คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับศาล/ผู้พิพากษา
ศาลจังหวัดลำปาง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 204 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2567

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญา นายหน้า ค่าชดใช้จากการถมดิน และประเด็นการฟ้องเกินคำขอ
จำเลยทำสัญญาให้โจทก์เป็นนายหน้าขายที่ดินตกลงค่านายหน้าในอัตราร้อยละ 3 จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดได้ โจทก์ฟ้องตั้งรูปคดีว่าจำเลยใช้สิทธิบอกเลิกสัญญากับโจทก์โดยไม่สุจริตปราศจากมูลที่จะอ้างตามสัญญาหรือกฎหมายได้ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย มีคำขอให้จำเลยใช้เงินแก่โจทก์เป็นค่าใช้จ่ายในการปรับถมที่ดิน 125,000 บาท ค่าที่ดินเพิ่มขึ้นจากการปรับถมที่ดิน 14,355,099 บาท และค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ 5,000,000 บาท ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยว่า จำเลยขายที่ดินให้แก่ผู้ซื้อถือได้ว่าเป็นผลจากการที่โจทก์ได้ติดต่อให้ผู้ซื้อตัดสินใจซื้อ พิพากษาให้จำเลยใช้ค่านายหน้าร้อยละ 3 ของราคาซื้อขายจำนวน 2,712,000 บาท เป็นเงิน 81,360 บาท เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องหรือที่โจทก์มีคำขอบังคับ อันเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 246 โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยใช้ค่านายหน้าแก่โจทก์จากราคาที่ผู้ซื้อกับจำเลยทำการซื้อขายกันจริงจำนวน 6,000,000 บาท เป็นเงิน 180,000 บาท และที่จำเลยฎีกาว่าการซื้อขายที่ดินระหว่างผู้ซื้อกับจำเลยไม่ได้เป็นผลมาจากการชี้ช่องหรือจัดการให้ของโจทก์ จำเลยไม่ต้องใช้ค่านายหน้าแก่โจทก์ เป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 5 เป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 252 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่โจทก์ปรับปรุงถมดินในที่ดินของจำเลยที่มีโจทก์เป็นนายหน้าเพื่อจูงใจให้มีผู้สนใจมาซื้อที่ดิน โจทก์แจ้งให้จำเลยทราบถึงเรื่องนี้แล้วจำเลยไม่ได้คัดค้าน จึงถือได้ว่าโจทก์ทำการปรับถมดินในที่ดินของจำเลยโดยสุจริต แม้ค่าใช้จ่ายนี้โจทก์รับว่า ตามสัญญานายหน้าไม่มีการระบุเรื่องของการถมดินและค่าใช้จ่ายในการถมดิน ซึ่งทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ได้เสียไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 845 แต่ดินที่ถมดังกล่าวเป็นทรัพย์ที่ตกติดไปกับที่ดินที่จะซื้อจะขายกัน อันเป็นประโยชน์ในการขายต่อไป กรณีย่อมถือได้ว่าจำเลยได้มาซึ่งทรัพย์คือดินที่ถมนั้น โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์นั้นเสียเปรียบ ลักษณะลาภมิควรได้ จำเลยจึงต้องคืนทรัพย์นั้นให้แก่โจทก์ แต่เมื่อสภาพทรัพย์ดังกล่าวเป็นสิ่งที่ตรึงตรากับที่ดินอย่างถาวร โดยสภาพย่อมไม่อาจคืนทรัพย์นั้นกันได้ จำเลยจึงต้องคืนโดยใช้ราคาทรัพย์นั้นแก่โจทก์ มิใช่ชดใช้ราคาค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้นโดยใช้ดินในการถมประมาณ 97 ลูกบาศก์เมตร ถมดินสูงขึ้นมาจากพื้นดินประมาณ 30 เซนติเมตร ค่าใช้จ่ายในการปรับถมที่ดินจำนวน 125,000 บาท จำเลยไม่ได้แก้อุทธรณ์โจทก์หรือฎีกาโต้แย้งว่าไม่ถูกต้องอย่างไร กรณีจึงฟังได้ว่าโจทก์เสียค่าใช้จ่ายในการปรับถมที่ดินไป จำนวน 125,000 บาท อันถือเป็นราคาทรัพย์ที่จำเลยต้องชดใช้คืนแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4367/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อฟื้นคดีอาญา: คำร้องซ้ำหลังศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้ว ถือสิ้นสุดสิทธิ
