พบผลลัพธ์ทั้งหมด 742 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1781/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดในค่าภาษีของเจ้าของใหม่ หลังการบอกเลิกสัญญาเช่า และการตกเป็นกรรมสิทธิ์ของทรัพย์สิน
ผู้มีชื่อเช่าที่ดินปลูกโกดังและโอนกันต่อ ๆ มา เจ้าของโกดังคนสุดท้ายถูกฟ้องล้มละลาย ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว จึงเป็นผลให้สัญญาเช่านั้นต้องระงับไป โกดังจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่จำเลยทันทีตามข้อตกลงในสัญญาเช่า เพราะโกดังเป็นส่วนควบของที่ดิน ไม่ต้องไปทำการโอนจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยจึงมีฐานะเป็นเจ้าของคนใหม่
มาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 เป็นบทบัญญัติที่รัฐจะติดตามเอาค่าภาษีให้ได้ไม่ว่ากรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินนั้นจะได้โอนไปเป็นของเจ้าของใหม่โดยเหตุใด ๆ ก็ตาม บรรดาเจ้าของคนเก่าและคนใหม่ต้องเป็นลูกหนี้ค่าภาษีร่วมกัน
การที่เจ้าหนี้บุริมสิทธิไม่ไปขอรับชำระหนี้ของผู้ล้มละลายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จะถือว่าเป็นการปลดหนี้ไม่ได้ เพราะเจ้าหนี้มิได้แสดงเจตนาต่อลูกหนี้ว่าจะปลดหนี้ให้ หนี้จึงยังไม่ระงับ
ค่าภาษีที่มิได้ชำระภาษีในเวลาที่กฎหมายกำหนดเป็นเงินภาษีค้างชำระซึ่งกฎหมายบัญญัติให้เพิ่มจำนวนขึ้น เงินค่าภาษีที่เพิ่มขึ้นจึงเป็นค่าภาษีที่ค้างชำระซึ่งเจ้าของโรงเรือนและที่ดินคนใหม่ต้องรับผิด
เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าภาษีที่ค้างรวมทั้งเงินเพิ่มภาษี โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากหนี้เงินในระหว่างเวลาผิดนัดได้ ไม่เป็นการเรียกดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย
การที่โจทก์ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไว้น้อยกว่าจำนวนที่แท้จริง ไม่ทำให้โจทก์เสียสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ตามจำนวนที่แท้จริง
การชำระค่าภาษีเป็นภาระของผู้รับประเมินจะพึงนำไปชำระ จะถือว่าเทศบาลประมาทเลินเล่อไม่เรียกเก็บมิได้ จำเลยมีหน้าที่ต้องนำภาษีไปชำระโจทก์แต่กลับเพิกเฉยเสีย จนโจทก์ต้องฟ้อง จำเลยจึงต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมเมื่อแพ้คดี
มาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 เป็นบทบัญญัติที่รัฐจะติดตามเอาค่าภาษีให้ได้ไม่ว่ากรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินนั้นจะได้โอนไปเป็นของเจ้าของใหม่โดยเหตุใด ๆ ก็ตาม บรรดาเจ้าของคนเก่าและคนใหม่ต้องเป็นลูกหนี้ค่าภาษีร่วมกัน
การที่เจ้าหนี้บุริมสิทธิไม่ไปขอรับชำระหนี้ของผู้ล้มละลายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จะถือว่าเป็นการปลดหนี้ไม่ได้ เพราะเจ้าหนี้มิได้แสดงเจตนาต่อลูกหนี้ว่าจะปลดหนี้ให้ หนี้จึงยังไม่ระงับ
ค่าภาษีที่มิได้ชำระภาษีในเวลาที่กฎหมายกำหนดเป็นเงินภาษีค้างชำระซึ่งกฎหมายบัญญัติให้เพิ่มจำนวนขึ้น เงินค่าภาษีที่เพิ่มขึ้นจึงเป็นค่าภาษีที่ค้างชำระซึ่งเจ้าของโรงเรือนและที่ดินคนใหม่ต้องรับผิด
เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าภาษีที่ค้างรวมทั้งเงินเพิ่มภาษี โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากหนี้เงินในระหว่างเวลาผิดนัดได้ ไม่เป็นการเรียกดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย
การที่โจทก์ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไว้น้อยกว่าจำนวนที่แท้จริง ไม่ทำให้โจทก์เสียสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ตามจำนวนที่แท้จริง
การชำระค่าภาษีเป็นภาระของผู้รับประเมินจะพึงนำไปชำระ จะถือว่าเทศบาลประมาทเลินเล่อไม่เรียกเก็บมิได้ จำเลยมีหน้าที่ต้องนำภาษีไปชำระโจทก์แต่กลับเพิกเฉยเสีย จนโจทก์ต้องฟ้อง จำเลยจึงต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมเมื่อแพ้คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1566-1567/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องแย่งการครอบครองที่ดิน: เริ่มนับจากเวลาถูกแย่งครอง ไม่ใช่วันรู้
การฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 นั้น ต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง มิใช่นับแต่วันรู้ว่าถูกแย่งการครอบครอง
ตั้งแต่จำเลยขอรังวัดออกโฉนดทับที่ของโจทก์ และเจ้าพนักงานได้นัดให้เจ้าของที่ข้างเคียงไปคอยระวังเขตทำการรังวัดลงหลักเขตและออกโฉนดให้จำเลยรับไปแล้วจนถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี ย่อมถือว่าโจทก์ถูกแย่งการครอบครองเกินกว่า 1 ปีแล้ว
ตั้งแต่จำเลยขอรังวัดออกโฉนดทับที่ของโจทก์ และเจ้าพนักงานได้นัดให้เจ้าของที่ข้างเคียงไปคอยระวังเขตทำการรังวัดลงหลักเขตและออกโฉนดให้จำเลยรับไปแล้วจนถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี ย่อมถือว่าโจทก์ถูกแย่งการครอบครองเกินกว่า 1 ปีแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1566-1567/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องแย่งการครอบครองที่ดิน: นับแต่วันถูกแย่งการครอบครอง ไม่ใช่วันรู้เรื่อง
การฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 นั้น ต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองมิใช่นับแต่วันรู้ว่าถูกแย่งการครอบครอง
ตั้งแต่จำเลยขอรังวัดออกโฉนดทับที่ของโจทก์และเจ้าพนักงานได้นัดให้เจ้าของที่ข้างเคียงไปคอยระวังเขตทำการรังวัดลงหลักเขตและออกโฉนดให้จำเลยรับไปแล้ว จนถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี ย่อมถือว่าโจทก์ถูกแย่งการครอบครองเกินกว่า 1 ปีแล้ว
ตั้งแต่จำเลยขอรังวัดออกโฉนดทับที่ของโจทก์และเจ้าพนักงานได้นัดให้เจ้าของที่ข้างเคียงไปคอยระวังเขตทำการรังวัดลงหลักเขตและออกโฉนดให้จำเลยรับไปแล้ว จนถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี ย่อมถือว่าโจทก์ถูกแย่งการครอบครองเกินกว่า 1 ปีแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1462/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาผู้กระทำผิดในคดีแผ้วถางป่าคุ้มครอง การโอนครองครองก่อนมีพระราชกฤษฎีกาเป็นเหตุสุจริต
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยแผ้วถางทำลายป่าคุ้มครองและยึดถือเอาโดยไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อได้ความว่าที่พิพาทนี้ได้มีการโอนการครอบครองต่อๆ กันมาเป็นพฤติการณ์ที่ทำให้จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าจำเลยเข้าครอบครองโดยชอบ หาได้จงใจฝ่าฝืนกฎหมายไม่ ขาดเจตนาอันเป็นองค์ประกอบความผิดทางอาญา จึงลงโทษตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและสงวนป่าฯ กับประมวลกฎหมายที่ดินไม่ได้ และเป็นคนละประเด็นกับข้อที่ว่า แม้มีผู้เคยมีสิทธิครอบครองอยู่ก่อนและโอนต่อๆ มา เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาให้เป็นป่าคุ้มครอง ก็ไม่ทำให้ที่นั้นหมดสภาพเป็นป่าคุ้มครอง (อ้างฎีกาที่ 922/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1462/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาในการกระทำผิดทางอาญาและผลกระทบของการโอนครอบครองต่อความผิดฐานบุกรุกป่าคุ้มครอง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยแผ้วถางทำลายป่าคุ้มครองและยึดถือเอาโดยไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อได้ความว่าที่พิพาทนี้ได้มีการโอนการครอบครองต่อ ๆ กันมาอันเป็นพฤติการณ์ที่ทำให้จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าจำเลยเข้าครอบครองโดยชอบ หาได้จงใจฝ่าฝืนกฎหมายไม่ ขาดเจตนาอันเป็นองค์ประกอบความผิดทางอาญา จึงลงโทษตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและสงวนป่า ฯ กับประมวลกฎหมายที่ดินไม่ได้ และเป็นคนละประเด็นกับข้อที่ว่า แม้มีผู้เคยมีสิทธิครอบครองอยู่ก่อนและโอนต่อ ๆ มา เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาให้เป็นป่าคุ้มครอง ก็ไม่ทำให้ที่นั้นหมดสภาพเป็นป่าคุ้มครอง (อ้างฎีกาที่ 922/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลแห่งคำพิพากษาอำนาจปกครองบุตร: ศาลฎีกาไม่ขัดแย้งกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
เดิม โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ส่งบุตรแก่โจทก์คดีถึงที่สุด โดยศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยส่งตัวบุตรให้โจทก์ แต่จำเลยขอให้งดการบังคับคดีไว้ อ้างว่าได้ฟ้องโจทก์ต่อศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางขอให้พิพากษาให้อำนาจปกครองบุตรอยู่แก่จำเลย ต่อมาคดีหลังถึงที่สุดโดยศาลอุทธรณ์พิพากษาให้อำนาจปกครองบุตรอยู่แก่จำเลย ดังนี้ ประเด็นพิพาทตามคำพิพากษาศาลฎีกาเป็นเรื่องว่าจะให้จำเลยส่งบุตรแก่โจทก์ตามคำขอหรือไม่ ส่วนประเด็นพิพาทตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นเรื่องว่าอำนาจปกครองควรจะอยู่แก่จำเลยผู้เป็นมารดาหรือไม่ ผลแห่งคำพิพากษาทั้งสองจึงเป็นคนละเรื่องกัน หาขัดแย้งกันไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้อำนาจปกครองบุตรอยู่แก่จำเลยแล้ว อำนาจปกครองที่มีอยู่แก่โจทก์แต่แรกก็ย่อมหมดไปในตัว จำเลยไม่ต้องส่งบุตรให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำพิพากษาเรื่องอำนาจปกครองบุตรต่อคำพิพากษาให้ส่งตัวบุตร แม้ศาลฎีกาสั่งให้ส่งตัวบุตร แต่หากศาลอุทธรณ์พิพากษาให้อำนาจปกครองแก่ฝ่ายอื่น ฝ่ายนั้นไม่ต้องส่งตัวบุตร
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ส่งบุตรแก่โจทก์ คดีถึงที่สุด โดยศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยส่งตัวบุตรให้โจทก์ แต่จำเลยขอให้งดการบังคับคดีไว้ อ้างว่าได้ฟ้องโจทก์ต่อศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางขอให้พิพากษาให้อำนาจปกครองบุตรอยู่แก่จำเลย ต่อมาคดีหลังถึงที่สุดโดยศาลอุทธรณ์พิพากษาให้อำนาจปกครองบุตรอยู่แก่จำเลย ดังนี้ ประเด็นพิพาทตามคำพิพากษาศาลฎีกาเป็นเรื่องว่าจะให้จำเลยส่งบุตรแก่โจทก์ตามคำขอหรือไม่ ส่วนประเด็นพิพาทตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นเรื่องว่าอำนาจปกครองควรจะอยู่แก่จำเลยผู้เป็นมารดาหรือไม่ผลแห่งคำพิพากษาทั้งสองจึงเป็นคนละเรื่องกัน หาขัดแย้งกันไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้อำนาจปกครองบุตรอยู่แก่จำเลยแล้ว อำนาจปกครองที่มีอยู่แก่โจทก์แต่แรกก็ย่อมหมดไปในตัว จำเลยไม่ต้องส่งบุตรให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายกเทศมนตรีต่อการยักยอกเงินของเทศบาล: ต้องมีเจตนาประมาทเลินเล่อเป็นเหตุโดยตรง
เมื่อโจทก์ไม่มีพยานมาสืบแสดงให้เห็นว่าการที่จำเลยที่ 2 ยักยอกเงินไปโดยมีจำเลยที่ 3 ร่วมด้วยนั้น ได้เกิดจากการจงใจหรือประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 อันเป็นผลโดยตรงให้เกิดมีการยักยอกเงินรายนี้ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยอื่น
พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติให้คณะเทศมนตรีควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารกิจการของเทศบาลตามกฎหมาย โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า เป็นเรื่องกำหนดอำนาจและหน้าที่ความรับผิดชอบโดยทั่วๆ ไปของคณะเทศมนตรีในทางบริหารกิจการของเทศบาลว่ามีอยู่เพียงใดเท่านั้น หาได้หมายความเลยไปถึงว่าหากเกิดการทุจริตในกิจการของเทศบาลขึ้นโดยคณะเทศมนตรีมิได้มีส่วนรู้เห็นทำละเมิดด้วยแล้วคณะเทศมนตรีจะต้องรับผิดด้วยไม่
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับการเงินที่ว่า หากมีการทุจริตเกี่ยวกับการรักษาเงินรายได้หรือเงินอื่นใดของเทศบาลทุกหน่วยงานให้นายกเทศมนตรี ปลัดเทศบาลหรือผู้รักษาการแทนฯลฯ ร่วมกันรับผิดชอบชดใช้เงินคืนให้แก่เทศบาลจนครบนั้น ระเบียบดังกล่าวเป็นเรื่องกำหนดหน้าที่ความรับผิดในการปฏิบัติหน้าที่การงานภายในวงงานอันจำกัดไม่ใช่กฎหมาย ผู้ออกระเบียบจะกำหนดวิธีปฏิบัติให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการของเทศบาลต้องปฏิบัติกิจการนั้นอย่างไรก็ย่อมทำได้ แต่การไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่ว่านั้น หากจะมีความรับผิดทางกฎหมายอย่างไร ย่อมเป็นกรณีที่ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติของกฎหมายอีกส่วนหนึ่ง การที่จะวางระเบียบหรือข้อบังคับไว้เด็ดขาดเลยไปถึงว่า หากเกิดการกระทำอย่างนั้นอย่างนี้ขึ้นแล้ว ผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวจะต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นการกำหนดก่อให้เกิดหนี้ละเมิด โดยผู้นั้นมิได้มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้องกับการทุจริตด้วยนั้น หาทำได้ไม่
พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติให้คณะเทศมนตรีควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารกิจการของเทศบาลตามกฎหมาย โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า เป็นเรื่องกำหนดอำนาจและหน้าที่ความรับผิดชอบโดยทั่วๆ ไปของคณะเทศมนตรีในทางบริหารกิจการของเทศบาลว่ามีอยู่เพียงใดเท่านั้น หาได้หมายความเลยไปถึงว่าหากเกิดการทุจริตในกิจการของเทศบาลขึ้นโดยคณะเทศมนตรีมิได้มีส่วนรู้เห็นทำละเมิดด้วยแล้วคณะเทศมนตรีจะต้องรับผิดด้วยไม่
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับการเงินที่ว่า หากมีการทุจริตเกี่ยวกับการรักษาเงินรายได้หรือเงินอื่นใดของเทศบาลทุกหน่วยงานให้นายกเทศมนตรี ปลัดเทศบาลหรือผู้รักษาการแทนฯลฯ ร่วมกันรับผิดชอบชดใช้เงินคืนให้แก่เทศบาลจนครบนั้น ระเบียบดังกล่าวเป็นเรื่องกำหนดหน้าที่ความรับผิดในการปฏิบัติหน้าที่การงานภายในวงงานอันจำกัดไม่ใช่กฎหมาย ผู้ออกระเบียบจะกำหนดวิธีปฏิบัติให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการของเทศบาลต้องปฏิบัติกิจการนั้นอย่างไรก็ย่อมทำได้ แต่การไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่ว่านั้น หากจะมีความรับผิดทางกฎหมายอย่างไร ย่อมเป็นกรณีที่ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติของกฎหมายอีกส่วนหนึ่ง การที่จะวางระเบียบหรือข้อบังคับไว้เด็ดขาดเลยไปถึงว่า หากเกิดการกระทำอย่างนั้นอย่างนี้ขึ้นแล้ว ผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวจะต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นการกำหนดก่อให้เกิดหนี้ละเมิด โดยผู้นั้นมิได้มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้องกับการทุจริตด้วยนั้น หาทำได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายกเทศมนตรีต่อการยักยอกเงินของเทศบาล: ไม่มีส่วนรู้เห็น ไม่ต้องรับผิด
เมื่อโจทก์ไม่มีพยานมาสืบแสดงให้เห็นว่าการที่จำเลยที่ 2 ยักยอกเงินไปโดยมีจำเลยที่ 3 ร่วมด้วยนั้น ได้เกิดจากการจงใจหรือประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 อันเป็นผลโดยตรงให้เกิดมีการยักยอกเงินรายนี้ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยอื่น
พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติให้คณะเทศมนตรีควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารกิจการของเทศบาลตามกฎหมาย โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้าเป็นเรื่องกำหนดอำนาจและหน้าที่ความรับผิดชอบโดยทั่ว ๆ ไปของคณะเทศมนตรีในทางบริหารกิจการของเทศบาลว่ามีอยู่เพียงใดเท่านั้น หาได้หมายความเลยไปถึงว่าหากเกิดการทุจริตในกิจการของเทศบาลขึ้นโดยคณะเทศมนตรีมิได้มีส่วนรู้เห็นทำละเมิดด้วยแล้ว คณะเทศมนตรีจะต้องรับผิดด้วยไม่
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับการเงินที่ว่า หากมีการทุจริตเกี่ยวกับการรักษาเงินรายได้หรือเงินอื่นใดของเทศบาลทุกหน่วยงานให้นายกเทศมนตรี ปลัดเทศบาลหรือผู้รักษาการแทน ฯลฯ ร่วมกันรับผิดชอบชดใช้เงินคืนให้แก่เทศบาลจนครบนั้น ระเบียบดังกล่าวเป็นเรื่องกำหนดหน้าที่ความรับผิดในการปฏิบัติหน้าที่การงานภายในวงงานอันจำกัด ไม่ใช่กฎหมาย ผู้ออกระเบียบจะกำหนดวิธีปฏิบัติให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการของเทศบาลต้องปฏิบัติกิจการนั้นอย่างไรก็ย่อมทำได้ แต่การไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่ว่านั้นหากจะมีความรับผิดทางกฎหมายอย่างไร ย่อมเป็นกรณีที่ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติของกฎหมายอีกส่วนหนึ่ง การที่จะวางระเบียบหรือข้อบังคับไว้เด็ดขาดเลยไปถึงว่า หากเกิดการกระทำอย่างนั้นอย่างนี้ขึ้นแล้ว ผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวจะต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นการกำหนดก่อให้เกิดหนี้ละเมิด โดยผู้นั้นมิได้มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้องกับการทุจริตด้วยนั้น หาทำได้ไม่
พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติให้คณะเทศมนตรีควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารกิจการของเทศบาลตามกฎหมาย โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้าเป็นเรื่องกำหนดอำนาจและหน้าที่ความรับผิดชอบโดยทั่ว ๆ ไปของคณะเทศมนตรีในทางบริหารกิจการของเทศบาลว่ามีอยู่เพียงใดเท่านั้น หาได้หมายความเลยไปถึงว่าหากเกิดการทุจริตในกิจการของเทศบาลขึ้นโดยคณะเทศมนตรีมิได้มีส่วนรู้เห็นทำละเมิดด้วยแล้ว คณะเทศมนตรีจะต้องรับผิดด้วยไม่
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับการเงินที่ว่า หากมีการทุจริตเกี่ยวกับการรักษาเงินรายได้หรือเงินอื่นใดของเทศบาลทุกหน่วยงานให้นายกเทศมนตรี ปลัดเทศบาลหรือผู้รักษาการแทน ฯลฯ ร่วมกันรับผิดชอบชดใช้เงินคืนให้แก่เทศบาลจนครบนั้น ระเบียบดังกล่าวเป็นเรื่องกำหนดหน้าที่ความรับผิดในการปฏิบัติหน้าที่การงานภายในวงงานอันจำกัด ไม่ใช่กฎหมาย ผู้ออกระเบียบจะกำหนดวิธีปฏิบัติให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการของเทศบาลต้องปฏิบัติกิจการนั้นอย่างไรก็ย่อมทำได้ แต่การไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่ว่านั้นหากจะมีความรับผิดทางกฎหมายอย่างไร