พบผลลัพธ์ทั้งหมด 37 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9208-9209/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปล่อยชั่วคราวเกิน 6 เดือนสิ้นสุดลง พนักงานสอบสวนต้องคืนหลักประกันให้แก่ผู้ประกัน
การปล่อยชั่วคราวของพนักงานสอบสวนนั้น สามารถให้ปล่อยชั่วคราวได้สูงสุดเพียง 6 เดือน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 113 วรรคหนึ่ง เมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว สัญญาประกันตัวผู้ต้องหาเป็นอันสิ้นสุดลง จำเลยซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนไม่อาจควบคุมตัวผู้ต้องหาต่อไปได้ จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะต้องมาขอปล่อยผู้ต้องหาด้วยการนำโฉนดที่ดินมาให้จำเลยยึดถือไว้อีก จำเลยจึงต้องคืนโฉนดที่ดินพิพาทแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7930/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีสัญญาประกันตัว: พนักงานสอบสวนมีอำนาจฟ้องได้ในฐานะเจ้าพนักงาน และประเด็นการให้ความยินยอมของภริยา
แม้พนักงานสอบสวนจะไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล แต่ก็เป็นบุคคลธรรมดาซึ่งโดยตำแหน่งหน้าที่ราชการอันกฎหมายกำหนดไว้ให้มีอำนาจทำสัญญาประกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 106 และ มาตรา 113 ฉะนั้น จึงย่อมมีอำนาจที่จะฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาประกันในฐานะเจ้าพนักงานตามอำนาจแห่งหน้าที่โดยชื่อตำแหน่งหน้าที่ของตน ดังนี้ เมื่อจำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไปจากการควบคุมตัวของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรบ. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 112และจำเลยผิดสัญญาประกันดังกล่าว พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธร บ. ย่อมมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยตามสัญญาประกันได้ กรมตำรวจไม่ใช่พนักงานสอบสวนและมิได้เป็นคู่สัญญากับจำเลย จะฟ้องเองหรือมอบอำนาจให้ฟ้องหาได้ไม่
จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ในเรื่องจำเลยทำสัญญาประกันโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยา การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8หยิบยกปัญหาข้อนี้ตามที่จำเลยอุทธรณ์ขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 ทั้งปัญหาเกี่ยวกับการให้ความยินยอมก็ไม่ใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่งและวรรคสอง
จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ในเรื่องจำเลยทำสัญญาประกันโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยา การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8หยิบยกปัญหาข้อนี้ตามที่จำเลยอุทธรณ์ขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 ทั้งปัญหาเกี่ยวกับการให้ความยินยอมก็ไม่ใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่งและวรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 259/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของพนักงานสอบสวนในสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
แม้พนักงานสอบสวนไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลแต่ก็เป็นบุคคลธรรมดาซึ่งกฎหมายกำหนดให้มีอำนาจทำสัญญาประกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา106,113จึงย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาประกันในฐานะเจ้าพนักงานตามอำนาจแห่งหน้าที่โดยชื่อตำแหน่งหน้าที่ของตนได้ส่วนกรมตำรวจไม่ใช่พนักงานสอบสวนและมิได้เป็นคู่สัญญาในสัญญาประกันจึงฟ้องเองหรือมอบอำนาจให้ฟ้องหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 703/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายประกัน แม้ผู้เสียหายถอนฟ้อง และอำนาจฟ้องของพนักงานสอบสวน
ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ผิดสัญญาประกัน ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหาย และค่าปรับที่ศาลอุทธรณ์กำหนดสูงเกินสมควรนั้น เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
จำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหากับพนักงานสอบสวนสถานี-ตำรวจนครบาลบางเขน โดยมีร้อยตำรวจเอก ว. ผู้รับสัญญาเป็นตัวแทนคู่สัญญากับจำเลย เมื่อจำเลยผิดสัญญาประกัน พันตำรวจโท ช. สารวัตรใหญ่สถานีตำรวจนครบาลบางเขนในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
จำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไปจากการควบคุมของโจทก์และสัญญาว่าจะส่งตัวผู้ต้องหาให้โจทก์ตามกำหนดนัด แม้ต่อมาผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ ในคดีนั้นซึ่งเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว ก็หาเป็นเหตุให้จำเลย ซึ่งเป็นนายประกันพ้นจากความรับผิดตามสัญญาประกันไม่
จำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหากับพนักงานสอบสวนสถานี-ตำรวจนครบาลบางเขน โดยมีร้อยตำรวจเอก ว. ผู้รับสัญญาเป็นตัวแทนคู่สัญญากับจำเลย เมื่อจำเลยผิดสัญญาประกัน พันตำรวจโท ช. สารวัตรใหญ่สถานีตำรวจนครบาลบางเขนในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
จำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไปจากการควบคุมของโจทก์และสัญญาว่าจะส่งตัวผู้ต้องหาให้โจทก์ตามกำหนดนัด แม้ต่อมาผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ ในคดีนั้นซึ่งเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว ก็หาเป็นเหตุให้จำเลย ซึ่งเป็นนายประกันพ้นจากความรับผิดตามสัญญาประกันไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 703/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัวผู้ต้องหา: อำนาจฟ้องของพนักงานสอบสวน และผลของการถอนฟ้องคดีอาญาต่อความรับผิดตามสัญญา
จำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหากับพนักงานสอบสวน โดยมีว. พนักงานสอบสวนเป็นผู้รับสัญญาเป็นตัวแทนคู่สัญญากับจำเลยเมื่อจำเลยผิดสัญญาประกัน ช. สารวัตรใหญ่ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวน จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยตามสัญญาประกันได้ จำเลยได้ทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไปจากการควบคุมของโจทก์และสัญญาว่าจะส่งตัวผู้ต้องหาให้โจทก์ตามกำหนดนั้น แม้ต่อมาผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ในคดีนั้นซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวก็หาเป็นเหตุให้จำเลยซึ่งเป็นนายประกันพ้นความรับผิดตามสัญญาประกันไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 539/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปล่อยชั่วคราวและการควบคุมตัวผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 113วรรคหนึ่ง มีความหมายว่า ในระหว่างการสอบสวน พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณีมีอำนาจปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวมีระยะเวลาอย่างสูงไม่เกินหกเดือน นับแต่วันแรกที่มีการปล่อยชั่วคราวเมื่อพ้นระยะเวลาดังกล่าว พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณี ไม่มีอำนาจควบคุมผู้ต้องหาต่อไปอีกเท่านั้น สำหรับการสอบสวนหากมีความจำเป็นต้องทำให้เสร็จก็คงดำเนินการต่อไปได้ เพราะไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามไว้ ส่วนการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 113 วรรคสองนั้น แม้ทำให้ผู้ต้องหาพ้นจากการควบคุม แต่ก็มิใช่บทบังคับให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการจำต้องส่งผู้ต้องหามาศาล และยื่นคำร้องขอหมายขังผู้ต้องหาเสมอไป เว้นแต่มีความจำเป็นต้องควบคุมผู้ต้องหาต่อไปอีก กรณีหาได้เกี่ยวข้องกับปัญหาว่าการสอบสวนชอบหรือมิชอบแต่ประการใด นอกจากนี้การไม่ปฏิบัติตามมาตรา 113 วรรคสองดังกล่าว ก็หาได้มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีต่อศาลไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 539/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปล่อยชั่วคราวเกิน 6 เดือน ไม่ต้องยื่นขอหมายขังใหม่ การสอบสวนยังดำเนินต่อไปได้ ฟ้องคดีได้
ในระหว่างสอบสวน พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณีมีอำนาจปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวมีระยะเวลาอย่างสูงไม่เกินหกเดือนนับแต่วันแรกที่มีการปล่อยชั่วคราว เมื่อพ้นเวลาดังกล่าวพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณี ไม่มีอำนาจควบคุมผู้ต้องหาต่อไปอีกเท่านั้น สำหรับการสอบสวนหากมีความจำเป็นต้องทำให้เสร็จ ก็คงดำเนินการต่อไปได้เพราะไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามไว้ แม้การไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 113 วรรคสอง ทำให้ผู้ต้องหาหลุดพ้นจากการควบคุม แต่ก็มิใช่บทบังคับให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการจำต้องส่งผู้ต้องหามาศาล และยื่นคำร้องขอหมายขังผู้ต้องหาไว้เสมอไป เว้นแต่มีความจำเป็นต้องควบคุมผู้ต้องหาต่อไปอีก กรณีหาได้เกี่ยวข้องกับปัญหาว่าการสอบสวนชอบหรือมิชอบแต่ประการใดไม่ ทั้งการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนดังบัญญัติไว้ตามมาตรา 113 วรรคสอง ก็มิได้มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 539/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปล่อยชั่วคราวเกิน 6 เดือน และผลกระทบต่อการดำเนินคดีอาญา: อำนาจควบคุมและฟ้องคดี
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 113วรรคหนึ่ง มีความหมายว่า ในระหว่างการสอบสวน พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณีมีอำนาจปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวมีระยะเวลาอย่างสูงไม่เกินหกเดือน นับแต่วันแรกที่มีการปล่อยชั่วคราวเมื่อพ้นระยะเวลาดังกล่าว พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณี ไม่มีอำนาจควบคุมผู้ต้องหาต่อไปอีกเท่านั้น สำหรับการสอบสวนหากมีความจำเป็นต้องทำให้เสร็จก็คงดำเนินการต่อไปได้เพราะไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามไว้ ส่วนการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 113 วรรคสอง นั้นแม้ทำให้ผู้ต้องหาพ้นจากการควบคุม แต่ก็มิใช่บทบังคับให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการจำต้องส่งผู้ต้องหามาศาล และยื่นคำร้องขอหมายขังผู้ต้องหาเสมอไป เว้นแต่มีความจำเป็นต้องควบคุมผู้ต้องหาต่อไปอีก กรณีหาได้เกี่ยวข้องกับปัญหาว่าการสอบสวนชอบหรือมิชอบแต่ประการใด นอกจากนี้การไม่ปฏิบัติตามมาตรา 113 วรรคสองดังกล่าวก็หาได้มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีต่อศาลไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1424/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัวผู้ต้องหา: อำนาจฟ้องของพนักงานสอบสวน และการใช้สัญญาเป็นหลักฐาน แม้ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์
จำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไปจากความควบคุมของร้อยตำรวจโท ช.ในฐานะที่ร้อยตำรวจโทช. เป็นพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลพระโขนง เมื่อจำเลยผิดสัญญาประกัน จำเลยก็ต้องรับผิดชอบต่อพนักงานสอบสวนแม้พันตำรวจโท ช. มิได้ทำการสอบสวนหรือร่วมทำการสอบสวนคดีดังกล่าว ตลอดจนมิใช่เป็นคู่สัญญาประกัน แต่พันตำรวจโท ธ. ในฐานะพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลพระโขนงขณะยื่นคำฟ้องก็มีอำนาจฟ้องจำเลยได้ สัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไม่ใช่สัญญาค้ำประกันตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ซึ่งจะต้องบังคับตามมาตรา 104 และมาตรา 118แห่งประมวลรัษฎากร แม้ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ก็ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2223/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของพนักงานสอบสวนที่ย้ายไปรับราชการอื่น สัญญาประกันและความถูกต้องของคู่สัญญา
ขณะทำสัญญาประกัน ร้อยตำรวจเอก อ.รับราชการเป็นพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอตาคลีได้ลงชื่อในสัญญาประกันในฐานะเป็นพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอตาคลี ไม่ได้เป็นคู่สัญญาโดยตรงเป็นส่วนตัวแต่ขณะยื่นฟ้องร้อยตำรวจเอก อ.ได้ย้ายไป รับราชการที่อื่น มิได้เป็นพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรอำเภอตาคลี ร้อยตำรวจเอก อ. จึงไม่มีสิทธิลงชื่อในฐานะพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอตาคลี ฟ้องจำเลยได้