โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น น้องชาย ร่วม บิดา มารดา เดียว กัน กับนางสาว ผาย อิ่มสุวรรณ จำเลย ที่ 2 เป็น บุตร นาย ผ่อน อิ่มสุวรรณ พี่ชาย ร่วม บิดา มารดา เดียว กัน กับ โจทก์ เมื่อ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2533นางสาว ผาย ถึงแก่กรรม โจทก์ ยื่น คำร้องขอ ให้ ศาล ตั้ง เป็น ผู้จัดการ มรดก จำเลย ที่ 2 อ้างว่า เป็น บิดา และ ผู้ใช้ อำนาจปกครอง จำเลย ที่ 1ยื่น คำคัดค้าน และ ขอให้ ศาล ตั้ง ตนเอง เป็น ผู้จัดการมรดก อ้างว่า จำเลยที่ 1 เป็น บุตรบุญธรรม ของ นางสาว ผาย โจทก์ เห็นว่า การ จดทะเบียน รับ บุตรบุญธรรม ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และ ไม่ถูกต้อง ตาม แบบ ที่ กฎหมายบังคับ ไว้ เนื่องจาก จำเลย ที่ 2 และ นาง วิลาวรรณ อิ่มสุวรรณ ไม่เป็น ผู้แทนโดยชอบธรรม ของ จำเลย ที่ 1 ที่ จะ ให้ ความ ยินยอม ใน การ จดทะเบียน ได้นอกจาก นี้ เจ้าพนักงาน ผู้ทำการ จดทะเบียน รับ บุตรบุญธรรม เป็น ปลัดอำเภอตรี ไม่ใช่ นายทะเบียน ตาม กฎหมาย จึง ไม่มี อำนาจ จดทะเบียน รับ บุตรบุญ ธรรม ได้ การ จดทะเบียน ดังกล่าว ไม่เป็น ไป ตาม บทบัญญัติ ของ กฎหมายว่าด้วย ความ สามารถ ของ บุคคล ซึ่ง เป็น สาระสำคัญ ของ การ ทำนิติกรรมจดทะเบียน รับ บุตรบุญธรรม ขอให้ พิพากษา ว่า ทะเบียน การ รับ บุตรบุญธรรมฉบับ เลขที่ 81/1185 ลงวันที่ 26 มิถุนายน 2515 ระหว่าง นางสาว ผาย อิ่มสุวรรณ ผู้รับบุตรบุญธรรม กับ เด็ก หญิง วินยะดา อิ่มสุวรรณ บุตรบุญธรรม เป็น โมฆะ และ ห้าม จำเลย ที่ 1 ที่ 2 เข้า เกี่ยวข้อง กับทรัพย์มรดก ของ นางสาว ผาย อิ่มสุวรรณ จนกว่า จะ ได้ จัดการ แบ่ง มรดก โดย ถูกต้อง ตาม กฎหมาย
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ทำนอง เดียว กัน ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น บุตร ของจำเลย ที่ 2 กับ นาง วิลาวรรณ อิ่มสุวรรณ และ เป็น บุตรบุญธรรม ของ นางสาว ผาย อิ่มสุวรรณ ซึ่ง ได้ จดทะเบียน รับ บุตรบุญธรรม ถูกต้อง ตาม กฎหมาย ซึ่ง จำเลย ที่ 2 และ นาง วิลาวรรณ ได้ ให้ ความ ยินยอม เป็น หนังสือ แล้ว โจทก์ ไม่ใช่ ทายาท ซึ่ง มีสิทธิ รับมรดก ของ นางสาว ผาย จึง ไม่มี สิทธิ ฟ้องคดี นี้ นอกจาก นี้ นางสาว ผาย เป็น ผู้ขอ จดทะเบียน และ ทาง อำเภอ พระนครศรีอยุธยา ผู้รับ จด ได้ ปฏิบัติ ตาม หลักเกณฑ์ ของ ทางราชการ หาก โจทก์ เห็นว่า การ จดทะเบียน ดังกล่าว ไม่ถูกต้องก็ ฟ้อง