ย่อมเป็นกรณีที่ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติของกฎหมายอีกส่วนหนึ่ง การที่จะวางระเบียบหรือข้อบังคับไว้เด็ดขาดเลยไปถึงว่า หากเกิดการกระทำอย่างนั้นอย่างนี้ขึ้นแล้ว ผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวจะต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นการกำหนดก่อให้เกิดหนี้ละเมิด โดยผู้นั้นมิได้มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้องกับการทุจริตด้วยนั้น หาทำได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1270/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนโอนที่ดินต้องได้รับคำรับรองการทำประโยชน์จากนายอำเภอก่อน แม้ซื้อจากการขายทอดตลาดโดยสุจริตก็ไม่อาจขัดขั้นตอนตามกฎหมายได้
ศาลจะบังคับให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนโอนที่ดินมือเปล่าซึ่งยังมิได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้วไม่ได้
ความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ที่ยอมให้บุคคลที่ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินและผู้รับโอนที่ดินดังกล่าว มีสิทธิขอรับโฉนดที่ดินได้นั้น คำว่า"ผู้รับโอน"นั้นจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับโอนที่ดินมาโดยชอบด้วยกฎหมายว่าด้วยการออกโฉนดที่ดินโดยถูกต้องเสียก่อน แล้วผู้รับโอนนั้นจึงจะมีสิทธิมาขอรับโฉนดที่ดิน ฉะนั้น ที่ดินรายพิพาทซึ่งยังมิได้มีการโอนกันโดยชอบด้วยกฎหมาย และยังเป็นที่ดินที่ไม่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้ว จึงโอนกันมิได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 เพียงแต่บัญญัติรับรองสิทธิของผู้ซื้อโดยสุจริตจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งว่ามิเสียไป ถึงแม้ภายหลังจะพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์สินนั้นมิใช่ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น ซึ่งเป็นคนละเรื่องกันกับเรื่องขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม อันจะต้องดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 และประมวลกฎหมายที่ดิน
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 15/2509)
ความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ที่ยอมให้บุคคลที่ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินและผู้รับโอนที่ดินดังกล่าว มีสิทธิขอรับโฉนดที่ดินได้นั้น คำว่า"ผู้รับโอน"นั้นจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับโอนที่ดินมาโดยชอบด้วยกฎหมายว่าด้วยการออกโฉนดที่ดินโดยถูกต้องเสียก่อน แล้วผู้รับโอนนั้นจึงจะมีสิทธิมาขอรับโฉนดที่ดิน ฉะนั้น ที่ดินรายพิพาทซึ่งยังมิได้มีการโอนกันโดยชอบด้วยกฎหมาย และยังเป็นที่ดินที่ไม่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้ว จึงโอนกันมิได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 เพียงแต่บัญญัติรับรองสิทธิของผู้ซื้อโดยสุจริตจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งว่ามิเสียไป ถึงแม้ภายหลังจะพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์สินนั้นมิใช่ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น ซึ่งเป็นคนละเรื่องกันกับเรื่องขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม อันจะต้องดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 และประมวลกฎหมายที่ดิน
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 15/2509)