โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย รื้อถอน อาคาร ส่วน ที่ ปลูกสร้างดัดแปลง ต่อเติม นอกเหนือ ไป จาก แบบแปลน ที่ ได้ อนุญาต โดย ส่วน ที่ดัดแปลง ต่อเติม นี้ โจทก์ ไม่อาจ ออก ใบอนุญาต ให้ จำเลย ก่อสร้าง หรือดัดแปลง อาคาร ได้ ถ้า จำเลย ไม่ยอม รื้อถอน ให้ โจทก์ รื้อถอน ได้เองตาม พระราชบัญญัติ ควบคุม อาคาร พ.ศ. 2522 โดย จำเลย เป็น ผู้ เสียค่าใช้จ่าย
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง ให้ จำเลย รื้อถอน อาคารส่วน ที่ ปลูกสร้าง ดัดแปลง ต่อเติม ตาม ฟ้อง ฟ้องโจทก์ เคลือบคลุมกล่าว คือ โจทก์ ไม่ได้ บรรยายฟ้อง ว่า ใช้ สิทธิ ตาม กฎหมาย ใด และ มาตรา ใดมา ฟ้องร้อง บังคับ ให้ จำเลย รื้อถอน จำเลย ยื่น ขออนุญาต ก่อสร้าง ดัดแปลงต่อเติม อาคาร ตาม ฟ้อง ถูกต้อง ตาม ขั้นตอน ตาม พระราชบัญญัติ ควบคุม อาคารพ.ศ. 2522 และ ตาม ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุม การ ก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ไว้ เรียบร้อย แล้ว ขณะ นี้ อยู่ ใน ระหว่าง การ พิจารณาอนุญาต ของ โจทก์ โจทก์ จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง จำเลย อีก ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย รื้อถอน อาคาร ส่วน ที่ก่อสร้าง ดัดแปลง ต่อเติม ตาม ฟ้อง คือ อาคาร ชั้น ที่ 9 ขนาด อาคาร13 x 40.60 เมตร และ 13 x 19 เมตร สูง 2.50 เมตร อาคาร ขนาด7.60 x 13 เมตร สูง 23.50 เมตร (9 ชั้น ดาดฟ้า ) ที่ ติดต่อ กับอาคาร 8 ชั้น เดิม ผนัง อิฐ ชั้นล่าง ของ อาคาร 8 ชั้น ซึ่ง เดิม เป็นที่ว่าง สำหรับ จอดรถยนต์ ที่ จำเลย กั้น จัด เป็น ห้อง ๆ และ อาคาร ขนาด1.50 x 5 เมตร สูง 2.50 เมตร หลังคา คอนกรีต ติดกับ อาคาร 8 ชั้น เดิมตาม บริเวณ ที่ ขีด เส้น สีแดง ใน เอกสาร หมาย จ. 8 หาก จำเลย ไม่ยอม รื้อถอนให้ โจทก์ รื้อถอน ได้เอง โดย จำเลย เป็น ผู้ เสีย ค่าใช้จ่าย ตามพระราชบัญญัติ ควบคุม อาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ข้อเท็จจริง เบื้องต้น ฟังได้ ว่า จำเลยเป็น เจ้าของ และ ผู้ครอบครอง อาคาร ที่อยู่อาศัย 8 ชั้น ดาดฟ้า จำนวน1 หลัง ซึ่ง ปลูก อยู่ ใน ที่ดิน ของ นาย รัฐธรรมนูญ จำนงภูมิเวท โดย โจทก์ อนุญาต ให้ จำเลย ปลูกสร้าง อาคาร ดังกล่าว ได้ แต่ จำเลย ต่อเติมอาคาร เป็น ชั้น ที่ 9 ขนาด กว้าง 13 เมตร ยาว 40.60 เมตร และ13 x 19 เมตร สูง ประมาณ 2.50 เมตร เต็ม ดาดฟ้า รูป ตัว แอล จำเลยก่อสร้าง อาคาร ขนาด 7.60 เมตร x 13 เมตร สูง ประมาณ 23.50 เมตรก่อสร้าง อาคาร ขนาด 1.50 เมตร x 5 เมตร สูง 2.50 เมตร และ ก่อ อิฐฉาบปูน ผนัง ชั้นล่าง ของ อาคาร ซึ่ง เดิม ใช้ เป็น ที่จอดรถยนต์ ทำให้ อาคารของ จำเลย ไม่มี ที่จอดรถยนต์ จำเลย กระทำ ไป โดย ไม่ได้ รับ อนุญาต จาก โจทก์โจทก์ มี หนังสือ แจ้ง คำสั่ง ให้ จำเลย รื้อถอน อาคาร ส่วน ที่ ก่อสร้างต่อเติม โดย ไม่ได้ รับ อนุญาต จำเลย ได้รับ หนังสือ ของ โจทก์ แล้วแต่ จำเลย ไม่ปฏิบัติ ตาม คำสั่ง ดังกล่าว