คำร้องของจำเลยลงวันที่ 4 มีนาคม 2565 ที่ขอให้รื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่นั้น แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้ทำการไต่สวน แต่ศาลชั้นต้นก็ได้พิจารณาคำร้องของจำเลยแล้วและเห็นว่า เมื่อพิจารณาจากคำร้องแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้แล้วโดยไม่จำต้องไต่สวน จึงมีคำสั่งให้งดการไต่สวน และทำความเห็นพร้อมส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 5 ซึ่งการจะงดการไต่สวนหรือทำการไต่สวนไปเป็นอำนาจโดยทั่วไปของศาลชั้นต้นหากเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้แล้ว โดยพิจารณาเพียงจากคำร้องของจำเลย ศาลชั้นต้นก็อาจสั่งให้งดการไต่สวนได้ การดำเนินการในส่วนนี้ของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว และเมื่อคดีขึ้นสู่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 แล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ก็ได้มีคำวินิจฉัยไปโดยมิได้มีคำสั่งให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำร้องของจำเลยก่อนแต่อย่างใด โดยศาลอุทธรณ์ภาค 5 ได้ให้เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยไว้อย่างแจ้งชัดว่าคำร้องของจำเลยอ้างแต่เพียงว่ามี ม. ประจักษ์พยาน ซึ่งเป็นพยานหลักฐานใหม่อันชัดแจ้งและสำคัญแก่คดี ที่รู้เห็นว่าจำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิดเท่านั้น โดยไม่ปรากฏข้ออ้างโดยละเอียดชัดแจ้งเพื่อให้เห็นว่าพยานหลักฐานใหม่มีความเป็นมาอย่างไร เหตุใดจำเลยจึงมิได้นำ ม. มาพิสูจน์ว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดตั้งแต่แรก ที่สำคัญพยานหลักฐานใหม่นั้นมีความสำคัญแก่คดีมากพอที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาที่ได้พิพากษาลงโทษจำเลยไปแล้วหรือไม่ เมื่อคำร้องมิได้อ้างเหตุโดยละเอียดชัดแจ้งเช่นนี้ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีพยานหลักฐานใหม่อันชัดแจ้งและสำคัญแก่คดี คำร้องของจำเลยจึงไม่มีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ ให้ยกคำร้อง คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 5 ดังกล่าว เป็นการวินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคำร้องแล้ว โดยฟังว่าคำร้องของจำเลยไม่มีมูลเพียงพอที่จะฟังว่ามีพยานหลักฐานใหม่อันควรให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ได้ ซึ่งตามพ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า หากศาลอุทธรณ์เห็นว่า คำร้องนั้นไม่มีมูล ให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องนั้น และในวรรคสองบัญญัติว่า คำสั่งของศาลอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งให้เป็นที่สุด ดังนั้น เมื่อคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 5 ที่สั่งว่าคำร้องของจำเลยไม่มีมูลและให้ยกคำร้อง จึงถึงที่สุดแล้ว การยื่นคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ของจำเลยดังกล่าวจึงสิ้นสุด ไม่อาจดำเนินการใดต่อไปได้อีก เนื่องจากมาตรา 18 ระบุไว้อย่างแจ้งชัดว่า คำร้องเกี่ยวกับผู้ต้องรับโทษอาญาคนหนึ่งให้ยื่นได้เพียงครั้งเดียว ดังนั้น เมื่อคำร้องของจำเลยฉบับลงวันที่ 4 มีนาคม 2565 ถึงที่สุดไปแล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ ฉบับลงวันที่ 16 สิงหาคม 2565 ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4655/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ การครอบครองพื้นที่ และความรับผิดทางแพ่ง
ความผิดฐานร่วมกันทำไม้หวงห้ามในเขตป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาต และฐานร่วมกันยึดถือครอบครองทำประโยชน์ แผ้วถาง หรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ตามพฤติการณ์การกระทำความผิดในคดีนี้ สามารถแยกการกระทำและเจตนาในการกระทำออกจากกันได้ จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานร่วมกันทำไม้หวงห้ามในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ฯ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 นั้น ไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ซึ่งกระทำความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวเพิ่มขึ้น จึงไม่อาจแก้ไขโทษที่จะลงแก่จำเลยที่ 1 ได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1 ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1907/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระการพิสูจน์ของจำเลยเมื่ออ้างว่าไม้ประดู่แปรรูปได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่พยานหลักฐานไม่น่าเชื่อถือ