เพิกถอน กับ ที่ว่าการ อำเภอ พระนครศรีอยุธยา ไม่ใช่ นำ คดี มา ฟ้อง จำเลย ที่ 1 ซึ่ง เป็น ผู้รับ ผล ตาม หนังสือ รับ บุตรบุญธรรม และ ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น เห็นว่า ตาม คำฟ้อง คำให้การ ของ จำเลย คดี วินิจฉัยได้ โดย ไม่ต้อง สืบพยาน คู่ความ และ วินิจฉัย ปัญหาข้อกฎหมาย ว่า นิติกรรมใด เป็น โมฆะ หรือไม่ เป็น เรื่อง ที่ คู่ความ หรือ ผู้มีส่วนได้เสีย จะ ยกขึ้นกล่าวอ้าง ถึง ความ เสีย เปล่า ของ นิติกรรม ดังกล่าว ต่อ อีกฝ่าย หนึ่ง เมื่อมี กรณี พิพาท กัน ไม่ใช่ มา ร้องขอ ให้ ศาล มี คำพิพากษา ว่า นิติกรรม ใด เป็นโมฆะ หาก กรณี ใด จำเป็น จะ ต้อง ให้ ศาล มี คำพิพากษา หรือ คำสั่ง เสีย ก่อนกฎหมาย จะ บัญญัติ ไว้ ชัดแจ้ง เช่น กรณี การ สมรส ที่ เป็น โมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1495 กรณี ตาม ฟ้อง ไม่ใช่ เป็นการ ฟ้อง ขอให้ เพิกถอน บุตรบุญธรรม ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1598/33 และ ไม่มี บท มาตรา ใด สนับสนุน หรือ อนุญาต ให้โจทก์ ใช้ สิทธิ ฟ้อง ขอให้ ศาล มี คำพิพากษา แสดง ว่าการ รับ บุตรบุญธรรมเป็น โมฆะ ตาม คำขอ ท้ายฟ้อง ส่วน คำขอ ห้าม ไม่ให้ จำเลย ทั้ง สอง ยุ่งเกี่ยวกับ ทรัพย์มรดก นั้น ได้ความ ว่า โจทก์ ได้ ถอน คำร้อง ใน คดีที่ โจทก์ ขอ จัดการ มรดก ไป แล้ว ถือไม่ได้ว่า จำเลย โต้แย้ง สิทธิ กับโจทก์ พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า "เห็นว่า การ ที่ โจทก์ ซึ่ง เป็น น้องชาย ร่วมบิดา มารดา เดียว กัน กับ นางสาว ผาย อิ่มสุวรรณ อ้างว่า ตน เป็น ทายาท ซึ่ง มีสิทธิ ได้รับ มรดก ของ นางสาว ผาย แต่เมื่อ มี จำเลย ที่ 1 อ้างว่า เป็น บุตรบุญธรรม ของ นางสาว ผาย ซึ่ง หาก ข้อเท็จจริง ฟังได้ เช่นนั้น สิทธิ ใน การ รับมรดก ของ โจทก์ ย่อม ถูก กระทบ กระเทือน การกระทำ ของจำเลย ทั้ง สอง จึง เป็น การ โต้แย้ง สิทธิ ของ โจทก์ ใน ฐานะ ทายาทโดย ธรรม ที่ มีสิทธิ จะ ได้รับ มรดก ของ นางสาว ผาย ตาม กฎหมาย ดังนั้น โจทก์ จึง มีอำนาจ ฟ้อง จำเลย ทั้ง สอง ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง วินิจฉัยว่า โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง และ พิพากษายก ฟ้อง ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วยฎีกา ของ โจทก์ ฟังขึ้น "
พิพากษายก คำพิพากษา ศาลล่าง ทั้ง สอง ให้ ศาลชั้นต้น พิจารณา พิพากษาใหม่ ตาม รูปคดี