โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ เครื่องหมายการค้า รูป ช้างใน กรอบรูป หก เหลี่ยม ยืน หัน หน้า ไป ทาง ซ้าย ใน ท่า งอ เข่า หน้าด้าน ซ้ายและ ลด งวง ลง ซึ่ง จดทะเบียน ไว้ แล้ว สำหรับ สินค้า จำพวก 17สินค้า ปูนซีเมนต์ จำเลย ยื่น คำขอ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า รูป ช้างใน กรอบรูป หก เหลี่ยม ยืน หัน หน้า ไป ทาง ซ้าย ขา หน้าด้าน ซ้าย งอ ขึ้นเหยียบ ถัง และ ชู งวง ขึ้น และ คำ ว่า "ตรา ช้าง คือ คุณภาพ " อยู่ ใต้ รูป ช้างกับ "ใช้ งาน หนัก อย่าง มั่นใจ ต้อง ตรา ช้าง" อยู่ ข้าง รูป ช้างโดย ทั้งหมด อยู่ ใน กรอบ สี่เหลี่ยมผืนผ้า สำหรับ สินค้า จำพวก 50ทั้ง จำพวก ยกเว้น กรอบรูป ดิน น้ำมัน ชอล์กขีด ผ้า ชอล์กฝน หัวคิวบิลเลียด โจทก์ คัดค้าน คำขอ จดทะเบียน ดังกล่าว แต่ นายทะเบียนยก คำคัดค้าน ขอให้ห้าม มิให้ จำเลย ใช้ เครื่องหมายการค้า รูป ช้างใน รูป ประดิษฐ์ หก เหลี่ยม และ คำ ว่า "ตรา ช้าง" และ ให้ เพิกถอน คำขอจดทะเบียน เครื่องหมายการค้า เลขที่ 154592 ของ จำเลย
จำเลย ให้การ ว่า เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย แตกต่าง กับ ของ โจทก์เพราะ ช้าง ของ โจทก์ ลด งวง ลง ของ จำเลย ชู งวง ขึ้น และ ส่วนประกอบ อื่น ๆก็ แตกต่าง กัน ทั้ง โจทก์ ใช้ เครื่องหมายการค้า กับ สินค้า ปูนซีเมนต์ส่วน ของ จำเลย ใช้ กับ สินค้า ประเภท ถัง ปูน เกรี ยงฉาบปูน กระบะ ถือ ปูนและ เครื่องมือ ของ ช่าง ปูน อื่น ๆ โจทก์ ไม่มี สิทธิ ห้าม จำเลย ใช้เครื่องหมายการค้า ดังกล่าว
ศาลชั้นต้น พิพากษา ห้าม มิให้ จำเลย ใช้ เครื่องหมายการค้า รูป ช้างใน รูป ประดิษฐ์ หก เหลี่ยม และ คำ ว่า "ตรา ช้า ง" เครื่องหมาย หนึ่งเครื่องหมาย ใด หรือ รวมกัน และ ให้ เพิกถอน คำขอ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย ตาม คำขอ จดทะเบียน เลขที่ 154592
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คดี มี ปัญหา ตาม ฎีกา โจทก์ ว่า เครื่องหมายการค้า ที่ จำเลย ยื่น ขอ จดทะเบียน ตาม คำขอ เลขที่ 154592 เป็น การเลียนแบบ ให้ มี ลักษณะ เหมือน หรือ คล้าย กับ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ที่ ได้ จดทะเบียน ไว้ ก่อน แล้ว จน ถึง นับ ได้ว่า เป็น การ ลวง สาธารณชนหรือไม่ พิเคราะห์ แล้ว ตาม คำขอ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า ของ จำเลยเอกสาร หมาย จ. 18 มี ข้อจำกัด ไม่ให้ สิทธิ ผู้ขอ จดทะเบียน แต่ ผู้เดียวที่ จะ ใช้ คำ ว่า "ใช้ งาน หนัก อย่าง มั่นใจ " และ คำ ว่า "คือ คุณภาพ "ดังนั้น เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย ที่ ยื่น ขอ จดทะเบียน จึง มี สาระสำคัญอยู่ ที่ รูป ช้าง ยืน อยู่ ใน กรอบรูป หก เหลี่ยม และ คำ ว่า "ตรา ช้าง"เห็นว่า เครื่องหมายการค้า