จำเลย ที่ 2 หลังจาก คณะกรรมการ การเช่าที่ดินเพื่อ เกษตรกรรม ประจำ ตำบล สาลี วินิจฉัย ให้ โจทก์ ซื้อ ที่ดิน คืน ได้ แล้วจำเลย ที่ 2 ก็ ได้ ยื่น อุทธรณ์ ต่อ คณะกรรมการ การเช่าที่ดิน ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ภายใน เวลา ที่ กฎหมาย กำหนด แต่ จน บัดนี้ ยัง ไม่ได้ รับการ วินิจฉัย จาก คณะกรรมการ การเช่าที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรม ประจำจังหวัด สุพรรณบุรี ดังนั้น จึง ยัง ไม่ถึงที่สุด โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้องหาก โจทก์ มีสิทธิ ซื้อ ที่ดิน ที่พิพาท คืน จาก จำเลย ที่ 2 ก็ ต้อง ซื้อ ในราคา ไม่ ต่ำกว่า ไร่ ละ 50,000 บาท โจทก์ ฟ้องคดี เกิน ระยะเวลา30 วัน และ 60 วัน หลังจาก ทราบ มติ ของ คณะกรรมการ การเช่าที่ดินเพื่อ เกษตรกรรม ประจำ ตำบล สาลี คดี โจทก์ ขาดอายุความ ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 2 โอน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 8332ให้ แก่ โจทก์ โดย ให้ โจทก์ ใช้ เงิน ค่าที่ดิน ดังกล่าว จำนวน324,000 บาท ใน วัน โอน หาก จำเลย ที่ 2 ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอาคำพิพากษา ของ ศาล แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย ที่ 2 จำเลย ที่ 2 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน จำเลย ที่ 2 ฎีกา ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ข้อ แรก ตาม ฎีกา ของจำเลย ที่ 2 ว่า โจทก์ เป็น ผู้เช่า นา พิพาท ตาม ฟ้อง หรือไม่ ปัญหาดังกล่าว จำเลย ที่ 2 ได้ เบิกความ ไว้ ใน คดีแพ่ง หมายเลขดำ ที่752/2532 ของ ศาลชั้นต้น (ที่ ถูก คือ คดีแพ่ง หมายเลขดำ ที่ 752/2531คดี หมายเลขแดง ที่ 1137/2531) ซึ่ง เป็น คดี ที่ จำเลย ที่ 2 เป็น โจทก์ฟ้อง ขอให้ จำเลย ที่ 1 โอน ขาย ที่ดินพิพาท ตาม สัญญาจะซื้อจะขาย ว่าก่อน ไป ดู ที่ดินพิพาท เห็น มี คน ทำนา อยู่ และ ทราบ ว่า เป็น หลาน ของ จำเลยดังนั้น ข้อเท็จจริง ที่ จำเลย ที่ 2 ยอมรับ ดังกล่าว จึง รับฟัง ได้ ตรง กับทางนำสืบ ของ โจทก์ ว่า ใน ขณะที่ จำเลย ที่ 1 ทำ สัญญาจะซื้อจะขาย นา คือที่ดินพิพาท กับ จำเลย ที่ 2 นั้น มี โจทก์ เป็น ผู้เช่า ที่ดินพิพาทส่วน ของ จำเลย ที่ 1 เนื้อที่ 20 ไร่ 1 งาน 10 ตารางวา ทำนา อยู่ จริงและ เป็น ผู้เช่า ที่ดินพิพาท ทำนา เรื่อย มา แม้ แต่ ใน ขณะที่ จำเลย ที่ 2โอน ที่ดินพิพาท เป็น ของ ตน ที่ จำเลย ที่ 2 อ้างว่า โจทก์ ไม่ใช่ ผู้เช่าที่ดินพิพาท ทำนา นั้น ไม่มี น้ำหนัก รับฟัง ปัญหา ต่อไป ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 2 มี ว่า โจทก์ มีสิทธิซื้อ ที่ดินพิพาท เฉพาะ ส่วน ของ จำเลย ที่ 1 คืน จาก จำเลย ที่ 2 หรือไม่ใน ราคา เท่าใด เมื่อ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ดังกล่าว ข้างต้น ว่า โจทก์ เป็นผู้เช่า ที่ดินพิพาท ทำนา อยู่ ใน ขณะที่ จำเลย ที่ 1 โอน ขาย ให้ แก่ จำเลยที่ 2 นั้น ก่อน จะขาย จำเลย ที่ 1 จึง มี หน้าที่ ต้อง ปฏิบัติ ตามพระราชบัญญัติ การเช่าที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 53เสีย ก่อน กล่าว คือ จำเลย ที่ 1 ผู้ให้เช่า นา ต้อง แจ้ง ให้ โจทก์ ซึ่งเป็น ผู้เช่า นา ทราบ โดย ทำ เป็น หนังสือ แสดง ความจำนง จะขาย นาพร้อม ทั้ง ระบุ ราคา ที่ จะขาย และ วิธีการ ชำระ เงิน ยื่น ต่อ ประธานคณะกรรมการ การเช่าที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรม ประจำ ตำบล สาลี (คชก. ตำบล สาลี ) เพื่อ แจ้ง ให้ โจทก์ ผู้เช่า นา ทราบ ภายใน สิบ ห้า วันเสีย ก่อน ถ้า โจทก์ ผู้เช่า นา ไม่ ซื้อ ตาม ที่ บัญญัติ ไว้ ในมาตรา 53 วรรคสาม จำเลย ที่ 1 จึง จะขาย ให้ จำเลย ที่ 2 ได้ ต่อไปเมื่อ จำเลย ที่ 1 ไม่ปฏิบัติ ตาม บทบัญญัติ ของ กฎหมาย ดังกล่าวโจทก์ จึง อยู่ ใน ฐานะ เป็น ผู้มีสิทธิ ซื้อ ที่ดินพิพาท เฉพาะ ส่วน ของจำเลย ที่ 1 ก่อน ตาม พระราชบัญญัติ การเช่าที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรมพ.ศ. 2524 มาตรา 54) เมื่อ โจทก์ ได้ ร้อง ต่อ คชก. ตำบล สาลี เพื่อ ขอ ซื้อ ที่ดินพิพาท เฉพาะ ส่วน ของ จำเลย ที่ 1 ตาม สิทธิ ใน กฎหมายดังกล่าว และ คชก. ตำบล สาลี ก็ ได้ วินิจฉัย ให้ โจทก์ มีสิทธิ ซื้อ ที่ดินพิพาท เฉพาะ ส่วน ของ จำเลย ที่ 1 คืน จาก จำเลย ที่ 2 จำเลย ที่ 2ไม่ได้ ยื่น อุทธรณ์ คำวินิจฉัย ของ คชก. ตำบล สาลี ต่อ คณะกรรมการ การ เช่าที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรม ประจำจังหวัด สุพรรณบุรี(คชก. จังหวัด สุพรรณบุรี ) ภายใน กำหนด เวลา ตาม ที่ บัญญัติ ไว้ใน มาตรา 56 แห่ง พระราชบัญญัติ การเช่าที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรมพ.ศ. 2524 ดังนั้น คำวินิจฉัย ของ คชก. ตำบล สาลี จึง ถึงที่สุด ส่วน ปัญหา ว่า โจทก์ จะ ต้อง ซื้อ คืน ใน ราคา เท่าใด นั้น ข้อ นี้จำเลย ที่ 2 ฎีกา ว่า โจทก์ จะ ต้อง ซื้อ คืน ใน ราคา ไร่ ละ 50,000 บาทอ้างว่า เป็น ราคา ท้องตลาด ใน ขณะที่ โจทก์ ขอ ซื้อ คืน เห็นว่า ตามพระราชบัญญัติ การเช่าที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 54วรรคหนึ่ง ได้ บัญญัติ ว่า "ถ้า ผู้ให้เช่า นา ขาย นา ไป โดย มิได้ ปฏิบัติ ตามมาตรา 53 ไม่ว่า นา นั้น จะ ถูก โอน ต่อไป ยัง ผู้ใด