พบผลลัพธ์ทั้งหมด 65 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1737/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งสำเนาคำอุทธรณ์และวันนัดฟังคำพิพากษาแก่โจทก์ร่วมที่ศาลอนุญาตให้เข้าเป็นโจทก์ร่วม
ในคดีที่ศาลอนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมแล้วโจทก์ร่วมและพนักงานอัยการต่างมีฐานะเป็นโจทก์ด้วยกัน เมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นเพียงแต่สั่งให้ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้พนักงานอัยการโจทก์ โดยไม่ได้สั่งให้ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ร่วมด้วย และศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวไป จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 200 อีกทั้งการที่ศาลชั้นต้นมิได้แจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ร่วมทราบด้วยก็ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 182 ประกอบด้วยมาตรา 215 ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ปฏิบัติเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1737/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิโจทก์ร่วมในคดีอาญา: การรับทราบอุทธรณ์และวันนัดฟังคำพิพากษา
ในคดีที่ศาลอนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมแล้วโจทก์ร่วมและพนักงานอัยการต่างมีฐานะเป็นโจทก์ด้วยกันเมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์การที่ศาลชั้นต้นเพียงแต่สั่งให้ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้พนักงานอัยการโจทก์โดยไม่ได้สั่งให้ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ร่วมด้วยและศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวไปจึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา200อันทั้งการที่ศาลชั้นต้นมิได้แจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ร่วมทราบด้วยก็ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา182ประกอบด้วยมาตรา215ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ปฏิบัติเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1737/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ส่งสำเนาอุทธรณ์และแจ้งวันนัดให้โจทก์ร่วม ทำให้กระบวนการพิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการโจทก์ด้วยแต่เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามแล้วก็สั่งให้ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่พนักงานอัยการและแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค1โดยมิได้ส่งสำเนาอุทธรณ์และแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาดังกล่าวแก่โจทก์ร่วมด้วยทั้งศาลอุทธรณ์ภาค1ก็ พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ ยกฟ้องโดยมิได้ ส่งสำเนาอุทธรณ์แก่ โจทก์ร่วมเพื่อแก้อุทธรณ์ก่อนการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลล่างทั้งสองจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา200,182ประกอบมาตรา215
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 60/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยไม่มาฟังคำพิพากษาตามนัดหลังรับสารภาพ ศาลออกหมายจับและอ่านคำพิพากษาลับหลังได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ในวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยให้การรับสารภาพและขอเวลาชำระเงินให้โจทก์ หากถึงกำหนดไม่สามารถชำระเงินได้ก็ให้ศาลพิพากษาไปได้ ศาลชั้นต้นจึงนัดฟัง คำพิพากษาจำเลยลงชื่อรับทราบ ครั้นถึงวันเวลานัด จำเลยซึ่ง ทราบนัดแล้วไม่มาศาลและไม่มีการยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างเหตุจำเป็นแต่ประการใด จึงถือได้ว่าจำเลยหลบหนีหรือจงใจไม่มาฟังคำพิพากษาซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 182 วรรคสาม ให้ศาลออกหมายจับจำเลย หากไม่ได้ ตัวจำเลยมาภายใน 1 เดือน นับแต่วันออกหมายจับก็ให้ศาลอ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลยได้ หาจำต้องแจ้งวันนัดอ่านคำพิพากษาให้จำเลยทราบอีกไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2097/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาฎีกา: การอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังเป็นหลัก
