ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีเมื่อโจทก์ขาดนัด และผลกระทบต่อคดีฟ้องแย้ง: ศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาฟ้องแย้งต่อไป
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ในคดีแรงงานนัดแรก ทนายจำเลยมาศาลส่วนโจทก์ทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 วรรคแรกประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ให้ศาลแรงงานมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์เสียจากสารบบความก็ตาม แต่คดีนี้จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ จำเลยจึงมีฐานะเป็นโจทก์ตามฟ้องแย้งและโจทก์ เดิมจึงตกเป็นจำเลยตามฟ้องแย้ง ต้องถือว่าโจทก์ตามฟ้องแย้ง มาศาลแล้ว และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 202 บัญญัติว่า ถ้าได้ส่งหมายกำหนดวัดนัดสืบพยานให้จำเลยทราบโดยชอบแล้ว จำเลยขาดนัดพิจารณา ให้ศาลมีคำสั่ง แสดงว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา แล้วให้พิจารณาและชี้ขาด ตัดสิน คดีนั้นไปฝ่ายเดียว ซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับแก่การ ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้ง กับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติโดยอนุโลม แม้การที่ ศาลแรงงานมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์อันทำให้ไม่มีคำฟ้องเดิม ที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปก็ตาม แต่ก็ยังมีตัวโจทก์ ที่ยังคงเป็นจำเลยของฟ้องแย้งอยู่ต่อไปจึงมีคู่ความครบถ้วน ทั้งสองฝ่ายที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ ดังนี้ การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งจำหน่ายคดีทั้งหมด รวมทั้งคดี ตามฟ้องแย้งของจำเลยออกเสียจากสารบบความเพราะเหตุโจทก์ ขาดนัดพิจารณา จึงเป็นการไม่ชอบ