รูป ช้า งของ โจทก์ ที่ ได้ จดทะเบียน ไว้ ก่อนมี ลักษณะ เด่นอยู่ ที่ ตัว ช้า งยืน หัน หน้า ไป ทาง ซ้าย ยก เข่า หน้า ซ้ายงอ เล็กน้อย ลด งวง ลง ยืน อยู่ ใน กรอบรูป หก เหลี่ยม มี เส้น ไข ว้ตัด กันรอบ ตัว ช้า ง ส่วน เครื่องหมายการค้า รูป ช้า งของ จำเลย ที่ ขอ จดทะเบียนมี ลักษณะ เด่นอยู่ ที่ ตัว ช้า งยืน หัน หน้า ไป ทาง ซ้าย ยก เท้า หน้า ซ้ายเหยียบ ถัง ชู งวง ขึ้น เหนือ ศีรษะ อยู่ ใน กรอบรูป หก เหลี่ยม มี เส้นโค้งลาก จาก มุม หนึ่ง ไป ยัง อีก มุม หนึ่ง ของ รูป หก เหลี่ยม เหมือน ดาว รอบ ตัว ช้า งเครื่องหมายการค้า รูป ช้า งของ โจทก์ และ จำเลย จึง มี ลักษณะ สำคัญอยู่ ที่ ตัว ช้า งยืน หัน หน้า ไป ทาง ซ้าย ใน กรอบรูป หก เหลี่ยม เหมือนกันส่วน รูป ช้า งของ จำเลย ที่ ยืน ยก เท้า หน้า ซ้าย เหยียบ ถัง ชู งวง ขึ้นและ เท้า ทั้ง สอง คู่ หน้า หลัง ยืน แยก ออกจาก กัน เป็น ข้อแตกต่าง ในรายละเอียด ของ ลักษณะ การ ยืน และ การ วาง งวง ของ รูป ช้า งใน เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ เพียง เล็กน้อย เท่านั้น แม้ จำเลย จะ ใช้ เครื่องหมายการค้า ดังกล่าว กับ สินค้า จำพวก 50 ชนิด สินค้า กระบะ ถือ ปูนถัง พลาสติก ใส่ ปูน เกรี ยงฉาบปูน ต่าง จำพวก กับ สินค้า ของ โจทก์แต่ ก็ เป็น สินค้า ที่ เกี่ยวเนื่อง กับ สินค้า วัสดุ ก่อสร้าง ของ โจทก์ใน จำพวก ที่ 17 ซึ่ง โจทก์ ได้ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ ไว้และ ได้ โฆษณา ทาง สื่อมวลชน จน เป็น ที่ รู้ จัก แพร่หลาย ใน หมู่ ผู้รับเหมาก่อสร้าง เรียกขาน สินค้า ของ โจทก์ ว่า ตรา ช้า งมา ตั้งแต่ พ.ศ. 2517ก่อน จำเลย ยื่น ขอ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า และ คำ ว่า ตรา ช้า งดังกล่าว ใน พ.ศ. 2529 ถึง 10 ปี เศษ ข้อเท็จจริง ดังกล่าว จึง ฟังได้ ว่าจำเลย มี เจตนา ขอ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า รูป ช้า งและ คำ ว่าตรา ช้า ง เลียนแบบ เครื่องหมายการค้า รูป ช้า งของ โจทก์ โดย ทำให้คล้าย กับ เครื่องหมายการค้า รูป ช้า งของ โจทก์ ที่ ได้ จดทะเบียนไว้ ก่อน แล้ว จน อาจ ทำให้ ประชาชน สับสน หลงผิด ว่า เครื่องหมายการค้าและ สินค้า ของ จำเลย เป็น ของ โจทก์ โจทก์ ซึ่ง เป็น เจ้าของ เครื่องหมายการค้า จดทะเบียน จึง มีสิทธิ ตาม มาตรา 27 แห่ง พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2477 ที่ จะ ฟ้อง ขอให้ห้าม จำเลย ใช้เครื่องหมายการค้า ที่ ขอ จดทะเบียน และ ให้ เพิกถอน คำขอ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ดังกล่าว ของ จำเลย เสีย ได้ คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกา ฎีกา โจทก์ ฟังขึ้น
พิพากษากลับ ให้ บังคับคดี ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น