ผู้เช่า นา มีสิทธิซื้อ นา จาก ผู้รับโอน นั้น ตาม ราคา และ วิธีการ ชำระ เงิน ที่ ผู้รับโอน ซื้อไว้ หรือ ตาม ราคา ตลาด ใน ขณะ นั้น แล้วแต่ ราคา ใด จะ สูง กว่า กัน ฯลฯ "ซึ่ง เห็น ได้ว่า บทบัญญัติ ดังกล่าว มี ความมุ่งหมาย จะ คุ้มครอง สิทธิของ ผู้เช่า นา ที่ จะซื้อ นา ที่ เช่า อยู่ ก่อน บุคคลอื่น คำ ว่า "ราคา ตลาดใน ขณะ นั้น " จึง หมายถึง ราคา ตลาด ใน ขณะ ผู้ให้เช่า นา โอน ขาย นา ให้ แก่ผู้รับโอน มิใช่ ราคา ตลาด ใน ขณะ ผู้ให้เช่า นา โอน ขาย นา ให้ แก่ ผู้รับโอนมิใช่ ราคา ตลาด ใน ขณะ ผู้เช่า นา ใช้ สิทธิ ขอ ซื้อ นา คืน ดัง ที่ จำเลย ที่ 2ฎีกา อนึ่ง เกี่ยวกับ การ ขอ ซื้อ นา คืน ตาม มาตรา 54 วรรคหนึ่งซึ่ง อยู่ ใน อำนาจ หน้าที่ ของ คชก. ตำบล จะ พิจารณา วินิจฉัย นี้ แม้พระราชบัญญัติ การเช่าที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรม พ.ศ. 2524 จะ บัญญัติใน มาตรา 56 วรรคสอง ว่า คำวินิจฉัย ของ คชก. ตำบล ที่ มิได้ อุทธรณ์ตาม มาตรา 56 วรรคหนึ่ง ให้ เป็น ที่สุด และ ใน มาตรา 58 วรรคหนึ่ง ว่าใน กรณี มี การ ฝ่าฝืน หรือไม่ ปฏิบัติ ตาม คำวินิจฉัย ดังกล่าว เมื่อ ผู้ มีส่วนได้เสีย ร้องขอ ต่อ ศาล ใน การ พิจารณา ของ ศาล ให้ ถือว่าคำวินิจฉัย ดังกล่าว เป็น คำชี้ขาด ของ อนุญาโตตุลาการ โดย ให้ นำ บทบัญญัติว่าด้วย การ พิจารณา พิพากษา ตาม คำชี้ขาด ของ อนุญาโตตุลาการ ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มา ใช้ บังคับ แก่ การ พิจารณาพิพากษา ตาม คำวินิจฉัย ดังกล่าว ใน กรณี นี้ โดย อนุโลม ซึ่ง การ พิจารณาดังกล่าว นี้ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 221 บัญญัติให้ เป็น ไป ตาม กฎหมาย ว่าด้วย อนุญาโตตุลาการ คือ ข้อ พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 ที่ บัญญัติ ใน มาตรา 24 วรรคหนึ่ง ว่า"ใน กรณี ที่ ศาล เห็นว่า คำชี้ขาด ใด ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่ ใช้ บังคับแก่ ข้อพิพาท นั้น หรือ เป็น คำชี้ขาด ที่ เกิดจาก การกระทำ หรือ วิธีการ อัน มิชอบ อย่างใด อย่างหนึ่ง หรือ มิได้ อยู่ ใน ขอบเขต แห่ง สัญญาอนุญาโตตุลาการ ที่ มีผล ผูกพัน ตาม กฎหมาย หรือ คำขอ ของ คู่กรณีให้ ศาล มีอำนาจ ทำ คำสั่ง ปฏิเสธ ไม่รับ บังคับ ตาม คำชี้ขาด นั้น " และ ในมาตรา 24 วรรคสอง ว่า "ใน กรณี ที่ คำชี้ขาด ใด มี ความ บกพร่องอัน มิใช่ สาระสำคัญ และ อาจ แก้ไข ให้ ถูกต้อง ได้ เช่น การ คำนวณตัวเลข หรือ การ กล่าวอ้าง ถึง บุคคล หรือ ทรัพย์ สิ่ง ใด ผิดพลาด ไปศาล อาจ แก้ไข ให้ ถูกต้อง และ มี คำพิพากษา ให้ บังคับ ตาม คำชี้ขาด ที่ แก้ไขแล้ว นั้น ได้ " แต่ ก็ เห็น ได้ว่า การ นำ บทบัญญัติ ว่าด้วย การ พิจารณาพิพากษา ตาม คำชี้ขาด ของ อนุญาโตตุลาการ ดังกล่าว มา ใช้ บังคับ แก่การ พิจารณา พิพากษา บังคับ ตาม คำวินิจฉัย ที่ ถึงที่สุด ของ คชก. ตำบลจะ ต้อง นำ บทบัญญัติ ดังกล่าว มา ใช้ บังคับ เพียง เท่าที่ ไม่ ขัด ต่อ สภาพความชอบ ด้วย กฎหมาย ของ คำวินิจฉัย ถึงที่สุด ของ คกช.