พบผลลัพธ์ทั้งหมด 409 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1003/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่จากหนี้เดิมหลายประเภท (เงินกู้, ทองคำ, ค่าแชร์) และดอกเบี้ยผิดนัดตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่
หนี้ตามสัญญากู้เงินพิพาทเกิดจากการนำหนี้เงินกู้ 100,000 บาท หนี้ยืมทองคำ และหนี้ค่าแชร์มารวมกัน แม้หนี้เงินกู้เดิมไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมแต่จำเลยยังมีหน้าที่ต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์เพียงแต่โจทก์ไม่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีจำเลยได้ อย่างไรก็ตาม คู่กรณีสามารถตกลงกันทำสัญญากู้ยืมเงินขึ้นเพื่อบังคับตามสัญญากู้ยืมเงินได้ ทั้งการส่งมอบเงินกู้ไม่จำเป็นต้องส่งมอบเงินในวันทำสัญญา สามารถส่งมอบก่อนหรือหลังทำสัญญาก็ได้ และจำเลยรับว่าเป็นหนี้เงินกู้ 100,000 บาท ดังกล่าวจริง หนี้ส่วนนี้จึงสมบูรณ์ ส่วนหนี้ยืมทองคำ แม้มีการไถ่ถอนทองคำคืนโจทก์ แต่ก็เป็นการกระทำภายหลังที่มีการทำสัญญากู้ยืมเงินแล้ว ทั้งโจทก์และจำเลยมีการตรวจสอบยอดหนี้ในส่วนนี้ว่ายังมีหนี้ค้างชำระกันอีก หนี้ในส่วนนี้จึงสมบูรณ์เช่นกัน สำหรับหนี้ค่าแชร์เมื่อนำมารวมกับหนี้เงินกู้และหนี้ยืมทองคำแล้วจัดทำเป็นหนังสือสัญญากู้เงินพิพาท จำเลยยอมรับว่ามีการทำสัญญากู้ยืมเงินพิพาทจริง ส่วนจะเป็นโมฆะตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 มาตรา 6 หรือไม่ นั้น จำเลยเป็นฝ่ายกล่าวอ้าง จำเลยมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าในช่วงเวลาเดียวกันโจทก์มีการจัดให้เล่นแชร์มีจำนวนวงแชร์รวมกันมากกว่าสามวง หรือมีจำนวนสมาชิกวงแชร์รวมกันทุกวงมากกว่าสามสิบคน และมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าหนี้ค่าแชร์ที่นำมารวมเป็นหนี้ตามหนังสือสัญญากู้เงินมีทุนกองกลางต่อหนึ่งงวดรวมกันทุกวงเป็นมูลค่ามากกว่าสามแสนบาท เมื่อจำเลยไม่นำสืบจึงฟังไม่ได้ว่าหนี้ค่าแชร์ที่โจทก์เป็นนายวงเป็นโมฆะ และเมื่อมีการนำหนี้ทั้งสามประเภทมารวมกันเป็นหนี้ตามหนังสือสัญญากู้เงินพิพาท เป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยตกลงก่อหนี้ขึ้นมาใหม่โดยมีเจตนาให้หนี้เดิมระงับอันมีลักษณะเป็นการเปลี่ยนสาระสำคัญแห่งหนี้ จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2810/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงแปลงหนี้เป็นทุน-เจตนาสละสิทธิ-การบังคับคดีไม่ชอบ
การทำหนังสือสัญญาธุรกิจระหว่างจำเลยที่ 1 กับ อ. และการทำคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์และคำร้องขอถอนอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 มีความเกี่ยวพันและเป็นลำดับสืบเนื่องกันมา ถือได้ว่า อ. เป็นตัวแทนของโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 797 จึงมีผลผูกพันโจทก์ในฐานะตัวการ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 820 โจทก์และจำเลยที่ 1 มิได้กล่าวถึงหนี้ตามคำพิพากษาคดีนี้ไว้ในหนังสือสัญญาธุรกิจ และโจทก์ยื่นคำร้องโดยระบุข้อความว่า ขอถอนฟ้อง ประกอบกับโจทก์ร่วมลงทุนกับจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกเงินลงทุนทั้งหมด ส่วนโจทก์เป็นผู้บริหารกิจการโดยมิได้ออกเงินลงทุนเพิ่มเติม แสดงให้เห็นว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 ประสงค์จะให้คดียุติลงอย่างแท้จริง โดยนำหนี้ตามคำพิพากษาคดีนี้แปลงเป็นทุนในการทำธุรกิจร่วมกัน และโจทก์ยอมสละสิทธิในหนี้ตามคำพิพากษาคดีนี้ทั้งหมดให้แก่จำเลยที่ 1
การที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำหนังสือสัญญาธุรกิจและยื่นคำร้องขอถอนฟ้องและคำร้องขอถอนอุทธรณ์ จึงเป็นข้อตกลงในชั้นบังคับคดีที่โจทก์ยอมรับในศาลแล้ว เมื่อโจทก์ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาโดยแปลงเป็นทุนในการทำธุรกิจร่วมกับจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติตามข้อตกลงในหนังสือสัญญาธุรกิจครบถ้วนแล้ว หนี้ตามคำพิพากษาคดีนี้ย่อมระงับสิ้นไป โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีโดยยึดและอายัดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เพื่อบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาต่อไปได้ หมายบังคับคดีและการบังคับคดีที่ศาลชั้นต้นดำเนินการจึงไม่ชอบ
