พบผลลัพธ์ทั้งหมด 742 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1001/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้ไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย สิทธิเรียกร้องสูญเสีย ผลผูกพันการประนอมหนี้
หนี้ของลูกหนี้ซึ่งมีอยู่ก่อนลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น เจ้าหนี้จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 27,91 เมื่อเจ้าหนี้ไม่ได้ร้องขอรับชำระหนี้ตามวิธีการดังกล่าว จนได้มีการประนอมหนี้เรียบร้อยและศาลสั่งปิดคดีแล้ว หากหนี้ของเจ้าหนี้ไม่ใช่หนี้ดังที่ระบุไว้ในมาตรา 77 การประนอมหนี้นั้นก็ผูกมัดเจ้าหนี้ด้วยตามมาตรา 56 เจ้าหนี้จะมาฟ้องลูกหนี้ให้ต้องรับผิดในหนี้นั้นในภายหลังมิได้(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 12/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 996-997/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โฉนดที่ดินออกทับที่ดินเดิม เจ้าของเดิมมีสิทธิ แม้ไม่ได้จดทะเบียน
คำให้การสู้คดีของจำเลยได้ตั้งประเด็นข้อต่อสู้ไว้ว่า โฉนดที่ 2884 ของโจทก์ออกทับที่ดินพิพาทซึ่งจำเลยครอบครองเป็นเจ้าของมาก่อน โฉนดที่ 2884 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายผู้ขอออกโฉนดจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินตามโฉนดนั้น ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโฉนดที่ 2884 ของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่เป็นการนอกประเด็น
ผู้โอนขอออกโฉนดที่ดินทับที่ดินของผู้อื่น และเจ้าพนักงานที่ดินได้ออกโฉนดให้โดยไม่มีอำนาจ โฉนดที่ออกมาจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้โอนจึงไม่มีกรรมสิทธิ์ตามโฉนดที่ เจ้าพนักงานที่ดินออกให้ การที่ผู้โอนได้โอนโฉนดดังกล่าวให้ผู้อื่นต่อไปจึงเป็นการโอนสิ่งซึ่งตนไม่มีกรรมสิทธิ์ และหาก่อให้เกิดกรรมสิทธิ์แก่ผู้รับโอนไม่ (อ้างฎีกาที่ 897/2477)
เมื่อโฉนดซึ่งเป็นหลักฐานทางทะเบียนออกมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ได้กรรมสิทธิ์ทางทะเบียน จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรค 2 มาใช้ยันแก่เจ้าของที่ดินมาตั้งแต่เดิมไม่ได้
ผู้โอนขอออกโฉนดที่ดินทับที่ดินของผู้อื่น และเจ้าพนักงานที่ดินได้ออกโฉนดให้โดยไม่มีอำนาจ โฉนดที่ออกมาจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้โอนจึงไม่มีกรรมสิทธิ์ตามโฉนดที่ เจ้าพนักงานที่ดินออกให้ การที่ผู้โอนได้โอนโฉนดดังกล่าวให้ผู้อื่นต่อไปจึงเป็นการโอนสิ่งซึ่งตนไม่มีกรรมสิทธิ์ และหาก่อให้เกิดกรรมสิทธิ์แก่ผู้รับโอนไม่ (อ้างฎีกาที่ 897/2477)
เมื่อโฉนดซึ่งเป็นหลักฐานทางทะเบียนออกมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ได้กรรมสิทธิ์ทางทะเบียน จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรค 2 มาใช้ยันแก่เจ้าของที่ดินมาตั้งแต่เดิมไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายจ่ายลงทุนต้องเกิดเป็นทุนรอน ส่วนบำเหน็จกรรมการและเงินรางวัลเจ้าหน้าที่ถือเป็นรายจ่ายตามมาตรา 65 ตรี (19)
รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (5) มิใช่หมายถึงรายจ่ายที่บริษัทได้รับประโยชน์จากรายจ่ายเท่านั้น แต่ต้องเป็นรายจ่ายที่ยังเกิดเป็นทุนรอนของบริษัทขึ้นมา ลักษณะที่จะเป็นทุนรอนของบริษัทขึ้นมาก็คือ เป็นทรัพย์สินของบริษัท รายจ่ายที่โจทก์จ่ายไปในการสร้างท่าเรือ สร้างทางแยกและสร้างถนนที่ไม่บังเกิดเป็นทุนรอนหรือทรัพย์สินของบริษัท จึงไม่ใช่รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5)
การจ่ายบำเหน็จกรรมการของบริษัทที่กำหนดให้จ่ายได้ไม่เกิน 1 ใน 10 ของเงินปันผล หรือไม่เกินร้อยละ 5 ของกำไรสุทธิแล้วแต่อย่างไหนจะน้อยกว่า และเงินรางวัลเจ้าหน้าที่ซึ่งบริษัทจะจ่ายให้เป็นรายตัวตั้งแต่ร้อยละ 0.10 ถึง 2.00 ของกำไรสุทธินั้น เป็นเงินที่กำหนดให้จ่ายโดยคำนวณจากกำไรสุทธิ แม้ไม่ได้ระบุว่าให้จ่ายจากกำไรสุทธิ ก็มีผลในทางกฎหมายและในทางปฏิบัติเหมือนกับกรณีที่ระบุให้จ่ายจากเงินกำไรสุทธินั่นเอง จึงเป็นเงินรายจ่ายตามความในมาตรา 65 ตรี (19).