ข้อ ที่ จำเลย ฎีกา ว่า โจทก์ หา ได้ บรรยายฟ้อง ระบุ ว่าการ ก่อสร้างดัดแปลง ต่อเติม อาคาร โดย ไม่ได้ รับ อนุญาต ของ จำเลย ไม่สามารถ แก้ไขเปลี่ยนแปลง ให้ ถูกต้อง ตาม กฎกระทรวง และ ข้อ บัญญัติ ท้องถิ่น ได้อัน จะ เป็นเหตุ ให้ โจทก์ สั่ง ให้ รื้อถอน หรือ ร้องขอ ต่อ ศาล ให้ บังคับให้ มี การ รื้อถอน ได้ ตาม มาตรา 42 แห่ง พระราชบัญญัติ ควบคุม อาคารพ.ศ. 2522 ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า การ ก่อสร้าง ดัดแปลง ต่อเติมอาคาร ของ จำเลย ไม่สามารถ แก้ไข เปลี่ยนแปลง ให้ ถูกต้อง ตาม กฎกระทรวงจึง เป็น การ พิพากษา นอกฟ้อง นอกประเด็น ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถึง แม้ ว่าการ ก่อสร้าง ดัดแปลง ต่อเติม อาคาร ของ จำเลย ไม่ได้ รับ อนุญาต จาก โจทก์และ ขัด ต่อ กฎกระทรวง ก็ ตาม แต่ ก็ หาใช่ ว่าการ กระทำ ของ จำเลย ไม่สามารถแก้ไข เปลี่ยนแปลง ให้ ถูกต้อง ได้ เห็นว่า โจทก์ บรรยายฟ้อง ว่า จำเลยได้ กระทำการ ก่อสร้าง ดัดแปลง ต่อเติม อาคาร โดย ไม่ได้ รับ อนุญาตเป็น การ ฝ่าฝืน พระราชบัญญัติ ควบคุม อาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21, 22และ ขัด ต่อ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ. 2522 หมวด 4 ข้อ 30 และ ขัด ต่อ กฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2517)ออก ตาม ความใน พระราชบัญญัติ ควบคุม การ ก่อสร้าง พ.ศ. 2479 และการ ก่อสร้าง ดัดแปลง ต่อเติม อาคาร นั้น ทำให้ อาคาร ของ จำเลย มี สภาพหรือ การ ใช้ อาจ เป็น ภยันตราย ต่อ ชีวิต ร่างกาย สุขภาพ หรือ ทรัพย์หรือไม่ ปลอดภัย จาก อัคคีภัย อันเป็น การ ฝ่าฝืน พระราชบัญญัติ ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 และ ขัด ต่อ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ดังกล่าว แล้ว โจทก์ จึงไม่อาจ ออก ใบอนุญาต ให้ จำเลย ก่อสร้าง หรือ ดัดแปลง อาคาร ได้ โจทก์ เคยมี คำสั่ง เป็น หนังสือ ให้ จำเลย รื้อถอน อาคาร ที่ ต่อเติม โดย ไม่ได้ รับอนุญาต มา ตั้งแต่ พ.ศ. 2525, พ.ศ. 2528 และ พ.ศ. 2529 แต่ จำเลยไม่ปฏิบัติ การ ให้ เป็น ไป ตาม คำสั่ง ของ โจทก์ ซึ่ง เป็น เจ้าพนักงานท้องถิ่น จึง ได้ ฟ้อง ต่อ ศาล เห็นว่า ตาม คำบรรยายฟ้อง ของ โจทก์ ดังกล่าวเป็น คำฟ้อง ที่ ร้องขอ ต่อ ศาล ให้ บังคับ ให้ มี การ รื้อถอน ตาม พระราชบัญญัติควบคุม อาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 (เดิม ) ซึ่ง เป็น กฎหมาย ที่ ใช้บังคับ ใน ขณะ นั้น แล้ว และ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า จำเลย กระทำการ ต่อเติมอาคาร โดย ไม่ได้ รับ อนุญาต ขัด ต่อ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 หมวด 4 ข้อ 30 ทั้ง ขัด ต่อกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2517) ออก ตาม ความใน พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 เช่น อาคาร พิพาท ไม่มี ที่จอดรถยนต์ ที่ ถูกต้อง และ เพียงพอ ทำให้ โจทก์ ออก ใบอนุญาต ให้ ไม่ได้อาคาร ที่ จำเลย ต่อเติม ดัดแปลง จึง ไม่สามารถ แก้ไข เปลี่ยนแปลง ให้ ถูกต้องตาม กฎกระทรวง ดังกล่าว ได้ โจทก์ ซึ่ง เป็น เจ้าพนักงาน ท้องถิ่นจึง มีอำนาจ สั่ง ให้ จำเลย รื้อถอน อาคาร พิพาท และ ร้องขอ ต่อ ศาล ให้ บังคับให้ มี การ รื้อถอน อาคาร พิพาท ได้ ตาม พระราชบัญญัติ ควบคุม อาคารพ.ศ. 2522 มาตรา 42 วรรคแรก และ วรรคสาม (เดิม ) ที่ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ดัง ที่ จำเลย ฎีกา หาใช่ เป็น การ วินิจฉัย และ พิพากษา นอกฟ้องนอกประเด็น ไม่ ทั้ง เป็น การ วินิจฉัย ที่ชอบ แล้ว
พิพากษายืน