ตำบล กล่าว คือใน ข้อ ที่ ว่า ราคา ที่ คชก. ตำบล วินิจฉัย ให้ ผู้รับโอน ขาย นา ให้ แก่ผู้เช่า นา เป็น ราคา ตาม พระราชบัญญัติ การเช่าที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรมพ.ศ. 2524 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง หรือไม่ มิใช่ ข้อ ที่ เป็น ดุลพินิจเด็ดขาด ของ คชก. ตำบล ใน การ พิจารณา ว่า จะ พิพากษา บังคับตาม คำวินิจฉัย ของ คชก. ตำบล หรือไม่ ศาล ย่อม ต้อง พิจารณา ว่า ราคา ที่คชก. ตำบล วินิจฉัย มา เป็น ราคา ตาม บทบัญญัติ ดังกล่าว หรือไม่ถ้า มิใช่ ศาล ย่อม พิจารณา จาก พยานหลักฐาน และ กำหนดราคาให้ ถูกต้อง แล้ว พิพากษา ให้ บังคับ ให้ ขาย ตาม ราคา ที่ กำหนด ไป ได้สำหรับ คดี นี้ คชก. ตำบล สาลี วินิจฉัย ให้ จำเลย ที่ 2 ซึ่ง เป็น ผู้รับโอนขาย นา แก่ โจทก์ ซึ่ง เป็น ผู้เช่า นา ใน ราคา และ วิธี ชำระ เงิน ตามพระราชบัญญัติ การเช่าที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรม พ.ศ. 2524 ต่อไปโดย ไม่ กำหนด ให้ ชัดแจ้ง ว่า ราคา และ วิธี ชำระ เงิน ดังกล่าว เป็น อย่างใดจึง เป็น อำนาจ หน้าที่ ของ ศาล ที่ จะ พิจารณา กำหนด จาก พยานหลักฐานใน สำนวน เมื่อ พิจารณา ว่า จะ พิพากษา บังคับ ตาม คำวินิจฉัย ดังกล่าว และ จากการ พิจารณา ของ ศาล เมื่อ โจทก์ และ จำเลย ที่ 2 ไม่ได้ นำสืบ ว่าตาม ราคา ตลาด ใน ขณะที่ จำเลย ที่ 2 ซื้อ จาก จำเลย ที่ 1 เมื่อ ปี 2531นั้น มี ราคา ไร่ ละ เท่าใด จึง ต้อง ฟัง ว่า ราคา ที่ จำเลย ที่ 2 ซื้อ จากจำเลย ที่ 1 ใน ขณะ นั้น ซึ่ง จำเลย ที่ 2 ก็ ยอมรับ ว่า เป็น ราคา ที่ พอสมควรเป็น ราคา ตลาด ใน ขณะที่ จำเลย ที่ 2 รับโอน ที่ดินพิพาท มาจาก จำเลย ที่ 1ซึ่ง คู่ความ ทั้ง สอง ฝ่าย ยอมรับ ว่า ได้ ตกลง ซื้อ ขาย กัน มา ใน ราคา รวมทั้งสิ้น 324,000 บาท ดังนี้ โจทก์ จึง มีสิทธิ ซื้อ ที่ดินพิพาทเฉพาะ ส่วน ของ จำเลย ที่ 1 คืน จาก จำเลย ที่ 2 ใน ราคา ดังกล่าว พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ โจทก์ ชำระ ราคา ที่ จะ ขอ ซื้อ คืน ภายในหก สิบ วัน นับแต่ วัน อ่าน คำพิพากษา ของ ศาลฎีกา มิฉะนั้น ให้ ถือว่าโจทก์ ไม่ติดใจ ขอ ซื้อ คืน นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลอุทธรณ์