ผู้ร้อง ทั้ง หก ยื่น คำร้องขอ ว่า บริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1 มีผู้ถือหุ้น ทั้งหมด 60,000 หุ้น มูลค่า หุ้น ละ 100 บาท แต่ เรียกเก็บเข้า ทุน ไว้ หุ้น ละ 50 บาท ทั้งหมด ผู้ร้อง ทั้ง หก ถือ หุ้น รวมกัน ทั้งสิ้น4,733 หุ้น เกินกว่า 1 ใน 20 แห่ง ทุน ของ บริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1ทั้งหมด เมื่อ วันที่ 29 เมษายน 2534 ได้ มี มติ โดย ที่ ประชุมใหญ่และ วันที่ 3 มิถุนายน 2534 ได้ มี มติ พิเศษ ที่ ประชุมใหญ่ ผู้ถือหุ้นให้ เลิก บริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1 ซึ่ง มิใช่ เพราะ เหตุ ล้มละลาย และ มีผู้ถือหุ้น เสนอ ที่ ประชุมใหญ่ ให้ เลือก ผู้ชำระบัญชี ใหม่ แทนที่กรรมการ บริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1 เนื่องจาก กรรมการ บริษัท ผู้คัดค้านที่ 1 ไม่มี ความเหมาะสม เพราะ กรรมการ บริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1 ทุกคนถูก ฟ้อง ข้อหา ยักยอก ทรัพย์สิน ของ บริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1 แต่นาย พูนสุข โชติพัฒน์ ประธาน ที่ ประชุม ไม่ยอม รับ ญัตติที่ ผู้ถือหุ้น เสนอ และ ได้ ใช้ อำนาจ แต่งตั้ง กรรมการ บริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1 เป็นชำระ บัญชี โดย ไม่ ขอมติ ที่ ประชุมใหญ่ ผู้ถือหุ้น นอกจาก นี้ นาย พูนสุข ยัง ไม่ได้ เสนอ ขอให้ ที่ ประชุมใหญ่ ผู้ถือหุ้น รับรอง ให้ กรรมการ บริษัทผู้คัดค้าน ที่ 1 คง เป็น ผู้ชำระบัญชี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1456(1) ต่อมา วันที่ 10 มิถุนายน 2534 ผู้ชำระบัญชี ได้ นำบอก ให้ นายทะเบียน หุ้นส่วน บริษัท จังหวัด น่าน จดทะเบียน ผู้ชำระบัญชีผู้ร้อง ทั้ง หก จึง คัดค้าน การ จดทะเบียน ไว้ ขอให้ ศาล มี คำสั่ง ระงับ การจดทะเบียน ผู้ชำระบัญชี ของ บริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1 และ สั่ง แต่งตั้งนาย ปรีชา ดำรงค์ นายจันทร์ แผลงศร นายสุเนตร เลี้ยงสมบูรณ์ นาย นิรันต์ ศรีเทพ นายวิเชียร วงศ์ไพบูลย์วัฒน นาย ไพโรจน์ ตั้งจิตนุสรณ์ และนายชูชาติ ซึ้งดำรงค์ เป็น ผู้ชำระบัญชี
ผู้คัดค้าน ทั้ง ห้า ยื่น คำ ค้าน ว่า เมื่อ บริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1เลิกกัน และ ข้อบังคับ ของ บริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1 มิได้ กำหนด ไว้เป็น อย่างอื่น กรรมการ บริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1 ย่อม ต้อง เป็นผู้ชำระบัญชี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1251ผู้ชำระบัญชี ได้ ดำเนินการ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1253แล้ว แต่ ผู้ร้อง บางคน ได้ ขอให้ ระงับ การ จดทะเบียน ไว้ ผู้ชำระบัญชีจึง ยัง ไม่อาจ ดำเนินการ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1256ที่ ผู้ชำระบัญชี ถูก ฟ้องคดี อาญา เนื่องจาก ผู้ร้อง บางคน เป็น ผู้ ฟ้องเพื่อ หวัง ทำลาย ชื่อเสียง ของ ผู้ชำระบัญชี แล้ว เสนอ ตนเอง เป็น กรรมการ แทนผู้ที่ ผู้ร้อง ทั้ง หก ขอให้ ตั้ง เป็น ผู้ชำระบัญชี อันดับ 3 และ อันดับ 5ไม่ เหมาะสม เพราะ กำลัง เป็น คดี อยู่ กับ บริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1ขอให้ ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว เห็นว่า กรรมการ บริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1ที่ เป็น ผู้ชำระบัญชี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1251จะ ต้อง ให้ ที่ ประชุมใหญ่ ผู้ถือหุ้น รับรอง อีก ครั้งหนึ่ง เมื่อที่ ประชุมใหญ่ ผู้ถือหุ้น ยัง ไม่ได้ รับรอง กรรมการ บริษัท ผู้คัดค้านที่ 1 จึง ยัง ไม่เป็น ผู้ชำระบัญชี โดยชอบ ด้วย กฎหมาย กรณี ถือว่าไม่มี ผู้ชำระบัญชี ผู้ร้อง ทั้ง หก เป็น ผู้ถือหุ้น เป็น ผู้มีส่วนได้เสียมีอำนาจ ร้องขอ ให้ ศาล ตั้ง ผู้ชำระบัญชี ได้ ประกอบ กับ เหตุ ตาม คำร้องขอนับ ว่า มีเหตุอันสมควร จึง มี คำสั่ง ตั้ง นาย ปรีชา ดำรงค์ นาย จันทร์ แผลงศร นายสุเนตร เลี้ยงสมบูรณ์ นายนิรันต์ ศรีเทพ นาย ไพโรจน์ ตั้งจิตรนุสรณ์ นายชูชาติ ซึ้งดำรงค์ นาย วิชาญ ปรีดาสุวรรณ และนายบุญช่วย ทนันไชย เป็น ผู้ชำระบัญชี ของ บริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1 และ ให้ มีสิทธิ และ หน้าที่ ตาม กฎหมาย ต่อไป
ผู้คัดค้าน ทั้ง ห้า อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษากลับ ให้ยก คำร้อง
ผู้ร้อง ทั้ง หก ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า "ทางพิจารณา คู่ความ นำสืบ ข้อเท็จจริงรับ กัน ฟัง เป็น ยุติ ได้ว่า เมื่อ วันที่ 3 มิถุนายน 2534 ที่ ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น บริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1 ได้ มี มติ พิเศษ ให้ เลิก บริษัทผู้คัดค้าน ที่ 1 มี ผู้ถือหุ้น บางคน เสนอ ต่อ ที่ ประชุมใหญ่ ให้ ตั้งผู้อื่น เป็น ผู้ชำระบัญชี แทน กรรมการ บริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1 เนื่องจากกรรมการ บริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1 ทุกคน ถูก ฟ้อง ข้อหา ยักยอก ทรัพย์สินของ บริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1 แต่ คณะกรรมการ ยืนยัน ขอรับ เป็น ผู้ชำระบัญชีและ นาย พูนสุข โชติพัฒน์ ประธาน กรรมการ ยืนยัน จะ ตั้ง กรรมการ บริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1 เป็น ผู้ชำระบัญชี ผู้ร้อง และ ผู้ถือหุ้น บางส่วน จึงลุก ออกจาก ที่ ประชุม แต่ ยัง มี ผู้ถือหุ้น เหลือ อยู่ ครบ องค์ประชุมนาย พูนสุข ประธาน กรรมการ จึง แต่งตั้ง กรรมการ บริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1เป็น ผู้ชำระบัญชี ปรากฏ ตาม รายงาน การ ประชุมใหญ่ วิสามัญ ผู้ถือหุ้นเอกสาร หมาย ร.11 หรือ ค.3 หลังจาก นั้น จน ถึง ปัจจุบัน ยัง ไม่มีการ ประชุม รับรอง การ ตั้ง ผู้ชำระบัญชี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกาของ ผู้ร้อง ทั้ง หก ประการ แรก ว่า บริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1 มี ผู้ชำระบัญชีหรือไม่ ศาลฎีกา ได้ พิเคราะห์ รายงาน การ ประชุมใหญ่ วิสามัญ ผู้ถือหุ้นเอกสาร หมาย ร.11 หรือ ค.3 แล้ว ตาม ระเบียบ วาระ ที่ 4 เรื่อง การตั้ง ผู้ชำระบัญชี มี ผู้ เสนอ ให้ ตั้ง กรรมการ บริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1เป็น ผู้ชำระบัญชี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1251ได้ มี ผู้ถือหุ้น เสนอ ให้ เลือก ผู้ชำระบัญชี ใหม่ แทน กรรมการ บริษัทผู้คัดค้าน ที่ 1 เนื่องจาก กรรมการ บริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1 