จำเลยฎีกาว่า ไม้ประดู่แปรรูปของกลางจำเลยซื้อมาจากร้อยตำรวจโท ร. เป็นไม้ประดู่แปรรูปมาจากต้นไม้ประดู่ที่ขึ้นอยู่ในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายที่ดินจึงไม่เป็นไม้หวงห้ามนั้น เห็นว่า ข้ออ้างตามที่จำเลยยกขึ้นฎีกามาดังกล่าวเป็นการยกข้อกล่าวอ้างที่อยู่ในความรู้เห็นของจำเลยโดยเฉพาะ จำเลยจึงมีภาระการพิสูจน์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1470/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำนำสลากออมสินพิเศษ: บุริมสิทธิเหนือทรัพย์ที่จำนำ และการคุ้มครองเจ้าหนี้มีประกัน
สิทธิซึ่งมีตราสารย่อมหมายถึงตราสารที่ใช้แทนสิทธิหรือทรัพย์ ซึ่งเป็นเอกสารที่ทำขึ้นตามแบบพิธีในกฎหมายและเป็นตราสารที่โอนแก่กันได้ด้วยวิธีของตราสารนั้น สลากออมสินพิเศษมีลักษณะเป็นตราสารที่เปลี่ยนมือได้ง่าย เป็นหนังสือตราสาร มี พ.ร.บ. และกฎกระทรวงรองรับจึงเป็นตราสารเปลี่ยนมือได้ มิใช่เอกสารธรรมดาที่ทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานแห่งสิทธิทั่วไป สลากออมสินพิเศษจึงเป็นสิทธิซึ่งมีตราสารที่สามารถจำนำประกันหนี้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 751 จำเลยที่ 1 นำสลากออมสินพิเศษไปจำนำเป็นประกันหนี้เงินกู้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องจึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันซึ่งมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์ที่จำนำไว้ การบังคับคดีของโจทก์ย่อมไม่อาจกระทบกระทั่งถึงบุริมสิทธิจำนำของผู้ร้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 (เดิม) ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอกันเงินส่วนที่ได้จากการอายัดสลากออมสินพิเศษในฐานะเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิก่อนเจ้าหนี้อื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 655/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินกรรมเดียวหรือหลายกรรมในคดีองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติและการช่วยเหลือคนต่างด้าว
การจะพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกันนั้น ต้องพิจารณาถึงเจตนาในการกระทำความผิดเป็นสำคัญว่ามีเจตนาเดียวกันหรือไม่ประกอบกันด้วย ข้อเท็จจริงได้ความว่าการกระทำของจำเลยในความผิดฐานมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ และในความผิดฐานร่วมกันนำและพาคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย เป็นการกระทำความผิดที่ต่อเนื่องกันโดยมีเจตนามุ่งหมายอันเดียวกันเพื่อจะช่วยเหลือนำพาคนต่างด้าวทั้งสิบสี่ให้เข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวอันเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท และการที่จำเลยกับพวกร่วมกันนำและพาคนต่างด้าวทั้งสิบสี่เข้ามาในราชอาณาจักรดังกล่าว ย่อมเป็นความผิดสำเร็จอยู่ในตัวเมื่อนำหรือพาคนต่างด้าวทั้งสิบสี่เข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว แต่เมื่อจำเลยกับพวกรู้ว่าคนต่างด้าวดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ร่วมกันซ่อนเร้น ช่วยด้วยประการใด ๆ เพื่อให้คนต่างด้าวทั้งสิบสี่นั้นพ้นจากการจับกุม จึงเป็นความผิดอีกส่วนหนึ่งซึ่งสามารถแยกการกระทำต่างหากจากกันได้ ทั้งจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยตามฟ้องในข้อ 1 (ก) (ข) และ (ค) เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทนั้น จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 81/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสนับสนุนการชิงทรัพย์: ความผิดฐานตัวการร่วม vs. ผู้สนับสนุน และการใช้รถยนต์ในการกระทำความผิด
จำเลยที่ 2 เพียงแต่ขับรถยนต์ไปส่งและรอรับจำเลยที่ 1 อันเป็นการช่วยเหลือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 ในการชิงทรัพย์ มิได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิด จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ใช้รถยนต์ดังกล่าวเพื่อความสะดวกในการชิงทรัพย์ หรือพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม จำเลยที่ 1 ย่อมไม่มีความผิดตามมาตรา 340 ตรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1686/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานเกี่ยวกับที่มาของไม้ผิดกฎหมาย แม้ยังไม่ถูกแจ้งข้อหา
จำเลยที่ 2 แจ้งแก่เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2560 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยที่ 1 ถูกจับกุมพร้อมไม้ประดู่ 12 ท่อน ของกลาง โดยแจ้งว่าไม้ของกลางเป็นไม้ที่ซื้อมาจาก ม. ขณะนั้นเจ้าพนักงานยังไม่ได้จับกุมหรือแจ้งข้อกล่าวหาแก่จำเลยที่ 2 แต่อย่างใด เพียงแต่สอบปากคำในฐานะพยานเท่านั้น การจับกุมผู้ต้องหาในวันที่ 25 พฤษภาคม 2560 มีเพียงการจับกุมจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียวไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ด้วย เพิ่งมีการแจ้งข้อกล่าวหาแก่จำเลยที่ 2 ในภายหลัง เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2560 ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 แจ้งแก่เจ้าหน้าที่ป่าไม้ว่าไม้ของกลางเป็นไม้ที่ตนเองซื้อมาจาก ม. เป็นไม้เสาบ้านเก่าของ ม. ซึ่งไม่เป็นความจริง การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1584/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ไม้สักในที่ดินมีสิทธิครอบครองไม่เป็นไม้หวงห้าม การทำไม้จึงไม่ผิดตามกฎหมายป่าไม้
ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาได้มีการยกเลิกบทบัญญัติมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ที่ใช้บังคับอยู่เดิม โดยมาตรา 7 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ บัญญัติว่า "...ไม้ทุกชนิดที่ขึ้นในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน ไม่เป็นไม้หวงห้าม..." ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ไม้สักของกลางเป็นไม้ที่ขึ้นอยู่ในที่ดินที่พ่อตาจำเลยมีสิทธิครอบครองตาม ป.ที่ดิน ไม้สักดังกล่าวจึงมิใช่เป็นไม้หวงห้าม การที่จำเลยตัดฟันไม้สักของกลางในที่ดินดังกล่าว แล้วมีการแปรรูปนำมาเก็บรักษาไว้ในที่ดินที่เกิดเหตุ ย่อมไม่เป็นความผิดฐานทำไม้สักโดยไม่ได้รับอนุญาตและมีไม้สักแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามฟ้องอีกต่อไป ทั้งนี้ตาม ป.อ. มาตรา 2 และเมื่อไม้สักของกลางเป็นไม้สักที่จำเลยได้มาโดยชอบ จึงไม่อาจริบได้ ต้องคืนให้แก่เจ้าของ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1747/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแย่งการครอบครองที่ดิน: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นคำให้การขัดแย้งและอำนาจฟ้อง
จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์แล้ว โจทก์ฟ้องคดีเพื่อปลดเปลื้องการรบกวนการครอบครองเกินหนึ่งปีนับแต่เวลาถูกรบกวนและแย่งการครอบครอง โจทก์หมดสิทธิฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครอง ขอให้พิพากษาว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองที่ดิน... ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำให้การและฟ้องแย้งที่ระบุว่าที่ดินพิพาทตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. 1) และที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิเป็นของจำเลย จึงขัดแย้งกันเอง เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์แล้วจำเลยแย่งการครอบครองหรือที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทและโจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายในหนึ่งปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 หรือไม่ เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์และโจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองเกินหนึ่งปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง โจทก์ขาดสิทธิฟ้องร้องไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
of 21