การที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำหนังสือสัญญาธุรกิจและยื่นคำร้องขอถอนฟ้องและคำร้องขอถอนอุทธรณ์ จึงเป็นข้อตกลงในชั้นบังคับคดีที่โจทก์ยอมรับในศาลแล้ว เมื่อโจทก์ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาโดยแปลงเป็นทุนในการทำธุรกิจร่วมกับจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติตามข้อตกลงในหนังสือสัญญาธุรกิจครบถ้วนแล้ว หนี้ตามคำพิพากษาคดีนี้ย่อมระงับสิ้นไป โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีโดยยึดและอายัดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เพื่อบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาต่อไปได้ หมายบังคับคดีและการบังคับคดีที่ศาลชั้นต้นดำเนินการจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทจำเลยค้ำประกัน - การคิดดอกเบี้ย - ศาลแก้ไขอัตราดอกเบี้ยให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ข้อตกลงเบื้องต้น (MOU) ระหว่างจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 5 เป็นข้อตกลงระหว่างผู้ค้ำประกันด้วยกันเอง โจทก์ในฐานะผู้รับโอนหนี้จากธนาคาร ด. มิได้ตกลงยินยอมด้วย จึงไม่มีผลให้จำเลยที่ 5 หลุดพ้นจากการเป็นผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันทรัสต์รีซีทที่ทำกับธนาคาร ด. ส่วนการที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำสัญญาสินเชื่อกับโจทก์ ปรากฏว่าเนื้อหาของสัญญาดังกล่าวเป็นการที่โจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 2 มาร่วมใช้วงเงินสินเชื่อที่จำเลยที่ 1 เคยได้รับจากธนาคาร ด. พร้อมกันนั้นได้มีการขอเพิ่มวงเงินสินเชื่อและเปลี่ยนแปลงประเภทวงเงินสินเชื่อ โดยไม่ได้ตกลงให้หนี้เดิมระงับและบังคับตามหนี้ใหม่ สิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้เดิมมิได้มีการเปลี่ยนแปลง กรณีถือไม่ได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงหนี้ใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 349 ไม่ทำให้หนี้ของจำเลยที่ 5 ที่มีต่อโจทก์ระงับสิ้นไป จำเลยที่ 5 จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
ตามสัญญาค้ำประกันทรัสต์รีซีทระบุว่า "สัญญาค้ำประกันฉบับนี้ให้ใช้บังคับโดยเอกเทศ ไม่ลบล้างหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขภาระผูกพันของลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันเองที่มีต่อธนาคารอยู่ก่อนหรือหลังวันทำสัญญานี้ และให้มีผลผูกพันตลอดถึงกองมรดก ทายาทผู้รับมรดก ผู้จัดการทรัพย์สิน รวมทั้งผู้รับโอนสิทธิและหน้าที่ของผู้ค้ำประกัน ก็ให้ใช้สัญญาฉบับนี้บังคับได้ด้วย" เมื่อโจทก์ได้รับโอนหนี้มาจากธนาคาร ด. โดยชอบ จำเลยที่ 6 และที่ 7 ผู้ค้ำประกันจึงต้องผูกพันต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนด้วย การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำสัญญาเพิ่มวงเงินสินเชื่อเดิมกับโจทก์มิใช่การทำสัญญาที่แยกต่างหากจากสัญญาเดิม จำเลยที่ 6 และที่ 7 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในหนี้ทรัสต์รีซีทที่เกิดขึ้นภายหลังวันทำสัญญาสินเชื่อด้วย
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ การคิดอัตราดอกเบี้ยจะต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของ พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.2551 มาตรา 38 และ 46 ประกอบมาตรา 4 ที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ซึ่งเป็นสถาบันการเงินประกาศข้อมูลในเรื่องอัตราดอกเบี้ย อัตราส่วนลด และค่าบริการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเรียกชื่อเป็นอย่างอื่น รวมทั้งข้อมูลอื่นใดเกี่ยวกับธนาคารพาณิชย์นั้นไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงานของธนาคารพาณิชย์ ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด คดีนี้ ธนาคารโจทก์มีการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเป็นช่วง ๆ ดังนั้น หากอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดต่ำตามประกาศธนาคารโจทก์นับถัดจากวันฟ้องต่ำกว่าอัตราร้อยละ 15.50 ต่อปี ตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง อัตราดังกล่าวก็จะเป็นอัตราที่สูงเกินกว่าสิทธิที่โจทก์จะเรียกได้ตามกฎหมาย จึงเห็นสมควรกำหนดอัตราดอกเบี้ยแก่โจทก์ให้ถูกต้องตามสิทธิที่โจทก์พึงเรียกได้ และเนื่องจากจำเลยที่ 5 ถึงที่ 7 เป็นผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 อย่างลูกหนี้ร่วม จึงเป็นกรณีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ เห็นสมควรแก้ไขการคิดอัตราดอกเบี้ยภายหลังวันฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ด้วย แม้จำเลยดังกล่าวจะมิได้อุทธรณ์คำพิพากษา
