ได้ความตามที่รับกันว่า จำเลยทั้ง ๓ เป็นบุตร งซึ่งเกิดกับนางเง๊กกี่ซึ่งตายไป ๒๘ ปีแล้ว โจทก์เป็น้องจำเลยร่วมบิดาแต่เกิดกับนางยู่อี่ ภริยาคนหลัง ง.ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ได้มีการทำสัญญาประนีประนอมแบ่งมรดกผู้ตายเฉพาะที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๒๙๙ แบ่งเป็น ๗ ส่วน โจทก์ได้ ๑ ส่วน จำเลยได้คนละ ๒ ส่วน ที่ดินได้ขายไปเป็นเิงน ๓๕๐,๐๐๐ บาท โจทก์เห็นว่าสัญญาแบ่งมรดไม่ชอบ จึงฟ้องขอให้แบ่งให้โจทก์ ๑ ใน ๔ จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ไม่ยอม จำเลยที่ ๓ ยอมตามฟ้อง
ศาลแพ่งวินิจฉัยเป็น ๔ ข้อ ดังนี้
๑. ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ผลอันเกิดจากที่ดินให้แบ่งเป็น ๔ ส่วน โจทก์จำเลยได้คนละ ๑ ส่วนเท่า ๆ กัน แสดงว่าจำเลยยอมรับสิทธิของโจทก์และถือว่าโจทก์ครอบครองทรัพย์มรดกอยู่ด้วยราม ป.ม.แพ่งฯมาตรา ๑๗๔๕ และ ๑๗๔๘ แม้ฟ้องเกิน ๑ ปี ก็ไม่ขาดอายุความตามมาตรา ๑๗๕๔
๒. สัญญาแบ่งมรดก นางยู่อี่ทำในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้แทนโจทก์โดยมิได้รับอนุญาตจากศาลตามมาตรา ๑๕๔๖ จึงเป็นโมฆียะตามมาตรา ๑๑๖ โจทก์บอกล้างแล้ว ส่วนที่เกี่ยวแก่โจทก์จึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา ๑๓๘
๓. ตามสัญญาแบ่งมรดก นางยู่อี่ได้รับอสังหาริมทรัพย์เป็นส่วนตัว หาใช่รับแทนโจทก์ไม่
๔. จำเลยมิได้ยกประเด็นขึ้นต่อสู้การคิดส่วนแบ่งที่ดินรายนี้ระหว่าง ง.กับนางเง๊กกี่ตามมาตรา ๑๓๒๕ โจทก์จำเลยเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายย่อมได้รับมรดกเท่ากันตามมาตรา ๑๖๓๓
พิพากษาให้จำเลยที่ ๑-๒ แบ่งมรดกในที่ดินโฉนดดังกล่าวให้โจทก์ ๑ ใน ๔เป็นเงิน ๖๑๕๖๒ บาท ๕๐ สตางค์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาเห็นพ้องกับศาลล่างทั้ง ๒ เพราะสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งปันมรดกนั้นมารดาจะทำแทนบุตรผู้เยาว์โดยลำพังมิได้ ต้องห้ามตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา ๑๕๔๖ จึงต้องแบ่งส่วนมรดกกันตามกฎหมาย
และการที่จำเลยจะขอสืบพยานว่าโจทก์ได้รับมรดกอย่างอื่นไปมากแล้ว และที่ดินเป็นมรดกของมารดาจำเลย โจทก์จึงยอมรับส่วนในที่ดินน้อยนั้น ข้อนี้จำเลยมิได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การ ที่ศาลแพ่งงดฟังพยานชอบแล้ว
พิพากษายืน