ไม่มีความเหมาะสม เพราะ ถูก ฟ้อง ข้อหา ยักยอก ทรัพย์สิน ของ ผู้คัดค้าน ที่ 1แต่ การ ตั้ง ผู้ชำระบัญชี แต่ คดี นี้ ได้ มี การ ตั้ง ผู้ชำระบัญชี แล้วและ ที่ ผู้ร้อง ทั้ง หก อ้างว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1256(1) บัญญัติ ต่อไป อีก ว่า ให้ ที่ ประชุมใหญ่ รับรอง ว่ากรรมการ บริษัท คง เป็น ผู้ชำระบัญชี ต่อไป หรือ เลือกตั้งผู้ชำระบัญชี ใหม่ ขึ้น แทน แสดง ว่า กรรมการ บริษัท เป็น ผู้ชำระบัญชียัง ไม่สมบูรณ์ จึง ต้อง ให้ ที่ ประชุมใหญ่ ผู้ถือหุ้น รับรอง นั้น เห็นว่าการ ที่ กรรมการ บริษัท เข้า มา เป็น ผู้ชำระบัญชี ตาม บทบัญญัติ แห่งกฎหมายเมื่อ บริษัท เลิกกัน นั้น ถือว่า เป็น การ ชั่วคราว ฉะนั้น เมื่อ มี การประชุมใหญ่ ก็ จะ ต้อง มี การ เสนอ ให้ ที่ ประชุม พิจารณา ด้วย ว่า จะ ควร ให้กรรมการ บริษัท นั้น คง เป็น ผู้ชำระบัญชี ต่อไป หรือไม่ หรือ จะ เลือกตั้งบุคคลอื่น ขึ้น เป็น ผู้ชำระบัญชี แทนที่ ดังนั้น กรรมการ บริษัท จึง เป็นผู้ชำระบัญชี โดยชอบ ด้วย กฎหมาย จนกว่า จะ มี การเลือกตั้ง บุคคลอื่นขึ้น มา แทน หาใช่ ว่า จะ ต้อง ให้ ที่ ประชุมใหญ่ รับรอง เสีย ก่อน จึง จะ เป็นผู้ชำระบัญชี โดย สมบูรณ์ ตาม ที่ ผู้ร้อง ทั้ง หก ฎีกา ไม่ ปัญหา ที่ ผู้ร้องทั้ง หก ฎีกา ต่อมา ว่า คดี มีเหตุ ให้ ถอน ผู้คัดค้าน ที่ 2 ถึง ที่ 5 จากผู้ชำระบัญชี ตาม ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย หรือไม่ โดย ผู้ร้อง ทั้ง หกอ้างว่า ผู้คัดค้าน ที่ 2 ถึง ที่ 5 ได้ ถูก ผู้ถือหุ้น ฟ้อง ว่า ยักยอกเงิน ของ บริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1 จึง ไม่สมควร ที่ จะ เป็น ผู้ชำระบัญชีบริษัท ข้อเท็จจริง ได้ความ ว่า ที่ ผู้คัดค้าน ที่ 2 ถึง ที่ 5 ถูก ฟ้องว่า ยักยอก เงิน บริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1 นั้น ปรากฏว่า กระทำ ใน ขณะดำรง ตำแหน่ง เป็น กรรมการ บริษัท ผู้คัดค้าน ที่ 1 และ คดี อยู่ ระหว่างพิจารณา ยัง ไม่ถึงที่สุด จึง ยัง ไม่อาจ ทราบ ได้ แน่นอน ว่า ทุจริต จริง หรือไม่ และ ผู้ร้อง ทั้ง หก มิได้ นำสืบ ให้ เห็นว่า ผู้คัดค้าน ที่ 2 ถึง ที่ 5บกพร่อง ใน หน้าที่ ผู้ชำระบัญชี อย่างไร ข้อเท็จจริง กลับ ปรากฏว่าเมื่อ ผู้คัดค้าน ที่ 1 ได้ ไป ยื่น ขอ จดทะเบียน เลิก บริษัท และ ชำระ บัญชีผู้ร้อง ทั้ง หก ได้ ทำ หนังสือ คัดค้าน การ จดทะเบียน ไว้ ทาง สำนักงานพาณิชย์ จังหวัด จึง ไม่รับ คำขอ จดทะเบียน เลิก บริษัท และ ชำระ บัญชีเป็นเหตุ ให้ ผู้คัดค้าน ที่ 2 ถึง ที่ 5 ไม่อาจ ทำ หน้าที่ ผู้ชำระบัญชีต่อไป ได้ กล่าว คือ บอกกล่าว แก่ ประชาชน บอกกล่าว แก่ เจ้าหนี้จดทะเบียน เลิก บริษัท และ จัดทำ งบดุล แล้ว เรียก ประชุมใหญ่ เพื่อรับรอง ให้ กรรมการ บริษัท เป็น ผู้ชำระบัญชี ต่อไป หรือ เลือกตั้งผู้ชำระบัญชี ใหม่ ขึ้น แทนที่ และ อนุมัติ งบดุล ตาม ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 1253 ถึง มาตรา 1256 จึง หาใช่ ความผิด ของผู้คัดค้าน ที่ 2 ถึง ที่ 5 ซึ่ง เป็น ผู้ชำระบัญชี ไม่ และ จากข้อเท็จจริง ดังกล่าว แสดง ให้ เห็นว่า ผู้คัดค้าน ที่ 2 ถึง ที่ 5ยัง มิได้ ทำ หน้าที่ ผู้ชำระบัญชี เลย คดี จึง ไม่มี เหตุ ให้ ถอน ผู้คัดค้านที่ 2 ถึง ที่ 5 จาก ผู้ชำระบัญชี คำสั่ง ของ ศาลอุทธรณ์ ชอบแล้วฎีกา ผู้ร้อง ทั้ง หก ฟังไม่ขึ้น "
พิพากษายืน