ตามสัญญาค้ำประกันทรัสต์รีซีทระบุว่า "สัญญาค้ำประกันฉบับนี้ให้ใช้บังคับโดยเอกเทศ ไม่ลบล้างหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขภาระผูกพันของลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันเองที่มีต่อธนาคารอยู่ก่อนหรือหลังวันทำสัญญานี้ และให้มีผลผูกพันตลอดถึงกองมรดก ทายาทผู้รับมรดก ผู้จัดการทรัพย์สิน รวมทั้งผู้รับโอนสิทธิและหน้าที่ของผู้ค้ำประกัน ก็ให้ใช้สัญญาฉบับนี้บังคับได้ด้วย" เมื่อโจทก์ได้รับโอนหนี้มาจากธนาคาร ด. โดยชอบ จำเลยที่ 6 และที่ 7 ผู้ค้ำประกันจึงต้องผูกพันต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนด้วย การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำสัญญาเพิ่มวงเงินสินเชื่อเดิมกับโจทก์มิใช่การทำสัญญาที่แยกต่างหากจากสัญญาเดิม จำเลยที่ 6 และที่ 7 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในหนี้ทรัสต์รีซีทที่เกิดขึ้นภายหลังวันทำสัญญาสินเชื่อด้วย
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ การคิดอัตราดอกเบี้ยจะต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของ พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.2551 มาตรา 38 และ 46 ประกอบมาตรา 4 ที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ซึ่งเป็นสถาบันการเงินประกาศข้อมูลในเรื่องอัตราดอกเบี้ย อัตราส่วนลด และค่าบริการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเรียกชื่อเป็นอย่างอื่น รวมทั้งข้อมูลอื่นใดเกี่ยวกับธนาคารพาณิชย์นั้นไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงานของธนาคารพาณิชย์ ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด คดีนี้ ธนาคารโจทก์มีการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเป็นช่วง ๆ ดังนั้น หากอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดต่ำตามประกาศธนาคารโจทก์นับถัดจากวันฟ้องต่ำกว่าอัตราร้อยละ 15.50 ต่อปี ตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง อัตราดังกล่าวก็จะเป็นอัตราที่สูงเกินกว่าสิทธิที่โจทก์จะเรียกได้ตามกฎหมาย จึงเห็นสมควรกำหนดอัตราดอกเบี้ยแก่โจทก์ให้ถูกต้องตามสิทธิที่โจทก์พึงเรียกได้ และเนื่องจากจำเลยที่ 5 ถึงที่ 7 เป็นผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 อย่างลูกหนี้ร่วม จึงเป็นกรณีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ เห็นสมควรแก้ไขการคิดอัตราดอกเบี้ยภายหลังวันฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ด้วย แม้จำเลยดังกล่าวจะมิได้อุทธรณ์คำพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8089/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันหนี้ - การโอนสิทธิเรียกร้องไม่ทำให้การค้ำประกันสิ้นผล - ผู้ค้ำประกันยังคงมีหน้าที่รับผิด
จำเลยที่ 3 ได้ทำหนังสือค้ำประกันให้ไว้แก่โจทก์ความว่า ตามที่จำเลยที่ 1 รับจ้างปรับปรุงตกแต่งอาคารสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และได้ตกลงสั่งซื้อสินค้าและว่าจ้างโจทก์ติดตั้งม่านม้วนระบบมอเตอร์พร้อมผ้าตามใบสั่งซื้อเลขที่ PO.550523004 และ PO.550526001 ลงวันที่ 23 และ 26 พฤษภาคม 2555 แต่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถชำระเงินค่าสินค้าและค่าติดตั้งงานดังกล่าวแก่โจทก์ได้ตามกำหนดเป็นเหตุให้งานสะดุดหยุดลง เพื่อให้งานสั่งสินค้าและติดตั้งสินค้าดังกล่าวสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี จำเลยที่ 3 ตกลงเข้าค้ำประกันการชำระหนี้และความรับผิดของจำเลยที่ 1 ตามใบสั่งซื้อดังกล่าวในวงเงิน 3,474,995.80 บาท พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมายโดยไม่จำกัดเวลาจนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้รวมทั้งดอกเบี้ยจนครบถ้วนเสมือนหนึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ขณะเดียวกันจำเลยที่ 1 เป็นลูกค้าของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นธนาคารได้ขอสินเชื่อจากจำเลยที่ 2 เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนในโครงการปรับปรุงและตกแต่งอาคารสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และจำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง โดยขอโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างเหมาปรับปรุงอาคารสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ทั้งหมดที่พึงจะได้รับตามสัญญาจ้างเหมาทุกจำนวนและทุกงวดให้แก่จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 ตกลงรับโอนสิทธิเรียกร้องเงินค่างานจำนวน 205,529,194.72 บาท โดยจำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเงินทุกงวดทุกจำนวนจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์โดยตรงตามข้อสัญญา จะเห็นว่า มูลหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และมูลหนี้ระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 1 มีที่มาแห่งมูลหนี้ต่างกัน การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องสำหรับเงินทุกงวดทุกจำนวนที่มีมูลค่างานของโครงการเป็นเงิน 205,529,194.72 บาท ไม่ถือว่าเป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ตามสัญญาว่าจ้างรับเหมาช่วงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และไม่อาจถือเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ เพราะเป็นหนี้คนละส่วน ต่างข้อตกลงและต่างสัญญากัน เมื่อหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหนี้เดิมและเป็นหนี้ประธานไม่ระงับสิ้นไป โดยไม่ถือว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นความรับผิดตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13199/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่ที่ไม่สมบูรณ์ทำให้หนี้เดิมยังคงมีผลบังคับใช้
ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะทำสัญญาจะซื้อจะขายทาวน์เฮ้าส์ให้แก่โจทก์ โจทก์มีสิทธิได้รับเงินจากการขายที่ดินโฉนดเลขที่ 177532 จำนวน 6,000,000 บาท จากจำเลยที่ 2 และได้แปลงหนี้ใหม่มาเป็นสัญญาจะซื้อจะขายทาวน์เฮาส์ แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้สร้างทาวน์เฮาส์ให้แก่โจทก์ตามสัญญา จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาและโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้ก่อสร้างทาวน์เฮาส์จึงต้องถือว่าหนี้อันจะพึงเกิดขึ้นเพราะแปลงหนี้ใหม่นั้นมิได้เกิดขึ้น หนี้เดิมคือหนี้เงินที่จำเลยที่ 2 จะต้องชำระให้แก่โจทก์ตามที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากการที่ขายที่ดินโฉนดเลขที่ 177532 จำนวน 6,000,000 บาท จึงไม่ระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 351
การที่ศาลอุทธณ์ภาค 1 เห็นพ้องด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในเรื่องการแปลงหนี้ใหม่ซึ่งศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยแล้วว่า เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ก่อสร้างทาวน์เฮาส์แก่โจทก์ตามสัญญา จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ จำเลยที่ 2 จึงต้องคืนเงินจำนวน 6,000,000 บาท แก่โจทก์ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กลับวินิจฉัยว่า เมื่อสัญญาซื้อขายทาวน์เฮาส์พร้อมที่ดินเป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยจำเลยที่ 1 เป็นคู่สัญญากับโจทก์ หนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เกี่ยวกับการขายที่ดินโฉนดเลขที่ 177532 ย่อมระงับไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 349 โจทก์ชอบที่จะเรียกให้จำเลยที่ 1 คืนเงินทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยเท่านั้นแต่ไม่มีสิทธิที่จะบังคับเอาจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นคำวินิจฉัยที่ขัดต่อบทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 351 จึงไม่ชอบ และปัญหาดังกล่าวแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็สามารถวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247 และเมื่อหนี้ที่เกิดจากการแปลงหนี้ใหม่ คือสัญญาจะซื้อจะขายทาวน์เฮาส์มิได้เกิดขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 351 จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชำระเงินที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากการขายที่ดินโฉนดเลขที่ 177532 จำนวน 6,000,000 บาท แก่โจทก์
