คดีทั้ง ๑๕ สำนวนนี้ศาลชั้นต้นรวมพิจารณา
โจทก์ฟ้องมีความทำนองเดียวกันว่า จำเลยทุกสำนวนเป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทย เพราะเกิดในราชอาณาจักร มีบิดาเป็น คนต่างด้าวสัญชาติจีน ต่อมาจำเลยได้สมรสกับคนสัญชาติจีน ได้รับสัญชาติจีนตามสามี และจำเลยได้รับใบสำคัญ ประจำตัวคนต่างด้าวตามกฎหมาย ว่าด้วยการทะเบียนคนต่างด้าวแล้ว ใบสำคัญประจำตัวของจำเลยหมดอายุที่ได้ต่อครั้ง สุดท้ายเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๕ (เว้นแต่นางน้อย แซ่อุย จำเลย หมดอายุที่ต่อครั้งสุดท้ายเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๔ และนางสมเวียง แซ่เจีย กับนางกิม แซ่เจียหมดอายุที่ต่อครั้งสุดท้ายเมื่อ พ.ศ. ๙๗) ครั้นเมื่อใบสำคัญประจำตัวของจำเลยหมดอายุดังกล่าวแล้ว จำเลยได้บังอาจฝ่าฝืนกฎหมายไม่ไปแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีภูมิลำเนาอยู่ เพื่อขอต่ออายุใบสำคัญประจำตัว ภายใน ++ วันนับแต่วันที่หมดอายุตามกฎหมาย และจำเลยยังไม่ได้ต่ออายุตลอดมาจนถึงวันฟ้องนี้ เหตุเกิดที่ตำบล บ้านกอก อำเภอจัตุรัส โจทก์ขอให้ศาลลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๔๙๓ ม.๑๓, ๒๐ และ พ.ร.บ. การทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๔๙๕ ม.๔ และ พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. ๒๔๙๖ ม.๕
จำเลยทุกคนให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ที่จำเลยสมรสกับคนต่างด้าวจะเสียสัญชาติหรือไม่ ต้องถือตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. ๒๔๕๖ ม.๔ ที่++ อยู่ขณะจำเลยแต่งงาน ม.๔ มีบัญญัติว่า หญิงไทยผู้ทำการสมรสกับคนต่างด้าวย่อม++สัญชาติไทย แม้ว่ามีกฎหมาย แห่งชาติของสามีบัญญัติให้หญิงนั้นถือเอาสัญชาติของสามี++ ฉะนั้นจำเลยเหล่านี้จะศูนย์เสียสัญชาติก็ต่อเมื่อปรากฎว่ามี กฎหมายสัญชาติของสามี จำเลยได้รับสัญชาติของสามีแล้ว ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องสืบ แต่ที่โจทก์++ฟังได้ไม่แน่นอน จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยกลายไปเป็นคนต่างด้าวตามสามี ไม่มีทาง++จำเลยได้
ต่อมาเมื่อใช้ พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๙๖ แล้ว++จำเลยจะต้องศูนย์เสียสัญชาติไทยตาม พ.ร.บ.นี้ ก็เป็นเรื่อง จำเลยเพิ่งศูนย์เสีย++ไทยกลายเป็นคนต่างด้าวเมื่อ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ และถ้าจำเลยจะมีผิดก็เป็นความผิดฐานไม่ไปรับ ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวจากนายทะเบียนภายใน ๓๐ วัน ตาม++การทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๔๙๓ ซึ่งข้อนี้โจทก์ มิได้ฟ้องมา จำเลยจึงไม่ผิดฐานไม่ต่ออายุใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวดังฟ้อง
โจทก์ฎีกา ซึ่งศาลสั่งรับฎีกาเพียงข้อกฎหมาย ที่ว่า ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวที่จำเลยรับมานั้นเป็นใบสำคัญประจำตัว ที่ชอบด้วยกฎหมาย เพื่อ++ได้ใช้ พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๔๙๓ แล้ว ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของ จำเลยมีผลใช้ได้ตลอดมา เมื่อจำเลยไม่ขอต่ออายุใบสำคัญประจำตัวของจำเลยตามฟ้อง จำเลยจึงต้องมีผิด
ศาลฎีกาเห็นชอบตามข้อวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ จึงพิพากษายืน.