โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 ได้ ทำ สัญญา ลา ไป ศึกษา ต่อต่างประเทศ กับ จำเลย ที่ 1 มี จำเลย ที่ 2 เป็น ผู้ค้ำประกัน จำเลย ที่ 1ผิดสัญญา โจทก์ ได้ นำ เงินบำเหน็จ ของ จำเลย ที่ 1 จำนวน 46,850 บาทหัก ชำระหนี้ ทุน การศึกษา และ ดอกเบี้ย คงเหลือ ทุน การศึกษา ค้างชำระจำนวน 135,921.24 บาท จำเลย ที่ 2 ชำระ ส่วน ที่ เหลือ แต่ ชำระไม่ครบ คง ค้าง อีก 37,076.03 บาท ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกันชำระ เงิน 50,968.40 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปีใน ต้นเงิน 37,076.03 บาท นับ ถัด จาก วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จแก่ โจทก์
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า โจทก์ ให้ จำเลย ที่ 2 ทำ สัญญาผ่อนชำระ หนี้ การ ทำ หนังสือ ผ่อนชำระ หนี้ ดังกล่าว เป็น การ ประนีประนอมยอมความ ยุติ ข้อพิพาท ระหว่าง โจทก์ กับ จำเลย ทั้ง สอง โจทก์ ไม่มี สิทธิเรียก ค่าเสียหาย ใด ๆ อีก ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ว่า ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงิน50,968.40 บาท แก่ โจทก์ พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปีใน ต้นเงิน 37,076.03 บาท นับ ถัด จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่าจะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ข้อ ที่ จำเลย ที่ 1 ฎีกา ว่า สัญญาผ่อนชำระ หนี้ ตาม เอกสาร หมาย ล. 6 เป็น สัญญา ประนีประนอม ยอมความถือว่า โจทก์ สละ สิทธิ ที่ จะ เรียกร้อง เงิน ดอกเบี้ย ตั้งแต่ วัน ผิดนัดจะ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ชำระ ดอกเบี้ย เพิ่มขึ้น ไม่ได้ อีก นั้น เห็นว่า สัญญาประนีประนอม ยอมความ ต้อง มี หลักฐาน เป็น หนังสือ อัน มี ลักษณะ เป็น การระงับ ข้อพิพาท ซึ่ง มี อยู่ เดิม และ ทำให้ แต่ละ ฝ่าย ได้ สิทธิ ตาม สัญญาขึ้น ใหม่ แต่ ข้อความ ใน สัญญา ผ่อนชำระ หนี้ ตาม เอกสาร หมาย ล. 6มี ใจความ ว่า จำเลย ที่ 2 ยินยอม ชำระ เงิน ค่า ผิดสัญญา ลา ศึกษาของ จำเลย ที่ 1 โดย ขอ ผ่อนชำระ เป็น รายเดือน อัตรา เดือน ละ5,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ 15 ต่อ ปี หนังสือ สัญญา ฉบับนี้เป็น การ ยอมรับ ผิด ใช้ ทุน การศึกษา ซึ่ง เป็น หนี้ ที่ จำเลย ที่ 2ค้ำประกัน ไว้ เดิม โดย ใช้ วิธี ชำระ ครั้งแรก ครึ่ง หนึ่ง และ ขอ ผ่อนชำระอีก ครึ่ง หนึ่ง ไม่มี ข้อความ ระงับ ข้อพิพาท ที่ มี อยู่ เดิม เพื่อก่อ ให้ ได้ สิทธิ ขึ้น ใหม่ แต่อย่างใด นอกจาก นี้ ตาม สัญญา ฉบับนี้ข้อ 7 ยัง ตกลง ไว้ ว่า หาก กระทรวงการคลัง พิจารณา แล้ว ไม่ อนุมัติให้ ถือ เสมือน ว่า ไม่เคย สัญญา ไว้ ต่อ กัน ซึ่ง ก็ หมายถึง ว่า สัญญานี้ เป็น อัน ยกเลิก แสดง ว่า ข้อตกลง ต่าง ๆ ตาม สัญญา ยัง ไม่ ยุติเพราะ มี ข้อ แม้ ต้อง ขออนุมัติ จาก กระทรวงการคลัง หาก ไม่ได้รับ อนุมัติ อาจ ยกเลิก สัญญา ฉบับนี้ ได้ ฉะนั้น สัญญา ผ่อนชำระ ตามเอกสาร หมาย ล. 6 จึง ไม่ใช่ สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ที่ ศาลอุทธรณ์พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ชำระ ต้นเงิน และ ดอกเบี้ย ที่ ค้าง นั้นศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน