คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับศาล/ผู้พิพากษา
ศาลจังหวัดศรีสะเกษ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 327 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 459/2567

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต และการแปรรูปไม้หวงห้าม ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยฐานกระทำผิดกฎหมายโรงงานและป่าไม้
ความผิดฐานแปรรูปไม้ประดู่โดยไม่ได้รับอนุญาต ฐานมีไม้ประดู่แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ฐานแปรรูปไม้ประดู่และไม้สะเดาโดยไม่ได้รับอนุญาต และฐานมีไม้ประดู่และไม้สะเดาแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น โจทก์บรรยายฟ้องแยกออกเป็นข้อ ๆ ว่าจำเลยได้กระทำการอันเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระแยกออกจากกัน ลักษณะของความผิดในแต่ละข้อหาเป็นความผิดคนละประเภทกัน ทั้งอาศัยเจตนาในการกระทำความผิดแตกต่างแยกจากกันได้ การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน หาใช่การกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทดังที่จำเลยฎีกาไม่ ส่วนความผิดฐานตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 3 โดยไม่ได้รับใบอนุญาต และฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องแยกความผิดของจำเลยฐานตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 3 โดยไม่ได้รับใบอนุญาต กับฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตมาคนละข้อต่างหากจากกัน แต่การที่จำเลยตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงานเกี่ยวกับไม้อันเป็นโรงงานจำพวกที่ 3 โดยไม่ได้รับใบอนุญาตและตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต ก็เพื่อที่จะแปรรูปไม้ซึ่งเป็นเจตนาเดียวกัน การกระทำของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1879/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาฝากทรัพย์ที่มีความคุ้มครองประกันภัย การโฆษณาชักจูงผู้บริโภค และความรับผิดของผู้ประกอบธุรกิจ
จำเลยประกอบธุรกิจธนาคารรับฝากเงิน ทำการโฆษณาทางสื่อสังคมออนไลน์ด้วยข้อความว่าเป็นการรับฝากเงินสงเคราะห์ แบบคุ้มครองสินเชื่อแก่ลูกค้าผู้กู้ของธนาคาร โดยกำหนดคุณสมบัติของผู้ฝากเงินสงเคราะห์และเงื่อนไขสำคัญว่า ผู้ฝากเงินสงเคราะห์ต้องมีคุณสมบัติเป็นเกษตรกรลูกค้าผู้กู้และคู่สมรส อายุระหว่าง 20 ปี ถึง 70 ปี ชำระเงินต่อปี โดยมีผลประโยชน์กรณีเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุรับเพิ่ม 100 เปอร์เซ็นต์ ของเงินทุนสงเคราะห์ ข้อความโฆษณาดังกล่าวจำเลยนำมาจากหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในกรมธรรม์มอบรัก 1/1 ย่อมทำให้ผู้ตายซึ่งเป็นผู้บริโภคเข้าใจว่า หากผู้ตายเป็นลูกค้าของธนาคารจำเลย นำเงินไปฝากกับจำเลยตามจำนวนและต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในคำโฆษณาแล้ว ผู้ตายซึ่งเป็นคู่สัญญาฝากทรัพย์จะได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขต่าง ๆ ของกรมธรรม์มอบรัก 1/1 ที่จำเลยโฆษณาไว้ด้วย จำเลยจึงต้องผูกพันให้ความคุ้มครองแก่ผู้ตายตามที่ตนโฆษณาซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 11 การที่ผู้ตายขอฝากเงินสงเคราะห์ต่อจำเลยโดยมุ่งหวังรับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์มอบรัก 1/1 จึงเป็นการแสดงเจตนาทำสัญญาฝากทรัพย์โดยมีความคุ้มครองประกันชีวิตให้แก่ผู้ตายอยู่ด้วย เพราะต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้ตายซึ่งเป็นผู้บริโภคซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 11 จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามใบคำขอฝากเงินสงเคราะห์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 108/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรมต่างกันจากการปลอมเงินตราและใช้เงินปลอมลักทรัพย์ การหักวันคุมขัง และการแจ้งข้อหา
จำเลยทำปลอมขึ้นซึ่งเงินตราธนบัตรของรัฐบาลไทยชนิดราคา 100 บาท และมีธนบัตรปลอมนั้นไว้เพื่อนำออกใช้โดยรู้ว่าเป็นของปลอม เป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่ทำปลอมและมีธนบัตรปลอมไว้เพื่อนำออกใช้แล้ว จากนั้นจำเลยนำธนบัตรรัฐบาลไทยปลอมที่จำเลยทำปลอมขึ้นดังกล่าวไปใช้ลักทรัพย์ ด้วยการใส่ธนบัตรปลอมดังกล่าวเข้าไปในช่องรับเงินของตู้เติมเงินบุญเติมของผู้เสียหายเพื่อโอนเงินจำนวนดังกล่าวไปยังบัญชีธนาคารของผู้มีชื่อที่จำเลยมีหรือเปิดไว้ใช้งานโดยมีเจตนาทุจริตที่จะเอาเงินดังกล่าวไป เป็นการกระทำที่จำเลยมีเจตนาประสงค์ต่อผลต่างกัน สามารถแยกการกระทำแต่ละความผิดได้ จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2905/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตรา-ประกอบธุรกิจคล้ายธนาคาร: จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา แม้มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ใหม่
ปัญหาว่าโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายที่มีอำนาจร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์หรือไม่ เป็นเรื่องเฉพาะตัวของโจทก์ร่วม เมื่อความผิดตามฟ้องมิใช่ความผิดต่อส่วนตัวที่พนักงานสอบสวนจะมีอำนาจสอบสวนต่อเมื่อมีคำร้องทุกข์ของผู้เสียหาย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ยกคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ด้วยเหตุผลว่าโจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหายย่อมไม่กระทบอำนาจฟ้องของโจทก์แต่อย่างใด โจทก์จึงไม่มีสิทธิฎีกาในปัญหาเกี่ยวกับการเข้าร่วมเป็นโจทก์ของโจทก์ร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1672/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนทรัพย์สินหรือใช้ราคาทรัพย์สินที่ถูกยักยอก และการชดใช้ค่าเสียหายจากการกระทำละเมิด
ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคสอง บัญญัติว่า "อนึ่งค่าสินไหมทดแทนนั้น ได้แก่การคืนทรัพย์สินอันผู้เสียหายต้องเสียไปเพราะละเมิด หรือใช้ราคาทรัพย์สินนั้น รวมทั้งค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันได้เกิดขึ้นนั้นด้วย" การเบียดบังเอาทรัพย์ของผู้อื่นที่ตนครอบครองเป็นของตนโดยทุจริตอันเป็นความผิดอาญาฐานยักยอกและเป็นละเมิดในทางแพ่งนั้น การใช้ค่าสินไหมทดแทนต้องกระทำโดยการคืนทรัพย์สินที่ยักยอกแก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินเป็นลำดับแรก กรณีผู้ทำละเมิดไม่อาจคืนทรัพย์สินแก่ผู้เสียหายได้ ผู้เสียหายจึงจะมีสิทธิเรียกให้ผู้ทำละเมิดใช้ราคาทรัพย์สินแทนเป็นลำดับถัดมา คดีนี้โจทก์มีคำขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์สินที่ถูกประทุษร้ายรวม 19 ลำดับ แก่โจทก์ร่วมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 แสดงว่าขณะฟ้องทรัพย์สินของโจทก์ร่วมทั้งหมดรวมทั้งสะพานไม้รอบบ่อ ยังอยู่ในสภาพที่จำเลยทั้งสามสามารถคืนให้แก่โจทก์ร่วมได้ ทั้งในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีส่วนแพ่งในศาลชั้นต้นของโจทก์ร่วมเริ่มตั้งแต่ยื่นคำร้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เข้าร่วมไกล่เกลี่ยตกลงให้โจทก์ร่วมขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินและอาคารที่เช่าตลอดจนอ้างตนเองเบิกความเป็นพยาน โจทก์ร่วมก็มิได้โต้แย้งหรือเบิกความคัดค้านว่าสะพานไม้รอบบ่อสูญหาย หรือบุบสลายหรือถูกทำลายจนไม่อยู่ในสภาพที่จำเลยทั้งสามจะคืนให้แก่โจทก์ร่วมได้ โจทก์ร่วมเพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างเป็นประเด็นในชั้นฎีกาว่า จำเลยทั้งสามไม่ได้ดูแลรักษาสะพานไม้รอบบ่อขณะอยู่ในความครอบครองของจำเลยทั้งสามจนสะพานไม้รอบบ่อได้รับความเสียหาย ไม่อยู่ในสภาพเดิม โจทก์ร่วมจึงไม่ขอรับสะพานไม้รอบบ่อคืนจากจำเลยทั้งสามโดยขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ราคาแทนโจทก์ร่วมสถานเดียว จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมาตรา 252 ที่แก้ไขใหม่ ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40
ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือได้รับความเสื่อมเสียต่อเสรีภาพในร่างกาย ชื่อเสียงหรือได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินอันเนื่องจากการกระทำความผิดของจำเลย ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนก็ได้" และวรรคสาม บัญญัติว่า "คำร้องตามวรรคหนึ่งจะมีคำขอประการอื่นที่มิใช่คำขอบังคับให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากกระทำความผิดของจำเลยในคดีอาญามิได้ ..." จากบทบัญญัติดังกล่าว แสดงว่าค่าสินไหมทดแทนที่ผู้เสียหายจะขอให้บังคับจำเลยชดใช้ให้โดยการยื่นคำร้องเข้าไปในคดีอาญาในฐานความผิดที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ก็แต่เฉพาะค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดอาญาที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยเท่านั้น คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามฐานยักยอก โจทก์ร่วมจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันคืนหรือใช้ราคาทรัพย์สินที่จำเลยทั้งสามเบียดบังเป็นของตนโดยทุจริตตลอดจนค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันได้ก่อขึ้นอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดฐานยักยอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคสอง การที่โจทก์ร่วมไม่ได้เข้าประกอบกิจการร้านอาหารในที่ดินและอาคารที่เช่าของจำเลยที่ 1 เป็นผลมาจากโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 ตกลงเลิกสัญญาเช่าที่ดินและอาคารต่อกันแล้วก่อนเกิดเหตุกระทำความผิดอาญาฐานยักยอก ดังนี้ การที่โจทก์ร่วมขาดรายได้จากการขายอาหารจึงมิได้สืบเนื่องมาจากจำเลยทั้งสามกระทำความผิดฐานยักยอกตามฟ้องจึงไม่อาจนำค่าขาดรายได้จากการประกอบกิจการร้านขายอาหารมาเป็นเกณฑ์กำหนดค่าเสียหายให้จำเลยทั้งสามชดใช้แก่โจทก์ร่วมได้ อย่างไรก็ตาม ตามคำขอของโจทก์ร่วมดังกล่าวพออนุโลมได้ว่าเป็นการเรียกค่าสินไหมดแทนที่จำเลยทั้งสามเบียดบังเอาทรัพย์สินของโจทก์ร่วมไปใช้เป็นประโยชน์ของจำเลยทั้งสามในลักษณะเป็นค่าใช้ทรัพย์ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการกระทำความผิดฐานยักยอกของจำเลยทั้งสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1561/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานให้กู้ยืมเงินเกินอัตราดอกเบี้ย และการปลอมเอกสารสิทธิ การกระทำความผิดเกิดขึ้นเมื่อให้กู้ ไม่ใช่เมื่อได้รับดอกเบี้ย
ความผิดฐานให้บุคคลอื่นกู้ยืมเงินโดยเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เกิดขึ้นและสำเร็จแล้วในทันทีที่จำเลยให้ผู้เสียหายทั้งห้ากู้เงินโดยเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด มิใช่ว่าจำเลยจะต้องได้รับดอกเบี้ยจากผู้เสียหายทั้งห้าก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1148/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีใหม่หลังมีสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอม ศาลต้องพิจารณาในคดีเดิม
สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมคดีก่อนถือว่าโจทก์ทั้งสองเป็นบุคคลที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ได้รับชำระหนี้จากจำเลยโดยอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ส่วนจำเลยถือได้ว่าเป็นบุคคลที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสองโดยอยู่ในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 274 วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสองชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีแก่จำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมเข้าไปในคดีเดิมตาม มาตรา 7 (2) โจทก์ทั้งสองไม่อาจนำข้อพิพาทในชั้นบังคับคดีดังกล่าวมาฟ้องร้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งได้มีคำพิพากษาตามยอมเป็นคดีใหม่ได้ โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสองได้ตาม มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3316/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักประกันเพียงพอแม้ผู้ค้ำประกันลาออก ไม่ถือเป็นผิดสัญญา
ตามระเบียบสหกรณ์การเกษตรของโจทก์ ข้อ 14 วรรคสอง ระบุว่า กรณีผู้ค้ำประกันออกจากสหกรณ์ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ นอกจากกำหนดให้ผู้กู้ต้องจัดหาผู้ค้ำประกันใหม่แทนผู้ค้ำประกันที่ลาออกแล้ว ยังได้กำหนดให้ผู้มีสิทธิจัดหาหลักประกันอื่นมาเพิ่มเติมอันเป็นทางเลือกของผู้กู้อีกทางหนึ่งด้วย โดยมีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกันก็คือเพื่อให้ผู้ให้กู้ได้มีหลักประกันเพียงพอครอบคลุมหนี้เงินกู้ที่เหลืออยู่ ปรากฏว่าหลักประกันการกู้เงินของจำเลยที่ 1 มีทั้งหลักประกันด้วยบุคคลและทรัพย์ การประกันด้วยบุคคลนอกจากจำเลยที่ 2 แล้วยังมีผู้ค้ำประกันคือจำเลยที่ 3 อีกด้วย โดยตามระเบียบสหกรณ์การเกษตรของโจทก์ ข้อ 14 (4) กำหนดให้พนักงานสหกรณ์ค้ำประกันได้ในวงเงินไม่เกิน 30,000 บาท แสดงว่าโจทก์ตีมูลค่าการค้ำประกันเป็นเงินคนละ 30,000 บาท ส่วนหลักประกันด้วยทรัพย์ ประกอบด้วยที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 1 และที่ 4 รวม 4 แปลง จดทะเบียนจำนองประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่เกิดขึ้นแล้วหรือที่จะเกิดภายในวงเงิน รวมหลักประกันมีมูลค่ามากกว่าหนี้คงเหลือและดอกเบี้ย ก่อนฟ้องจำเลยที่ 1 ไม่เคยผิดนัดชำระหนี้แก่โจทก์เลย แม้ระเบียบสหกรณ์การเกษตรของโจทก์กำหนดให้จำเลยที่ 1 ต้องหาหลักประกันเพิ่มเติมก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าหลักประกันที่เหลืออยู่มีมูลค่าครอบคลุมหนี้เงินกู้ที่เหลือเป็นจำนวนมากเช่นนี้จึงไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จำเลยที่ 1 ต้องจัดหาหลักประกันเพิ่มเติมให้แก่โจทก์อีก กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติครบถ้วนตามเจตนารมณ์ระเบียบดังกล่าวแล้ว การที่จำเลยที่ 2 ลาออกจากการเป็นพนักงานของโจทก์โดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้จัดหาผู้ค้ำประกันคนใหม่มาแทนจึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ชำระหนี้ตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3311/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักประกันเพียงพอ แม้ผู้ค้ำประกันลาออก ผู้กู้ไม่ต้องหาหลักประกันเพิ่ม ศาลยกฟ้อง
ตามระเบียบสหกรณ์การเกษตรของโจทก์ ข้อ 14 วรรคสอง ระบุว่า กรณีผู้ค้ำประกันออกจากสหกรณ์ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ นอกจากกำหนดให้ผู้กู้ต้องจัดหาผู้ค้ำประกันใหม่แทนผู้ค้ำประกันที่ลาออกแล้ว ยังได้กำหนดให้ผู้มีสิทธิจัดหาหลักประกันอื่นมาเพิ่มเติมอันเป็นทางเลือกของผู้กู้อีกทางหนึ่งด้วย โดยมีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกันก็คือเพื่อให้ผู้ให้กู้ได้มีหลักประกันเพียงพอครอบคลุมหนี้เงินกู้ที่เหลืออยู่ ปรากฏว่าหลักประกันการกู้เงินของจำเลยที่ 1 มีทั้งหลักประกันด้วยบุคคลและทรัพย์ การประกันด้วยบุคคลนอกจากจำเลยที่ 7 แล้ว ยังมีผู้ค้ำประกันที่เป็นพนักงานของโจทก์อีก 5 คนด้วย โดยตามระเบียบสหกรณ์การเกษตรของโจทก์ ข้อ 14 (4) กำหนดให้พนักงานสหกรณ์ค้ำประกันได้ในวงเงินไม่เกิน 30,000 บาท แสดงว่าโจทก์ตีมูลค่าการค้ำประกันเป็นเงินคนละ 30,000 บาท รวม 5 คน คิดเป็นมูลค่า 150,000 บาท ส่วนหลักประกันด้วยทรัพย์ จำเลยที่ 2 ได้นำที่ดิน 3 แปลง พร้อมสิ่งปลูกสร้าง มาจดทะเบียนจำนองประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่เกิดขึ้นแล้วหรือที่จะเกิดภายในวงเงินรวมหลักประกันมีมูลค่ามากกว่าหนี้คงเหลือและดอกเบี้ย ก่อนฟ้องจำเลยที่ 1 ไม่เคยผิดนัดชำระหนี้แก่โจทก์เลย แม้ระเบียบสหกรณ์การเกษตรของโจทก์กำหนดให้จำเลยที่ 1 ต้องหาหลักประกันเพิ่มเติมก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าหลักประกันที่เหลืออยู่มีมูลค่าครอบคลุมหนี้เงินกู้ที่เหลือเป็นจำนวนมากเช่นนี้จึงไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จำเลยที่ 1 ต้องจัดหาหลักประกันเพิ่มเติมให้แก่โจทก์อีก กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติครบถ้วนตามเจตนารมณ์ระเบียบดังกล่าวแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2425/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานพรากเด็กและผู้เยาว์เพื่อหากำไรและการค้าประเวณี วินิจฉัยความรับผิดของจำเลยที่ชักชวนและแนะนำ
จำเลยที่ 1 ชักชวนและแนะนำผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งยังเป็นเด็กและผู้เยาว์ไปขายบริการทางเพศโดยผู้เสียหายที่ 1 สมัครใจและเดินทางไปขายบริการทางเพศด้วยตนเองให้แก่บุคคลที่จำเลยที่ 1 แนะนำ จากนั้นก็แบ่งเงินให้จำเลยที่ 1 บ้าง พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการกระทำที่กระทบกระเทือนต่อการใช้อำนาจปกครองดูแลของผู้เสียหายที่ 2 ที่มีต่อผู้เสียหายที่ 1 แล้ว ไม่ว่าผู้เสียหายที่ 1 จะอยู่ที่ใดและจะยินยอมหรือไม่ เมื่อเป็นการเสื่อมเสียต่อสวัสดิภาพหรือประโยชน์สุขของผู้เสียหายที่ 1 จำเลยที่ 1 ย่อมมีความผิดฐานพรากเด็กและพรากผู้เยาว์ไปเพื่อหากำไรและเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม และมาตรา 319 วรรคหนึ่ง
of 33