(ปัญหาหลังนี้ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2509)
การจ่ายบำเหน็จกรรมการของบริษัทที่กำหนดให้จ่ายได้ไม่เกิน 1 ใน 10 ของเงินปันผล หรือไม่เกินร้อยละ 5 ของกำไรสุทธิแล้วแต่อย่างไหนจะน้อยกว่า และเงินรางวัลเจ้าหน้าที่ซึ่งบริษัทจะจ่ายให้เป็นรายตัวตั้งแต่ร้อยละ 0.10 ถึง 2.00 ของกำไรสุทธินั้น เป็นเงินที่กำหนดให้จ่ายโดยคำนวณจากกำไรสุทธิ แม้ไม่ได้ระบุว่าให้จ่ายจากกำไรสุทธิ ก็มีผลในทางกฎหมายและในทางปฏิบัติเหมือนกับกรณีที่ระบุให้จ่ายจากเงินกำไรสุทธินั่นเอง จึงเป็นเงินรายจ่ายตามความในมาตรา 65 ตรี (19).
(ปัญหาหลังนี้ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายจ่ายลงทุนต้องเกิดเป็นทุนรอน ส่วนบำเหน็จกรรมการและเงินรางวัลเจ้าหน้าที่ถือเป็นรายจ่ายตามกฎหมายภาษี
รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (5) มิใช่หมายถึงรายจ่ายที่บริษัทได้รับประโยชน์จากรายจ่ายเท่านั้น แต่ต้องเป็นรายจ่ายที่ยังเกิดเป็นทุนรอนของบริษัทขึ้นมา ลักษณะที่จะเป็นทุนรอนของบริษัทขึ้นมาก็คือ เป็นทรัพย์สินของบริษัทรายจ่ายที่โจทก์จ่ายไปในการสร้างท่าเรือ สร้างทางแยกและสร้างถนนที่ไม่บังเกิดเป็นทุนรอนหรือทรัพย์สินของบริษัท จึงไม่ใช่รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5)
การจ่ายบำเหน็จกรรมการของบริษัทที่กำหนดให้จ่ายได้ไม่เกิน 1 ใน 10 ของเงินปันผล หรือไม่เกินร้อยละ 5 ของกำไรสุทธิแล้วแต่อย่างไหนจะน้อยกว่า และเงินรางวัลเจ้าหน้าที่ซึ่งบริษัทจะจ่ายให้เป็นรายตัวตั้งแต่ร้อยละ 0.10 ถึง 2.00 ของกำไรสุทธินั้นเป็นเงินที่กำหนดให้จ่ายโดยคำนวณจากกำไรสุทธิ แม้ไม่ได้ระบุว่าให้จ่ายจากกำไรสุทธิ ก็มีผลในทางกฎหมายและในทางปฏิบัติเหมือนกับกรณีที่ระบุให้จ่ายจากเงินกำไรสุทธินั่นเอง จึงเป็นเงินรายจ่ายตามความในมาตรา 65 ตรี (19)(ปัญหาหลังนี้ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2509)
การจ่ายบำเหน็จกรรมการของบริษัทที่กำหนดให้จ่ายได้ไม่เกิน 1 ใน 10 ของเงินปันผล หรือไม่เกินร้อยละ 5 ของกำไรสุทธิแล้วแต่อย่างไหนจะน้อยกว่า และเงินรางวัลเจ้าหน้าที่ซึ่งบริษัทจะจ่ายให้เป็นรายตัวตั้งแต่ร้อยละ 0.10 ถึง 2.00 ของกำไรสุทธินั้นเป็นเงินที่กำหนดให้จ่ายโดยคำนวณจากกำไรสุทธิ แม้ไม่ได้ระบุว่าให้จ่ายจากกำไรสุทธิ ก็มีผลในทางกฎหมายและในทางปฏิบัติเหมือนกับกรณีที่ระบุให้จ่ายจากเงินกำไรสุทธินั่นเอง จึงเป็นเงินรายจ่ายตามความในมาตรา 65 ตรี (19)(ปัญหาหลังนี้ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 794/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาจริงของสัญญา การนำสืบหักล้างหนี้ และการพิสูจน์จำนวนเงินที่รับจริง
