โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 11 กรกฎาคม 2536 จำเลย ทำหนังสือ รับสภาพหนี้ ว่า เป็น หนี้ เงิน ยืม โจทก์ 48,000 บาท ตกลง ผ่อนชำระหนี้ ทุกวัน ที่ 5 ของ เดือน เดือน ละ 1,500 บาท เริ่ม ชำระ ตั้งแต่เดือน สิงหาคม 2536 เป็นต้น ไป แต่ จำเลย ไม่เคย ชำระ โจทก์ ทวงถามแล้ว จำเลย เพิกเฉย ขอให้ บังคับ จำเลย ชำระ เงิน 50,229 บาท พร้อมดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี ใน ต้นเงิน 48,000 บาท นับ ถัด จากวันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ศาลชั้นต้น กำหนด นัด สืบพยานโจทก์วันที่ 27 ธันวาคม 2536 ต่อมา วันที่ 21 ธันวาคม 2536 จำเลย ยื่นคำร้องขอ อนุญาต ยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้น สั่ง ว่า นัด ไต่สวน คำร้องโดย มิได้ กำหนด วันนัด แต่ ให้ จำเลย นำ ส่ง สำเนา คำร้อง ให้ โจทก์ ภายใน 7 วันหาก ไม่พบ หรือไม่ มี ผู้รับ หมาย โดยชอบ ให้ ปิด หมาย
ใน วันนัด สืบพยานโจทก์ วันที่ 27 ธันวาคม 2536 ศาลชั้นต้น ถือว่าเป็น วันนัด ไต่สวน ด้วย จำเลย ไม่มา ศาล จึง มี คำสั่ง ว่า จำเลย ไม่มีพยานหลักฐาน มา สนับสนุน คำร้องขอ อนุญาต ยื่นคำให้การ จึง ยกคำร้องและ มี คำสั่ง ว่า จำเลย ขาดนัดพิจารณา แล้ว พิจารณา คดี โจทก์ ฝ่ายเดียว
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน 50,229 บาท พร้อมดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี ใน ต้นเงิน 48,000 บาท นับ ถัด จากวันฟ้อง (วันที่ 2 พฤศจิกายน 2536) จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายก คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ให้ ศาลชั้นต้นดำเนิน กระบวนพิจารณา ตาม คำร้องของ จำเลย ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2536ต่อไป แล้ว พิพากษา ใหม่ ตาม รูปคดี
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า แม้ ศาลชั้นต้น จะ กำหนด วันนัด สืบพยานโจทก์ไว้ ใน วันที่ 27 ธันวาคม 2536 และ จำเลย ทราบ นัด ดังกล่าว แล้ว ก็ ตามแต่ก่อน ถึง วันนัด สืบพยานโจทก์ ดังกล่าว จำเลย ได้ ยื่น คำร้องขอ อนุญาตยื่นคำให้การ เมื่อ วันที่ 21 ธันวาคม 2536 โดย อ้างว่า จำเลย ได้รับหมายเรียก และ สำเนา คำฟ้อง ของ โจทก์ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2536 จึง ได้ติดต่อ โจทก์ โจทก์ นัด ให้ จำเลย มา ทำ ยอม ที่ ศาล วันที่ 17 ธันวาคม 2536ครั้น ถึง กำหนด นัด โจทก์ ไม่มา ศาล โจทก์ หลอกลวง จำเลย เพื่อ ให้ พ้น กำหนดระยะเวลา ยื่นคำให้การ จำเลย มิได้ จงใจ ขาดนัด ยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นสั่ง คำร้อง จำเลย ใน วัน ดังกล่าว ว่า "สำเนา ให้ โจทก์ นัด ไต่สวน ให้ จำเลยนำ ส่ง ภายใน 7 วัน ไม่พบ หรือไม่ มี ผู้รับ ให้ ปิด " ดังนี้ ตาม คำสั่งดังกล่าว จำเลย จะ ต้อง นำ ส่ง สำเนา ให้ แก่ โจทก์ ภายใน วันที่ 28 ธันวาคม2536 ซึ่ง ยัง ไม่แน่ นอน ว่า จะ ส่งหมาย ให้ แก่ โจทก์ ได้ หรือไม่ หรือ อาจจะต้อง ปิด หมาย ตาม คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น และ กรณี ดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลย ได้ แจ้ง ให้ ศาล ทราบ ก่อน เริ่ม สืบพยาน ถึง เหตุ ที่ ตน มิได้ ยื่นคำให้การ ทั้ง ข้อเท็จจริง ยัง ไม่ปรากฏ ชัด ว่า จำเลย จงใจ ขาดนัด ยื่นคำให้การ หรือไม่ หรือ ว่า จำเลย มีเหตุ สมควร ประการอื่น อย่างใดศาล ชอบ ที่ จะ ได้ ทำการ ไต่สวน เสีย ก่อน ก่อน ที่ จะ มี คำสั่ง อนุญาต หรือไม่อนุญาต ให้ จำเลย ยื่นคำให้การ ทั้ง เมื่อ ปรากฏว่า ศาลชั้นต้น สั่ง นัดไต่สวน ไว้ แม้ จะ มิได้ กำหนด วันนัด ไต่สวน ไว้ ด้วย ก็ ตาม ก็ ต้อง ถือว่าคดี อยู่ ระหว่าง การ นัด ไต่สวน คำร้อง ดังกล่าว ฉะนั้น ที่ ศาลชั้นต้นกำหนด วันนัด สืบพยานโจทก์ ไว้ ใน วันที่ 27 ธันวาคม 2536 ซึ่ง ยัง อยู่ใน ระยะเวลา ที่ ศาลชั้นต้น กำหนด ให้ จำเลย นำ ส่ง สำเนา คำร้องขอ อนุญาตยื่นคำให้การ ให้ แก่ โจทก์ นั้น ย่อม ถือว่า ยกเลิก ไป โดย ปริยาย จนกว่าศาลชั้นต้น จะ ดำเนินการ ไต่สวน แล้ว เสร็จ และ มี คำสั่ง อนุญาต หรือไม่อนุญาต ให้ จำเลย ยื่นคำให้การ เสีย ก่อน ที่ ศาลชั้นต้น จด รายงานกระบวนพิจารณา ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2536 ว่า นัด สืบพยานโจทก์ และนัด ไต่สวน ขออนุญาต ยื่นคำให้การ ของ จำเลย จำเลย ไม่มา ศาล ใน วัน ดังกล่าวถือว่า จำเลย ไม่มี พยานหลักฐาน มา สนับสนุน คำร้อง ให้ ฟังได้ ว่าการ ขาดนัด ยื่นคำให้การ ของ จำเลย มิได้ เป็น ไป โดย จงใจ และ ยกคำร้อง นั้นจึง เป็น การ ดำเนิน กระบวนพิจารณา ที่ ไม่ชอบ ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 199 วรรคหนึ่ง และ วรรคสอง เพราะ ศาลชั้นต้น มิได้นัด ไต่สวน คำร้องขอ ยื่นคำให้การ ของ จำเลย ใน วัน ดังกล่าว และ การ ที่สั่ง ว่า จำเลย ขาดนัดพิจารณา และ สืบพยานโจทก์ ไป ฝ่ายเดียว ก็ เป็น การดำเนิน กระบวนพิจารณา ที่ ไม่ชอบ เช่นกัน เพราะ คดี ยัง อยู่ ใน ระหว่างระยะเวลา ที่ ศาลชั้นต้น กำหนด ให้ จำเลย นำ ส่ง สำเนา คำร้องขอ ยื่นคำให้การแก่ โจทก์ และ วันนัด สืบพยานโจทก์ เป็น อัน ยกเลิก ไป ดัง ได้ วินิจฉัย แล้วศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษา ชอบแล้ว ฎีกา ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน