โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบังอาจจับนายปี เอาขวัญแล้วนำไปหน่วงเหนี่ยวกักขังไว้ ทำให้ปราศจากเสรีภาพ ในร่างกาย ขอให้ลงโทษ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๑๐
จำเลยให้การปฏิบัติ
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เห็นว่า ความผิดตามมาตรา ๓๑๐ วรรคแรก นั้นเป็นความผิดอันยอมความกันได้ตาม มาตรา ๓๒๑ จึงเป็นผิดต่อส่วนตัว แต่ผู้เสียหายในคดีนี้ไม่ได้ร้องทุกข์ ตามกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องพิพากษายกฟ้อง
โจทก์ฎีกาข้อกฎหมาย ว่า ได้มีการร้องทุกข์ แล้ว
ศาลฎีกาเห็นว่า คดีนี้ศาลอุทธรณ์ยกข้อกฎหมายขึ้นกฎหมายขึ้นวินิจฉัยว่า โจทก์ฟ้องคดีโดยนายปี ไม่ได้ร้องทุกข์ เป็นแต่ให้การเป็นพยาน ในเรื่องอื่นที่จำเลยถูกหาว่าฆ่าคนตาย จึงมิใช่การร้องทุกข์ตามกฎหมาย โจทก์คัดค้านว่าควรถือได้ว่านายปีได้แจ้งความโดยคำให้การนั้นในฐานะผู้เสียหายด้วย และเป็นการร้องทุกข์โดยปริยายแล้ว ศาลฎีกาเห็นว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒ (๗)มีความว่า คำร้องทุกข์นั้นหมายถึง การที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ว่า มีผู้กระทำผิดขึ้นและการกล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ว่ามีผู้กระทำผิดขึ้นและการกล่าวหาเช่นนั้นได้กล่าวโดยมีเจตนาจะให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษด้วย ฉะนั้นการที่นายปีให้การต่อพนักงานสอบสวนในคดีที่จำเลยต้องหาอีกเรื่องหนึ่ง แล้วเลยพาดพิงถึงกรณีนี้เข้ามาในคดีนั้นด้วย จึงไม่เข้าลักษณะของคำร้องทุขก์โดยมีเจตนาจะให้จำเลยได้รับโทษ จะถือว่าเป็นการร้องทุกข์ในคดีนี้โดยปริยาย หาได้ไม่ ฉะนั้นเมื่อไม่มีการร้องทุกข์ของผู้เสียหายแล้ว โจทก์ก็ฟ้องคดีนี้ซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวไม่ได้ พิพากษายืน