ผู้ร้อง ยื่น คำร้องขอ เป็น ผู้จัดการมรดก (มี พินัยกรรม ) ของนาย สม อนุชน และ เป็น ผู้จัดการมรดก (ไม่มี พินัยกรรม ) ของ นาง เตย พานิชย์หรืออนุชน
ผู้คัดค้าน ยื่น คำคัดค้าน ว่า พินัยกรรม ปลอม ผู้ร้อง มิใช่ทายาทโดยธรรม ของ เจ้ามรดก ขอให้ ยกคำร้อง ขอ และ มี คำสั่ง ตั้ง ผู้คัดค้านเป็น ผู้จัดการมรดก ของ นาย สม อนุชน
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว มี คำสั่ง ตั้ง ผู้ร้อง เป็น ผู้จัดการมรดกของ นาย สม อนุชน ยก คำขอ อื่น และ ยก คำขอ ของ ผู้คัดค้าน ค่าฤชาธรรมเนียม ให้ เป็น พับ
ผู้คัดค้าน อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียม ชั้นอุทธรณ์ให้ เป็น พับ
ผู้คัดค้าน ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ที่ ผู้คัดค้าน ฎีกา ว่า แม้ ผู้ร้อง จะ เป็นทายาท ของ นาย สม อนุชน แต่ มิได้ เป็น ทายาท หรือ มี ส่วนได้เสีย ใน มรดก ของ นาง เตย พานิชย์หรืออนุชน ผู้ร้อง จึง ไม่มี สิทธิ ยื่น คำร้อง ขอเป็นผู้จัดการมรดก ของ บุคคล ทั้ง สอง ใน ฉบับ เดียว กัน ชอบ ที่ ศาลจะ ยกคำร้อง ขอ ของ ผู้ร้อง นั้น ปรากฏว่า ใน ชั้นอุทธรณ์ ผู้คัดค้านก็ ได้ อุทธรณ์ ใน ประเด็น นี้ แต่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 เห็นว่า ไม่เป็น สาระแก่ คดี อันควร ได้รับ การ วินิจฉัย จึง ไม่รับ วินิจฉัย ให้ จะ เห็น ได้ว่าฎีกา ผู้คัดค้าน ดังกล่าว ไม่ได้ โต้แย้ง คัดค้าน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ภาค 1 ว่า ไม่ถูกต้อง อย่างไร และ ที่ ถูกต้อง ควร จะ เป็นอย่างไร จึง เป็น ฎีกา ที่ ไม่ ชัดแจ้ง ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย
ส่วน ที่ ผู้คัดค้าน ฎีกา ว่า ทรัพย์ ที่ ระบุ ไว้ ใน พินัยกรรมเอกสาร หมาย ร.1 นาย สม มี ชื่อ เป็น เจ้าของร่วม กับ นาง เตย เฉพาะ ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. ) เลขที่ 5195ตำบล บ้านไผ่ จังหวัด ขอนแก่น เท่านั้น ส่วน ที่ดิน ตาม หนังสือ รับรอง การ ทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. ) เลขที่ 736 ตำบล บ้านไผ่ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัด ขอนแก่น มี ชื่อ นาง เตย เป็น เจ้าของ คนเดียว ซึ่ง เมื่อ ทรัพย์ ที่ ระบุ ไว้ ใน พินัยกรรม เอกสาร หมาย ร.1 ไม่ใช่ ของ นาย สม พินัยกรรม ดังกล่าว จึง ขัด ต่อ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1646 ฟัง ไม่ได้ว่า เป็น พินัยกรรม นั้น เห็นว่า แม้ ข้อเท็จจริง จะ เป็น ดัง ที่ผู้คัดค้าน ฎีกา ก็ หา ทำให้ พินัยกรรม เอกสาร หมาย ร.1 เป็น โมฆะ ไม่เพราะ พินัยกรรม เฉพาะ ที่ดิน ใน ส่วน ที่ เป็น สิทธิ ของ เจ้ามรดก ย่อม สมบูรณ์ทั้ง ชั้น นี้ เป็น เพียง การ ขอเป็นผู้จัดการมรดก เท่านั้น ยัง ไม่มีประเด็น เรื่อง การ แบ่ง มรดก ซึ่ง ถ้า ข้อเท็จจริง เป็น ดัง ที่ ผู้คัดค้านฎีกา ก็ ต้อง ไป ว่ากล่าว กัน ต่างหาก ฎีกา ผู้คัดค้าน ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้นเช่นเดียวกัน
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียม ชั้นฎีกา ให้ เป็น พับ