การที่ศาลอุทธณ์ภาค 1 เห็นพ้องด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในเรื่องการแปลงหนี้ใหม่ซึ่งศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยแล้วว่า เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ก่อสร้างทาวน์เฮาส์แก่โจทก์ตามสัญญา จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ จำเลยที่ 2 จึงต้องคืนเงินจำนวน 6,000,000 บาท แก่โจทก์ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กลับวินิจฉัยว่า เมื่อสัญญาซื้อขายทาวน์เฮาส์พร้อมที่ดินเป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยจำเลยที่ 1 เป็นคู่สัญญากับโจทก์ หนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เกี่ยวกับการขายที่ดินโฉนดเลขที่ 177532 ย่อมระงับไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 349 โจทก์ชอบที่จะเรียกให้จำเลยที่ 1 คืนเงินทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยเท่านั้นแต่ไม่มีสิทธิที่จะบังคับเอาจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นคำวินิจฉัยที่ขัดต่อบทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 351 จึงไม่ชอบ และปัญหาดังกล่าวแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็สามารถวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247 และเมื่อหนี้ที่เกิดจากการแปลงหนี้ใหม่ คือสัญญาจะซื้อจะขายทาวน์เฮาส์มิได้เกิดขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 351 จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชำระเงินที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากการขายที่ดินโฉนดเลขที่ 177532 จำนวน 6,000,000 บาท แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10287/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีล้มละลาย: ผลของการปรับโครงสร้างหนี้หลังมีคำพิพากษาและการรับสภาพหนี้
การที่โจทก์นำหนี้ตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดร้อยเอ็ดมาฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามล้มละลาย ถือว่าเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุด ซึ่งมีกำหนดอายุความ 10 ปี อย่างไรก็ตามหลังจากศาลมีคำพิพากษาตามยอมในคดีดังกล่าวเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2542 โดยกำหนดให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้งวดแรกวันที่ 29 มิถุนายน 2542 แล้ว เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2548 จำเลยทั้งสามทำบันทึกข้อตกลงปรับโครงสร้างหนี้หลังมีคำพิพากษากับโจทก์ โดยยอมรับว่า ณ วันทำบันทึกจำเลยทั้งสามค้างชำระหนี้โจทก์เป็นต้นเงิน 1,900,000 บาท ดอกเบี้ย 1,780,000 บาท และตกลงให้นำดอกเบี้ยบางส่วนจำนวน 950,000 บาท ซึ่งเป็นดอกเบี้ยส่วนลดพักชำระหนี้ไว้เป็นเวลา 2 ปี ส่วนดอกเบี้ยค้างชำระที่เหลือจำนวน 830,000 บาท ตกลงพักชำระหนี้ไว้เป็นเวลาไม่เกิน 2 ปี ในส่วนต้นเงินคงเหลือโจทก์ผ่อนผันการคิดอัตราดอกเบี้ยให้และให้ผ่อนชำระดอกเบี้ยกับต้นเงินเป็นงวดรายเดือน หากจำเลยทั้งสามผิดนัดงวดหนึ่งงวดใดยอมให้โจทก์ยกเลิกการพักชำระดอกเบี้ยและยินยอมให้เปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยไปคิดอัตราตามคำพิพากษาหรือสัญญาประนีประนอมยอมความ และให้โจทก์ใช้สิทธิบังคับคดีได้ทันที บันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นกรณีที่โจทก์ผ่อนผันการชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมให้แก่จำเลยทั้งสามเท่านั้น หาใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่อันทำให้หนี้เดิมตามคำพิพากษาระงับสิ้นไปไม่ แต่เป็นกรณีที่จำเลยทั้งสามรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ อันทำให้อายุความสะดุดหยุดลง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) และให้เริ่มนับอายุความใหม่ตามอายุความเดิมตั้งแต่เวลานั้นเป็นต้นไป ตามมาตรา 193/15 ดังนั้น เมื่อนับตั้งแต่อายุความสะดุดหยุดลงจนถึงวันฟ้องวันที่ 16 สิงหาคม 2555 ยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6271/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้ไม่ระงับหนี้เดิม, อายุความ, และการแก้ไขดอกเบี้ยผิดนัด
หนังสือรับสภาพความผิดจำเลยทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานว่าได้นำเงินของโจทก์ไปใช้ส่วนตัวในระหว่างดำรงตำแหน่งเหรัญญิกของโจทก์ และจำเลยยินยอมชำระเงินดังกล่าวแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยให้ครบถ้วนภายในวันที่ 1 มิถุนายน 2554 หนังสือรับสภาพความผิดดังกล่าวจึงเป็นเพียงหลักฐานที่จำเลยทำขึ้นฝ่ายเดียวตกลงยอมรับผิดชำระหนี้ที่จำเลยนำเงินของโจทก์ไปใช้โดยไม่ชอบ มิใช่คู่กรณีตกลงระงับข้อพิพาทที่มีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่ทำให้มูลหนี้เดิมที่จำเลยนำเงินของโจทก์ไปใช้ระงับไปแล้วเกิดหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ทั้งไม่มีการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ จึงมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่อันจะทำให้หนี้ระงับไป
จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ฟ้องว่าจำเลยยักยอกเงินของโจทก์ไป มูลหนี้จึงเกิดจากการกระทำละเมิด เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่วันที่รู้ว่าเงินหายไปและรู้ตัวผู้กระทำความผิด ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ แต่ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายฟ้องว่า ระหว่างวันที่ 26 เมษายน 2546 ถึงวันที่ 20 มิถุนายน 2553 จำเลยซึ่งเป็นเหรัญญิกของโจทก์ได้ยักยอกเงินของโจทก์ไปโดยทุจริต ทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์ในฐานะเจ้าของเงินย่อมมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตน สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์ของตนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 หาใช่ฟ้องจำเลยในมูลละเมิดไม่ และจำเลยก็มิได้ให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ 1 ปี ในเรื่องละเมิด คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทดังที่อุทธรณ์ อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น และถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ทั้งมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ดังที่วินิจฉัยแล้ว ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามหนังสือรับสภาพความผิด ฉะนั้น จึงนำอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/35 มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้
ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเอาเงินจำนวนตามฟ้องโจทก์ไป จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินคืนแก่โจทก์ จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 โดยคัดลอกข้อความทั้งหมดมาจากอุทธรณ์ของจำเลยโดยมิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร ทั้ง ๆ ที่เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 5 มีข้อแตกต่างกัน จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระเงินคืนภายใน 15 วัน จำเลยได้รับหนังสือทวงถามเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2556 ครบกำหนดชำระเงินวันที่ 24 พฤษภาคม 2556 จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2556 มิใช่วันที่ 24 พฤษภาคม 2556 ตามที่โจทก์มีคำขอ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 9 พฤษภาคม 2556 จึงไม่ถูกต้องและเกินคำขอซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247
จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ฟ้องว่าจำเลยยักยอกเงินของโจทก์ไป มูลหนี้จึงเกิดจากการกระทำละเมิด เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่วันที่รู้ว่าเงินหายไปและรู้ตัวผู้กระทำความผิด ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ แต่ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายฟ้องว่า ระหว่างวันที่ 26 เมษายน 2546 ถึงวันที่ 20 มิถุนายน 2553 จำเลยซึ่งเป็นเหรัญญิกของโจทก์ได้ยักยอกเงินของโจทก์ไปโดยทุจริต ทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์ในฐานะเจ้าของเงินย่อมมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตน สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์ของตนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 หาใช่ฟ้องจำเลยในมูลละเมิดไม่ และจำเลยก็มิได้ให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ 1 ปี ในเรื่องละเมิด คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทดังที่อุทธรณ์ อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น และถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ทั้งมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ดังที่วินิจฉัยแล้ว ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามหนังสือรับสภาพความผิด ฉะนั้น จึงนำอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/35 มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้
ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเอาเงินจำนวนตามฟ้องโจทก์ไป จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินคืนแก่โจทก์ จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 โดยคัดลอกข้อความทั้งหมดมาจากอุทธรณ์ของจำเลยโดยมิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร ทั้ง ๆ ที่เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 5 มีข้อแตกต่างกัน จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระเงินคืนภายใน 15 วัน จำเลยได้รับหนังสือทวงถามเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2556 ครบกำหนดชำระเงินวันที่ 24 พฤษภาคม 2556 จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2556 มิใช่วันที่ 24 พฤษภาคม 2556 ตามที่โจทก์มีคำขอ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 9 พฤษภาคม 2556 จึงไม่ถูกต้องและเกินคำขอซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2462/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจตัวแทนเรียกร้องค่าเสียหายจากบริษัทประกันภัย และสิทธิของเจ้าหนี้เมื่อบริษัทไม่จ่ายเงิน
จำเลยเป็นผู้ประสบภัยจากรถ เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นแก่จำเลย บริษัท พ. ผู้รับประกันภัยรถของจำเลยมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่จำเลยเมื่อได้รับคำร้องขอจากจำเลยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 20 โดยโจทก์หามีนิติสัมพันธ์ใดต่อบริษัท พ. ไม่ เว้นแต่โจทก์จะได้รับสิทธิดังกล่าวจากจำเลย เช่น จำเลยตั้งแต่งโจทก์ให้เป็นตัวแทนไปเรียกร้องค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัท พ. ให้แก่จำเลย หรือจำเลยแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้โดยโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้แก่โจทก์
จำเลยทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์เป็นตัวแทนดำเนินการเบิกและรับค่ารักษาพยาบาลจากบริษัท พ. กับมีเอกสารคำร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น บต.4 โดยโจทก์เป็นผู้ขอรับจากบริษัท พ. ซึ่งเป็นแบบพิมพ์ที่ทางราชการจัดทำขึ้น ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 เพื่อใช้ประกอบการใช้สิทธิของจำเลยโดยการตั้งแต่งโจทก์ให้เป็นตัวแทนแนบด้วย นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ในการขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัท พ. เป็นการใช้สิทธิในฐานะตัวแทนของจำเลย ตามข้อความที่ปรากฏในหนังสือมอบอำนาจ มิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้อันจะพึงต้องใช้บังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยการโอนสิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 303, 306 และมาตรา 349 วรรคสาม ซึ่งจะเป็นเหตุให้สิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับจำเลยระงับสิ้นไป ส่วนข้อความที่ปรากฏในเอกสาร บต.4 ว่า "เนื่องจากข้าพเจ้าเป็นหนี้ค้างชำระค่ารักษาพยาบาลแก่ผู้รับมอบอำนาจ..." ก็เป็นเพียงการให้ข้อเท็จจริงเพื่อให้บริษัท พ. รับทราบประกอบการพิจารณาจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นหรือไม่ ดังนี้ เมื่อโจทก์มิได้รับเงินจากบริษัท พ. โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยจึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้ค่ารักษาพยาบาลแก่โจทก์ได้
จำเลยทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์เป็นตัวแทนดำเนินการเบิกและรับค่ารักษาพยาบาลจากบริษัท พ. กับมีเอกสารคำร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น บต.4 โดยโจทก์เป็นผู้ขอรับจากบริษัท พ. ซึ่งเป็นแบบพิมพ์ที่ทางราชการจัดทำขึ้น ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 เพื่อใช้ประกอบการใช้สิทธิของจำเลยโดยการตั้งแต่งโจทก์ให้เป็นตัวแทนแนบด้วย นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ในการขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัท พ. เป็นการใช้สิทธิในฐานะตัวแทนของจำเลย ตามข้อความที่ปรากฏในหนังสือมอบอำนาจ มิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้อันจะพึงต้องใช้บังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยการโอนสิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 303, 306 และมาตรา 349 วรรคสาม ซึ่งจะเป็นเหตุให้สิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับจำเลยระงับสิ้นไป ส่วนข้อความที่ปรากฏในเอกสาร บต.4 ว่า "เนื่องจากข้าพเจ้าเป็นหนี้ค้างชำระค่ารักษาพยาบาลแก่ผู้รับมอบอำนาจ..." ก็เป็นเพียงการให้ข้อเท็จจริงเพื่อให้บริษัท พ. รับทราบประกอบการพิจารณาจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นหรือไม่ ดังนี้ เมื่อโจทก์มิได้รับเงินจากบริษัท พ. โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยจึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้ค่ารักษาพยาบาลแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14941/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้กับการโอนสิทธิเรียกร้อง: การชำระหนี้ที่ถูกต้องและการปฏิเสธการชำระหนี้ที่ไม่สมเหตุผล
การโอนสิทธิเรียกร้องจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อผู้โอนมีสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งเหนือบุคคลที่สาม และไม่ประสงค์จะใช้สิทธิดังกล่าวด้วยตนเอง จึงขอโอนสิทธิดังกล่าวให้แก่ผู้รับโอนสิทธิ แต่ตามบันทึกข้อตกลงแปลงหนี้ใหม่ปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. ได้โอนภาระการชำระหนี้ของตนที่มีต่อโจทก์ที่ 1 ให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ชำระแทน ส่วนการโอนกิจการและที่ดินของห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. ให้แก่จำเลยที่ 1 ก็หาใช่สิทธิอันจะพึงเรียกร้องให้โจทก์ที่ 1 ต้องปฏิบัติตามแต่อย่างใด จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้รับโอนกิจการและที่ดินในโครงการจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. จึงหามีสิทธิอันใดที่จะเรียกร้องให้โจทก์ที่ 1 ทำการค้ำประกันค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภคในกิจการที่รับโอนมาได้ กรณีตามบันทึกข้อตกลงแปลงหนี้ใหม่เห็นได้ว่าเป็นการแปลงหนี้โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้เท่านั้น หาใช่การโอนสิทธิเรียกร้องแต่อย่างใด จำเลยทั้งสองจึงหามีสิทธิปฏิเสธไม่ชำระเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์ที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9161/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชำระหนี้จากการซื้อขายหลักทรัพย์ ไม่ถือเป็นการแปลงหนี้ใหม่
ก. กับ จำเลยที่ 1 มีนิติสัมพันธ์กันตามสัญญาแต่งตัวแทนและนายหน้าเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งได้กำหนดสิทธิและหน้าที่ระหว่างกันไว้หลายประการอันรวมถึงข้อตกลงที่กำหนดให้ ก. ในฐานะตัวการต้องเปิดบัญชีทดลองจ่ายเพื่อให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนใช้จ่ายในการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์การที่ ก. กับจำเลยที่ 1 มาตกลงกันใหม่ โดยกำหนดให้ ก. ต้องเปลี่ยนระบบการชำระหนี้อันเกิดจากการซื้อขายหลักทรัพย์จากระบบ พี/เอ็น มาร์จิ้นเป็นระบบ แคช มาร์จิ้น จึงเป็นเพียงการตกลงเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข การชำระหนี้ที่เกิดจากสัญญาแต่งตั้งตัวแทนและนายหน้า หาใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสิ่งที่เป็นสาระสำคัญแห่งหนี้อันจะถือได้ว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่ที่จะทำให้หนี้เดิมระงับไปไม่