จำเลยทำสัญญากู้เงินโจทก์เพราะโจทก์ตกลงซื้อสวนมะพร้าวจำเลย จำเลยรับเงินไปจากโจทก์จำนวนหนึ่งซึ่งจะถือเป็นค่าสวนมะพร้าวต่อเมื่อจำเลยสามารถโอนสวนมะพร้าวให้โจทก์ได้ มิใช่โจทก์จำเลยเจตนากู้เงินกัน 60,000 บาทการทำสัญญากู้จึงเห็นการเอาหนี้ตามสัญญาซื้อขายสวนมะพร้าวมาทำเป็นสัญญากู้เงินมิใช่รับเงินเนื่องจากการกู้เงินกันโดยแท้จริงในขณะทำสัญญากู้ยังไม่รู้ว่าจำเลยจะต้องคืนเงินหรือไม่แล้วแต่หนี้ที่จะเกิดจากสัญญาซื้อขายสวนมะพร้าวอีกส่วนหนึ่งเจตนาอันแท้จริงของคู่กรณีในการทำสัญญากู้ที่ให้บังคับกันได้ก็คือให้ใช้เงินคืนแก่กันในลักษณะกู้เงินตามจำนวนที่จะต้องคืนโดยอาศัยหนี้ตามสัญญาซื้อขายสวนมะพร้าวซึ่งหากจะต้องมีการคืนหรือหักเงินกันต่อไปข้างหน้าจำเลยจึงมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบว่าความจริงจำเลยรับเงินไปจากโจทก์เพียง 10,000 บาท มิใช่การนำสืบแปลหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร หากแต่เป็นการนำสืบหักล้างตามข้อต่อสู้ของจำเลยว่าจำนวนหนี้ตามที่กล่าวในฟ้องนั้นไม่สมบูรณ์เพราะไม่ใช่เจตนาที่แท้จริงจำเลยมีสิทธิจะนำสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 วรรคสุดท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 794/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาที่แท้จริงของสัญญา: สัญญาซื้อขายแฝงในสัญญาเงินกู้ การนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
จำเลยทำสัญญากู้เงินโจทก์เพราะโจทก์ตกลงซื้อสวนมะพร้าวจำเลย จำเลยรับเงินไปจากโจทก์จำนวนหนึ่งซึ่งจะถือเป็นค่าสวนมะพร้าวต่อเมื่อจำเลยสามารถโอนสวนมะพร้าวให้โจทก์ได้ มิใช่โจทก์จำเลยเจตนากู้เงินกัน 60,000 บาท การทำสัญญากู้จึงเป็นการเอาหนี้ตามสัญญาซื้อขายสวนมะพร้าวมาทำเป็นสัญญากู้เงิน มิใช่รับเงินเนื่องจากการกู้เงินกันโดยแท้จริง ในขณะทำสัญญากู้ยังไม่รู้ว่าจำเลยจะต้องคืนเงินหรือไม่ แล้วแต่หนี้ที่จะเกิดจากสัญญาซื้อขายสวนมะพร้าวอีกส่วนหนึ่ง เจตนาอันแท้จริงของคู่กรณีในการทำสัญญากู้ที่ให้บังคับกันได้ก็คือให้ใช้เงินคืนแก่กันในลักษณะกู้เงินตามจำนวนที่จะต้องคืนโดยอาศัยหนี้ตามสัญญาซื้อขายสวนมะพร้าวซึ่งหากจะต้องมีการคืนหรือหักเงินกันต่อไปข้างหน้า จำเลยจึงมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบว่าความจริงจำเลยรับเงินไปจากโจทก์เพียง 10,000 บาท มิใช่การนำสืบแปลหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร หากแต่เป็นการนำสืบหักล้างตามข้อต่อสู้ของจำเลยว่าจำนวนหนี้ตามที่กล่าวในฟ้องนั้นไม่สมบูรณ์ เพราะไม่ใช่เจตนาที่แท้จริง จำเลยมีสิทธิจะนำสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 วรรคสุดท้าย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 723/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินนิคมสร้างตนเอง: การได้มาซึ่งสิทธิ และความเป็นผู้เสียหาย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปปลูกเรือนในที่พิพาทของร้อยโทบุญเกิดซึ่งอ้างว่าได้รับจัดสรรจากนิคมสร้างตนเองดังนี้ ต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพพ.ศ.2485 มาตรา 7,8 ซึ่งจะเห็นได้ว่า ที่ดินที่นิคมจัดสรรให้นั้น ผู้ที่ได้รับจัดสรรต้องเข้าครอบครองทำประโยชน์และปฏิบัติการอย่างอื่นอีกจนเจ้าหนี้ที่ออกหนังสือรับรองว่าได้ทำประโยชน์และได้รับโฉนดแผนที่หรือตราจองแล้วจึงจะพ้นจากการ เป็นที่หวงห้ามตามข้อเท็จจริง ร้อยโทบุญเกิดยังไม่ได้รับโฉนดแผนที่หรือตราจอง ที่ดินรายนี้จึงยังไม่พ้นจากการเป็นที่หวงห้ามหรือนัยหนึ่งยังไม่เป็นของร้อยโทบุญเกิด ฉะนั้น หากจะฟังว่าร้อยโทบุญเกิดได้รับจัดสรรมา ก็ยังไม่ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ที่พิพาทยังไม่เป็นของร้อยโทบุญเกิดแม้จำเลยเข้าครอบครองก็ฟังไม่ได้ว่าเป็นการรบกวนสิทธิหรือการครอบครองของร้อยโทบุญเกิดร้อยโทบุญเกิดจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 723/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินจัดสรรนิคมสร้างตนเองต้องเข้าทำประโยชน์และมีเอกสารรับรองสิทธิ จึงจะพ้นจากการเป็นที่ดินสาธารณะ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปปลูกเรือนในที่พิพาทของร้อยโทบุญเกิดซึ่งอ้างว่าได้รับจัดสรรจากนิคมสร้างตนเอง ดังนี้ ต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2485 มาตรา 7, 8 ซึ่งจะเห็นได้ว่า ที่ดินที่นิคมจัดสรรให้นั้น ผู้ที่ได้รับจัดสรรต้องเข้าครอบครองทำประโยชน์และปฏิบัติการอย่างอื่นอีกจนเจ้าหน้าที่ออกหนังสือรับรองว่าได้ทำประโยชน์ และได้รับโฉนดแผนที่หรือตราจองแล้ว จึงจะพ้นจากการเป็นที่หวงห้าม ตามข้อเท็จจริง ร้อยโทบุญเกิดยังไม่ได้รับโฉนดแผนที่หรือตราจอง ที่ดินรายนี้จึงยังไม่พ้นจากการเป็นที่หวงห้ามหรือนัยหนึ่งยังไม่เป็นของร้อยโทบุญเกิด ฉะนั้นหากจะฟังว่าร้อยโทบุญเกิดได้รับจัดสรรมา ก็ยังไม่ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ ที่พิพาทยังไม่เป็นของร้อยโทบุญเกิด แม้จำเลยเข้าครอบครองก็ฟังไม่ได้ว่าเป็นการรบกวนสิทธิหรือการครอบครองของร้อยโทบุญเกิด ร้อยโทบุญเกิดจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 634/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินซื้อระหว่างสมรสด้วยเงินสินเดิม ถือเป็นสินสมรส
ที่ดินที่ภริยาซื้อมาระหว่างสมรส ถือว่าเป็นสินสมรสแม้ว่าภริยาจะเอาเงินสินเดิมของตนมาซื้อก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 634/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินซื้อด้วยเงินสินเดิมระหว่างสมรส ถือเป็นสินสมรส
ที่ดินที่ภริยาซื้อมาระหว่างสมรส ถือว่าเป็นสินสมรส แม้ว่าภริยาจะเอาเงินสินเดิมของตนมาซื้อก็ตาม.