โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น ภรรยา ของนาย สมนึก พันพัฒน์ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 เป็น บุตร ของ นาย สมนึก จำเลย ที่ 4 เป็น ผู้จัดการมรดก ของ นาย สมนึก เดิม นาย สมนึก เป็น กรรมการ ผู้จัดการ ของ โจทก์ นาย สมนึก ถึงแก่กรรม เมื่อ วันที่ 11 ตุลาคม 2531 ใน ระหว่าง ที่นาย สมนึก เป็น กรรมการ ผู้จัดการ ของ โจทก์ นาย สมนึก ได้ นำ ไม้ กระ ยา เลย ของ โจทก์ ไป ขาย ให้ แก่ บริษัท โรง เลื่อน จักร แพร่ไพรวัน จำกัด และ ไม่นำ เงิน ส่ง ให้ แก่ โจทก์ คือ ไม้ จาก ป่า โครงการ น้ำลี-น้ำน่าน เป็น เงิน 5,520,000 บาท ต่อมา ทายาท ของ นาย สมนึก ได้ ทำ หนังสือ รับสภาพหนี้ ให้ โจทก์ ไว้ จำนวน 3,077,326 บาท จึง คง ค้าง เงิน อยู่ อีก 2,442,674 บาท และ ไม้ จากป่า โครงการ น้ำว้า-ห้วยสาลี เป็น เงิน 4,169,499 บาท ต่อมา ทายาท ของ นาย สมนึก ได้ ทำ หนังสือ รับสภาพหนี้ ให้ โจทก์ ไว้ จำนวน 3,460,000 บาท จึง คง ค้าง เงิน อยู่ อีก 709,499 บาท รวมเป็น เงินที่ ค้าง ทั้งสิ้น 3,152,173 บาท ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สี่ ร่วมกันชำระ เงิน จำนวน 3,152,173 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละเจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับ ตั้งแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ทั้ง สี่ ให้การ ว่า การ ที่ โจทก์ ฟ้อง ว่า นาย สมนึก พันพัฒน์ ได้ นำ ไม้ ของ โจทก์ ไป ขาย ให้ แก่ บริษัท โรงเลื่อยจักร แพร่ไพรวัน จำกัด เป็น เงิน 5,520,000 บาท และ 4,169,499 บาท นั้น จำเลย ไม่รับรองและ ไม่เป็น ความจริง เพราะ ขณะ ทำ หนังสือ รับสภาพหนี้ กับ โจทก์เมื่อ วันที่ 2 พฤศจิกายน 2531 โจทก์ แจ้ง ว่า นาย สมนึก มี หนี้ เกี่ยวกับ ไม้ จำนวน ดังกล่าว เพียง3,077,325 บาท และ 3,460,000 บาท เท่านั้น จำเลย จึง ได้ ยอมตกลง รับสภาพหนี้ เงิน จำนวน ดังกล่าว หนี้ ค่า ไม้ จำนวน 5,520,000 บาทและ จำนวน 4,169,499 บาท ได้ ถูก แปลงหนี้ใหม่ เป็น หนี้ ตาม หนังสือรับสภาพหนี้ ฉบับ ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2531 แล้ว นี้ จำนวน ดังกล่าวจึง ระงับ ไป ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349 โจทก์จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง เรียกเงิน จำนวน 3,152,173 บาท จาก จำเลย อีกขอให้ ยกฟ้อง
วันนัด สืบพยานโจทก์ โจทก์ แถลงว่า หนี้ ที่ โจทก์ ฟ้อง ใน คดี นี้เป็น หนี้ ที เกิดจาก การ ขาย ไม้ ราย เดียว กับ ที่ โจทก์ ฟ้อง ใน คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 259/2532 ของ ศาลชั้นต้น โดย ใน คดี ดังกล่าว จำเลย ที่ 1 ที่ 2และ ที่ 3 ได้ ทำ สัญญา รับสภาพหนี้ ไว้ บางส่วน โจทก์ จึง ได้ ฟ้องคดี ตามสัญญา รับสภาพหนี้ ก่อน และ ศาลชั้นต้น ได้ ได้ พิพากษาคดี ถึงที่สุด แล้วโจทก์ จึง ได้ มา ฟ้อง เรียก หนี้ ส่วน ที่ เหลือ เป็น คดี นี้ ศาลชั้นต้นเห็นว่า คดี พอ ที่ จะ วินิจฉัย ได้ แล้ว ให้ งดสืบพยาน โจทก์ จำเลย แล้วพิพากษา ให้ยก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า มี ปัญหา ที่ จะ วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ว่าคดี นี้ เป็น ฟ้องซ้ำ กับ คดี ก่อน คือ คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 259/2532 ของศาลชั้นต้น หรือไม่ พิเคราะห์ แล้ว เห็นว่า คดี ก่อน โจทก์ ฟ้อง จำเลย ที่ 1ที่ 2 และ ที่ 3 ใน ฐานะ ทายาทโดยธรรม ของ นาย สมนึก ผู้ตาย ให้ ชำระหนี้ ให้ โจทก์ ใน จำนวน หนี้ ที่ ผู้ตาย นำ ไม้ ของ โจทก์ ไป ขาย แล้วไม่นำ เงิน ส่งมอบ ให้ โจทก์ กับ หนี้ อื่น ที่ ผู้ตาย เป็น หนี้ โจทก์โดย จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ใน ฐานะ ทายาทโดยธรรม ของผู้ตาย ได้ ทำ หนังสือ รับสภาพหนี้ ของ ผู้ตาย ให้ โจทก์ ไว้ เป็น หลักฐานเป็น การ ฟ้อง ขอรับ ชำระหนี้ จาก ทรัพย์สิน ใน กอง มรดก ของ ผู้ตาย โดย มีประเด็น ข้อพิพาท ที่ จะ ต้อง วินิจฉัย ว่า ผู้ตาย เป็น หนี้ โจทก์ ค่า นำ ไม้ ของโจทก์ ไป ขาย แล้ว ไม่นำ เงิน มา ส่งมอบ ให้ โจทก์ กับ หนี้ อื่น ดัง ฟ้องของ โจทก์ เพียงใด หรือไม่ ซึ่ง คดี นั้น ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1ที่ 2 และ ที่ 3 ใน ฐานะ ทายาทโดยธรรม ของ ผู้ตาย ชำระหนี้ของ ผู้ตาย ให้ แก่ โจทก์ และ คดีถึงที่สุด แล้ว การ ที่ โจทก์ มา ฟ้องคดี นี้ขอให้ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ใน ฐานะ ทายาทโดยธรรม ของ ผู้ตายกับ จำเลย ที่ 4 ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดก ของ ผู้ตาย รับผิด ชำระหนี้ ที่ผู้ตาย นำ ไม้ ราย เดียว กับ ใน คดี ก่อน ไป ขาย แล้ว ไม่นำ เงิน ส่งมอบ ให้ โจทก์โดย อ้างว่า หนี้ ดังกล่าว มี จำนวนเงิน มาก กว่า ที่ โจทก์ ฟ้อง ใน คดี ก่อนโจทก์ จึง นำ หนี้ ที่ เหลือ มา ฟ้องคดี นี้ นั้น เห็น ได้ว่า การ ฟ้อง ของ โจทก์ใน คดี นี้ เป็น การ ฟ้อง ขอรับ ชำระหนี้ จาก ทรัพย์สิน ใน กอง มรดกของ ผู้ตาย เช่นเดียว กับ การ ฟ้องคดี ก่อน และ คดี นี้ มี ประเด็น ข้อพิพาทที่ จะ ต้อง วินิจฉัย โดย อาศัย เหตุ อย่างเดียว กับ คดี ก่อน ใน ส่วน ที่ ว่าผู้ตาย เป็น หนี้ โจทก์ ค่า นำ ไม้ ของ โจทก์ ไป ขาย แล้ว ไม่นำ เงิน ส่งมอบ ให้โจทก์ เพียงใด หรือไม่ แม้ จะ ได้ความ ดังกล่าว กรณี ก็ มิใช่ เป็น การฟ้องซ้ำ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 เพราะขณะที่ โจทก์ ยื่นฟ้อง คดี นี้ คดี ก่อน อยู่ ใน ระหว่าง พิจารณา ของศาลชั้นต้น ยัง มิได้ มี คำพิพากษาถึงที่สุด ฎีกา ของ โจทก์ ฟังขึ้นแต่ อย่างไร ก็ ดี การ ที่ โจทก์ ได้ ยื่น คำฟ้อง คดี ก่อน ต่อ ศาลชั้นต้น และ คดีก่อน อยู่ ใน ระหว่าง การ พิจารณา ของ ศาลชั้นต้น โจทก์ ได้ นำ คดี นี้ซึ่ง เป็น เรื่อง เดียว กัน นั้น มา ยื่นฟ้อง จำเลย ต่อ ศาลชั้นต้น อีก จึง เป็นการ ฟ้องซ้อน กับ คดี ก่อน ต้องห้าม ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง (1) และ ปัญหา ดังกล่าว เป็น ปัญหาข้อกฎหมายอัน เกี่ยว ด้วย ความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชน แม้ จะ มิได้ มี คู่ความฝ่ายใด ยกขึ้น กล่าวอ้าง ศาลฎีกา ก็ มีอำนาจ ยก ปัญหา นี้ ขึ้น วินิจฉัยได้เอง ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษา ให้ยก ฟ้อง นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วยใน ผล
พิพากษายืน