ศาลจังหวัดนนทบุรีได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ตัวจำเลยซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายที่ฎีกาฟังโดยชอบแล้วตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2526 แม้ต่อมาศาลจังหวัดพิษณุโลกจะได้อ่านคำพิพากษาให้ทนายจำเลยฟังอีกครั้งเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2526 ก็ต้องถือตั้งแต่วันอ่านโดยชอบในครั้งแรก การที่ทนายจำเลยยื่นฎีกาวันที่ 18 พฤษภาคม 2526 ซึ่งเป็นระยะเวลาเกินหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ตัวจำเลยฟัง จึงล่วงเลยระยะเวลาที่จำเลยมีอำนาจฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2097/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาฎีกา: การนับระยะเวลาเริ่มต้นจากวันที่อ่านคำพิพากษาให้ตัวจำเลยฟัง แม้จะอ่านซ้ำให้ทนายความ
ศาลจังหวัดนนทบุรีได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ตัวจำเลยซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายที่ฎีกาฟังโดยชอบแล้วตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2526 แม้ต่อมาศาลจังหวัดพิษณุโลกจะได้อ่านคำพิพากษาให้ทนายจำเลยฟังอีกครั้งเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2526 ก็ต้องถือตั้งแต่วันอ่านโดยชอบในครั้งแรก การที่ทนายจำเลยยื่นฎีกาวันที่ 18 พฤษภาคม 2526 ซึ่งเป็นระยะเวลาเกินหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ตัวจำเลยฟัง จึงล่วงเลยระยะเวลาที่จำเลยมีอำนาจฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1861/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีชั่วคราวหลังจำเลยรับสารภาพและขอเลื่อนฟังคำพิพากษา ศาลมีอำนาจสั่งได้เพื่อป้องกันคดีค้าง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14 บัญญัติให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราวได้เฉพาะกรณีที่ศาลงดการไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาเพราะจำเลยเป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ในคดีความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คซึ่งจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องและศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนการอ่านคำพิพากษาไปนั้นถือได้ว่าคดีเสร็จการพิจารณาแล้ว เมื่อศาลชั้นต้นเห็นสมควรให้เลื่อนการอ่านคำพิพากษาไปย่อมเป็นอำนาจทั่วไปของศาลที่จะสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราวได้เพื่อมิให้คดีที่เสร็จการพิจารณาแล้วต้องเป็นคดีค้างพิจารณาเมื่อถึงวันเวลาที่นัดไว้ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจที่จะอ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟังได้โดยไม่จำเป็นต้องมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1861/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีชั่วคราวหลังจำเลยรับสารภาพและขอเลื่อนอ่านคำพิพากษา ศาลมีอำนาจจำหน่ายคดีได้เพื่อความต่อเนื่อง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14 บัญญัติให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราวได้เฉพาะกรณีที่ศาลงดการไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาเพราะจำเลยเป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้
ในคดีความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คซึ่งจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องและศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนการอ่านคำพิพากษาไปนั้น ถือได้ว่าคดีเสร็จการพิจารณาแล้ว เมื่อศาลชั้นต้นเห็นสมควรให้เลื่อนการอ่านคำพิพากษาไป ย่อมเป็นอำนาจทั่วไปของศาลที่จะสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราวได้เพื่อให้คดีที่เสร็จการพิจารณาแล้วต้องเป็นคดีต่างพิจารณา เมื่อถึงวันเวลาที่นัดไว้ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจที่จะอ่านคำพิพากษาให้ดูความฟังได้โดยไม่จำเป็นต้องมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่
ในคดีความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คซึ่งจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องและศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนการอ่านคำพิพากษาไปนั้น ถือได้ว่าคดีเสร็จการพิจารณาแล้ว เมื่อศาลชั้นต้นเห็นสมควรให้เลื่อนการอ่านคำพิพากษาไป ย่อมเป็นอำนาจทั่วไปของศาลที่จะสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราวได้เพื่อให้คดีที่เสร็จการพิจารณาแล้วต้องเป็นคดีต่างพิจารณา เมื่อถึงวันเวลาที่นัดไว้ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจที่จะอ่านคำพิพากษาให้ดูความฟังได้โดยไม่จำเป็นต้องมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1816/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันและการส่งหมายนัด การปฏิบัติตามสัญญาประกัน และการถือที่อยู่ตามสัญญาเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการ
ตามสัญญาประกันข้อ 5 มีข้อความว่า หากนายประกันย้าย ที่อยู่โดยมิได้แจ้งให้ศาลทราบ. นายประกันยินยอมให้ถือ ว่าที่อยู่ของนายประกันตามที่ระบุไว้ในสัญญาประกันนั้นเป็น ภูมิลำเนาเฉพาะการตามกฎหมาย ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏ ว่านายประกันมิได้แจ้งให้ศาลทราบว่าย้ายที่อยู่ การที่ พนักงานเดินหมายปิดหมายนัด ณ ที่อยู่ของนายประกันตามที่ระบุไว้ในสัญญาประกัน ย่อมถือได้ว่าปิดหมายยังภูมิลำเนาของนายประกันแล้ว
การปิดหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79มิได้กำหนดให้ตำรวจท้องที่เป็นพยานในการปิดหมาย ดังนั้นเมื่อพนักงานเดินหมายปิดหมายตามคำสั่งศาลโดยไม่มีพยานยืนยัน ว่าได้ทำการปิดหมายที่บ้านนายประกันจริง ก็ถือว่าเป็น การส่งหมายที่ชอบด้วยกฎหมาย
ในสัญญาประกันข้อ 2 กำหนดว่า ในระหว่างประกันนี้ นายประกันหรือจำเลยจะปฏิบัติตามหมายนัดหรือหมายเรียกของเจ้าพนักงานหรือศาล มิฉะนั้นนายประกันยอมรับผิดชอบใช้เงินให้แก่ศาลจนครบ เมื่อนายประกันไม่ปฏิบัติตามนัดหรือหมายเรียกของศาล คือไม่ส่งตัวจำเลยไปศาลเพื่อฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามนัด นายประกันจึงผิดสัญญาประกัน แม้ศาลจะไม่ได้ส่งหมายนัดแจ้งวันเวลานัดให้จำเลยหรือทนายจำเลยไปฟังคำพิพากษาก่อนก็ตาม เพราะสัญญาประกันเป็นสัญญาที่นายประกันกระทำไว้ต่อศาล จำเลยหรือทนายจำเลยหาได้เป็นผู้กระทำสัญญาประกันไว้ต่อศาลไม่
การปิดหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79มิได้กำหนดให้ตำรวจท้องที่เป็นพยานในการปิดหมาย ดังนั้นเมื่อพนักงานเดินหมายปิดหมายตามคำสั่งศาลโดยไม่มีพยานยืนยัน ว่าได้ทำการปิดหมายที่บ้านนายประกันจริง ก็ถือว่าเป็น การส่งหมายที่ชอบด้วยกฎหมาย
ในสัญญาประกันข้อ 2 กำหนดว่า ในระหว่างประกันนี้ นายประกันหรือจำเลยจะปฏิบัติตามหมายนัดหรือหมายเรียกของเจ้าพนักงานหรือศาล มิฉะนั้นนายประกันยอมรับผิดชอบใช้เงินให้แก่ศาลจนครบ เมื่อนายประกันไม่ปฏิบัติตามนัดหรือหมายเรียกของศาล คือไม่ส่งตัวจำเลยไปศาลเพื่อฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามนัด นายประกันจึงผิดสัญญาประกัน แม้ศาลจะไม่ได้ส่งหมายนัดแจ้งวันเวลานัดให้จำเลยหรือทนายจำเลยไปฟังคำพิพากษาก่อนก็ตาม เพราะสัญญาประกันเป็นสัญญาที่นายประกันกระทำไว้ต่อศาล จำเลยหรือทนายจำเลยหาได้เป็นผู้กระทำสัญญาประกันไว้ต่อศาลไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1816/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันกับหน้าที่ตามหมายศาล: การส่งหมายชอบด้วยกฎหมายแม้จำเลยไม่อยู่ และการผิดสัญญาประกันจากการไม่ปฏิบัติตามนัด
ตามสัญญาประกันข้อ 5 มีข้อความว่า หากนายประกันย้าย ที่อยู่โดยมิได้แจ้งให้ศาลทราบ. นายประกันยินยอมให้ถือ ว่าที่อยู่ของนายประกันตามที่ระบุไว้ในสัญญาประกันนั้นเป็น ภูมิลำเนาเฉพาะการตามกฎหมาย ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏ ว่านายประกันมิได้แจ้งให้ศาลทราบว่าย้ายที่อยู่ การที่ พนักงานเดินหมายปิดหมายนัด ณ ที่อยู่ของนายประกันตามที่ระบุไว้ในสัญญาประกัน ย่อมถือได้ว่าปิดหมายยังภูมิลำเนาของนายประกันแล้ว การปิดหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79มิได้กำหนดให้ตำรวจท้องที่เป็นพยานในการปิดหมาย ดังนั้นเมื่อพนักงานเดินหมายปิดหมายตามคำสั่งศาลโดยไม่มีพยานยืนยัน ว่าได้ทำการปิดหมายที่บ้านนายประกันจริง ก็ถือว่าเป็น การส่งหมายที่ชอบด้วยกฎหมาย ในสัญญาประกันข้อ 2 กำหนดว่า ในระหว่างประกันนี้นายประกันหรือจำเลยจะปฏิบัติตามหมายนัดหรือหมายเรียกของเจ้าพนักงานหรือศาล มิฉะนั้นนายประกันยอมรับผิดชอบใช้เงินให้แก่ศาลจนครบ เมื่อนายประกันไม่ปฏิบัติตามนัดหรือหมายเรียกของศาล คือไม่ส่งตัวจำเลยไปศาลเพื่อฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามนัด นายประกันจึงผิดสัญญาประกันแม้ศาลจะไม่ได้ส่งหมายนัดแจ้งวันเวลานัดให้จำเลยหรือทนายจำเลยไปฟังคำพิพากษาก่อนก็ตาม เพราะสัญญาประกันเป็นสัญญาที่นายประกันกระทำไว้ต่อศาล จำเลยหรือทนายจำเลยหาได้เป็นผู้กระทำสัญญาประกันไว้ต่อศาลไม่